Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

12 ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยงสำหรับมือใหม่ถ้าอยากได้รูปสวย

12 ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยงสำหรับมือใหม่ถ้าอยากได้รูปสวย เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ เราก็มักจะมีความคิดและสิ่งที่ได้รับรู้มาแตกต่างกัน ซึ่งก็มีหลายเรื่องที่เป็นทั้งเรื่องจริง และอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด ซึ่งก็ไม่ได้มีเพียงเราคนเดียวหรอกนะที่พลาด ในบทความวันนี้เราจะมาพูดถึง 10 ข้อผิดพลาดของช่างภาพกล้องมือใหม่ที่มักจะทำกันบ่อยๆ  เรามาลองสำรวจตัวเองว่าเราเป็นคนนึงที่เคยทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่ จะได้พยายามเลี่ยงและหาทางแก้ไขกันครับ

12 ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยงสำหรับมือใหม่ถ้าอยากได้รูปสวย

1. โฟกัสที่อุปกรณ์มากเกินไปคิดว่าอุปกรณ์ดีก็จะถ่ายรูปได้ดีขึ้น (กล้องแพงและรุ่นใหม่ไม่ได้ตอบโจทย์เสมอไปนะ)

แน่นอนว่าการถ่ายภาพจะต้องใช้อุปกรณ์มากมายในการถ่ายทำ อารมณ์แบบของมันต้องมี ต้องมีแน่ๆครับ แต่สำหรับมือใหม่นั้น ยังไม่อยากให้โฟกัสในเรื่องนี้มากเกินไป หลายคนๆอาจจะกังวลว่าอุปกรณ์ไม่พร้อมไม่กล้าออกไปถ่ายรูปเลย มีแค่กล้องตัวเดียวเองจะถ่ายให้สวยได้ยังไง เหตุผลต่างๆมากมายที่จะทำไม่ให้เราได้ทำความรู้จักกับกล้องหรืออุปกรณ์ที่เรามีอยู่

สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเลยคือการมองหากล้องตัวใหม่ๆ หรือหาว่ารุ่นในดีที่สุด บอกก่อนเลยว่าไม่มีรุ่นไหนหรืออุปกรณ์ชิ้นใดที่ดีที่สุดครับในช่วงแรกของการเริ่มต้นฝึกถ่ายภาพนอกจากลงทุนกับการซื้อกล้องสักตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าลงทุนคือการลงเรียนคอร์สถ่ายภาพหรือหาพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในการเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของเรา เมื่อเราได้เรียนรู้และรู้จักสไตล์ของเรามากขึ้นจะง่ายต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์เสริมอื่นๆอีกด้วย

2. ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตั้งค่าอย่างไรให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ

ข้อที่มักจะเป็นปัญหาและมักพบความผิดพลาดบ่อยคือการเลือกโหมดการถ่ายภาพ เช่น การถ่ายภาพโดยใช้แต่ โหมดออโต้ ก็เหมือนเป็นเซฟโซนของเหล่ามือใหม่ที่ยังไม่กล้าลองใช้โหมดอื่นๆ ถ้าอยากจะมูฟออนจากมือใหม่หัดถ่ายไวๆ แนะนำเลยว่าเราจะต้องทำความรู้จักกับความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง ความไวแสง เป็นต้น

การเลือกใช้ Manual mode จะให้โอกาสเราในการสร้างสรรค์ในการควบคุมรูรับแสงของเรา ซึ่งสำหรับมือใหม่นั้นอาจจะทำให้ยังจับจุดไม่ได้ดีนัก บางครั้งอาจจะประสบปัญหาว่าเราควรจะอนุญาตให้แสงเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาในข้อนี้ก็เกิดขึ้นในเหล่ามือโปรด้วยเช่นกัน ซึ่งเราเองก็ต้องฝึกฝนในส่วนนี้ให้มากขึ้นเพื่อไวต่อการถ่ายงานหลายๆแบบที่แตกต่างกันออกไปได้

3. ไม่ได้ใช้ RAW ไฟล์ในการบันทึกภาพ

การเลือกนามสกุลไฟล์ ในการถ่ายภาพนั้นเราควรเลือกนามสกุลไฟล์คือ Raw มากกว่า Jpeg เพราะว่า Jpeg เนี่ยเมื่อนำไปแก้ไขหรือแต่งเพิ่มเติมจะทำให้สีที่ปรากฎนั้นผิดเพี้ยนไป แต่ในขณะที่ไฟล์ Raw สามารถแก้ไข้และปรับอะไรได้เยอะกว่า จึงขอแนะนำว่าเราควรจะหา SD card สำรองมีไว้ติดตัวเพื่อรองรับการเก็บไฟล์ Raw ที่จะมีขนาดไฟล์ใหญ่หน่อยครับ

.

