Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

ไอเดียการตั้งค่ากล้อง ถ่ายรูปกับไฟประดับช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ 

ไอเดียการตั้งค่ากล้อง ถ่ายรูปกับไฟประดับช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ การตั้งค่าถ่ายรูปกับไฟประดับช่วง คริสต์มาสและปีใหม่ ช่วงนี้ของปีจะเป็นช่วงที่มีการประดับประดาไฟตามจุดต่าง ๆอย่างสวยงาม เหมาะสำหรับการเอากล้องไปถ่ายรูปตามสถานที่เหล่านั้นอย่างยิ่ง เเต่พอเอาเข้าจริง ๆ ถ่ายออกมาเเล้วไม่เห็นไฟ

คนมืดไป เบลอ ไม่ชัด เพราะโดยปกติเเล้วไฟคริสตมาสจะเป็นไฟ LED ดวงเล็ก เเสง อาจจะไม่ค่อยสว่างนัก ถ้าใช้เเฟลชถ่ายก็จะชัดเเค่ตัวเเบบ ไม่เห็นไฟข้างหลัง เเต่ถ้าไม่เปิดเเฟลช คนที่อยู่ข้างหน้าไป อาจจมืดจนไม่เห็นเลยก็ได้ เเต่ถ้าไม่ใช้เเฟลช ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ยาว อาจจะเห็นชัด เเต่ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง ภาพอาจจะเบลอไปได้ แล้วจะทำยังไงให้ถ่ายภาพสวยล่ะ ?

ไอเดียการตั้งค่ากล้อง ถ่ายรูปกับไฟประดับช่วงคริสต์มาสและปีใหม่

1. ถ้าคิดว่ามือไม่นิ่งขอขาตั้งกล้องก่อนเลย (เหมาะสำหรับภาพ Landscape นะ)

สำหรับมือใหม่เเล้ว การจับกล้อง หรือการควบคุมลมหายใจ (จริงนะ บางทีต้องควบคุมลมหายใจเข้าออกเลยทีเดียว) อาจจะยังทำได้ไม่นิ่งพอ ดังนั้นขาตั้งกล้องจะช่วยเเก้ปัญหาความสั่นไหว ที่เกิดจากการจับกล้องที่ไม่มั่นคงของช่างภาพได้ ซึ่งการใช้ขาตั้งกล้องก็อยากแนะนำว่าเหมาะสำหรับการถ่ายภาพแนวทิวทัศน์มากกว่า เพราะเรื่องของความสะดวกกับสถานที่บางสถานที่อาจจะไม่ได้ให้เราตั้งขาตั้งกล้องครับ

แต่ถ้าเป็นภาพ Portrait ก็แนะนำเปิดระบบกันสั่นที่กล้องกับเลนส์ช่วยได้ดีระดับนึงเลย และใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้เยอะขึ้น เดี๋ยวเราจะพูดในประเด็นถัดไป

2. เรื่องของแสงสำคัญตรงที่การตั้งค่า ISO และรูรับเเสง รวมถึงความเร็วชัตเตอร์ด้วย

พื้นฐานในพื้นฐานเลย ถ้าใครเคยอ่านเรื่อง Exposure Triangle หรือความสัมพันธ์สามค่าที่ส่งผลกับแสงและความสว่างในภาพของเรา แนะนำว่าถ้ามีเวลาลองเพิ่มความเข้าใจตรงนี้ได้นะครับ แต่ถ้าอยากได้การตั้งค่าคร่าว ๆ ก็ตามด้านล่างได้เลย

ค่าความไวเเสง (ISO) ตั้งไว้ประมาณ 100 ถึง 1600 ถ้าเป็นไปได้, แต่ถ้าแสงน้อยมากหน่อย เลี่ยงไม่ได้ก็ใช้ ISO สูงเลยก็ได้ (ให้อยู่ในจุดที่เรารับ Noise ได้)

เริ่มจาก ISO ตั้งไว้ประมาณ 100 ถึง 400  การตั้งค่า ISO ให้ต่ำ จะช่วยลด “noise” ที่เกิดขึ้นในภาพ แต่ถ้าหากว่าบางพื้นที่แสงน้อยมากจริง ๆ ก็เปิดใช้ ​ISO เยอะเลยก็ได้ครับ เพราะยังไงก็ทำให้เราได้ภาพ ไม่ต้องกลัวหรอก

รูรับเเสงปกติการตั้งค่าจะอยู่ที่ค่า f/2.8 ถึง f/8 ถ้าเน้นคุมระยะชัดหรือภาพหมู่ แต่ถ้าเน้น Portrait เปิด ​F1.4 – F2.8 เลยก็ได้ เพื่อให้ได้โบเก้ที่สวย ละลายหลังได้เยอะ แสงก็เข้าเยอะด้วย

