Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

6 วิธีการฝึกให้คุ้นเคยกับกล้อง เพื่อทำให้ถ่ายภาพได้เก่งขึ้น

6 วิธีการฝึกให้คุ้นเคยกับกล้อง เพื่อทำให้ถ่ายภาพได้เก่งขึ้น การถ่ายภาพทำให้สมองได้ทำงานอย่างสัมพันธ์กันทั้งสองซีก ซีกซ้ายและซีกขวาโดยซีกช้าย จัดการด้านเทคนิคของกล้อง  ส่วนสมองซีกขวาต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นไม่ควรที่จะให้ด้านใดด้านหนึ่ง ทำงานเพียงด้านเดียว วิธีที่ดีที่สุดคือ มีไอเดียถ่ายรูป เเละรู้จักกล้องของตัวเองว่าจะใช้อย่างไร เพื่อให้ได้รูปอย่างที่คิดไว้ในใจ

การใช้กล้องจนคุ้นเคย คุ้นมือทำให้การใช้งานง่ายขึ้นและสนุกยิ่งขึ้น เเละคุ้นเคยกับกล้อง จะทำให้ไม่ต้องคิดมากเวลาตั้งค่า เพราะจะทำได้โดยอัตโนมัติ

6 วิธีการฝึกให้คุ้นเคยกับกล้อง เพื่อทำให้ถ่ายภาพได้เก่งขึ้น 

1. ฝึกตั้งค่า Exposure (ควรหาเวลาเข้าใจพื้นฐานเรื่อง Exposure Triangle ด้วย)

ถึงเม้ว่าจะเลือกใช้การตั้งค่าเเบบออโต้ก็ตาม เเต่จะมีบางครั้งที่ผลลัพท์ออกมา ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ เเสงอาจจะน้อยไป หรือมากไป ลองฝึกโดยการถ่ายภาพ ที่เดิม มุมเดิม เเต่ใช้เเสงที่เเตกต่างกัน ค่า exposure น้อยไปมาก หรือมากไปน้อยก็ตาม

เลือกภาพที่เเสงพอดี จากนั้นลองทำอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ถ่ายภาพให้ได้เเสงเหมือนภาพ ที่กำหนดไว้ ทีนี้จะรู้ว่าต้องตั้งค่าเเสงอย่างไร กล้องมีความสามารถถึงเเสงจุดไหน ปรับมากน้อย สว่างต่างกันอย่างไร จากนั้น เลือกวัตถุมาหนึ่งอย่าง ถ่ายจากด้านข้าง ซ้าย ขวา ย้อนเเสง เพื่อดูว่ากล้องรับเเสง อย่างไรจุดไหนต้องเพิ่ม หรือลดอย่างไร ลองฝึกฝน ฝึกตั้งค่า เเล้วจะเริ่มคุ้นชิน เเละปรับได้อย่างคล่องเเคล่วเอง

2. ฝึกตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์

ถ่ายภาพโดยใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เปลี่ยนเเปลง ฝึกถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว อาจเป็นสุนัขที่บ้าน เด็กที่กำลังเล่นในสนามเด็กเล่น คนกำลังเดินหรือการจราจรติดขัด สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของการเคลื่อนไหวและระยะเวลาที่เปิดชัตเตอร์ ค่าไหนหยุดการเคลื่อนไหว ค่าไหนทำให้เห็น movement  หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าแค่ไหนที่จะเริ่มเห็นภาพเบลอจากการสั่นไหวของกล้อง คือกล้องเริ่มจับการสั่นไหวของมือ เเล้วทำให้ภาพเบลอไป เเบบฝึกหัดนี้ก็จะช่วยให้รู้ด้วยว่า เมื่อไหร่ควรจะใช้ขาตั้งกล้อง

