Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 วิธีการใช้ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ที่จะทำให้ภาพสวยขึ้นและดึงดูดสายตามากขึ้นกว่าเดิม

10 วิธีการใช้ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ให้ภาพถ่ายของเราสวยขึ้นมีหลายวิธีการ และปัจจัยหลายด้าน ที่จะทำให้ถ่ายภาพทิวทัศน์ออกมาได้สวย การเข้าใจสี เเละการใช้ ทฤษฎีสีก็เป็นหนึ่งในวิธีการนั้น และความรู้เรื่องทฤษฎีสีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับงานออกแบบทุกชนิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่นได้อีกด้วย

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

10 วิธีการใช้ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ที่จะทำให้ภาพสวยขึ้นและดึงดูดสายตามากขึ้นกว่าเดิม

1. รู้ทฤษฎีสี

ทฤษฎีสีเป้นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ ถ้าอยากจะถ่ายภาพออกมาให้สวย สีมีโครงสร้างเเละลักษณะทางกายภาพที่เเตกต่างกัน การรู้จักผสมสี มองสี ก็จะกำหนดภาพถ่ายที่ออกมาได้ ทำใจให้คุ้นชินกับการใช้สี เเล้วผลลัพท์ของภาพที่ออกมาจะมีการเปลี่ยนเเปลง ไปในทางที่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ของภาพก็จะเด่นขึ้นมาอีกด้วย

2. เข้าใจทฤษฎีสี

หลังจากที่โลกของภาพสีได้เกิดขึ้น ทฤษฎีสีก็เป็นพลังขับเคลื่อนให้ช่างภาพ ได้สร้างสรรค์ผลงานมากมายและเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของเเต่ละสี ช่างถ่ายภาพทิวทัศน์จะรู้ได้ทันทีว่า สีที่เกิดขึ้น ในสถานที่นั้น เมื่อถ่ายภาพออกมาเเล้ว จะได้ภาพที่ดีและโดดเด่น ได้อารมณ์ภาพ หรือภาพที่ดูกลายเป็นภาพของสถานที่ธรรมดา ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการทำงานของช่างภาพได้ อีกทั้งใช้สีในการเเสดงออกหรือสื่อไปทางจิตวิทยาก็ได้ด้วย

3. เข้าถึงความสัมพันธ์ของสี

เเล้วสีมีความสัมพันธ์กันอย่างไรล่ะ เมื่อลองดูในวงจรสี (หรือจะเรียกว่าวงล้อสีก็ได้) จะมี

สีขั้นที่ 1 แม่สี (Primary Colors)

คือสีที่เมื่อผสมกันเเล้ว จะได้สีอื่นอีก กลุ่มนี้คือสี แดง เหลือง น้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 (Secondary Colors)

คือสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่ 1 เช่น สีม่วง สีส้ม สีเขียว

สีขั้นที่ 3 (tertiary colors)

คือสีที่เกิดจากการผสมสีขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เข้าด้วยกัน เช่น สีเเดงส้ม (vermilion) เหลืองส้ม (amber) แดงม่วง (magenta) น้ำเงินม่วง (violet) น้ำเงินเขียว (teal) เหลืองเขียว(chartreuse)

4. รู้จักเรื่องการใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors)

สีคู่ตรงข้าม คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี เป็นสีที่มีค่าสีตัดกันอย่างชัดเจน โดยสีคู่นี้จะให้ความรู้สึกรุนแรง จัดจ้าน ฉูดฉาด การใช่สีคู่ตรงข้าม จะทำให้ภาพสะดุดอย่างมาก สร้างความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์ในการอยู่เคียงคู่กัน เช่น หาดทรายสีน้ำตาลเเดงกับน้ำทะเสสีฟ้า

5. ศึกษาการแยกสีคู่ (Split Complementary Colors)

การใช้สีที่สองสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม ก็เป็นการใช้ความสัมพันธ์ของสีที่น่าสนใจ เช่น ในภาพที่มีสีแดงส้ม สีเขียว เเละสีน้ำเงิน อยู่ด้วยกัน จะสร้างความเเตกต่าง เเละความฉูดฉาดมากขึ้น เเต่ก็ให้ภาพที่ดูน่าสนใจมากกว่าภาพที่ใช่คู่สีตรงข้ามเสียอีก

6. การใช้สีที่ใกล้เคียงกัน (Analog Colors)

สีที่ใกล้เคียงกัน คือสีที่อยู่เรียงติดกันในวงจรสี จะสร้างความกลมกลืนขึ้นในภาพ ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ลองจัดภาพ ให้มีสีใกล้เคียงกัน ลองมองวิว เเล้วเอามาเทียบกับวงจรสี เเล้วจะจินตนาการได้ว่าภาพจะออกมาในลักษณะไหน รวมทั้งการเเต่งภาพหลังจากนั้น จะได้กำหนดทิศทางสีได้ว่า จะต้องเเต่งภาพให้ออกมาเป็นสีอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้หลุดจากความกลลมกลืนตามคอนเซปต์สี

