Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สำหรับมือใหม่ ให้ดูน่าทึ่ง ดึงดูดสายตา

10 เทคนิคการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สำหรับมือใหม่ ให้ดูน่าทึ่ง ดึงดูดสายตา เทคนิคเหล่านี้จะถูกใช้บ่อย เมื่อออกเดินทางท่องเที่ยว เพราะศิลปะที่เเปลกหูเเปลกตามักจะเชิญชวนให้กดชัตเตอร์ไม่ยั้ง เเต่การที่จะจัดองค์ประกอบให้สมดุลเวลาถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่ท้าทาย เเละการที่จะพัฒนาให้ภาพดูโดดเด่นขึ้น ก็น่าสนุกด้วยเหมือนกัน

10 เทคนิคการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สำหรับมือใหม่ ให้ดูน่าทึ่ง ดึงดูดสายตา

1. ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บรายละเอียดของตัวอาคารเเละบรรยากาศโดยรอบ 

ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมส่วนมากจะใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อเก็บรายละเอียดของทั้งตัวอาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บตัวอาคารเเละบรรยากาศโดยรอบรวมถึงส่วนพื้นหลัง เพื่อให้ผู้ชมเห็นว่า ตัวอาคารสร้างอิทธิพลต่อสถานที่โดยรอบอย่างไร   

2. ใช้เส้นนำสายตาเพื่อดึงความสนใจไปที่ภาพ

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมโดยส่วนมากจะถ่ายช่วงเย็น หรือช่วงกลางคืน เพราะจะเป็นการสร้างความเเปลกตาให้กับผู้ชม และถ้ามีการจัดเเสง หรือมีเส้นนำสายตา ที่ดึงความสนใจไปที่เเล้ว ก็ทำให้ผลงานที่ออกมา เป็นผลงานที่น่าดูน่าสนใจ พยายามมองหาเส้นตรง หรือเส้นโค้ง ที่มีทิศทางมุ่งไปยังตัวเเบบ จะช่วยดึงสายตาของผู้ชมไปที่ตัวเเบบโดยอัตโนมัติ 

3. ใช้คน หรือวัตถุเพื่อทำหน้าที่เป็นตัววัดขนาด เพื่อให้ภาพมี Sense of Scale

การถ่ายภาพเพื่อให้มีขนาดอ้างอิง เช่น คน รถยนต์ หรือต้นไม้ จะทำให้ผู้ชม รู้สึกถึงขนาดของสถาปัตยกรรมนั้น ในทางกลับกัน การใช้วัตถุอ้างอิง ก็เป็นตัวหลอกสายตาให้รู้สึกว่า ขนาดเล็กหรือใหญ่ เกินจริงได้ด้วยเช่นกัน 

4. ใช้มุมมองที่หลากหลายและมองหารายละเอียดเพื่อช่วยเล่าเรื่องราว

สถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ อาคารใหญ่โต คงถ่ายภาพตัวอาคารทั้งหมดคงไม่ไหว การถ่ายภาพเเยกส่วนเเล้ว นำมาประกอบกันภาพหลังก็ทำได้นะ หรืออาจจะถ่ายภาพเเยกส่วน จากตัวอาคารหลากหลายมุม ดังนั้นช่างภาพต้องหามุมมองที่ช่วยดึงรายละเอียดเพื่อเป็นตัวเเทนนำเสนอสถาปัตยกรรมเเห่งนั้นได้ชัดเจนที่สุด ยังไงก็เเล้วเเต่ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของช่างภาพด้วยว่าต้องการนำเสนอเรื่องราวเเบบไหน 

การถ่ายภาพเเยกส่วนของอาคารหลังเพื่อนำเสนอ เช่น ภาพด้านนอก ทางเข้า เเละย้ายเข้าไปในตัวอาคาร ที่มีห้องโถงทางเดินหรือการตกเเต่งที่เป็นเอกลักษณ์ โค้มไฟระย้า หรือภาพจิตรกรรมฝาผนัง 

5. ใช้เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อน เพื่อดึงเรื่องราวของสถานที่นั้น ๆ 

ภาพสะท้อนเป็นเทคนิคที่ช่วงสร้างความสมมาตรและสมดุลในภาพได้ ในบางภาพ ก็ใช้ภาพสะท้อนเพื่อสื่อถึงความเปรียบต่าง ซื่งไม่เพียงเเต่ด้านสีสันเท่านั้น เเต่เป็นความเปรียบต่างด้านวัฒนธรรม เเละเวลาด้วย 

