Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 พื้นฐานง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น

5 พื้นฐานง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น การถ่ายภาพเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของศาสตร์เเละศิลป์ ซึ่งจะทำได้ดี ก็ต้องผ่านการเรียนรู้เเละฝึกฝนให้ชำนาญ สำหรับผู้เริ่มต้นเราจะยังไม่พูดถึงเรื่องทางด้านเทคนิค เช่น การตั้งค่ารูรับเเสง ความเร็วชัตเตอร์ หรือความยาวของเลนส์ในช่วงต่าง ๆ (บางครั้งการถ่ายภาพก็ฟังดูเป็นเรื่องที่ยากเหมือนกันนะ) เเต่ยังไงก็ตาม ก็ต้องศึกษาในไม่ช้าแหละ เพราะต้องเข้าใจเรื่องกล้อง เเละพื้นฐานของกล้องด้วยเช่นกัน เเต่บทความนี้ จะบอกพื้นฐานง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง 

5 พื้นฐานง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น

1. หัดดูเส้นขอบฟ้าให้ขนานกับพื้น เพื่อให้รู้สึกว่าภาพไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง (ยกเว้นว่า กำลังถ่ายภาพด้านศิลปะ อันนั้นนอกกฏได้)

ไม่ยากเเต่ก็ต้องฝึกฝน เช่น เวลาถ่ายภาพวิว ถ้าใช้มือจับกล้องก็ให้ดูว่า เส้นขอบฟ้า อยู่ระดับที่ขนานกับพื้นดินหรือไม่ ถ้าไม่มั่นใจ ให้วางกล้องไว้บนเก้าอีก โต๊ะ ขอบกำเเพง ที่ไม่เอียง เเละคงที่ เพื่อกล้องจะได้อยู่ในระนาบ เเละภาพก็จะไม่เอียงซ้ายขวานั่นเอง

2. วางเเผนการถ่ายภาพ ก่อนที่จะกดถ่าย

ก่อนที่จะกดชัตเตอร์ วางแผนดูว่า ภาพที่ต้องการคืออะไร จะต้องถ่ายมุมไหน เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งภาพนั้น จะวางวัตถุ หรือตัวเเบบที่มุมไหน เพื่อให้ตัวเเบบเด่น มีสิ่งไหนที่ดึงความสนใจออกจากตัวเเบบหรือไม่ หรือมีอะไรที่อยู่ข้างหลัง เช่น ตำเเหน่งที่ถ่ายภาพตัวเเบบ มีเสาอยู่ด้านหลังพอดี หรือตรงกับศีรษะหรือไม่ ถ้ามีก็หลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้ภาพดูเหมือนเสากำลังโผล่ขึ้นมาบนศีรษะตัวเเบบ  หรือ ถังขยะที่วางอยู่ เเล้วทำให้ภาพดูรกตาไปหรือไม่ เเละถ้าถ่ายภาพบุคคล อย่าตัดภาพที่ข้อมือ หรือข้อเท้าของตัวเเบบ เพราะจะทำให้ภาพดูไม่สมบูรณ์เนื่องจากส่วนที่หายไปของอวัยวะนั่นเอง

3. รู้จักเวลาของเเสงเพราะเเสงเเต่ละช่วงให้ความรู้สึกของภาพที่เเตกต่างกัน 

เเสงจะช่วยให้ภาพดูโดดเด่นขึ้นได้ ลองใช้เเสงจากธรรมชาติ เเสงเเละเงาหรือปรากฏการณ์จากธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างสรรค์ภาพที่ดูโดดเด่นขึ้น เช่นเเสงช่วงเช้า เเสงช่วงเย็น เเสงหลังฝนตก โดยเเสงช่วงเช้าเเละเย็นจะเป็นเเสงที่เรียกว่าอยู่ในช่วง Golden Hour ให้เเสงสีเหลืองทองสวยงาม เเละเเสงช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เเละหลังดวงอาทิตย์ตก เรียกว่า Blue Hour ซึ่งเเสงเเต่ละช่วงให้สีสันที่เเตกต่างกันด้วย

เเละถึงเเม้ว่าจะเป็นวันที่อากาศไม่ดี เเต่ก็ยังถ่ายภาพ เเละสร้างภาพที่ดูน่าสนใจได้ เช่น  ก้อนเมฆที่เป็นก้อนลอยอยู่บนท้องฟ้า หรือท้องฟ้าที่เมฆดำครึ้มก่อนพายุฝน ดังนั้นรู้จักเเสงเเต่ละช่วง เเละเวลาที่จะเกิดเเสงนั้น เเล้วถ่ายภาพช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะทำให้ภาพดูสวยงามขึ้นได้

4.  ใช้เเฟลช เท่าที่จำเป็น 

กล้องในปัจจุบัน ทำระบบทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติไว้ ซึ่งเมื่อเเสงไม่พอ เเฟลชก็จะทำงานอย่างอัตโนมัติ เเต่ว่า เเสงจากเเฟลช ทำให้สีของภาพอาจจะดูไม่เหมือนจริง เเละมีความเเข็งของเเสงไฟ ดังนั้นใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็น อาจจะต้องลองปรับค่าบางอย่าง หรือเปลี่ยนโหมดจาก scene เป็น low light เพื่อทำให้ถ่ายในที่เเสงน้อยได้ดีขึ้น  เเต่ถ้าเริ่มคล่องเเล้ว ใช้การปรับตั้งค่าบางค่าก็ได้เช่น รูรับเเสง ISO และ ความเร็วชัตเตอร์ (ยังไงก็หนีการตั้งค่าไม่พ้นจริง ๆนะ)

5. ทดลองถ่ายภาพเเนวต่าง ๆ อ่านศึกษาหาข้อมูล เข้าร่วมกลุ่มถ่ายภาพเพื่อปรึกษาเเละพัฒนาฝีมือ

สำหรับผู้ที่เริ่มถ่ายภาพ ยังคงมีคำถาม เเละยังคงต้องเริ่มต้นเรียนรู้หลายอย่าง ในปัจจุบันมีเว็บไซต์สอนถ่ายภาพฟรี ให้อ่านเเละหาความรู้อยู่มากมาย เเละกลุ่มถ่ายภาพที่ให้เข้าไปร่วมกลุ่ม เเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอผลงาน เมื่อได้รับคำติชม ก็นำมาพิจารณาเเละปรับปรุง จะทำให้ผู้เริ่มต้นพัฒนาฝีมือเป็นระดับมืออาชีพได้ในไม่ช้า เพียงเเค่ใจเย็นหมั่นฝึกฝน เเละไม่หยุดที่จะเรียนรู้ครับ

บทความเกี่ยวกับไอเดียการถ่ายภาพอีกเพียบ อ่านต่อได้ที่นี่เลย

source : https://pixabay.com

Exit mobile version