Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 พื้นฐานด้านศิลปะและการออกเเบบที่นำมาใช้ในการถ่ายภาพ เพื่อให้ภายสวยเเละดูน่าสนใจ

7 พื้นฐานด้านศิลปะที่นำมาใช้ในการถ่ายภาพ เพื่อให้ภายสวย ดูมีเรื่องราวน่าสนใจ ภาพถ่ายก็เหมือนกับงานศิลปะ เพียงเเค่ไม่ได้ใช้สีในการวาดภาพ ดังนั้นช่างภาพก็เป็นศิลปินกลุ่มหนึ่ง ที่ถ่ายทอดผลงานออกมา แสดงให้เห็นอารมณ์เเละความรู้สึกผ่านทางภาพถ่าย ดังนั้นทฤษฎีทางศิลปะก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพได้ดีด้วย

ทั้งยังทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความสมดุล จังหวะ รูปเเบบ การมุ่งเน้นจุดสนใจ ความเปรียบต่าง ความกลมกลืน และ การเคลื่อนไหวของภาพ โดยทำงานร่วมกับการใช้เส้นสาย รูปร่าง ช่องว่าง สีสัน เเละพื้นผิว 

7 พื้นฐานด้านศิลปะที่นำมาใช้ในการถ่ายภาพ เพื่อให้ภายสวย ดูมีเรื่องราวน่าสนใจ

ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ (Balance)

ใช้น้ำหนักของวัตถุ หรือองค์ประกอบในภาพถ่วงดุลกัน โดยให้ความรู้สึกว่า ไม่หนัก หรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งของภาพ โดยมีวิธีการมองเพื่อจัดสมดุลดังนี้

ความสมดุล เป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก “ใช่” เเละ “ไม่ใช่”  หากอยากลองหาความสมดุลของภาพ ลองขยับกล้อง เปลี่ยนมุม เพื่อให้ได้มุมมองที่ต่างออกไป

2. จังหวะ (Rhythm)

แนวคิดและวิธีการจัดองค์ประกอบ บางครั้งคล้ายกับการสร้างจังหวะจากทฤษฎีดนตรี คือมีความหนัก เบา นุ่มนวล เเละ หนักเเน่น การถ่ายภาพก็เช่นกัน จะมีการใช้จังหวะโดยใช้ เเสง สี เข้ามาสร้างความหนัก เบา นุ่มนวล เเละหนักเเน่นให้กับภาพ เป็นจังหวะ เเต่รับรู้โดยการใช้สายตาในการมองเห็น เช่นการสร้างเลเยอร์ให้กับภาพ มีเส้นที่ทึบ หนา สีสันที่จัดจ้าน เเละ สีสันอ่อนโยน 

3. รูปแบบ (Pattern)

รูปแบบเป็นการนำเสนอ ความสม่ำเสมอ และความพร้อมเพรียงกันของธรรมชาติ หรือวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นมา โดยจะมีรูปแบบที่ซ้ำเดิม ซึ่งดวงตาของมนุษย์นั้นได้รับการฝึกเพื่อหาแบบแผน และเมื่อเห็นเเบบเเผนก็สามารถดึงความสนใจ เเละสร้างความประหลาดใจให้เเก่ผู้ชมได้

ลองสังเกตง่าย ๆ จากธรรมชาติ กลีบดอกไม้ หรือ พืชผัก ขนสัตว์ จะมีรูปเเบบการจัดเรียงตัวที่น่าทึ่ง หรือเเม้เเต่การมองหารูปเเบบในสถาปัตย กรรม เส้นสาย หรือรูปทรงซ้ำ ๆ เมื่อมองเห็นเเล้ว จะรู้ว่า รูปเเบบที่สวยงามพวกนี้ อยู่กับผู้คนในทุกวัน 

4. การมุ่งเน้นจุดสนใจ (Emphasis)

คือการเน้นจุดศูนย์กลางของความสนใจในภาพ โดยใช้ สี องค์ประกอบ ช่องว่าง พื้นผิว หรือ เส้นสาย เพื่อจะดึงความสนใจไปยังจุดเด่นหรือจุดโฟกัสของภาพ เเม้เเต่การตีกรอบในภาพ ก็ช่วยให้มุ่งความสนใจไปยังตัวเเบบที่ต้องการด้วยเช่นกัน 

ขนาดของตัวแบบ ก็เป็นตัวกำหนดความสนใจของตัวเเบบด้วย โดยวัตถุที่มีขนาดใหญ่ จะเเสดงระยะของภาพ ว่าใกล้ช่างภาพ เเละขนาดที่เล็กก็จะให้ความรู้สึกว่า ไกลออกไป โดยขนาดก็เป็นตัวที่จะช่วยดึงความสนใจไปยังจุดสนใจของภาพได้ เเละยังเป็นการสร้างมิติ เพื่อให้เห็นความลึก ตื้น ของภาพด้วยเช่นกัน

สีสัน ก็เป็นตัวกำหนดความโดเด่นของตัวเเบบเช่นกัน โดยสามารถเน้นความสำคัญ ซึ่งวัตถุที่มีสีสว่างภายในฉากที่มีสีมืดจะให้ความมีชีวิตชีวาให้กับภาพ เเละดึงสายตาเข้าสู่ภาพโดยอัตโนมัติ 

5. ความเปรียบต่าง/ความเเตกต่าง (Contrast)

ความเปรียบต่างคือ การนำสองสิ่งที่เเตกต่างกันคนละขั้ว เข้ามาอยู่ร่วมในเฟรมเดียวกัน เช่น เเสง เเละความมืด ไฟ เเละ น้ำเเข็ง ความสงบ ความวุ่นวาย ซึ่งก็หมายรวมไปถึงสภาวะ ทางกายภาพด้วย เช่น พื้นผิวที่ขรุขระ เเละผิวเรียบ ก็ให้ความรู้สึกเเตกต่างด้วยเช่นกัน

6. ความกลมเกลียว (Unity)

จะอธิบายถึงความสัมพันธ์ของภาพ โดยจะสร้างให้เป็นภาพที่ดูดึงดูดใจได้ เพียงเข้าใจความรู้สึกของความกลมกลืน กลมเกลียว ไปในทางเดียวกัน ใช้สี เเละโทนที่ไปในทางเดียวกัน จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ในภาพได้ 

7. การเคลื่อนไหว 

การเคลื่อนไหวในที่นี้ คือความสัมพันธ์ที่อธิบายถึงความเร็วชัตเตอร์ เเละวัตถุที่อยู่ในภาพ ซึ่งวัตถุในภาพสามารถ เเสดงทิศทางการเคลื่อนที่ได้ โดยการตั้งต่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง จับความเคลื่อนไหว เเต่ไม่หยุดการเคลื่อนที่ ภาพที่ได้จะเป็นเป็นเส้นสาย เห็นทิศทาง เเละการเคลื่อนที่ของวัตถุ เล่น รถบนถนน คนที่เดินอยู่บนทางเท้า โดยทั่วไปสมองมนุษย์ จะมองการเคลื่อนไหว ถ้ารู้สึกถึงการเคลื่อนที่ ก็จะทำให้รู้สึกว่ามีชีวิตชีวา  

รวมบทความถ่ายภาพ LANDSCAPE เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

source : https://expertphotography.com

Exit mobile version