การตั้งค่ารูรับเเสงขึ้นอยู่กับการออกเเบบภาพ ว่าต้องการภาพเเบบไหน เทคนิคการถ่ายภาพเป็นอย่างไร เเละความสามารถของกล้องทำได้เเค่ไหน การตั้งค่าที่นิยมกันในบ้านเราจะอยู่ที่ค่า F1.4- F2.8 เพื่อเป็นการอนุญาตให้เเสงเข้ามาได้มากหน่อย แล้วเหมาะกับการถ่าย Portrait ด้วย

จะทำให้ได้ภาพชัดตื้น (ชัดด้านหน้า ด้านหลังฟุ้งเป็นโบเก้สวยงาม) เเต่การเปิดรูรับเเสงกว้าง จะทำให้เกิดความคมชัดบางบริเวณ เเละส่วนอื่นจะอยู่นอกเขตโฟกัส ภาพส่วนนั้นจะเบลอไปหมด หรือถ้าอยากให้ภาพชัดมากหน่อย อาจจะชัดทั้งภาพ ก็เพิ่มค่ารูรับเเสงขึ้น อาจจะเลือกอยู่ที่ f/8 อย่างไรก็ตาม ก็ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม 

ความเร็วชัตเตอร์ ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 – 1/200 แล้วแต่ความเร็วของวัตถุ หรือสิ่งที่เราถ่าย (ควรระวังว่า Shutter Speed ต่ำไปภาพเบลอ, มากไปก็แสงเข้าน้อย)

เมื่อเลือกค่ารูรับเเสงที่จะใช้เเล้ว ก็เป็นการเลือกว่าจะให้เเสงเข้าไปที่เซ็นเซอร์ มากน้อยเท่าไหร่ ด้วยการกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ ถ้าใช้ ISO ต่ำ เเละค่ารูรับเเสงปรับอยู่กลาง ๆ เช่น การถ่าย Landscape ตอนกลางคืนใช้  f/8 ดังนั้นค่าความเร็วชัตเตอร์อาจจะต้องเปิดไว้ช้าหน่อย อาจจะประมาณ 30s เป็นต้น แต่ถ้าเป็นภาพ Portrait เราก็อาจจะตั้งคนละแบบเลยคือ F1.4 แล้วก็ใช้ Shutter Speed ที่ 1/60 ก็ได้

เมื่อพูดถึงความเร็วชัตเตอร์ ก็ต้องเข้าใจว่า เกี่ยวข้องกับการหยุดภาพ หากต้องการให้เห็นการเคลื่อนไหว ก็ปล่อยความเร็วชัตเตอร์ให้ยาวขึ้น เเต่ถ้าต้องการจะหยุดภาพ เช่นหยุดลูกบอลลอยกลางอากาศ ก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้น ในกรณีการถ่ายไฟคริสตมาส ไม่มีการเคลื่อนไหว ก็เปิดค้างไว้ เพื่ออนุญาตให้เเสงเข้ามามากหน่อย

แต่ถ้ากล้องไม่อนุญาตให้ปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ได้ช้าอย่างที่ต้องการ ก็ให้ลองปรับค่า ISO และรูรับเเสงใหม่

ลองเริ่มจาก ISO 100 – 200 ก่อน เเล้วลองปรับความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 ถึง1/200 ถ้ายังไม่ได้ก็ลองปรับใหม่ ลองจนกว่าจะได้เเสงที่ต้องการ เเละลงตัวไม่สว่างจ้ามากเกิดไป หรือมืดมากเกินไป จนไม่เห็นรายละเอียดเลย 

3. ใช้ชุดไฟเสริม หรืออาจจะใช้ FLASH

เมื่อได้ค่าที่ต้องการของ ISO รูรับเเสง เเละความเร็วชัตเตอร์เเล้ว  ถ้ายังรู้สึกว่าเเสงไม่พอ หรือต้องการให้มีเเสงเพิ่ม ก็สามารถใช้ไฟเเยก หรือใช้เเฟลชช่วยได้ (เเต่จริง ๆเเล้วจะไม่ใช้ก็ได้นะ เเค่บอกเอาไว้เผื่อเป็นตัวเลือกนะ) เเละไฟ หรือเเฟลชที่จะใช้ ก็ควรจะสามารถปรับความเข้มเเสงได้ เพื่อจะได้ควบคุมปริมาณเเสงที่เข้าไปยังตัวเเบบได้มากน้อยอย่างที่ต้องการ

4. ปรับค่าสมดุลแสง ให้สื่อสารตามอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อ  

ปรับค่าสมดุลเเสงสีขาว ให้เข้ากับโทนสีที่อยากได้ อาจจะปรับให้เป็นเเสงขาว หรืออาจจะส้มเหลืองไปเลย  เเล้วเเต่เลยว่า อยากจะให้อุณหภูมิของภาพและการสื่อออกมาในอารมณ์ เเบบไหน

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

source : https://www.picturecorrect.com/

Exit mobile version