
เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล แค่เข้าใจมือใหม่แค่ไหนก็ทำได้
เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล เรียกได้ว่าความสมดุลเป็นหนึ่งในหลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบภาพ แต่เรื่องของการจัดความสมดุลเรียกได้ว่าแทบจะมีความสำคัญสุด ๆ เหมือนกัน เพราะภาพถ่ายเรามักจะรู้สึกและพูดถึงความสมดุลในภาพถ่ายของเราเสมอ การมีสมดุลในภาพเนี่ยมีความมหัศจรรย์มาก เช่น แม้ว่าวัตถุในภาพขนาดจะไม่ได้เท่ากัน แต่ก็ยังให้ความรู้สึกน้ำหนักได้เท่ากัน เป็นต้นครับ

หลักง่าย ๆ ในการสร้างความสมดุล แต่มันก็ยังมีอีกหลากหลายแบบที่เราสามารถฝึกฝนกันได้นะครับ ซึ่งในวันนี้ผมได้ยกมา 5 ประเภทสำหรับการถ่ายภาพยังไงให้สมดุล แล้วก็ทำให้เราสามารถฝึกตามได้ง่าย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– 20 วิธีพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพให้น่าสนใจ
– 30 ไอเดียในการจัดองค์ประกอบภาพง่าย ๆ สำหรับมือใหม่
1. Symmetrical Balance – เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล แบบสมมาตร
การถ่ายภาพให้มีความสมดุลแบบสมมาตรคือวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการถายภาพ ซึ่งจะใช้ความเป็นธรรมชาติเวลาที่เรามองอะไร หรือนึกถึงภาพอะไรเราก็จะเลือกวางสิ่งนั้นไว้ตรงกลางภาพ ซึ่งมันทำให้ภาพวัตถุหรือสถานที่นั้น ๆ เกิดความเด่นได้ง่ายตั้งแต่มุมมองเลย ในภาพที่สมดุลสมมาตรทั้งสองด้านของกรอบมีน้ำหนักเท่ากัน ซึ่งทั้งสองด้านเราอาจจะจัดให้เหมือนกันด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างภาพต่อไปนี้เลยครับ

ในภาพด้านบนโบสถ์เซนต์ชาร์ลส์ทั้งสองแห่ในเวียนนา และภาพสะท้อนบนบ่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างความสมมาตร และถนนก็ยังเป็นเส้นที่ดูเหมือนเส้นขอบอีกด้วย ทำให้เพิ่มการดึงดูดที่สายตาไปอีก และสำหรับเทคนิคนี้สามารถใช้กับภาพบุคคลได้ด้วย แม้ว่าเราจะเคยได้ยินว่าไม่ควรถ่ายภาพ Portrait โดยจัดองค์ประกอบให้แบบไปยืนกลางเฟรมภาพก็ตาม แต่ถ้าหากเราเข้าใกล้แบบ (Close-Up) อีกนิดหน่อยก็สามารถใช้การจัดสมดุลแบบนี้ได้เหมือนกัน

2. Asymmetrical Balance – การจัดสมดุลแบบอสมมาตร
การจัดสมดุลแบบอสมมาตรอีกนัยนึงก็เรียกว่า การจัดสมดุลโดยความรู้สึก เรียกง่าย ๆ ว่า องค์ประกอบด้านซ้ายขวา หรือบนล่าง ไม่จำเป็นว่ามันต้องมีอะไรที่เหมือนกันแบบแรก (การจัดสมดุลแบบสมมาตร) เพียงแต่การถ่ายภาพที่เราจัดวางแล้วรู้สึกว่าภาพถ่ายมีน้ำหนักที่เหมือนกัน หรือเท่ากัน

