Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด เทคนิคเอาชีวิตรอดจากการถ่ายภาพกลางคืนสำหรับมือใหม่ ถ่ายติดมืด Noise เยอะ ภาพไม่สวย เดี๋ยวเราไปดูสารพันวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพกลางคืนกันดีกว่าว่าควรทำยังไง รับรองว่ามือใหม่เอาชีวิตรอดจากการถ่ายภาพในตอนกลางคืนได้แน่นอน

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด

1. เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของสามค่าที่มีผลกับแสงให้เคลียร์ก่อน นั่นคือ รูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์, ISO เรียกหัวเรื่องนี้ว่า Exposure Triangle ละกัน

ทำไมต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ก่อนล่ะ เพราะสามค่านี้เราจะต้องปรับขึ้นเพิ่ม ลด สลับกันไปมาตลอด ความสัมพันธ์สามค่านี้เราเรียกว่า Exposure Triangle ครับ เพราะอะไร การที่เราจะปรับกล้องสำหรับถ่ายภาพกลางคืนนั้นเราต้องรู้ว่า เมื่อไหร่ควรปรับอะไร

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

ยกตัวอย่าง เราต้องการรูรับแสงที่แคบลงในการถ่ายภาพ เพื่อควบคุมระยะชัด พอใช้รูรับแสง F8 แสงแคบลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือแสงลดลง การที่จะเพิ่มแสงให้ได้มากขึ้นก็เหลืออีกสองวิธี คือ ไม่ลดความเร็วชัตเตอร์ลง ก็ต้องเพิ่ม ISO แน่นอนว่า เราต้องเลือกลดความเร็วชัตเตอร์ก่อน เพราะการเพิ่ม ISO ทำให้เกิด Noise อะไรแบบนั้น

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

ถ้าเราลดความเร็วชัตเตอร์ต่ำจนถือไม่ได้แล้ว ค่อยเพิ่ม ISO เป็นต้น หรืออาจจะลดความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ๆ เป็นหลักวินาทีเลย แต่ใช้ขาตั้งกล้องแทนอะไรงี้ เพราะงั้นเรื่อง Exposure Triangle ศำคัญมาก เป็นอีกหัวข้อเลย สามารถอ่านได้ในลิงก์ที่แนบมาครับ แต่รับรองว่าเรื่องนี้ได้ใช้แน่นอนโดยเฉพาะคนที่จะถ่ายโหมด M

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Exposure Triangle

2.ใช้ขาตั้งกล้องให้ชำนาญ และควรเข้าใจว่าจะใช้ขาตั้งกล้องกับภาพแบบไหนบ้าง

ขาตั้งกล้องนี่เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตสำหรับการถ่ายภาพวิวหรือ Landscape เลย เพราะว่าอะไรล่ะ?

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

เพราะว่าเวลาที่เราถ่ายภาพวิว เราต้องการระยะชัดเยอะ ๆ เราต้องใช้รูรับแสงแคบ อย่าง F8 ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นช่วงเย็น ๆ เนี่ย F8 แสงเข้ากล้องน้อยแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่จะทำต่อมาคือปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ลดลง ลดลงจนได้แสงพอนั่นแหละ แน่นอนว่าส่วนใหญ่เราจะใช้ ISO 100 ด้วย ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ๆ จนถือไม่ค่อยได้เพราะภาพจะเบลอ

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

ที่อธิบายมาเยอะคือจะให้เข้าใจกระบวนการว่าทำไมขาตั้งกล้องถึงสำคัญ จะได้เห็ได้ว่าขาตั้งกล้องจะเป็นตัวช่วยให้เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ ได้สบายนั่นเอง เพราะงั้นก็แนะนำใช้ขาตั้งกล้องให้ชำนาญด้วยนะ

