Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การถ่ายภาพด้วยมือถือเบื้องต้น – ไม่มีกล้องมืออาชีพก็ถ่ายภาพที่น่าทึ่งได้

ด้วยจำนวนการใช้งานกล้องสมาร์ทโฟน มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   บริษัทผู้ผลิต ก็เเข่งขันที่จะพัฒนากล้องมือถือให้ใช้ง่าย เเละมีคุณภาพของภาพที่สูงขึ้น ชดเชยเเสง ถ่ายภาพในที่มืดได้ดีขึ้น กันสั่นในตัว บางรุ่นมีเลนส์สี่ตัวโหมดโบเก้ โหมดแนวตั้งเซลฟี่ AI และฟิลเตอร์ให้เลือกอย่างมากมาย 

ดังนั้นเชื่อเถอะว่ากล้องในโทรศัพท์ที่มีอยู่ในมือ สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด ไม่ว่าใคร จะไม่มีความรู้มาก่อนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ก็ลองทำตามได้หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว

 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ได้ภาพที่สวยงามน่าทึ่งคือ  การจัดองค์ประกอบ และเเต่งภาพ Post-processing 

1. การจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพ จะคำนึงถึงการวางภาพตามสัดส่วน โดยในการถ่ายภาพมีกฏที่เรียกว่า กฏสามส่วน โดยจะเเบ่งสัดส่วนของภาพออกเป็นเก้าช่อง มีเเกนแนวนอนสามช่อง เเละ แกนเเนวตั้ง (3×3) โดยจะมีจุดตัดที่เกิดขึ้นสี่จุด การวางภาพทำได้ง่าย โดยไม่ต้องคิดมาก จัดวางวัตถุที่สนใจให้อยู่ตรงจุดตัดใดในหนึ่งจุดนั้น เพราะปกติสายตาจะมองที่จุดเหล่านั้นก่อน เป็นอันดับเเรก 

ถ้ายังไม่มี ให้เปิด Grid ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพ ทำได้โดยการเข้าไปที่ camera setting > Grid line (เเต่จะไม่เหมือนกันนะ เพราะขึ้นอยู่กับว่าใช้โทรศัพท์ยี่ห้ออะไรอยู่) เเล้วเลือก 3×3 เพื่อเปิดเส้น Grid ขึ้นมา

หลังจากนั้นกล้องถ่ายรูปในมือถือ ก็จะมีเส้นตัดดันอยู่ 4 จุด เมื่อจะถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเเนว นอนหรือเเนวตั้ง พยายามที่จะให้จัตถุที่เป็นจุดสนใจ อยู่ที่บริเวณจุดตัดนั้น หรืออาจจะจัดวางไว้ตรงกลางภาพ เส้น Grid จะช่วยทำหน้าที่เหมือนไม้บรรทัดช่วยให้สายตาเราจัดภาพได้อย่างถูกสัดส่วนมากขึ้นนั่นเอง

การจัดแบบกึ่งกลาง/สมมาตร

วางจุดที่สนใจ ไว้กลางภาพ หรือหาเเนวสมมาตร (แนวสมมาตรคือ ภาพที่เมื่อลากเส้นผ่าน จะเเบ่งเป็นสองส่วน เท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง รายละเอียด ทุกอย่างต้องเท่ากันในแนว ซ้ายขวา หรือ บนล่าง เหมือนเอากระจกมาวางทาบ) เช่นการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม หรือทิวทัศน์ 

เเต่ในบางภาพ ไม่จำเป็นต้อง ต้องจัดให้สมมาตร เท่ากันพอดีเป๊ะ เเต่จัดวางให้อยู่ช่องตรงกลาง ก็จะให้ภาพดูมีสัดส่วนที่ลงตัวได้ด้วย

ฉากหน้า เเละ พื้นหลัง

ทุกวันนี้กล้องสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีความสามารถในการเบลอพื้นหลัง หรือเลือกจุดที่จะให้วัตถุ เบลอ หรือชัดได้ เเตะจุดที่ต้องการจะให้ภาพชัด กล้องมือถือบางรุ่นจะมีระยะที่เลนส์โฟกัสได้ดี และระยะที่โฟกัสหลุด ดังนั้นลองขยับเข้าออก เพื่อให้ได้ระยะโฟกัสที่ดีที่สุด 

