Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

12 ไอเทม ที่ต้องมี เมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรม (Architectural photography)

หากว่าคุณเป็นคนที่ชอบถ่ายสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ให้ดูโดดเด่นเเละน่าสนใจ นอกจากจะต้องอาศัยความเข้าใจเรื่อง เเสง เเละมุมมอง เป็นพิเศษเเล้ว อุปกรณ์เสริม ก็มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดภาพนั้นง่ายขึ้น เเละได้คุณภาพของภาพดีขึ้น 12 ไอเทม นี้จะช่วยให้งานง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เเละภาพจะสวย เเละน่าสนใจมากขึ้น

12 ไอเทม ที่ต้องมี เมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

1. ขาตั้งกล้อง

เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก สำหรับการถ่ายภาพทุกประเภท เเละจะยิ่งมีประโยชน์มาก เพื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรม โดยสามารถพูดได้ว่า ควรจะใช้ขาตั้งกล้อง ในทุกรูปที่ถ่ายได้เลย

ทำไมการใช้ขาตั้งกล้องถึงต้องจำเป็นขนาดนั้น

ควรใช้ขาตั้งกล้องเเบบไหน

ก็ควรจะเป็นขาตั้งกล้องที่มีความเเข็งเเรง มั่นคง อาจจะมีราคาสูงหน่อย เเต่ได้ความมั่นคง ทนทาน กันน้ำ กันสนิม น้ำหนักพอเหมาะ เพราะต้องมีการขนย้าย เดินทาง ดังนั้น การพับเก็บก็จำเป็นที่พับเเล้วกะทัดรัด ไม่เทอะทะ เช่น TXL Series T-2004XL Tripod หรือ Befree GT Tripod ผลิตโดย Manfrotto ซึ่งไม่ทำให้ผิดหวัง

2. การใช้เลนส์มุมกว้าง

การใช้เลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง ใช้ได้ดีเมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัด เเต่ต้องการภาพมุมกว้างทั้งหมด เช่นการถ่ายภาพภายในตัวอาคาร เเละจะใช้ในการถ่ายภาพเเนว cityscape ด้วย

ควรเลือกเลนส์ตัวไหน

การเลือกเลนส์ส่วนมากขึ้นอยู่กับบอดี้กล้องว่าเป็นค่ายไหน เเต่ก็จะยกตัวอย่างเลนส์ที่ถ่ายภาพสถาปัตบกรรมได้ดีเช่น Canon 17-40mm f/4L, Nikkor 14-24mm f/2.8G ED, Sigma 14mm f/1.8 DG HSM Art Lens

3. ช่องมองภาพปรับอัตราขยายได้

ในกรณีที่ต้องก้มลงต่ำมาก ถ่ายภาพอาคารทั้งตึก ซึ่งช่องมองภาพช่วยให้เก็บภาพได้ง่ายขึ้น โดยการวางกล้องให้ต่ำที่สุด เเล้วใช้กล้องมองภาพในการมองภาพ ในระดับที่อยู่ใกล้พื้นดิน เเต่สำหรับกล้องบางรุ่นที่มีหน้าจอบานพับ หมุนได้ ก็จะทำหน้าที่เเทนตัวนี้ได้เลย

4. รีโมทสั่งงานไร้สาย หรือ สายลั่นชัตเตอร์

การเเตะตัวกล้อง ทำให้เกิดการสั่นไหวขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบมากก็ตอนที่ถ่ายเเบบ long exposure

5. Tilt Shift Lens

การถ่ายภาพจากเลนส์มุมกว้างทำให้เกิดปัญหาความโค้ง หรือบิดงอของภาพ โดยจะได้ภาพที่ตึกโค้งมาอยู่ตรงกลางภาพ การเเก้ไขทำได้โดย Post-processing เเต่ก็จะดีกว่า ถ้าจะให้ภาพที่ถ่ายจบหลังกล้องได้เลย ดังนั้น Tilt shift lens จึงสร้างมาเพื่อเเห้ปัญหานี้ โดยเลนส์ตัวนี้จะเเ้ปัญหาการโค้งของงภาพที่เกิดจาก เลนส์มุมกว้างได้