3. ตั้งค่ากล้องให้ถ่ายภาพเป็น RAW File

ปกติต้องบอกกันด้วยเหรอว่าต้องถ่าย RAW File ต้องบอกครับ เพราะบางคนที่เริ่มต้นถ่ายภาพอาจจะยังไม่รู้จักไฟล์ประเภทนี้ RAW File เป็นไฟล์ข้อมูลของภาพถ่ายเรา สำหรับคนเริ่มต้น ปกติเราจะใช้ JPG กันใช่ไหมล่ะ ภาพ JPG คือไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดแล้ว ทำให้ภาพพร้อมใช้งานด้วย ไฟล์มีขนาดเล็ก ถ่ายแล้วเอาไปอ้พเฟซบุ๊ค สั่งพิมพ์ นั่นนี่ได้เลย สบายมาก

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

แต่ RAW File เป็นไฟล์ข้อมูลที่จะมีขนาดใหญ่กว่า JPG มากเลยแหละ และไม่พร้อมใช้งานเหมือน JPG ด้วย (ถึงเรียกว่าไฟล์ดิบไง) แล้วทำไมเราต้องใช้ไฟล์นี้ล่ะ เพราะว่าไฟล์ RAW นั้นเหมาะสำหรับการเอาไปใช้ปรับแต่ง แก้ไขค่าต่าง ๆ ของภาพ ให้มันสมบูรณ์มากขึ้่น เพราะมันไม่ถูกบีบอัดหรือปรับอะไรมาเลยนั่นเองครับ

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

ไฟล์ RAW เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้เราได้ภาพที่สมบูรณ์ตามใจเราปรารถนา เช่น เราถ่ายภาพในที่มืดมาแล้วต้องการลด Noise ลง ก็ใช้ไฟล์ RAW มาลด Noise เฉพาะส่วน ๆ ได้ หรือว่าจะเอามาเพิ่มแสงเฉพาะจุดที่ต้องการ ปรับ White Balance ให้ตรงกว่าเดิม โอ้ ทำได้เยอะเลยแหละ แต่ว่าก็ต้องอาศัยการทำงานในไฟล์นี้ร่วมกับโปรแกรมอย่าง Adobe Lightroom (ที่ใช้กันส่วนใหญ่) หรือพวกโปรแกรมอย่าง Capture One เป็นต้นครับ

เอาเป็นว่าใครอยากรู้เรื่องไฟล์ JPG vs RAW อันไหนจะแตกต่างกันยังไง ก็ลองอ่านในบทความนี้เพิ่มได้ครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JPG vs RAW

4. ใช้เลนส์รูรับแสงที่กว้างขึ้น สำหรับคนที่เดินทางเที่ยวถ่ายภาพ หรือถ่าย Portrait

ในการถ่ายวิวเราใช้รูรับแสงแคบ ๆ อยู่แล้วล่ะ แต่การถ่ายภาพสำหรับบางคนที่เดินถ่ายภาพในเมืองหรือต้องการถ่ายภาพเพื่อนระหว่างไปตามที่ต่าง ๆ แล้วแสงน้อย จะมาตั้งขาตั้งคงไม่สะดวก สิ่งที่ช่วยเราได้ทันทีคือเลนส์รูรับแสงกว้างครับ

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

โดยส่วนใหญ่แล้วที่แนะนำเลยคือให้พกเลนส์ Fix ในระยะที่ชอบไปด้วย เพราะราคาเลนส์ Fix ในระดับทั่วไปก็ไม่แพง และได้ F1.8 แน่นอน สบาย ๆ ทำให้เราสามารถที่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงบ้างสัก 1/60 แล้วใช้ F1.8 แสงน้อยหน่อยอาจจะ ISO สัก 1000 – 1600 ก็ยังสบาย ๆ ถ้ามืดมากกว่านี้หนัก ๆ ก็ใช้ไม่ค่อยเกิน 6400 แน่ ๆ สำหรับเดินในเมือง ประมาณนั้น (ถ้าเกินกว่านี้จริง ๆ ก็มืดมากละนะ ดัน ISO เพิ่มเอาละกันเนอะ)

