Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีที่ต้องจำให้ขึ้นใจ สำหรับพัฒนาการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม Architecture Photography ให้ดีขึ้น

7 วิธีที่ต้องจำให้ขึ้นใจ สำหรับพัฒนาการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม (architecture photography) ให้ดีขึ้น ในเเง่ของการเป็นช่างถ่ายภาพ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะคิดตลอดว่า จะทำอย่างไรให้พัฒนาฝีมือการถ่ายภาพ พัฒนาการจัดองค์ประกอบอย่างไร เพื่อที่จะให้ภาพสื่อความหมาย อารมณ์ ได้อย่างชัดเจน

การปรับเปลี่ยนเเละเรียนรู้มุมมองต่าง ๆเป็นกระบวนการที่ไม่มีวันจบสิ้น เพราะเเต่ละหมวดการถ่ายภาพ มีเอกลักษณ์เเละมุมมองที่ต่างกัน หรือระยะเวลาการปลี่ยนเเปลงเทรนด์การถ่ายภาพในยุคสมัยต่าง ๆ ก็ทำให้ช่างภาพหยุดไม่ได้เลยที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันตามกระเเสโลกอยู่เสมอ 

7 วิธีที่ต้องจำให้ขึ้นใจ สำหรับพัฒนาการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมให้ดีขึ้น

1. .ใส่กรอบให้ภาพสถาปัตยกรรม

การจัดองค์ประกอบให้สถาปัตยกรรมหลักให้โดดเด่นออกมาจากพื้นที่เเวดล้อม มีวิธีการที่หลากหลาย เเต่วิธีการที่ง่ายวิธีหนึ่งเลยก็คือ การสร้างกรอบภาพ การสร้างกรอบภาพจะทำให้ความสนใจตกไปในจุดที่ช่างภาพต้องการนำเสนอ เเทนที่สายตาจะตกไปยังจุดที่ไม่ใช่หลักสำคัญของภาพ โดยกรอบภาพอาจจะเป็นบางสิ่งที่อยู่รอบข้าง เช่น ต้นไม้ ตึกที่อยู่ข้าง ๆ ผู้คน

2. อย่าทิ้งเรื่องกฏสามส่วน

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ถ้าหากว่าจะให้ภาพสื่อความหมายได้ชัดเจน ใจความหลักต้องเริ่มจากการจัดองค์ประกอบภาพ เเละการจัดวางต้องอยู่ในตำเเหน่งที่ชัดเจน เเละส่งเสริมกับการเล่าเรื่องของภาพด้วย

กฏสามส่วนที่ใช้คือการที่้เส้นเเนวนอนที่ขนานกันสองเส้น ตัดกับเส้นเเนวตั้งที่ขนานกันสองเส้น ทำให้เกิดจุดตัดสี่จุดด้วยกัน การวิจัยแสดงให้เห็นว่าสายตามนุษย์มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่จุดตัดกันมากกว่าที่จะอยู่ตรงกลางของภาพดังนั้น วางสถาปัตยกรรมที่ต้องการให้เห็นเป็นใจความหลักอยู่ที่จุดตัดนั่นเอง 

3. มองหาเส้นสาย ที่จะทำหน้าที่เป็นเส้นนำสายตา 

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเป็นการฝึกฝนที่ดีอย่างหนึ่ง คือการฝึกมองหาเส้นนำสายตา โดยเส้นนำสายตาจะทำหน้าที่ดึงสายตาเข้าไปที่ภาพ นอกจากนี้ เส้นนำสายตายังสามารถกำหนดอารมณ์ของภาพด้วย เช่น ถ้าเป็นเส้นนำสายตาที่เป็นเส้นโค้ง จะให้ความรู้สึกอ่อนไหว อ่อนโยน มากกว่าเส้นนำสายตาที่เป็นเส้นตรง การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะเจอเส้นโค้ง เเต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะลองหาดูใช้มั๊ยล่ะ

4. มองหาความซ้ำซ้อน และรูปแบบ

เมื่อพูดถึงความซ้ำซ้อน อาจจะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ หรือน่าเบื่อ เเต่การมองเห็นรูปแบบที่ซ้ำ ๆ หรือ คล้ายคลึงกัน จะทำให้ผู้มองภาพ รู้สึกมีปฏิสัมพันธ์กับภาพ เห็นจังหวะของภาพ ที่เกิดจากความซ้ำซ้อนของรูปแบบที่เห็นได้นั่นเอง การสร้างท่วงทำนองให้กับภาพ ก็ยิ่งทำให้ภาพมีมิติ เเละดึงความสนใจได้เป็นอย่างดี 

5. เก็บรายละเอียดพื้นผิว

พื้นผิวเช่น ก้อนอิฐ ปูน ไม้ พื้นผิวจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเเต่ละสิ่งปลูกสร้างหรือสถาปัตยกรรม ทำให้ช่างภาพสามารถถ่ายทอดบุคลิกของอาคารไปยังผู้ชมได้

6. ฝึกฝนการใช้ที่ว่าง (Negative spcae) ให้คล่องมือ  

อย่าคิดว่า ต้องเติมให้ทั้งภาพ เต็มไปด้วยรายละเอียด เเต่การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในบางครั้ง ต้องให้มีช่องว่างบ้าง อาจจะสองในสามส่วน ขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่อยากนำเสนอ โดยช่างภาพบางคนให้ความหมายง่าย ๆคือ การที่ทำให้ภาพได้มีช่องว่างที่จะหายใจ 

7. ดึงรูปทรงที่โดดเด่น ออกมาเป็นจุดเด่นของสถาปัตยกรรม

พื้นฐานของสถาปัตยกรรมคือรูปแบบของรูปร่าง หรือรูปทรง โดยงานทุกชึ้นถูกประกอบขึ้นจากรูปร่างพื้นฐาน วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เเต่ถูกจัดวางให้ซับซ้อน จนไม่เหลือความเป็นรูปร่างพื้นฐานนั้น ดังนั้นพยายามเเยกรูปร่างพื้นฐานเหล่านั้น เเล้วใช้รูปทรงเหล่านั้น สร้างให้ดูโดดเด่น โดยอาจจะใช้เทคนิคการใช้เส้นนำสายตา เป็นตัวดึงความสนใจไปที่รูปทรงนั้น หรือนำเสนอในลักษณะของการใช้รูปแบบ

การฝึกฝนเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้เรื่องที่คิดว่ายาก หรือเป็นจุดอ่อน พัฒนาขึ้นเป็นจุดเเข็งได้เหมือนกัน

รวมบทความถ่ายภาพ LANDSCAPE เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

source : https://contrastly.com/

Exit mobile version