3. ฝึกตั้งค่ารูรับเเสง

แบบฝึกหัดของการฝึกตั้งค่ารูรับเเสงคือ การตัวแบบเดียวกันในทุก ๆ ค่ารูรับแสงของเลนส์นั้น อาจต้องปรับ ISOและใช้ขาตั้งกล้องเมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้ามาก เพื่อดูภาพที่เกิดขึ้น ว่า ค่าเท่านี้ ให้ผลลัพท์เเบบนี้ หลังจากนั้น ลองทำเเบบนี้กับเลนส์ที่ต่างออกไปด้วย ดูภาพที่ได้ เเละจดค่า f  ไว้ ฝึกฝนซ้ำเเบบนี้บ่อย ๆ จะช่วยให้พัฒนาเรื่องการมองภาพ ความชัดลึกชัดตื้น เเละช่วยในการออกเเบบภาพได้ด้วย ว่าจะให้ฟุ้งขนาดนี้ ต้องค่า f อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่นั่นเอง

4. ฝึกตั้งค่าความไวเเสง

หลายคนลืมที่จะจัดการกับค่าความไวเเสง บางคนอาจจะไม่สนใจเพราะกล้องมีประสิทธิภาพสูงในปัจจุบันไม่ว่าจะตั้งค่า ISO สูงมาก เเต่ก็ไม่เกิด noise เลย เเต่กล้องเเต่ละรุ่นไม่เหมือนกันดังนั้น ลองทดสอบความสามารถโดยการตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องหรือพื้นผิวที่มั่นคงที่มีแสงไม่มาก (เเสงน้อย) ตั้งค่า ISO ของเป็นค่าต่ำสุดและถ่ายรูป เเละเปลี่ยนค่า ISO ทีละค่า อาจจะไม่ต้องละเอียกมาก อาจจะ 100 200 400 800 ไปเรื่อย ๆ จนสุดความสามารถของกล้อง  เเล้วสังเกตดูว่า กล้องใช้ ISO สูงสุดเท่าไหร่ ถึงจะไม่เกิด noise ขึ้นในภาพ

5. ฝึกฝนการโฟกัส เพื่อให้ภาพคมชัด

กล้องถ่ายรูปในปัจจุบันมีเทคโนโลยีออโต้โฟกัส ที่รวดเร็วเเละเเม่นยำ ฝึกใช้ทั้งออโต้โฟกัส เเบบจุดเดียว เเบบหลายจุด หรือการปรับโฟกัสภาพเอง ทดสอบความสามารของกล้อง ในการโฟกัสวัตถุทั้งเเบบนิ่งเเละเคลื่อนที่ หรือลองปรับโฟกัสเองเพื่อลองดูว่า จุดโฟกัสที่คิดว่าปรับชัดเเล้ว เมื่อซูมดู ปรากฏว่า ชัดตามอย่างที่คิดหรือไม่ โดยการฝึกโฟกัสอาจจะต้องฝึกฝน และใช้เวลา เเต่ยิ่งใช้เวลากับมันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งปรับได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นเท่านั้น

6. ฝึกกับระยะเลนส์ต่าง ๆ เพื่อลักษณะของภาพที่ได้

ถ้าหากมีโอกาสในการลองถ่ายภาพกับเลนส์หลายระยะ (อาจจะลองก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ) จะเห็นความเเตกต่างของภาพเมื่อใช้เลนส์ในระยะที่ต่างกัน เปรียบเทียบภาพที่ได้จากเลนส์เเต่ละระยะก็จะทำให้เข้าใจ เรื่องระยะของเลนส์เเต่ละประเภท ค่ามิลลิเมตรของเลนส์ บ่งบอกอะไรแล้วพอถ่ายภาพออกมาเเล้ว ภาพที่ได้เป็นเเบบไหน ถ้าได้มีโอกาสเลือกก่อน ก็จะเลือกได้ถูกใจเเละคุ้มค่ากับเงิน เพราะได้เลือกเเล้วว่า เป็นช่วงที่คิดว่าใกล้เคียงกับภาพที่คิดไว้มากที่สุด เเละประโยชน์ใช้สอยที่คิดว่าจะได้ใช้มากที่สุดนั่นเอง  

บทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่

source : KEVIN LANDWER-JOHAN, https://contrastly.com

Exit mobile version