ภาพสะท้อน สร้างได้จากน้ำ หรือกระจกจากตึกบริเวณนั้น ก็ได้ ลองหาดูเวลาเดินเที่ยวครั้งหน้า พยายามถ่ายภาพเงาสะท้อนของโบสถ์หรือ อาคาร บ้านสมัยเก่า จากตึกที่สร้างเเบบสมัยใหม่ จะได้ภาพที่มีแนวคิดด้านความเปรียบต่างที่น่าสนใจ

6. ใช้ช่วงเวลา Blue hour  ให้เป็นประโยชน์ 

ช่วงเวลา Blue hour ถูกใช้เพื่อดึงความสนใจในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเเบบหนึ่ง เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงดวงอาทิตย์เพิ่งจะลับของฟ้า เเสงจากดวงอาทิตย์ยังคงมีอยู่ เเละสร้างสีสันให้ท้องฟ้าอย่างน่าทึ่ง 

7. ใช้การถ่ายเเบบพาโนรามา

ในเมื่อการถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างไม่พียงพอที่จะถ่ายได้ทั้งตัวอาคาร การใช้พาโนรามา จึงเป็นทางออกที่จะช่วงให้ช่างภาพ ได้ภาพอาคารตัวเต็ม เเละบรรยากาศโดยรอบได้ โดยพยายามให้ตัวเเบบที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น อยู่ตรงกลางภาพ อาจจะถ่ายเเบบเเนวตั้ง หรือเเนวนอนก็ได้ ในบางครั้งการถ่ายพาโนรามา อาจจะเกิดการบิดเบี้ยวของภาพเเต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะซอร์ฟเเวร์ในปัจจุบันจะช่วยเเก้ไขปัญหานี้ได้ เเละก็ต้องไม่ลืมถ่ายภาพเป็นเเบบ .RAW ด้วยล่ะ

8. ใช้มุมมองที่หลากหลาย ถ่ายให้หลายมุม

การเปลี่ยนมุมมอง หรือการเดินเปลี่ยนมุมในการถ่ายภาพ ช่วยให้ภาพมีมิติ การเปลี่ยนจากการถ่ายภาพระดับสายตา มาเป็นการถ่ายมุมเงย ทำให้ภาพมีความโค้งเเละบิดงอสูงขึ้น เเต่การบิดงอในลักษณะนี้ กลับสร้างผลลัพท์ที่น่าทึ่งให้กับภาพได้ ซึ่งช่างภาพใช้ข้อได้เปรียบในจุด เพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นได้ 

9. ใช้รายละเอียด และ Pattern ของตัวอาคาร เพิ่มมิติให้กับการนำเสนอภาพ 

Pattern หรือ รายละเอียดที่ซำ้กันของโครงสร้าง ผนัง กำเเพง ประตู หน้าต่าง ที่มีอยู่มากมาย ช่วยให้ช่างภาพ สร้างภาพที่น่าสนใจจากรูปแบบเหล่านั้นได้ 

ในการถ่ายภาพนั้น ไม่เพียงเเต่การมองภาพรวมเเล้ว การมองจุดเล็ก ๆ หรือรายละเอียด ก็สำคัญเช่นกัน บางครั้งรายละเอียดนั้นอาจจะดูไม่น่าสนใจ เเต่เมื่อมีรูปแบบที่ซ้ำ ๆ กัน ก็จะเกิดเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจได้

10. ใช้คนเป็นองค์ประกอบของภาพ 

เรื่องที่หลีกเลี่ยงลำบากคือ การถ่ายภาพอย่างไรไม่ให้มีคนติดเข้าไปในภาพ ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือก็เพิ่มคนเข้าไปในภาพซะเลย นอกจากจะช่วยสร้างเรื่องราวให้กับภาพเเล้ว ยังเป็นการเพิ่ม sences of scale ให้กับภาพด้วย เเต่ถ้าในบางกรณี ไม่อยากจะได้ภาพคนที่พลุกพล่านเกินไป ช่างภาพก็สามารถเลี่ยงได้ โดยตั้งค่าการถ่ายภาพให้เป็นเเบบ long exposure  เพื่อคนที่เดินไปมา จะเบลอไป จะเห็นเพียงเเค่สถาปัตยกรรม หรือสถานที่ที่ต้องการถ่ายภาพเท่านั้น

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

Exit mobile version