7. การใช้โครงสีสามเหลี่ยม (Triad Colors)

คือการใช้สีสามสีที่อยู่ห่างกันโดยจะอยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมเเต่ละมุม เช่น เมื่อเลือกสีเเดง สีเหลือง เเละสีฟ้า ก็จะถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน  ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ กลุ่มสามสีก็กระตุ้นความน่าสนใจของภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างมิติให้กับภาพอีกด้วย

8. ใช้โทนสีร้อนเพื่อให้ภาพดูอบอุ่น

เช่นกลุ่มสีโทนส้ม เเดง เหลือง และสีน้ำตาล เเละเมื่อประกอบกับภาพของเเสงอาทิตย์ สีโทนร้อน ก็จะยิ่งกระตุ้น ความรู้สึกอบอุ่น ได้สมจริงมากขึ้น ส่วนมากสีโทนนี้จะถูกใช้ในการเเต่งภาพที่เป็นช่วง Golden hour

9. ใช้โทนสีเย็นเพื่อภาพจะดูสบายตา

กลุ่มสีโทนเย็น เช่น สีเขียว สีฟ้า น้ำเงิน จะให้ความรู้สึก สบาย ผ่อนคลาย สีโทนนี้จะเกิดขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เเละหลังดวงอาทิตย์ตก หรือข่วงที่เรียกว่า Blue hour นั่นเอง นอกจากนี้ ภาพสีโทนเย็น กับภาพทิวทัศน์ที่เเสดงออกถึงความเย็น เข่าภูเขาที่มีน้ำเเข็งปกคลุมบางส่วน จะยิ่งกระตุ้นให้คนดู ได้รู้สึก เเละสัมผัสได้ถึงความหนาวเย็น และเงียบสงบ

10. อ่านอารมณ์เเละใช้สีให้เข้ากับอารมณ์

สีเเละอารมณ์ เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างตัดไม่ขาด ในภาพถ่าย คนที่มองภาพ จะมีความรู้สึกร่วมกับภาพ เเละยิ่งช่างภาพสามาถสร้างความน่าสนใจ เเละมีการลงน้ำหนักที่อารมณ์ โดยเพิ่มการใช้สีเข้าไปกระตุ้นอีกด้วยเเล้ว ภาพนั้นจะเป็นภาพที่เรียกได้เลยว่ามีอิทธิพลกับจิตใจของคนดู

และสีก็ยังเป็นการสื่อถึงระยะเวลาด้วย เช่น ภาพที่ถ่ายนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาไน ฤดูอะไร

นี่เป็นตัวอย่างสีที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ และนำมาซึ่งอารมณ์ที่จะได้จากการดูภาพ

สีน้ำเงิน เป็นสีเเห่งความสงบ โล่ง กว้าง เมื่อมีการใช้สีน้ำเงินลงในภาพ จะให้รู้สึกถึงพื้นที่กว้าง มีพื้นที่ในภาพ

สีเทา กระตุ้นให้รู้สึกถึง สายฝน น้ำ ไอหมอก ก้อนเมฆ เเละท้องฟ้า นอกจากนี้ สีเทาก็สื่อได้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น สัมผัสได้ถึงความเยือกเย็น และความรุนเเรง

สีม่วง มห้ความรู้สึกผ่อนคลาย อาจจะไม่ค่อยพบในธรรมชาติ สีม่วงกลายเป็นสีที่เเสดงถึงสัญลักษณ์เเห่งความงาม เเละความแปลกใหม่

สีเขียว เป็นสีที่พบเป็นปกติในการถ่ายภาพทิวทัศน์ สีเขียว ให้ความรู้สึกถึงความมีชีวิตชีวา สงบร่มเย็น

สีแดง เกี่ยวข้องกับความโกรธ ความปรารถนา ความรัก พบโทนสีนี้ในธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ตก ดอกไม้ เเละสีของฤดูใบไม้ร่วง

สีส้ม พบบ่อยครั้งเมื่อถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตก เป็นสีโทนอุ่น ให้ความรู้สึก สนุกสนาน เบิกบาน ความสุข เเละความหลงไหล

สีน้ำตาล เป็นสีของพื้นดิน (Earth tone) เป็นสีที่ใช้เมื่อจะสื่อถึงสภาวะของสิ่งเเวดล้อม

สีเหลือง  พบมากกับทิวทัศน์ที่มีดอกไม้ ทะเลทราย เเละใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ถูกใช้เพื่อกระตุ้น ความสุข พลังงาน

การใช้ทฤษฎีสี ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า จะใช้สีนี้ในภาพ “ทำไม” เเละ “อย่างไร” การเข้าใจพื้นฐานของสี ทำให้การถ่ายภาพสื่อถึงอารมณ์ เเละชี้นำเพื่อให้รู้สึก ในสิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นฐานการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่

Exit mobile version