Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

3 วิธีถ่ายรูปให้สวยด้วยการตั้งค่ารูรับแสง

3 วิธีถ่ายรูปให้สวยด้วยการตั้งค่ารูรับแสง รูรับแสง (Aperture) เป็นหนึ่งในสามส่วนที่สำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ของแสง เราจะมาทำความรู้จักเรื่องรูรับแสงกันให้มากขึ้น มีความหมายว่าอย่างไร และมันทำหน้าที่หรือส่งผลยังไงต่อการถ่ายภาพของเรา อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับมือโปรและมือใหม่ ที่จะได้ทำความเข้าใจเรื่องรูรับแสงมากขึ้นอีกด้วยครับ 

3 วิธีถ่ายรูปให้แสงสวยสมบูรณ์ด้วยการตั้งค่ารูรับแสง

รูรับแสงคืออะไร? รูรับแสงเป็นหัวใจสำคัญในการตั้งค่ากล้องของเรา จะมี ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed), รูรับแสง (Aperture), ความไวแสง (ISO).  

และรูรับแสงก็ฝังตัวอยู่ในเลนส์กล้องของเรา จะเป็นลักษณะรูเล็กๆ ที่ค่อยเปิดปิดไว้ให้แสงเดินทางเข้าไปเหมือนม่านตาของเรา การทำงานของรูรับแสง คือถ้ารูรับแสงเล็กจะทำให้แสงผ่านเข้าไปได้น้อย และถ้ารูรับแสงเปิดกว้างจะทำให้แสงผ่านเข้าไปได้มาก

รูรับแสงนั้นมีหน่วยเรียกเป็น f-stop ซึ่งจะเรียกเป็นค่าตัวเลข เช่น f1.4 , f1.8 , f5.6 , f22 เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้กำลังบอกอะไรเรา ? ค่าตัวเลขที่มาก รูรับแสงจะเล็กลง เช่น f22 และค่าตัวเลขที่น้อย รูรับแสงจะกว้าง เ

ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพที่จะให้ภาพถ่ายของเราดูน่าสนใจและดึงดูดสายตาผู้ชม ถ้าหากใครที่กำลังสงสัยว่าระยะชัดลึกของภาพคืออะไร ระยะชัดลึกของภาพคือ การทำให้ฉากหลังละลาย (Bokeh)  ซึ่งมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่ารูรับแสงที่เราตั้งค่านั้นเอง 

วิธีที่ 1 ลองฝึกการใช้รูรับแสงค่าต่าง ๆ

เราสามารถฝึกถ่ายภาพนอกสถานที่ก็ได้หรือถ่ายในบ้านตัวเองก็ได้เช่นกัน โดยพยายามหาพื้นที่กว้างแล้วมองหาวัตถุที่จะมาเป็นแบบหลักให้กับเรา หรือจะใช้นางแบบก็ได้นะครับ โดยทดลองจากการถ่ายภาพที่รูรับแสงกว้างไปจนถึงรูรับแสงที่แคบ เช่นเริ่มถ่ายตั้งแต่ค่า f1.4 ถึง f16  ซึ่งเลนส์บางตัวได้ยาวไปถึง f22 เลย เราจะทดลองถ่ายไปเรื่อยๆ ในโหมดที่เราสามารถควบคุมค่า f ได้ หรือที่เรียกว่า Aperture Priority ได้ครับ

ลองเริ่มจาก  f1.4 , f2.8 , f4, f5.6, f8, f11, f16 และ f22 หลังจากนั้นให้นำภาพที่ถ่ายได้ตามแต่ละค่ารูรับแสงมาวางต่อกัน จะทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน และเราจะเห็นว่าค่ารูรับแสงที่ต่างกันจะส่งผลต่อภาพถ่ายของเรายังไงด้วย

อย่างเช่น การตั้งค่ารูรับแสงที่ f16 ภาพที่ได้จะมีระยะชัดมากกว่า ตั้งแต่ตัวแบบจนไปถึงฉากหลัง จะอยู่ในโฟกัสทั้งหมด คือฉากหลังไม่ละลาย แต่ในขณะที่ถ้าถ่ายด้วย f1.4 ฉากหลังจะละลายจนเบลอ ทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้นมาเยอะกว่า f16  

วิธีที่ 2 เลือกรูรับแสงที่เหมาะสมสำหรับการเล่าเรื่อง

เราต้องตัดสินใจเองว่าจะให้ภาพของเรามีระยะชัดลึกแค่ไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและต้องรู้ด้วยว่าเลนส์ของเรามีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อเวลาที่ตั้งค่ารูรับแสงที่ต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพบุคคล เรามักจะคิดว่าต้องใช้รูรับแสงกว้าง ๆ ภาพจะได้ฟุ้งเบลอสวย แต่การที่รูรับแสงกว้าง เสี่ยงต่อการที่จะได้ภาพไม่คมชัดครับ ดังนั้นจึงต้องเลือกรูรับแสงที่เหมาะสม เพื่อให้การเล่าเรื่องสมบูรณ์มากที่สุดครับ

เพราะฉะนั้นก่อนจะถ่ายภาพทุกครั้งให้เราสังเกตสภาพแวดล้อมจริงว่าเหมาะกับการตั้งค่ารูรับแสงแบบไหนด้วย เพื่อให้ภาพไม่หลุดโฟกัสจนเกินไป หรือ ทุกส่วนของภาพอยู่ในโฟกัสมาเกินไปจนไม่มีความชัดลึกทำให้ผู้ชมไม่สามารถเข้าใจได้ว่าต้องการจะให้โฟกัสที่ตรงไหนครับ

วิธีที่ 3 ไม่มีค่ารูรับแสงตายตัวสำหรับการถ่ายภาพ

รูรับแสงที่ใช้ อย่างที่บอกเราควรจะใช้ตามความเหมาะสมและสื่อสารเนื้อหาได้อย่างที่ช่างภาพต้องการครับ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่าการถ่ายภาพบุคคลต้องใช้รูรับแสงกว้าง หน้าชัดหลังเบลอเสมอไป หรือการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือสินค้าต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้ชัดทั้งภาพเสมอไปเช่นกันครับ

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการถ่ายภาพที่เราตั้งค่ารูรับแสงเอง เพื่อให้เห็นความแตกต่างในการตั้งค่ารูรับแสงที่ต่างกันออกไป ซึ่งสามารถลองทำตามและฝึกฝนกันได้เลย และหวังว่าข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์สำหรับมือใหม่ท่ีกำลังฝึกถ่ายภาพกันอยู่นะครับ 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยมือถือ

 

Exit mobile version