4. จัดองค์ประกอบภาพแล้วดูไม่สมดุล

ข้อนี้เป็นการจัดการที่ผิดพลาดที่เรามักจะเห็นได้ตลอด ในองค์ประกอบของภาพถ่ายจะมีวัตถุเป็นหลัก มีฉากหน้า ฉากหลัง ถ้าเราเทความสนใจไปที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจะทำให้ภาพดูไม่บาลานซ์ แต่ก็ง่ายที่นิดเดียวที่จะแก้ไขมัน เราจะมาดูวิธีกัน

5. ลืมใช้กฏสามส่วน


ข้อถัดมาคือไม่ใช่กฎสามส่วน นี่เป็นตัวช่วยทำให้วัตถุถูกโฟกัสได้ง่ายขึ้นอีกวิธีหนึ่ง เราสามารถถือกล้องถ่ายได้แบบสบายๆ เลย จะกำหนดได้ว่าวัตถุอยู่ในจุดโฟกัสของภาพหรือยัง ผ่านทางช่องสี่เหลี่ยมเก้าช่องนั้น

ให้เราจำไว้เสมอว่าเราสามารถสร้างสรรค์ภาพดีๆ ได้ด้วยการจัดมุมกล้อง ทิศทาง และสิ่งที่อยู่รอบตัวเราที่จะช่วยให้ภาพมีมิติมากขึ้น

6.  รับมือกับทิศทางแสงไม่เป็นและเลือกช่วงเวลาในการถ่ายภาพโดยแสงธรรมชาติไม่ถูก

การทำงานกับแสงธรรมชาติหรือแสงไฟสตูดิโอนั้นท้าทายช่างภาพมือใหม่มากเลยทีเดียว บางทีเราไม่รู้ว่าจะจัดการกับแสงและวัตถุอย่างไร จะทำอย่างไรให้แสงสาดมาที่วัตถุโดยที่ไม่มีบดบังวัตถุของเรา เป็นทักษะที่ฟังดูยากแต่ก็เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ดี

บ่อยครั้งที่จะเห็นได้ว่ามือใหม่มักจะออกไปถ่ายรูปในแสงยามบ่ายซึ่งไม่แนะนำที่จะให้ไปถ่ายช่วงนี้เนื่องจากสภาพแดดที่แรง การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม ควรจะเป็นช่วงชั่วโมงที่ใกล้เวลาพระอาทิตย์ตกดิน แสงจะนุ่มนวลกว่าเวลากลางวัน

7. ไม่เข้าใจเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมแสง

ในกรณีที่ไม่สามารถเลือกช่วงเวลาได้ โดยช่างภาพส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยในการถ่ายภาพ เช่น แผ่นสะท้อนแสง ที่จะช่วยเสริมในเรื่องของการปรับทิศทางของแสง หรือ ตัวแฟลชหรือจะเลือกใช้ไฟสตูดิโอ ก็จะช่วยให้ไม่ต้องรอแสงจากธรรมชาติ ควบคุมได้ทั้งเวลาการทำงาน ทั้งยังควบคุมทิศทางแสงได้อีกด้วย

8. โฟกัสพลาดภาพหลุดเบลอไม่คม

การโฟกัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการถ่ายภาพ ที่จะทำให้ภาพออกมาดูดี ถ้าภาพของเราหลุดโฟกัสไปแล้วเนี่ย มันน่าเสียดาย ภาพจะถูกเอาไปแก้ไขอะไรต่อไม่ได้เลย เราจะมาดูวิธีที่จะช่วยให้ภาพไม่หลุดโฟกัสกัสมี 3 วิธีการด้วยกันครับ

9. มองมุมไม่ออก ไม่รู้จะถ่ายมุมไหน

การถ่ายภาพนั้น ช่วงแรกอาจจะต้องฝึกมองทุกมุม ถ่ายภาพให้หลากมุมมากที่สุด จากนั้นจึงหามุมที่เหมาะกับการนำเสนอรายละเอียดของตัวแบบได้ครบ และตัวแบบโดดเด่น ทั้งนี้ช่างภาพจะต้องหามุมกล้องใหม่ๆตลอดเวลาเสมอ พยายามเก็บช่วงเวลาที่สำคัญให้ได้มากที่สุด พยายามเคลื่อนตัวของเราอยู่เสมอเวลาอยู่หน้างาน  ซึ่งวิธีนี้ประยุกต์ใช้ได้กับงานทุกประเภทเลยในการเก็บรายละเอียดของบรรยกาศหน้างานได้ครับ

