Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 ความจริงเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหาร

5 ความจริงเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหารสิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับภาพถ่ายอาหาร ในวงการ การถ่ายภาพอาหารแต่ละจานนั้นจะต้องถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงามโดยฝีมือช่างตกแต่งอาหาร ที่จะต้องปรับหน้าตาของอาหารให้ดูสวยงามมากขึ้น เพื่อใช้ในทางการตลาด ซึ่งจะแตกต่างจากแค่ถือกล้อง กดถ่ายแล้วจบ ยังมีรายละเอียดยิบย่อยที่เราต้องมาศึกษากันครับว่า จะทำให้ภาพถ่ายอาหารออกมาสวยได้อย่างไร 

ซึ่งการถ่ายภาพอาหารนั้น มีทริคที่เฉพาะตัวที่เราไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นจริงในมื้ออาหารของเรา บางอย่างจึงถูกเซ็ตขึ้นมาเพื่อให้สื่อถึงอารมณ์และชวนให้หลงใหล ในรสชาติและรูปร่างหน้าตาของอาหารมากขึ้น 

5 ความจริงเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหาร

1. ต้องวางแผนและตีกรอบไอเดียที่เราต้องการ

ก่อนที่เราจะลงมือทำอะไรสักอย่าง จะต้องมีการวางแผนที่ดี ยิ่งงานที่ต้องใช้ความละเอียด ความเอาใจใส่ จะมองข้ามไม่ได้เลย ในแง่ของการถ่ายภาพอาหารก็เช่นกัน ต้องวาดภาพในหัวว่า เราจะทำอะไร และภาพที่เราคิดไว้จะออกมาเป็นแบบไหน วัตถุดิบหรืออาหารบางอย่างนั้นมีลักษณะที่เฉพาะตัว อาจจะละลายหรือไม่คงรูปอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เราต้องไปทำการบ้านต่อคือการหาของสำรองไว้ให้มากพอสำหรับการถ่ายภาพ หรือแม้แต่ขั้นตอนการเสิร์ฟอาหารร้อน ถ้าร้อนเกินไอร้อนนั้นจะส่งผลต่อภาพอย่างไรบ้าง เป็นสิ่งที่เราต้องวาดภาพไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือทำ 

2. ฉากช่วยทำให้อาหารโดดเด่น

การเลือกโลเคชั่นให้กับอาหารนั้นก็สำคัญนะครับ ถ้าเราทราบแล้วว่าเราจะถ่ายภาพอาหารประเภทไหน อุปกรณ์ที่ใช้จัดฉากนั้นจะไปเป็นในทิศทางเดียวกันกับหน้าตาของอาหาร อาหารบางประเภทไม่ต้องการฉากที่มีสีสันหรือสิ่งของประกอบฉากเยอะขนาดนั้น  เช่น สลัดผักที่มีความหลากสีสันในตัวอยู่แล้ว ก็ควรจะเลือกฉากเรียบ ๆ เพื่อให้สีสันของอาหารโดดเด่นขึ้นมา เป็นต้น 

3. การจัดแสงเป็นเรื่องหลัก

แสงธรรมชาติ คือแสงที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับทุกสถานการณ์ เพราะเราควบคุมแสงธรรมชาติไม่ได้ การลดแสงให้อ่อนลงในวันที่แดดจัดคือการใช้ผ้าม่านสีขาวที่ช่วยลดจำนวนแสงลง เพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวลพอดี หรือแม้ในวันที่ฟ้าครึ้มก็สามารถใช้ถ่ายภาพอาหารได้นะครับ หรือแม้กระทั่งถ่ายภาพอาหาร out door ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องแสงมากขึ้น หรือแม้ในวันที่แสงธรรมชาติไม่เป็นใจจริง ๆ เราสามารถเช็ตฉาก เซ็ตไฟขึ้นมาใช้ในการถ่ายภาพได้เช่นกันครับ 

4. อาหารเทียมช่วยให้ดูน่าทานมากขึ้น

อาหารจะชวนให้น่าลิ้มลอง นอกจากรสชาติที่ดีแล้ว การปรับแต่งหน้าตาอาหารก็สำคัญด้วยเช่นกัน ที่จะทำให้ผู้ชมหลงใหลและอยากสัมผัสรสชาติของอาหาร  การตกแต่งนั้นจะทำให้ออกมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด ทั้งปริมาณอาหาร วัตถุดิบที่นำมาใช้ สีของจาน ช้อนส้อม ที่จะต้องถูกจัดวางให้ดูสมบูรณ์แบบก่อนเริ่มทำการถ่ายภาพ การถ่ายภาพอาหารอาจจะต้องใช้เวลามาก ดังนั้นอาหารเทียมเช่น น้ำแข็ง ผัก หรือผลไม้ หรือน้ำผึ้งที่มีความหนืด อาจจะต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นแทน ซึ่งจะช่วยยืดเวลาในการทำงานให้ช่างภาพได้ดี ทั้งยังได้ภาพที่สวยแบบที่ต้องการ

5.  การตั้งค่ากล้อง การเลือกเลนส์ ช่วยให้ได้ภาพออาหาออกมาสวยงามอย่างที่ต้องการ

หลังจากที่จัดเตรียมทุกอย่างพร้อมสำหรับการถ่ายภาพแล้ว เราจะมาดูคำแนะนำในการตั้งค่ากล้องต่าง ๆ กันครับ 

– ความเร็วชัตเตอร์ จะต้องไม่ช้าเกินไป ถ้าในกรณีที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหว ควรปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสม

– รูรับแสง ควรเลือกให้อยู่ที่ 2.5 – 4.6 กำลังพอดีเลยครับ

– ระยะชัดลึกของภาพ ก็จะช่วยในเรื่องการสร้างจุดโฟกัสให้ภาพได้ และการเบลอฉากหลังก็ช่วยให้เราโฟกัสไปที่แบบหลักได้ง่ายขึ้น

– การนำกฎสามส่วนมาปรับใช้ ในการจัดวางองค์ประกอบของภาพให้ดูดีขึ้น 

– การปรับแต่งภาพในภายหลังที่จะทำให้เราได้ช็อตที่สมบูรณ์มากที่สุด 

– ถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งกล้องหรือถ่ายด้วยมือเปล่า ซึ่งการถือกล้องด้วยมือเปล่านั้นจะทำให้เราได้ถ่ายภาพได้โดยรอบ ปรับมุมกล้อง หาจุดที่น่าสนใจและเหมาะสม  และขาตั้งกล้องก็เหมาะสำหรับการถ่ายแบบ close-up 

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ สายนักชิมหรือใครที่ทำงานด้านสื่อโฆษณา สามารถนำข้อแนะนำเหล่านี้ไปฝึกฝน ปรับใช้กันได้ครับ 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version