แต่ที่เขียนมายาวเนี่ยลองนึกสภาพที่ใช้เลนส์ที่ F3.5-F5.6 อย่างเลนส์ที่ค่า F ไหลตามระยะการซูมที่เราเคยเห็นบ่อย ๆ แบบนี้เจอสภาพแสงน้อยนี่ลำบากแน่นอน เอาเป็นว่าหาเลนส์รูรับแสงกว้าง ๆ หน่อย จะเป็น F2.8 ตลอดช่วงซูมแต่ราคาแพง หรือจะเลือกเลนส์ Fix F1.8, F1.4 ก็ได้ แล้วแต่สะดวกเลยจ้า

5. เข้าใจเรื่อง ISO ที่ต้องเพิ่มบ้าง คงจะใช้ต่ำสุดตลอดไม่ได้หรอกในชีวิตจริง

เรื่องนี้ผมเป็นมาก่อน คือเราอยากได้ไฟล์เนี๊ยบ ๆ ISO ต้องต่ำสุดตลอด อะไรแบบนั้น แทบจะพกขาตั้งกล้องไปถ่ายทุกที่เลย ผมว่าอันนั้นความคิดผมตอนเริ่มต้นถ่ายรูปมันค่อนข้างผิดไปหน่อย

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

หลาย ๆ สถานการณ์อย่างที่เคยเอ่ยไปในข้อ 4 คือ บางครั้งเราก็ต้องเพิ่ม ISO จริง ๆ นะ แล้วก็เราเพิ่มแล้วค่า Noise มันไม่ได้กระทบอะไรกับภาพมากนัก อย่างกล้องสมัยนี้ ISO 3200-6400 ก็สามารถเอาอยู่ได้แล้วนะ ดังนั้น เป็นเรื่องของมุมมองมากกว่าว่า บางสถานการณ์ก็ต้องดัน ISO เพื่อให้ได้ภาพ ก็ต้องดันนะ ส่วนเรื่องการจัดการ Noise ในภาพให้ลดลงก็เอาไป Process เพิ่มที่หลังได้

6. ศึกษาเรื่องความเร็วชัตเตอร์ที่มีผลกับภาพ ทั้งเรื่องของแสง และเอฟเฟกต์ที่เกิดขึ้นกับการใช้ความเร็วชัตเตอร์

การปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้แสงที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่แล้วเราก็ลดความเร็วชัตเตอร์ลง แต่ยิ่งความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ก็จะมีเอฟเฟกต์บางอย่างตามมา ที่บอกว่าการถ่าย Landscape เราใช้ขาตั้งกล้องเป็นหลักเพราะว่า ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงแล้ว เราได้แสงเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ถ้าเกิดมีวัตถุขยับในภาพ จะเกิดการเบลอให้เห็น เช่น คนเดินไปมา หรือรถวิ่ง แล้วทำยังไงล่ะ?

10 เทคนิคมือใหม่ ถ่ายภาพกลางคืนยังไงให้รอด, การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Mirrorless, สอนถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photohraphy

เราก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์ในการสร้างสรรค์ภาพไปเลยก็ได้ เช่น รถที่วิ่งเมื่อมันเบลอมากพอ ก็จะกลายเป็นเส้นแสง หรือว่าคนเดินไปมา เมื่อเบลอมากพอ อาจจะจางหายไปกับภาพก็ได้ ดังนั้นเราควรเข้าใจเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ที่มีเอฟเฟกต์กับภาพที่ออกมาด้วยนะครับ นอกจากนี้ การฝึกใช้บ่อย ๆ สำคัญมากสุด ๆ ครับ

อ่านพื้นฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของความเร็วชัตเตอร์

7. ปิดกันสั่นที่กล้องและเลนส์เวลาถ่ายภาพ Landscape

การถ่ายภาพ Long Exposure หรือการถ่ายภาพวิวที่เราจะเปิดความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ สิ่งที่ทำให้ภาพเบลอก็คือ การสั่นไหวไม่ว่าจะเกิดจากตัวกล้อง ตัวเลนส์ หรือระบบกันสั่นก็ด้วย (เพราะมันขยับ) เราจะแก้ไปทีละจุดก่อน

