Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เลนส์ SIGMA 56 mm F1.4 กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ (landscape)

อาจจะมีคำถามเกิดขึ้น เมื่อเลนส์อย่าง SIGMA 56 mm F1.4 ซึ่งเป็นเลนส์ระยะไกล (บางคนอาจจะเรียกเลนส์ซูมหรือเลนส์เทเลโฟโต้) สามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ออกมาได้น่าประทับใจได้หรือไม่ บทความนี้จะช่วยเเนะนำเรื่อง เลนส์ SIGMA 56 mm F1.4 กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ จะถ่ายให้ออกมาสวยงามดูดีได้อย่างไร ลองมาดูกันเลยครับ

การใช้เลนส์ SIGMA 56 mm ในการถ่ายภาพทิวทัศน์

คุยกับตัวเองให้เคลียร์เรื่องของภาพที่อยากจะได้

แน่นอนว่าถ้าหากนึกถึงการถ่ายภาพ landscape แล้วนั้น เลนส์อย่าง SIGMA 56 mm นี่ไม่ได้อยู่ในใจของใครเลยอย่างแน่นอน เพราะเราจะนึกถึงแค่เลนส์มุมกว้าง (wide angle lens) เพื่อให้ภาพได้รายละเอียดบริเวณนั้นครบถ้วน เเต่ในความเป็นจริงเเล้วการใช้เลนส์ซูม จะช่วยดึงรายละเอียดออกมาชัดว่า เพราะโฟกัสเข้าไปที่จุดที่ต้องการจะเล่าเรื่องเลย

© Juzo Iwaki

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปที่ญี่ปุ่นแล้วถ่ายภาพภูเขาฟูจิ การใช้เลนส์มุมกว้างจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพวิวได้ค่อนข้างครบ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการเน้นที่ภูเขาฟูจิโดยเน้นที่รายละเอียดที่ดี การใช้เลนส์ซูมเป็นคำตอบสำหรับปัญหานี้เลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะได้รายละเอียดภูเขาฟูจิที่ชัดเจนแล้ว ตัวภูเขาฟูจิเองก็จะโดดเด่นขึ้นมาในภาพอีกด้วย 

แต่หลายๆ คนก็อาจจะมีข้อโต้แย้งขึ้นมาได้ว่า กล้องสมัยนี้ความละเอียดสูง ถ่ายภาพให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปปรับ ตัด ด้วยซอฟต์แวร์ก็ได้ ซึ่งนั่นก็จริง แต่ก็ต้องใช้กล้องเเละเลนส์ที่มีคุณสมบัติด้านนี้สูงเป็นพิเศษ รวมทั้งราคาอาจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าก็ได้

ใช้จุดโฟกัสและเพิ่มฉากหน้าเพื่อดึงดูดความสนใจ

การถ่ายภาพ landscape ด้วยเลนส์ SIGMA56 mm นั้นอาจจะได้คิดมาแล้วว่าอยากจะถ่ายเน้นในจุดที่สนใจจริงๆ เพราะฉะนั้นการถ่ายแนวนี้การโฟกัสถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก หากไม่ระวังอาจจะไม่ได้ภาพอย่างที่ต้องการก็เป็นได้ 

© JUZO IWAKI

และการเพิ่มฉากหน้าในเลนส์ระยะรับภาพที่แคบนั้นจะช่วยให้เพิ่มความน่าสนใจได้อย่างไร นั่นก็คือฉากหน้าที่เราเพิ่มเข้ามาจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการพักสายตาก่อนในจังหวะแรกและมีสมาธิมากขึ้นในการมองภาพนั่นเอง ซึ่งฉากหน้าที่เพิ่มเข้ามานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ

1.ฉากหน้าที่จะช่วยให้ภาพ 2 มิติเป็นภาพ 3 มิติ โดยการถ่ายนั้นจะต้องให้ฉากหน้ากับฉากหลังมีระยะห่างพอสมควรกลายเป็น 3 มิติที่ดูมีส่วนใกล้ กลาง ไกล 

2.ฉากหน้าที่เบลอ ๆ สามารถพักสายตาเราของเราได้ดีเลยทีเดียวเทคนิคนี้ ส่วนมากมักนำไปใช้ในการถ่ายภาพบุคคลโดยอาจจะเป็นการถ่ายบนทุ่งหญ้าแล้วมีต้นหญ้ามาบังหน้าเลนส์เป็นเป็นต้นหญ้าเบลอๆ แล้วก็มองทะลุเข้าไปที่ตัวแบบนั่นเอง ซึ่งเราสามารถนำเทคนิคนี้มาปรับใช้กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ด้วยเช่นกันครับ

อ่านบความเพิ่มเติม

การถ่ายภาพพาโนรามา ด้วยเลนส์ SIGMA 56 mm

ข้อนี้จะเหมาะสำหรับช่างภาพสายทิวทัศน์ที่ขยันหน่อย เพราะขั้นตอนในการถ่ายและขั้นตอนในการแต่งรูปจะเพิ่มมากขึ้น เพราะการถ่ายภาพเเบบพาโนรามา ด้วยเลนส์ซูมอย่าง เลนส์ SIGMA 56 mm อาจจะต้องแยกถ่ายภาพแต่ละส่วน แล้วนำมาประกอบกันในซอฟต์เเวร์ และรับรองว่าจะได้ภาพที่ออกมาสวยแน่นอน 

1.วิธีการถ่าย ก็คือเราต้องถ่ายภาพในแต่ละส่วนที่เราต้องการโดยจะค่อยๆ ขยับไปที่ส่วน โดยหลักการนั้นง่ายมาก เราอาจจะแบ่งภาพในหัวที่อยากได้เป็น 4 ส่วน (ซ้ายบน ซ้ายล่าง ขวาบน ขวาล่าง) แล้วค่อยถ่ายภาพที่ละส่วน หรือหากต้องการถ่ายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ต้องเพิ่มสัดส่วนตามขึ้นไป 

2.จะเป็นการนำรูปที่ถ่ายมามาต่อในโปรแกรม Lightroom 

สรุปการใช้เลนส์ SIGMA 56 mm F1.4 กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ (landscape)

แน่นอนว่าเลนส์แต่ละตัวมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไปเราอาจจะต้องเลือกเลนส์ให้เหมาะกับการใช้งาน แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นอาจจะไม่ได้มีงบที่สูงมากเราอาจจะมีแค่เลนส์ตัวเดียวแต่ อยากจะลองหัดถ่ายทิวทัศน์อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นสามารถทำได้ และทำได้ดีเลยทีเดียว เพราะการใช้เลนส์ซูมอย่าง SIGMA 56 mm F1.4 ถ่ายทิวทัศน์อาจจะทำให้เราเสียรายละเอียดบางอย่างไป แต่กลับเป็นการถ่ายภาพที่เน้นไปยังจุดสนใจ เเละดึงความสนใจไปได้อย่างชัดเจน เพราะสุดท้ายแล้วการออกเเบบภาพ หรือ ภาพสุดท้ายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด อุปกรณ์เป็นเพียงให้ทำภาพที่เราต้องการนั้นเป็นไปได้ง่าย และขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ

ภาพตัวอย่าง SIGMA 56 mm F1.4 กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ (landscape)

อ่านพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่อีกได้ที่นี่เลย

Exit mobile version