Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

6 วิธีการใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ภาพถ่ายสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ

6 วิธีการใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ภาพถ่ายสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ วงล้อสี (The Color Wheel) การใช้วงล้อสี เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของสีเเต่ละสี โดยปกติที่เราเรียนรู้มาจะอยู่ในระบบ RYB ก็จะมีเเม่สี แดง เหลือง น้ำเงิน เมื่อนำแม่สีมาผสมกันก็จะเป็นสี ส้ม เขียว ม่วง  แล้วถ้าผสมสีต่ออีก ส่วนในวงการภาพถ่าย จะใช้ระบบ RGB เป็นระบบสีของแสง คือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นเเม่สีของเเสง เมื่อผสมแม่เเสง จะได้สีเหลือง สีฟ้าอมเขียว และสีม่วงอมชมพู  และเมื่อนำเเสงมาผสมกัน ก็จะได้สีอื่นอีก

ดังนั้นวงล้อสี จะช่วยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเเต่ละสี ว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด เช่น คู่สีตรงข้าม สีโทนเดียวกัน ซึ่งบทความนี้จะมี 6  วิธีการใช้สีในวงล้อสีเพื่อการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ มาลองเลือกใช้กันดูนะ 

6 วิธีการใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ภาพถ่ายสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ

1. การใช้สีเดียว (Monochromatic colors)

เลือกใช้สีใดสีหนึ่งในวงล้อสี โดยใช้โทนที่เเต่ต่างกัน สีเข้ม สีอ่อนเป็นตัวสร้างมิติให้กับภาพ เช่น โทนอ่อน โทนเข้ม เหมือนกับการเติมสีขาวเพื่อให้สีอ่อนลงในการวาดภาพสีน้ำมัน โดยการใช้สีเดียว เเต่เเตกต่างโทน ทำให้องค์ประกอบทั้งภาพดูกลมกลืน 

2. การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary colors)

สีคู่ตรงข้าม ก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีเลย โดยสีคู่ตรงข้าม จะยิ่งสร้างความเเตกต่าง เเละความโดดเด่นขึ้น เพราะสีจะตัดกันสองโทนอย่างชัดเจน กระตุ้นอารมณ์ความตื่นเต้น เเละสดใสให้กับภาพ คู่สีตรงข้าม ที่ของใช้เพื่อดึงความสนใจ เเละสร้างความโดดเด่นได้ดีคือ แดง-เขียว เหลือง-น้ำเงิน 

3. การใช้สีใกล้เคียงกับสีคู่ตรงข้าม (Split-Complementary Colors) หรือ สีตรงข้ามแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

เลือกสีเบส ก่อน เช่นสีน้ำเงิน จากนั้นลากออกไปให้เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว จะได้อีกสองสี ที่อยู่ตรงข้ามกับสีน้ำเงิน คือสีส้ม และเหลือง ให้ภาพที่ดูหลากสีสันขึ้น โดดเด่นขึ้น เเต่ก็ยังคงความกลมกลืนไว้ เเละยังไม่ฉูดฉาดจัดจ้านเท่ากับการใช้สีคู่ตรงข้าม มองภาพเเล้วให้ความสบายตามากกว่า

4. การใช้โครงสี่สี (Tetradic colors) บางทีก็เรียกว่า double complementary

เป็นการรวมสี่สีเข้ามาอยู่ในภาพเดียวกัน ประกอบด้วยสองชุดคู่สี ที่อยู่ตรงข้ามกัน ทำให้ภาพดูฉูดฉาด สดใสมากขึ้น เพิ่มความซับซ้อนและมีรายละเอียดที่มากขึ้น 

5. การสีข้างเคียงเรียงกันสามสี (Analogous colors)

เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงติดกันสามสีในภาพเดียว โดยปกติจะมีกฏการใช้ 60-30-10 rule คือ สีหลัก 60% ของพื้นที่ เเละสีรอง  30% เเละสีสุดท้ายให้มีพื้นที่ 10% ของภาพ 

6. การใช้สีตรงข้ามแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triadic colors)

เป็นการใช้สีตรงข้ามเเบบสามสี โดยเริ่มจากสีหลัก เเล้วลากออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ก็จะได้อีกสองสี ภาพจากการใช้สีตรงข้ามแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ก็จะให้ความน่าสนใจ ตื่นเต้น เเละความโดดเด่นขึ้นมา เพราะมีความเปรียบต่างสูงจากการใช้สีเเตกต่าง ทั้งโทนร้อนและโทนเย็น

กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่าง ๆ

Exit mobile version