Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

20 วิธีจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด

วิธีจัดองค์ประกอบภาพ การทำให้ภาพถ่ายของเราสวยงาม ดึงดูดสายตา และน่าสนใจ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งเรามักจะได้ยินบ่อย ๆ แต่อาจจะยังไม่คุ้นว่าต้องทำอะไร ยังไง แล้วมีแบบไหนบ้าง วันนี้ผมก็เลยรวบรวม 20 วิธีในการจัดองค์ประกอบภาพ ที่จะทำให้ภาพถ่ายสวยขึ้น และน่าสนใจมากขึ้นครับ

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

วิธีจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด

1. กฎสามส่วน

เราจะเห็นได้ว่าในช่องมองภาพของกล้องเราที่ผู้ผลิตทำมาจะมีจุดตัด 9 ช่อง ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักในแนวตั้ง และ 3 ส่วน หลักในแนวนอน โดยจุดตัดนี้เราจะใช้วิธีการจัดองค์ประกอบร่วมกันสองแบบครับ

วิธีแรกที่จะใช้ก่อนเลยคือ กฎสามส่วน วิธีนี้มักจะใช้แบ่งสัดส่วนของพื้นดินและท้องฟ้า ถ้าต้องการนำเสนอท้องฟ้าให้เด่น ก็เป็นท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน, ถ้าเน้นพื้นดินก็ พื้นดิน 2 ส่วน ท้องฟ้า 1 ส่วน

จากนั้นเราจะสร้างจุดสนใจให้กับแบบ ถ้าเราสังเกตเวลาถ่ายภาพเราจะไม่วางจุดสนใจไว้ตรงกลางภาพเท่าไหร่ วิธีการนั้นคือวางแบบหลักให้อยู่ตรงจุดตัด 9 ช่อง ดูตัวอาคารนี้นะครับ ถูกวางไว้ในจุดตัดอย่างชัดเจน ทำให้แบบดูน่าสนใจเลย

อ่านบทความเพิ่มเติม
– การจัดองค์ประกอบภาพด้วย กฎ สาม ส่วน ฉบับพื้นฐาน

2. เน้นความสมมาตร – ให้จุดสนใจอยู่ที่กลางภาพระหว่างความพอดี

ซึ่งแน่นอนว่าปกติเราจะไม่วางจุดเด่นไว้ที่กลางภาพ เพราะทำให้ภาพดูไม่น่าสนใจ แต่วิธีการวางทั้งสองด้านให้มีความสมมาตร แนวเส้นเท่ากัน น้ำหนักของภาพเท่านั้น สองด้านเหมือน ๆ กัน ความสนใจจะตกไปอยู่ตรงกลางภาพทันที จากนั้นเราแค่เลือกว่าจะให้อะไรอยู่ที่กลางเฟรมภาพเพื่อเล่าเรื่องครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม
– เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล การวางพื้นฐานการจัดสมดุลภาพสำหรับมือใหม่

3. เพิ่มความสนใจให้ฉากหน้า

การที่เราทำฉากหน้าให้น่าสนใจนั้น จะเป็นการเพิ่มมิติให้กับภาพของเรา และดึงดูสายตาผู้ชมมากขึ้น อีกทั้งถ้าเราสังเกตดี ๆ การที่ไม่มีฉากหน้ามักจะทำให้ภาพขาดรายละเอียด เรื่องราวที่ไม่สมบูรณ์

เวลาถ่ายภาพลองหาฉากหน้าเพื่อเล่าเรื่องราวไปยังด้านหลัง และยังเป็นการเพิ่มมิติให้ภาพด้วยครับ

4. ใช้กรอบภาพจากธรรมชาติ

กรอบภาพที่ว่านี้เราอาจจะเห็นจากประตู หรือต้นไม้ต่าง ๆ ที่เรามองแล้วมันเหมือนกรอบภาพ เมื่อเรามีมุมมองดังกล่าวเราก็จัดจุดเด่นที่เราอยากเล่าไว้ในกรอบนั้น

