Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้มีความสมดุลและจุดดึงดูดสายตา

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้มีความสมดุลและจุดดึงดูดสายตา ซึ่งความสมดุล เป็นเนื้อหาหลักที่ต้องให้ความสำคัญต่อการถ่ายภาพด้วยพอสมควร ซึ่งเมื่อปรับสมดุลภาพได้ดี ก็จะทำให้องค์ประกอบจัดได้ดีโดยอัตโนมัติ

ในการถ่ายภาพ ความสมดุลคือ  การจัดเรียงที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติเเล้วมองเห็นไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง โดยความรู้สึกสมดุลจะทำให้เมื่อมองภาพ จะให้ผู้มองภาพรู้สึกถึงความกลมกลืน มีความเชื่อมโยง ในขณะที่ภาพที่ไม่สมดุลจะให้ความรู้สึกว่าการมีส่วนร่วมในภาพลดน้อยลง  

ในทุกองค์ประกอบของภาพจะมี การให้น้ำหนักของสายตา โดยที่ขนาด สี ความเปรียบต่าง พื้นผิว จะมีผลกระทบต่อน้ำหนักทางสายตาโดยตรง โดยง่าย ๆก็คือ การทำให้ภาพสมดุล ก็คือการที่ทำให้ภาพไม่มีความรู้สึกว่าหน่วงไปทางใดทางหนึ่ง

ลองมาดูกันว่า การจัดภาพให้สมดุล มีวิธีไหนบ้าง เเละจัดวัตถุอย่างไร 

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้มีความสมดุลและจุดดึงดูดสายตา

การจัดภาพเเนวสมมาตร 

การจัดภาพเเบบมาตรฐาน ง่ายที่สุดคือการจัดตัวเเบบไว้ตรงกลางภาพ เเล้วให้ทั้งสองข้างของภาพ มีความเท่ากัน เหมือนกันที่สองฝั่ง โดยทั่วไป การจัดภาพอาจจะจัดในลักษณะของเเนวนอน ซึ่งภาพในเเนวตั้งอาจจะจัดภาพได้ยากกว่านิดหน่อย ซึ่งภาพที่สมมาตตร อาจจะอยู่ในลักษณะของการถ่ายภาพสะท้อนก็ได้

เเละในบางภาพ อาจจะไม่สมมาตรกันซะทีเดียว เเต่องค์ประกอบของทั้งสองด้านที่ออกมามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนให้ได้ความรู้สึกของความสมมาตร

การจัดเเนวเเบบไม่สมมาตร

จริง ๆเเล้วการจัดภาพเเบบไม่สมมาตรทำให้ได้ภาพที่ดูน่าสนใจไม่น้อยเลย การจัดเรียงเเบบไม่สมมาตรมักจะใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่คุ้นเคยกันดี คือกฏสามส่วนนั่นเอง โดยที่ถ้าหากภาพไม่สมดุล ให้วางวัตถุตัวที่สองอย่างน้อยหนึ่งตัวในพื้นที่ที่เหลือ โดยจุดโฟกัสรองจะช่วยทำหน้าที่เป็นเส้นนำสายตา

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเวลาจัดองค์ประกอบเพื่อให้มีความสมดุลและจุดดึงดูดสายตา

1. ขนาด (SIZE)

จุดโฟกัสที่เห็นได้ชัดเจนจะให้ความรู้สึกว่ามีน้ำหนักกว่าจุดที่โฟกัสรองลงมา ดังนั้นจึงสามารถดึงความสนใจไปจุดนั้นได้ ดังนั้นโดยทั่วไปเเล้วจุดโฟกัสที่ต้องให้ความสนใจ จะมีขนาดใหญ่ที่สุด ชัดเจนที่สุด เเละองค์ประกอบสนับสนุนอื่นจะมีขนาดที่เล็กลงมา 

2. โทนและความเปรียบต่าง (TONE AND CONTRAST)

บริเวณที่มีความเปรียบต่างสูงจะดึงดูดสายตา คือวัตถุที่มีสีเข้มจะได้น้ำหนัก เเละดึงดูดสายตาได้มากกว่าวัตถุมีอ่อน ถ้าวัตถุหลักมีสีอ่อนให้ระวัง เงา หรือวัตถุที่มีสีเข้มกว่าจะดึงความสนใจไปได้ง่าย ดังนั้นให้พยายามเลี่ยงภาพที่มีลักษณะดังกล่าว ถ้าทำได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ เเละเป็นปัญหาที่ชัดเจนถ้าหากเป็นการถ่ายภาพขาวดำ

3. สีสันเเละความเข้มสี (COLOUR AND SATURATION)

สีสันที่สดใส จะดึงดูดสายตาเเละโดดเด่นกว่าเฉดสีที่เป็นกลาง  และการที่ใช้สีที่ตัดกันกับฉากหลังจะเป็นจุดโฟกัสที่โดดเด่นมากในภาพถ่าย 

4. พื้นผิว (TEXTURE)

รูปแบบและพื้นผิวจะช่วยให้ภาพมีความน่าสนใจ และดึงดูดสายตา จุดสนใจทางธรรมชาติ มีพื้นผิวที่น่าสนใจ เช่น พื้นผิวของคลื่นทะเล ความขรุขระของหน้าผา หรือโขดหิน จะช่วยดึงความสนใจเข้าไปยังภาพได้ ทั้งยังช่วยให้ภาพมีความสมดุล ซึ่งก็ต้องระมัดระวัง ว่าภาพจะต้องไม่มีส่วนที่เรียบเพื่อดึงความสนใจออกไป

5. จุดโฟกัส (FOCUS)

วัตถุที่มีความคมชัด จะได้น้ำหนักในภาพมากกว่าสิ่งที่ไม่คมชัด เเละเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์อย่างมาก สามารถใช้เทคนิคนี้เพื่อลบวัตถุที่ไม่พึงประสงค์ออกจากภาพได้ คือการใช้การตั้งค่าหน้าชัดหลังเบลอ เพื่อทำให้วัตถุหลักเด่นขึ้นมาจากพื้นหลังนั่นเอง 

6. การเพ่งมอง (GAZE)

ถ้าเป็นการถ่ายภาพบุคคลผู้ชมมักจะถูกดึงดูดความสนใจด้วยสายตาของตัวเเบบดังนั้น จึงจำเป็นต้องวางสายตาของตัวเเบบ อย่างสมเหตุสมผล เช่น อาจจะให้สายตาของตัวเเบบมองทอดยาวออกไป หรือมองกล้อง เพื่อจะได้สบตากับผู้ชม

เเต่มีข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ที่พบได้บ่อยเช่น ให้ตัวเเบบมองไปในทิศทางที่ไม่มีช่องว่างภายในภาพ

7. ผู้คน หรือสัตว์ (PEOPLE AND ANIMALS)

โดยปกติมนุษย์เรามักจะมองหาสิ่งมีชีวิต ซึ่งในภาพถ่ายถ้าหากมีคน หรือสัตว์ในภาพ จะดึงสายตาและดึงความสนใจของผู้ชมเข้าไปจุดนั้นได้เป็นอย่างดี

ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นข้อเสียเหมือนกัน คือถ้ามีคน หรือสัตว์ อีกจุดหนึ่งของภาพ ก็จะทำให้ดึงสายตาออกจากจุดโฟกัสหลักได้เช่นกัน

source : 1

อ่านบทความเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ พื้นฐานการถ่ายภาพ เทคนิคการถ่ายภาพได้ที่นี่

Exit mobile version