Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

พื้นฐานการถ่ายภาพสำหรับผู้เริ่มต้น : ตอนที่ 3 ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

ความเร็วชัตเตอร์คืออะไร ?

อธิบายได้ง่าย ๆ คือช่วงเวลาที่เปิดรับเเสง ให้เข้าไปยังเซ็นเซอร์ของกล้อง โดยเมื่อเปิดให้เเสงเข้านาน ก็อาจจะทำให้ภาพที่ถ่าย ไม่คมชัด เบลอ โดยมีชัตเตอร์กล้องทำหน้าที่ปิด เปิด เพื่อรับเเสง โดยค่าที่เเสดงจะเป็นตัวเลข โดยมีหน่วยเป็นเวลาคือ วินาที เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที คือ 1 ส่วน 60 วินาที หรือ 30” ก็คือ 30 วินาที นั่นเอง 

การถ่ายภาพโดยให้เห็นการเคลื่อนไหว (Motion Blur) และการถ่ายภาพเเบบหยุดการเคลื่อนไหว (Freezing) 

การถ่ายภาพโดยให้เห็นการเคลื่อนไหว (Motion Blur)

การถ่ายภาพเพื่อให้เห็นลักษณะการเคลื่อนไหว ทิศทางการเคลื่อนที่ การขยับของวัตถุรอบตัวเเบบ หรือการเคลื่อนที่ของตัวเเบบเอง ส่วนมากจะใช้เทคนิค Motion Blur ซึ่งจะให้ผลชัดเจน เมื่อใช้เลนส์ที่มีระยะไกล 

เช่น เลนส์เทเล (Telephoto lenses) เพราะโดยปกติเเล้ว เลนส์เทเลจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพเกิดการเบลอถึงเเม้จะมีการขยับ หรือเคลื่อนเพียงเล็กน้อยก็ตาม 

เลนส์มุมกว้าง (wide angle lens) จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่า เพราะรายละเอียดในภาพจะน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเลนส์เทเล อย่างไรก็ตาม ไม่ได้กำหนดไว้อย่างตายตัว ขึ้นอยู่กับช่างภาพเอง ที่ต้องการได้ภาพเเบบไหน เช่น ถ้าถ่ายภาพด้วยเลนส์ 30 mm  อาจจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาที เพื่อสร้างภาพที่เป็น Motion Blur ก็ได้เช่นกัน เเต่ว่าสำหรับกล้องตัวคูณแล้ว อาจจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/45 วินาที

เเต่กฏทุกกฏมีข้อยกเว้น ถ้าหากกล้องมีระบบกันสั่นก็อาจจะต้องเพิ่มเวลาของความเร็วชัตเตอร์ขึ้นไปอีก

การถ่ายภาพเเบบหยุดการเคลื่อนไหว (Freezing) 

ความกังวลจะน้อยลง ถ้าเป็นการถ่ายภาพเเบบหยุดการเคลื่อนไหว  เพียงเเค่ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เช่น 1/500 หรือมากกว่า เพื่อจับจังหวะการเคลื่อนไหว เเละหยุดการเคลื่อนในวินาทีนั้น

แต่ถ้าหากต้องใช้เลนส์เทเล ก็อาจจะต้องเพิ่มอุปกรณ์เสริม เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกล้อง เช่น ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพส่งที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น นักกีฬา สัตว์ป่า นก

ดังนั้นทางที่ดีคือการสร้างประสบการณ์เเละเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการถือกล้องที่ถูกต้อง การเคลื่อนไหว การใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มความเสียรให้กับกล้องด้วย

เเต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพในช่วงเเสงน้อยล่ะ ?

การถ่ายภาพตอนกลางคืน อาจจะต้องใช้สมการที่เเตกต่างออกไป เพราะการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ก็ไม่สามารถจะช่วยเเก้ปัญหาภาพเบลอได้เสมอไป ดังนั้น ต้องทำงานร่วมกับการตั้งค่ารูรับเเสงให้กว้างขึ้น เเละ ISO ที่สูงขึ้น เพื่อถ่ายภาพให้คมชัด ได้ง่ายขึ้น 

การสร้างสรรค์ภาพด้วยการปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ 

การถ่ายภาพเเบบ (Creative Blur)

การใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ ก็สามารถสร้างสรรค์งานถ่ายภาพโดยการปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ได้ ตั้งค่าให้ชัตเตอร์เปิดรับเเสงนานขึ้น ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนที่ ในสถานที่ที่เล่าเรื่องราว ของสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ก็จะสร้างภาพที่เบลอเเละเล่าเรื่องราว ทำให้ภาพดูน่าสนใจได้ด้วยนะ

การถ่ายภาพเเบบ (Panning)

เป็นการเคลื่อนที่กล้อง ไปในทิศทางที่สัมพันธ์กับตัวเเบบ โดยภาพที่ได้ ตัวเเบบจะไม่เคลื่อไหว เเต่วัตถุ หรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ จะเบลอไป 

การวาดภาพด้วยเเสง (Light Painting และ Light Graffti )

การวาดภาพด้วยเเสง ต้องอาศับการตั้งค่าที่เปิดให้ชัตเตอร์ค้างไว้เป็นเวลานานประมาณ 30 วินาที ในระหว่างที่ตัววัตถุที่มีเเหล่งกำเนิดเเสง เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้ จะเห็นการเคลื่อนที่เเละทิศทางของเเสง เป็นการถ่ายภาพที่ให้ภาพที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่งเลย

การถ่ายภาพเเบบ Long Exposures สำหรับกลางคืน 

นิยมถ่ายภาพในช่วงพลบค่ำ ถึงช่วงกลางคืน เพื่อให้เห็นภาพเเสงไฟบนถนน ความสว่างไสวของแสงไฟฟ้าจากตัวตึก ตัดกับสีน้ำเงินของฟ้า การตั้งค่าให้ชัตเตอร์เปิดนานขึ้น ทำให้เห็นการเคลื่อนที่ของรถบนถนน ที่ขับผ่านไปมา 

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพย้อนหลังได้ที่นี่

source : https://expertphotography.com/

Exit mobile version