5. ใช้เส้นนำสายตา

เส้นนำสายตานี้ควรเริ่มตั้งแต่ขอบภาพเข้าไปยังจุดสนใจในภาพ และจุดสนใจก็มักจะอยู๋บริเวณจุดตัด 9 ช่องที่ได้เล่าไปข้างต้น และก็มีการแบ่งสัดส่วนของภาพอย่างลงตัว จะทำให้ภาพโดดเด่น มีเรืองราวขึ้นมาเอง

โดยการใช้เส้นนำสายตาอาจจะใช้เส้นของถนน หรืออะไรก็ตามที่เรามองแล้วเป็นเส้นที่นำไปยังจุดเด่นที่เราอยากจะนำเสนอครับ และควรเริ่มจากขอบภาพเข้าไปยังจุดสนใจแค่นั้นเอง

อ่านบทความเพิ่มเติม
– เทคนิคการใช้เส้นนำสายตาสำหรับการถ่ายภาพ Landscape ให้สวยมากยิ่งขึ้น

6. จัดองค์ประกอบแนวเส้นทะแยงมุม

วิธีการจัดวางแบบนี้ผมขอเล่าออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องอิงทฤษฏีอะไร จุดเด่นอยู่ที่แนวเส้นแทบทั้งหมดในภาพสามารถนำไปยังจุดสนใจได้ จากภาพจะเห็นว่าทั้งแนวตั้งและแนวนอนนั้น เส้นนำสายตาจะนำเราไปยังจุดสนใจทั้งแนวตั้งและแนวนอนเลย สิ่งสำคัญคือจุดสนใจต้องวางอยู่ในจุดตัด 9 ช่องด้วยครับ

7. ใช้รูปแบบพื้นผิวที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ 

เรียกติดปากว่า แพทเทิร์นนั่นแหละ เมื่อเกิดแพทเทิร์นซ้ำ ๆ สายตาเราก็จะถูกดึงดูดไว้ทันที เพียงแค่เราใช้เส้นนำสายตาจากแพทเทิร์นเหล่านั้นนำเข้าหาแบบ

ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้วครับจะเลือกใช้การวางองค์ประกอบร่วมกับความสมมาตรไหม อย่างด้านซ้ายใช้ความสมมาตรวางไว้กลางเฟรม ใช้แพทเทิร์นนำเข้าไป ภาพก็จะเด่น เล่าเรื่องได้ด้วย

8. จำนวนส่วนประกอบในภาพเป็นเลขคี่

ควรมีจำนวนส่วนประกอบเป็นเลขคี่ ในภาพ เหตุผลก็เพราะว่าสมองของผู้ชมภาพนั้นจะไม่สามารถจับคู่ หรือว่าจับกลุ่มของส่วนประกอบในภาพได้ จะทำให้เรามีส่วนประกอบที่เหลือ และลากสายตาเราไปยังจุดนั้น 

เป็นวิธีวางองค์ประกอบที่ดูแปลกแต่ว่าใช้ได้ผลเหมือนกันครับ ลองถ่ายภาพบ่อย ๆ จะเริ่มเข้าใจการวางแบบนี้ชัดขึ้นมาหน่อย

9. จัดให้พอดีเฟรม

การเติมเฟรมภาพให้เต็มด้วยวัตถุหรือแบบ โดยไม่ให้เหลือพื้นที่วางเลย ก็จะช่วยให้ผู้ชมโฟกัสได้อย่างชัดเจนและมองเห็นรายละเอียดของภาพได้แบบเต็ม ๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M
10 โหมดถ่ายภาพพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้

10. ให้ฉากหลังเป็นพื้นที่ว่าง

การปล่อยฉากหลังให้โล่งเลย หลายคนอาจบอกว่าจะทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไป ซึ่งอาจจะไม่ใช่เสมอไปครับ ลองดูตัวอย่างจากภาพ เห็นได้ชัดว่าหลักคือท่าเรือ และท้องฟ้าเป็นฉากหลัง ซี่งเหลือพื้นที่ไว้เยอะจนล้นไปหมด แต่ด้วยจุดต่างและคอนทราสต์ในภาพระหว่างฉากหลังและแบบ ทำให้ท่าเรือนั้นดูโดดเด่นขึ้นมาได้ทันที