6.กล้อง Full Frame DSLR

ก็มีหลายเหตุผลที่บอกว่า ต้องใช้ กล้อง Full Frame DSLR (เเต่ไม่ใช่เรื่องราคาเเน่นอน) เมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนะต้องได้กล้องที่มีความละเอียด มีคุณภาพสูง เเละลดการเกิด noise กล้องที่นิยมใช้ก็เช่น Canon 5D Mark IV, Nikon D5 and the Sony Alpha A7 II

7. Polarizing Filter

เป็น ฟิลเตอร์ที่มีรูปร่างกลม ที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วย ซึ่งเหตุผลเดียวกันกับการใช้ถ่ายภาพสถาปัตยกรรม โดยฟิลเอต์จะมีหน้าที่ ดังนี้

8. แฟลชเเยก

เมื่อมีการถ่ายภาพนอกตัวอาคาร การใช้เเฟลชเสริมจะช่วยให้เห็นรายละเอียดบางส่วนของวัตถุ เเละช่วยในการถ่ายย้อนเเสงอย่างมาก เช่น การถ่ายวัตถุเเบบย้อนเเสง การใช้เเฟลชยิงเข้าไปที่ตัวเเบบ ก็จะทำให้เห็นรายละเอียดของตัวเเบบชัดขึ้นได้

9. โปรแกรมเเต่งภาพ

เมื่อถ่ายภาพกลับมาเเล้ว ช่างภาพส่วนมากก็จะนำภาพมาทำการ Post – processing  เพื่อปรับสี ปรับเเสง ลบบางจุด หรือเพิ่มบางอย่าง เพื่อให้ภาพสื่อความหมาย เเละอารมณ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการถ่ายภาพเเบบ HDR เเล้วนำมา Blending เข้าด้วยกัน โดยโปรเเกรมที่นิยมใช้เช่น Adobe Photoshop, Adobe lightroom  และ Nik EFFX

10. ระดับของลูกน้ำ

เป็นข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ที่จะต้องให้กล้องตั้งเป้นเเนวระนาบ ขนานกับพื้น เพื่อไม่ให้เส้นของฟ้าเอียง เพราะสายตาของเเต่ละคน ไม่สารมรถเชื่อถือได้เสมอไป ดังนั้นการถ่ายภาพจึงต้องคอยดูลูกน้ำ ไม่ให้ภาพที่ถ่ายมานั้นดูเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

11. Graduated Neutral Density Filters (GND filter)

เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้บ่อยในการถ่ายภาพทิวทัศน์ เพื่อลดเเสง เเละปรับสมดุลเเสง การที่ใช้ฟิลเตอร์ช่วยตั้งเเต่ขึ้นตอนการถ่ายภาพ ทำให้ลดเวลาในการทำ Post processing ลง ซึ่ง GND filters มีอยู่หลายระดับ ตั้งเเต่ความเข้ม ระดับ1, 2 หรือ 3 สตอป

12. Bracket หรือ Clamp

บางเเห่ง ไม่สามารถที่จะใช้ขาตั้งกลองได้ พื้นที่อาจจะไม่อำนวย ก็ต้องอาศัย Bracket หรือ Clamp เพื่อจัดยึดกล้องให้มั่นคง เเละถ้าหากวันไหนที่อาจจะลมเเรง อยากจะเพิ่มความมั่นใจอีกหน่อย เพราะกลัวขาตั้งล้ม ก็ต้องใช้ clamp  เพื่อลดการสั่นไหว และการเลื่อนจุดถ่าย

source : https://expertphotography.com

อ่านบทความเพื่อเพิ่มไอเดียการถ่ายภาพได้ที่นี่เลย

Exit mobile version