Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 วิธีการถ่ายทอดอารมณ์เข้าไปในภาพถ่าย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดถ่ายรูป

10 วิธีการถ่ายทอดอารมณ์เข้าไปในภาพถ่าย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดถ่ายรูป ในการถ่ายภาพนั้น เป้าหมายอาจจะไม่ใช่เพียงเเค่การถ่ายภาพให้ออกมาดูดีเท่านั้น เเต่จุดประสงค์หลักของการถ่ายภาพ มีอยู่หลักๆ ด้วยกัน 3  ประการ คือ

  1. เพื่อสื่ออารมณ์ ความรู้สึกให้กับผู้ชม
  2. เพื่อส่งผลกระทบต่อผู้ชมโดยกระตุ้นให้พวกเขามีมุมมองและความคิดที่ต่าง
  3. เพื่อกระตุ้นความรู้สึกที่ซ่อนภายในตัวคุณเพื่อให้คุณมองโลกในมุมมองที่ต่างออกไปจากเดิม

10 วิธีการถ่ายทอดอารมณ์เข้าไปในภาพถ่าย

1. ไม่มีกฏที่ตายตัว สำหรับความรู้สึก เเละอารมณ์

ไม่มีเรื่องของเวลา หรือ เรื่องเเสงที่เหมาะสม ไม่มีเลนส์เฉพาะที่สามารถจะจับภาพของอารมณ์ได้ มันเป็นเรื่องที่ต้องจับและหาจังหวะ ที่จะอ่านอารมณ์เหล่านั้นเอง ซึ่งไม่สามารถที่จะบอกว่า ยิ้ม หัวเราะ หรือ ร้องให้ถ่ายภาพให้หน่อย นั่นเป็นการบังคับให้แสดงอารมณ์

เเต่อะไรที่ตัวเเบบกำลังรู้สึกจริง ๆ นั่นคืออารมณ์ที่เราจะจับได้ เช่น การที่เด็กร้องไห้ ก็จับภาพตอนที่ร้องไห้ ตอนที่มีความสุขก็จับภาพตอนที่มีความสุข ก็จะได้อารมณ์จริง ๆ ของภาพนั้น และอีกอย่าง อย่ายึดติดกับรอยยิ้ม เพราะยังมีการเเสดงอารมณ์อย่างอื่นอีก ซึ่งสวยงาม เมื่อได้ถ่ายทอดออกมาจากกล้องถ่ายรูป

2. สร้างอารมณ์ด้วยสี

สีก็จะมีความหมายทางด้านอารมณ์ด้วย เช่น สีเเดงหมายถึง ความรู้สึกถึงอารมณ์โกรธ รุนเเรง หรืออาจจะสื่อถึงความรัก สีดำหมายถึงความกลัว ความไม่เเน่ใจ ซึ่งเราเล่นกับสีต่าง ๆ เพื่อจะสื่อให้ได้ถึงอารมณ์ของภาพได้ นอกจากนี้ การปรับ contrast ที่มากขึ้นก็สื่อได้ถึง ความฉุนเฉียว ความอ่อนเเรง ปรับให้อ่อนลง ก็สื่อถึงความรู้สึกสบายใจได้

3. ใช้เเสงเเละเงาในการเพิ่มความลึกซึ้ง ให้กับภาพได้

ยกตัวอย่างภาพที่เด็กหญิงคนหนึ่งหลงทางอยู่ในสวน โดยจะดึงอารมณ์ได้จากเงาของนำ้ตาที่ไหลลงมาอาบเเก้ม หรือ วามกังวล วิตก สับสน อาจจะเป็นการใช้ แสง เงา โครงสร้าง เพื่อเเสดงความรู้สึกและอารมณ์ของภาพได้ด้วยเช่นกัน

4. พร้อมเสมอ เมื่อต้องเก็บซีนอารมณ์

ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ไหนก็ตาม ต้องพร้อมเสมอในการจับภาพ โดยเฉพาะอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติ เช่น เมื่ออยู่ในสนามเด็กเล่น เตรียมตัวให้พร้อม เพราะที่สนามเด็กเล่น จะมีการสื่ออารมณ์ที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้อารมณ์ที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ

5. จับภาพของตัวเเบบเมื่อผ่อนคลายหลังจากโดนถ่ายภาพ

เมื่อตัวเเบบเห็นเรา เเล้วเราถ่ายภาพ จังหวะนั้น ตัวเเบบจะเกร็ง เเละจะไม่ได้ความรู้สึกที่เเท้จริง จะเกร็ง ๆ เเข็ง ๆ ดังนั้น รออีกจังหวะ หลังจากที่เราถ่ายตัวเเบบเสร็จเเล้ว จะมีจังหวะที่ตัวเเบบอาจจะผ่อนคลายลงหัวเราะ หรือยิ้มออกมา เเละจังหวะสองนั่นเเหละ คืออารมณ์ที่จะได้อย่างเเท้จริง

ไอเดียถ่ายภาพที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่

6. อย่าหยุดถ่ายภาพ สิ่งนี้คือส่วนสำคัญ

เรื่องที่ดูเหมือนพื้น ๆ แต่ก็แอบลึกซึ้งอยู่เหมือนกัน ก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เราหยุดถ่ายภาพ ก็จะไม่มีภาพ ดังนั้น ถ่ายทุกอย่างตามที่เราตั้งใจไว้แล้วจะพบความสวยงามเเละความมหัศจรรย์ในภาพเเต่ละภาพอย่างไม่น่าเชื่อ

7. ลงลึกในรายละเอียด

บ่อยครั้งที่อาจจะใส่ใจตัวเเบบ หรือจับโฟกัสที่ตา หรือรอยยิ้มเพียงอย่างเดียว เเต่ในบางครั้ง หยดเหงื่อ หรือกล้ามเนื้อ ของตัวเเบบ ก็เป็นภาพที่สื่ออารมณ์ได้ชัดเจนเช่นกัน

8. ใส่ใจสิ่งที่อยู่ในมือ

การถ่ายภาพอุปกรณ์ที่อยู่ในมือ ก็สื่อได้ถึงอารมณ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น การถ่ายมือของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มีสร้อยสำหรับอธิษฐาน พันอยู่ที่มือ ขณะที่กำลังนั่งอธิษฐานอยู่ในโบสถ์ หรือมือของเเม่ที่กำลังกุมมือเล็ก ๆ อีกมือหนึ่ง ก็สื่อถึงความรักระว่างเเม่กับลูกได้

9. จับภาพที่ตา

ตาจะเป็นเครื่องมือที่สื่ถึงออารมณ์ได้ดี เพราะตาเป็นประตูสู่วิญญาณ สายตาจึงซ่อนอารมณ์เอาไว้ไม่ได้ การเเสดงออกทางตา จึงเป็นอารมณ์ที่เเท้จริง

10. รู้สึกถึงอารมณ์ที่อยู่ตรงหน้า

การที่จะถ่ายภาพอารมณ์ออกมาได้นั้น จำเป็นต้องรู้สึกถึงอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาจากตัวเเบบ อาจจะต้องมีความอดทน การฝึกฝน การเอาใจใส่ จนกว่าจะได้ภาพที่เก็บอารมณ์จริงๆ เเละถ่ายทอดอารมณ์นั้นออกมาได้

และนี่ก็เป็น 10 วิธีการถ่ายทอดอารมณ์เข้าไปในภาพถ่าย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดถ่ายรูป ที่อยากจะแนะนำให้ลองนำไอเดียไปปรับใช้กันดูนะครับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วย FLASH และการถ่ายภาพ PORTRAIT สำหรับมือใหม่

Exit mobile version