11. ใช้ความเรียบง่าย

บ่อยครั้ง การเพิ่มองค์ประกอบในภาพมากเกินไปมักทำให้ภาพรก และจัดองค์ประกอบยาก แต่ถ้าเราหันมาเน้นความเรียบง่ายดูบ้าง(ดูตัวอย่างจากภาพต้นไม้) ดูเรียบ ๆ แต่น่าสนใจ เหตุเพราะเราใช้เส้นนำสายตาไปยังต้นไม้ และไม่มีอะไรรกทำให้รบกวนจุดเด่นของแบบ ก็ทำให้ภาพเด่นมีเรื่องราวขึ้นได้เลย

12. แยกวัตถุหรือแบบออกมาให้ชัดเจน

เทคนิคนี้จะใช้ประโยชน์ในการที่เบลอฉากหลังเพื่อให้แบบหลักของเราเด่นขึ้นมา เป็นวิธีที่เรานิยมมากในการถ่ายภาพพรอทเทรตครับ สิ่งสำคัญคือแบบไม่ควรหลุดโฟกัส และแยกออกจากฉากหลังได้ชัดเจน ยิ่งถ้าเราได้เลนส์ที่มีโบเก้สวย ๆ แล้วล่ะก็ภาพนี่กรุ๊งกริ๊งขึ้นอีกแน่นอน

13. เปลี่ยนจุดถ่ายภาพใหม่

การถ่ายภาพแต่สถานที่เดิม ๆ ก็อาจจะไม่สามารถสร้างมุมมองใหม่ขึ้นมาได้ ไม่ใช่แค่คนถ่ายที่เบื่อนะ คนดูรูปถ้าเห็นที่เดิมบ่อย ๆ ก็เบื่อเช่นกัน ซึ่งมักจะเกิดจากภาพที่มีมุมมหาชนมาก ๆ หลายคนก็จะเลือกที่จะเปลี่ยนจุดถ่ายภาพใหม่ในที่ที่ไม่เคยไปดูบ้าง ซึ่งนอกจากจะทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่มากขึ้น ก็จะทำให้เราได้มุมมองใหม่ขึ้นด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

14. การเน้นคู่สีในภาพให้น่าสนใจ

การจัดคู่สีในภาพให้ลงตัว สัมพันธ์กัน จะทำให้ภาพเด่นขึ้นได้ จริงแล้ววิธีนี้นิยมกันมาก เพราะสีจะบ่งบอกถึงจุดเด่น ความลงตัวในภาพ โทนอารมณ์ โดยเฉพาะคู่สีที่ใช้ในการถ่ายภาพสินค้า หรืออารมณ์ของภาพ Portrait เราไม่ได้สื่อสารกับผู้ชมแค่องค์ประกอบ เส้นนำสายตาเพียงอย่างเดียว แต่สีบ่งบอกถึงความรู้สึึกและอารมณ์ในภาพได้ด้วย

การที่มีคู่สีลงตัวทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจอารมณ์ภาพและตีมของภาพได้ง่ายขึ้น

15. ใช้พื้นที่ว่างสร้างจุดสนใจ

การปล่อยพื้นที่ว่างจะทำให้สายตาของเราตกไปยังจุดที่มีเนื้อหาหรือรายละเอียดในภาพทันที โดยสิ่งสำคัญการจัดคอมโพสต์ให้อยู่ในจุดสนใจและแนวเส้นนำสายตาสามารถโยงเข้าไปในรายละเอียดด้านหลังของภาพได้ด้วย นอกจากจะวางแบบไว้ที่จุดตัด 9 ช่องแล้ว แนวเส้นนำสายตายังเล่ารายละเอียดของสถานที่นั้นอย่างชัดเจน ผู้คนที่อยู่ตรงนั้น สิ่งที่คนในนั้นกำลังทำ การใส่ใจเรื่องราวในภาพก็เป็นเรื่องสำคัญในทุก ๆ ภาพที่เราถ่ายครับ ไม่ใช่ว่าเอ๊ะ เราใส่พื้นที่ว่างแล้วทำภาพดูไม่น่าสนใจ จริง ๆ แล้วควรดูเรื่องราวของภาพด้วยนะครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