10. ใช้เลนส์ผิดประเภททำให้ไม่ได้ภาพในแบบที่ต้องการ

เลนส์แต่ละระยะจะมีข้อจำกัดและให้มุมมองภาพที่ต่างกันและมีเอกลักษณ์ในระยะยนั้น ๆ การเลือกใช้เลนส์จะต้องคำนึงถึงระยะเลนส์และภาพที่จะได้จากเลนส์ระยะนั้น ๆ เช่นจะถ่ายภาพระยะใกล้หรือ close-up ควรจะใช้เลนส์มาโคร เพื่อเก็บรายละเอียดของตัวแบบได้ชัดเจน และสำหรับการถ่ายภาพวิวธรรมชาติ หรือแบบสถาปัตยกรรมอาจจะเป็นเลนส์ไวด์ที่มีความยาวเลนส์อยู่ที่ 20 และ 16 มม. เป็นต้น

ถ้าเป็นการถ่ายภาพกีฬาไม่แนะนำให้ใช้เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์ไวด์ เนื่องจากไม่เหมาะกับวัตถุที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เลนส์ที่ควรใช้คือ เลนส์เทเลโฟโต้ ที่มีคุณสมบัติ ซูมเข้าและออกตามการเคลื่อนที่ของวัตถุและให้เราฝึกฝนที่จะหัดใช้ทางยาวโฟกัสกับงานทุกประเภท เพื่อเรียนรู้ว่าเราควรใช้ทางยาวโฟกัสกับเหตุการณ์ไหนที่เหมาะสมมากที่สุดผ่านการฝึกฝนของเราเองครรับ

11. คิดท่าโพสไม่ออก สื่อสารกับนางแบบไม่ได้

เรามักจะพบกับปัญหาเวลาถ่ายภาพบุคคลที่จะต้องใช้อารมณ์สื่อสาร อาจจะเป็นการแสดงความรัก ความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ แต่บางทีตัวแบบอาจจะไม่ได้มีอารมณ์ร่วมตอนนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของช่างภาพที่จะต้องสื่อสารกับตัวแบบว่า ต้องโพสท่าแบบนั้น สร้างบรรยากาศอย่างไรที่จะทำให้ดูเหมือนไม่รู้สึกฝืนแสดงออกมา เช่น คุณอาจจะบอกให้คู่รักทำท่ากอดกันเหมือนว่ากาศข้างนอกนั้นหนาวและให้มองตากัน หรืออาจจะแกล้งๆกระซิบบอกรักกัน ซึ่งมันสามารถช่วยให้แบบเข้าถึงอารมณ์นั้นมากขึ้นผ่านทางการสื่อสารของเราได้ครับ

12. แต่งภาพหนักมือไปหน่อย

การแต่งภาพหรือแก้ไขภาพ เป็นงานที่หลายๆคนชอบและเพลิดเพลินไปกับการสร้างสรรค์งานของเรา แต่บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าเรากำลังแต่งภาพโอเวอร์เกินเบอร์ไป

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การแต่งภาพของแต่ละคน เราจะบอกข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆ ที่บ่งบอกว่าเราแต่งภาพเยอะเกินไป เช่น การปรับค่าอิ่มตัวของภาพมากเกินไปหรือปรับความสว่างของภาพเยอะเกินจนสีผิดเพี้ยน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ภาพถ่ายของเรานั้นดูเกินความเป็นจริงมากไป ให้เราพยายามแต่งให้เป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด

ฝากทิ้งท้ายสำหรับมือใหม่

ถ้าเราเป็นอีกคนที่อยากจะมูฟออนจากมือใหม่ไวๆ สิ่งเราควรจะทำคือ การฝึกถ่ายรูปให้ได้เยอะมากที่สุดในช่วงสองถึงสามปีแรก ไม่ว่ามันจะออกมาผิดพลาดยังไงก็ตามและให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้น แล้วพัฒนาฝึกฝน แก้ไขให้ถูกต้อง  เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจโดยการศึกษาการถ่ายภาพของมือโปรคนอื่นๆ ห้ามนำผลงานมาเปรียบเทียบกันเด็ดขาด นั้นยิ่งทำให้เราหมดความมั่นใจในฝีมือตัวเอง แต่ให้มองหาข้อดีและสิ่งที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้หวังว่าทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเป็นข้อมูลที่ทำให้เราสร้างข้อผิดพลาดเหล่านั้นให้น้อยลงในขณะที่เราฝึกฝนกับการถ่ายภาพที่มากขึ้น ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

Exit mobile version