รอคอยเเละอดทน

ในการถ่ายภาพ อาจจะไม่ได้ภาพที่ต้องการเพียงการเดินทางเเค่ครั้งเดียว หรือเเค่ช่วงเวลาเดียว สถานที่เดียวกัน เมื่อช่วงเวลาต่างกัน เเสงก็จะให้อารมณ์ที่ต่างกัน การรอคอย หรือการที่จะต้องอดทนหาจังหวะการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด

การถ่ายภาพหลายมุม 

เป็นการสร้างมุมมองใหม่ให้กับภาพที่ถ่าย ใช้เวลากับสถานที่หรือวัตถุที่สนใจซักหน่อย ลองถ่ายมาให้ได้หลายมุม ด้านบน ด้านข้าง ด้านล่าง เเล้ว กลับมาดูเพื่อเลือกมุมที่ดูใช่ที่สุด อย่าขี้เกียจเดินหามุมก็พอ

ถ่ายภาพใน HDR เสมอ 

แอพกล้องส่วนใหญ่มีตัวเลือกนี้อยู่ในชุดการตั้งค่า HDR ย่อมาจาก High Dynamic Range เป็นเป็นอัตราส่วนของแสงที่สว่างที่สุด ต่อเงาที่มืดที่สุด ในการถ่ายภาพ โดยกล้องจะถ่ายมาทั้งเเบบสว่างเเละมืดมากพร้อมกันนั่นเอง ปกติเเล้วโหมด HDR จะถ่ายภาพ 3 ภาพ (หรืออาจจะมากกว่าในบางรุ่น) ของการเปิดรับแสงที่แตกต่างกันระดับแสงน้อย ระดับเเสงปกติ และภาพแสงมากเกินไป และรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดและรายละเอียดภาพใกล้เคียงกับที่เห็นให้มากที่สุด 

Framing

คือการสร้างกรอบให้ภาพ ทำให้คนที่มองภาพ มีจุดสนใจอยู่ในกรอบที่เราวางให้ เทคนิคนี้ใช้ได้ทั้งการถ่ายภาพบุคคล เเละภาพทิวทัศน์ อาจจะใช้กรอบประตู มุมโค้งงอ ของสถาปัตยกรรม หรือสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็ได้

2. เเต่งภาพ Post-processing

แอพพลิเคชั่นมีให้เลือกใช้ในการเเต่งภาพอยู่มากมาย มี style และสีสันที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน และใช้งานได้ไม่ยากอีกด้วย (ภาพตัวอย่างจากแอพพลิเคชัน Snapseed) ยิ่งถ้าเป็นภาพถ่ายบุคคลเเล้วล่ะก็ ทำได้ทั้งปรับสีผิวให้กระจ่างใส หรือดูนุ่มนิ่มน่าสัมผัส ลบริ้วรอย ลดขนาดบางส่วน เพิ่มขนาดของดวงตาก็ได้

เเต่ถ้าอยากจะลองปรับเเต่งเอง ในมือถือก็จะมีตัวเลือกสำหรับการเเต่งภาพให้ โดยการเปลี่ยนเเปลงที่ปรับเปลี่ยนได้ หลัก ๆ เช่น

  1. ปรับความสว่าง (Exposure)
  2. ความเปรียบต่าง (Contrast)
  3. ความอิ่มสี (Saturation)
  4. ปรับเเสงเเละเงา (​highlight and shadow)
  5. สมดุลเเสงสีขาว (White Balance)

ดังนั้นการถ่ายภาพด้วยมือถือ ให้เห็นถ่ายภาพที่น่าทึ่งได้ ก็อาศัยหลักการการจัดวางองค์ประกอบ เเสง เเละสีสัน รวมทั้งระบบ AI และ แอพพลิเคชั่นที่จะช่วยปรับเเต่ง ให้ถาพของเรา สวยงามขึ้นได้อย่างง่ายดาย

อ่านบทความเพิ่มเติม ถ่ายภาพด้วยมือถือเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version