16. กฎจากทางซ้ายไปขวา

เป็นการประยุกต์มาจากการที่คนเราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา ซึ่งจะทำให้ผู้ชมกวาดสายตาเหมือนการอ่านหนังสือ และตีความเรื่องราวจากรายละเอียดที่เราใส่เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเฟรมภาพ แบบหลัก และการเคลื่อนไหว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

17. การจัดความสมดุลในภาพ

การจัดความสมดุลในภาพ เป็นวิธีช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพดูไม่ถูกทิ้งน้ำหนักไปที่จุดเด่นเพียงจุดเดียว การทำให้ภาพสมดุล ทำให้เรามองเรื่องราวด้านหลังได้ด้วยเหมือนกัน ไม่ได้มองแค่ข้างหน้าเพียงอย่างเดียว และที่เห็นได้ชัดคือทุกภาพที่ผมเล่าออกมานั้นไม่ได้ใช้เทคนิคการวางองค์ประกอบแค่เทคนิคเดียวนะ จะใช้หลาย ๆ อย่างร่วมกันให้ภาพดูลงตัวครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอ
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

18. วางตำแหน่งของวัตถุในภาพให้เทียบเคียงกัน เน้นให้เห็นถึงความต่างของสองสิ่งนั้น

เทคนิคการจัดวางแบบนี้เหมาะกับภาพที่วัตถุตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ซึ่งช่างภาพจะต้องทำให้มองเห็นถึงความแตกต่างของสิ่งที่นำเข้ามาเทียบนี้และทำให้คนดูภาพคิดตามไปด้วยว่าภาพนี้กำลังเล่าอะไร มีอะไรในนั้นบ้าง

19. กฎสามเหลี่ยมทองคำ

กฎสามเหลี่ยมทองคำจะช่วยให้การจัดภาพดูสมดุล เป็นสัดส่วน โดยให้สมมุติว่ามีเส้นในภาพและลากทะแยงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ต่อมาก็ทำการลากเส้นจากมุมหนึ่งขึ้นมาตั้งฉากกับเส้นทะแยงมุม จะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นได้


20. สัดส่วนทองคำ

เป็นกฎที่ถูกใช้ทั้งงานภาพและดีไซน์ เป็นที่มาจากทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณหาสัดส่วนที่สวยงามที่สุดในโลก โดยส่วนตัวผมเองไม่เคยใช้กฎนี้เลย ถ้าดูตามบทความจากเว็บต่าง ๆ จะเห็นว่ามีประเด็นนี้กันเยอะ แต่ส่วนตัวผมคุยกับเพื่อนแล้วไม่มีใครพูดถึงกฎนี้เป็นหลักเท่าไหร่ แต่ก็ให้ดูเป็นความรู้ว่ามีการใช้กฎการวางแบบนี้ด้วย ผมยังเคยได้ยินเพื่อนที่ทำงานแซวเลยว่ากฎนี้จะมีใครวางเฟรมไว้ตามความจริงก่อนถ่ายได้บ้าง 555 เอาเป็นว่าไม่ต้องเคร่งเครียดกับการจัดวางแบบนี้ ส่วนตัวผมแนะนำว่าเริ่มจากการใช้จุดตัด 9 ช่องและวางเฟรมให้น่าสนใจ มีเรื่องราวก่อนดีกว่าครับ

เรียบเรียงจาก : https://petapixel.com/2016/09/14/20-composition-techniques-will-improve-photos/

Exit mobile version