กฎสามส่วนก็จะเริ่มมีบทบาทในการจัดสมดุลนี้ และมันก็จะเริ่มมีความท้าทายเพิ่มขึ้น เพราะการจัดสมดุลภาพลักษณะนี้ก็จะใช้การวางจุดสนใจไว้ที่แนวตัดกันของเส้นของภาพที่ถูกแบ่งทั้งแนวตั้งและแนวนอน ยกตัวอย่างภาพหน้าต่างและจักรยาน ไม่เพียงแต่วางวัตถุทั้งสองแบบที่ไม่เหมือนกันไว้คนละด้านเท่านั้นนะ แต่ขนาดยังไม่เหมือนกันด้วย แม้ว่าผมจะพูดราวกับว่ามันไม่เข้ากันก็ตาม ก็ยังสามารถที่จะจัดวางให้น้ำหนักภาพสมดุลได้อยู่ดีครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M
– โหมด P A S M แตกต่างกันอย่างไร และควรใช้โหมดไหน
ในภาพถ่ายทิวทัศน์ที่เห็นนั้น จะเห็นว่าด้านซ้ายมีเส้นของฟ้าและดวงอาทิตย์จัดวางอยู่ในจุดตัดของกฎสามส่วน ซึ่งมันดูสมดุลกันกับจักรยานที่ดูมืด ๆ ที่อยู่ด้านขวา (ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องกฎสามส่วนอ่านเพิ่มที่ลิงก์ได้)
3. Color Balance – การจัดบาลานซ์ด้วยสี
อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจในการสร้างความสมดุลให้กับภาพด้วยการใช้สี มันได้ด้วยเหรอ? ได้ครับ อย่างที่เห็นคือภาพที่มีสีสันสดใสอย่างสีแดง และสีส้ม อาจจะทำให้ภาพมันดูเฉดแรง ๆ ล้น ๆ หน่อย แต่ถ้าหากเราจัดให้สีมันมีความสมดุลกันทำให้เฉดสีที่เรารู้สึกว่ามันเยอะ ๆ เนี่ยดูลงตัวได้

ในภาพจะเป็นเม็ดอะครีลิคสีรุ้ง ปกติถ้าหากเม็ดสีรุ้งพวกนี้ถูกวางบนพื้นผิวที่เป็นสี ๆ เมื่อไหร่ มันจะดูหนัก ๆ สายตา แต่เมื่อพื้นหลังเป็นผิวสีเรียบ ๆ ขาว ๆ ก็จะทำให้ภาพดูลงตัวมากขึ้น และเมื่อเราเรียงสีอีกนิดหน่อยก็จะรู้สึกว่าความสมดุลในภาพจะโอเคขึ้นมากเลย

4. เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุลด้วย Tonal Balance
ความสมดุลแบบอสมมาตรชนิดนี้จะเห็นชัดได้ดีที่สุดในภาพที่เป็นแบบขาวดำ ที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน ในกรณีนี้สมดุลสีจะมองเห็นในส่วนของพื้นที่สว่างและมืดอย่างลงตัว โดยพื้นที่ที่มีน้ำหนักสีเยอะ ก็จะให้ความรู้สึกที่หนักกว่า ในกรณีนี้ส่วนมืดนั่นแหละครับที่ทำให้รู้สึกว่าน้ำหนักของสมดุลภาพมันเทไปตรงนั้น เพราะงั้นเราก็ต้องจัดให้ส่วนสว่างมีน้ำหนักที่มันพอ ๆ กันกับส่วนมืด แน่นอนว่าการจัดสมดุลแบบนี้ก็จะมีเรื่องกฎสามส่วนเข้ามาเกี่ยวด้วยเช่นเคย

5. Conceptual Balance – การจัดสมดุุลตามแนวคิด
มันคืออะไร? มันคือการจัดสมดุลโดยใช้ความไม่เข้ากันของสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน อาจจะด้วยรูปทรง หรือลักษณะที่มันเป็น อย่างเช่นภาพอาคารเก่าและอาคารกระจกสูง ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งถูกแบ่งกันทั้งสองด้าน แน่นอนว่ามันมีเรื่องของน้ำหนักความสว่างและมืดผสมกันไปด้วย หรือจะเป็นเรื่องของกังหันลมที่มีทั้งแบบสมัยใหม่ และแบบเก่าที่ถูกจัดสมดุลไว้คนละด้านกัน แต่ก็ยังใช้การจัดองค์ประกอบด้วยกฎสามส่วนเหมือนกันอีกครับ อันนี้จะเป็นแนวคอนเซ็ปต์ซะมากกว่าครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M
– โหมด P A S M แตกต่างกันอย่างไร และควรใช้โหมดไหน