ก่อนอื่นเวลาที่เราต้องการให้กล้องนิ่ง เราจะใช้ขาตั้งกล้อง อันนั้นก็ทำให้เราได้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ ได้ละ แต่ว่าจะมีอีกประเด็นที่ตามมาคือ ตัวกระบอกเลนส์ที่มีกันสั่น มันยังขยับเพื่อให้ภาพนิ่งอยู่ (แต่ในสถานการณ์จริงคือกล้องนิ่งแล้วแต่ระบบกันสั่นเขายังทำงานตามหน้าที่อยู่ เพราะงั้นการที่ขยับไปมาตอนเราถ่ายภาพเวลาใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะเกิดอาการเบลอในภาพได้เหมือนกัน)

นอกจากนี้ระบบกันสั่นในกล้องก็เช่นเดียวกันครับ ผมไม่แน่ใจว่ากล้องใหม่ ๆ ในปัจจุบันเขาปิดอัตโนมัติให้ไหมนะเวลาที่ถ่าย Long Exposure นาน ๆ แต่ส่วนใหญ่ผมเอาชัวร์ ก็กดสั่งปิดก่อนถ่ายทุกครั้งอยู่ดีครับ

8. เดินหาสภาพแสงแวดล้อมที่ดีขึ้นเป็นการช่วยกล้องด้วยนะ

อันนี้ไม่ได้กวนนะ แต่เทคนิคที่ทำให้เรารอดจากการถ่ายภาพกลางคืนคือ เดินหาจุดที่มีแสงสว่างกว่าจุดเดิมที่เรามี แล้วเราก็ถ่ายภาพ การเลือกมุมถ่ายก็เป็นอีกไอเดียนึง และเป็นทักษะที่ดีในการเลือกมุมถ่ายภาพเหมือนกัน ลองดูนะ เดินถ่ายภาพในเมือง แต่มันมืดไป ก็ขยับหาจุดที่มันสว่างขึ้นมาหน่อย เป็นการช่วยกล้องให้ได้สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วย

9. ใช้ Remote หรือสายลั่นชัตเตอร์เวลาถ่ายภาพ Landscape

บางคนไม่รู้จริง ๆ นะ เวลาที่เราถ่ายภาพวิวแล้วจะใช้ความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ เวลาที่ถ่ายภาพเขาไม่ได้มานั่งกดชัตเตอร์จากตัวกล้องโดยตรง เราจะใช้รีโมทสั่งลั่นชัตเตอร์ หรือว่าจะใช้สายลั่นชัตเตอร์ต่อจากตัวกล้องก็ได้ (บางคนก็ใช้ทัชชัตเตอร์จากจอเอา แต่ต้องแตะเบา ๆ เบามาก ๆ)

แต่แนะนำว่าใช้สายลั่นหรือรีโมตชัตเตอร์เถอะ เพราะการที่กดจากตัวกล้องตรง ๆ กล้องก็ขยับตั้งแต่กดถ่ายละ ได้ภาพเบลอแน่นอนจ้า

10. ฝึกใช้ Manual Focus ให้เป็น และฝึกใช้ Flash แยกบ้างเล็กน้อย เพราะทั้งสองเรื่องนี้ช่วยเราได้

อันนี้ขอพูดรวม ๆ เพื่อที่จะไม่ลึกเกินไป การใช้ Manual Focus ทำให้เราสามารถโฟกัสในจุดที่ต้องการได้มากขึ้น เพราะกลางคืนบางทีออโตโฟกัสทำงานลำบากมากละ เราอาจจะหมุนหาโฟกัสเอง ซึ่งมีโอกาสได้ใช้แน่นอนครับ ในปัจจุบันกล้องมี Peaking Focus ช่วยในการทำให้ Manual Focus ของเราแม่นยำขึ้นครับ

นอกจากนี้ฝึกใช้แฟลชแยกบ้าง จะทำให้เราถ่ายภาพกลางคืนพวกภาพบุคคลได้ดีขึ้น แต่แน่นอนมันมีการใช้ที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์อยู่ เดี๋ยวผมจะพูดในโอกาสต่อไปนะครับ แต่หัดใช้แฟลชบ้างนะครับ ช่วยได้จริง ๆ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version