Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่นมือถือที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อมาใช้

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่นมือถือที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อมาใช้ จากบทความที่แล้วที่ผมได้เกริ่นไปเกี่ยวกับการถ่าย Slow Motion ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือผ่าน แอพฯ ของ DJI Go โดยใช้อุปกรณ์ไม้กันสั่นมือถือ ผมได้ทิ้งท้ายไว้ว่าจะมาแนะนำเทคนิคดี ๆ สำหรับการควบคุมไม้กันสั่นมือถือนี้สำหรับมือใหม่ที่สนใจการถ่ายวีดีโอ

สำหรับบทความนี้ ผมจะแนะนำ 7 เทคนิคที่ใช้ควบคุมไม้กันสั่นซึ่งมือใหม่ต้องรู้ก่อนซื้อมาใช้งานกัน ซึ่งมือใหม่ทุกคนสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปเป็นหัวข้อในการฝึกใช้งานจริงและประยุกต์ใช้กับการถ่ายวีดีโอของคุณให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นได้ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่า

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่นมือถือที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อมาใช้

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 1 : ถ่ายแบบแพนบนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน (Raising & Lowering)

เทคนิคนี้เป็นวีธีการควบคุมไม้กันสั่นโดยจะต้องถือให้อยู่ในระดับบนเหนือสิ่งที่ต้องการจะถ่าย หรือ ระดับต่ำกว่าสิ่งที่จะถ่าย แล้วเคลื่อนที่ไม้กันสั่นไปในทิศทางตรงข้ามจากบนไปล่าง หรือ ล่างขึ้นไปบน โดยไม่มีการเอียงไม้กันสั่น

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 2 : ถ่ายแบบแพนขนานกับสิ่งที่ต้องการถ่าย (Horizontal)

ให้ถือไม้กันสั่นไว้ให้สูงในระดับประมาณหัวไหล่ ในขณะที่คุณเคลื่อนที่ไปด้านข้างของสิ่งที่ต้องการถ่าย เหมือนกับการร่อนลงจอดของเครื่องบิน ซึ่งเทคนิคนี้สามารถใช้ทำ Transition เปลี่ยนฉากได้ โดยให้เราวิ่งขนานผ่าน สิ่งต่างๆ เช่น ต้นไม้ เสา เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเป็น Foreground บังไว้ และ เราก็ไปถ่ายอีกสถานที่หนึ่งที่วิ่งขนานในลักษณะเดียวกัน

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 3 : การถ่ายแบบวงกลม (Circle)

เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างทำยากแต่ มันก็ไม่ได้ยากซะทีเดียวแค่มือใหม่ต้องรู้ทริคเล็กน้อย เทคนิคนี้จะต้องเดินรอบสิ่งที่ต้องการถ่ายในลักษณะวงกลม แต่ให้ระวังนิดนึงเวลาเดินรอบสิ่งที่ต้องการถ่ายอย่าเผลอเขาไปชนสิ่งที่เราต้องการถ่ายหละ และ ต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่เป็นวงกลมไม่เร็วจนเกินไป จะได้ภาพออกมาที่ดูสมูธ ลื่นไหล

เทคนิคจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 4 : การเงยขึ้น (Tilting)

เทคนิคนี้จะต้องเงยไม้กันสั่นขึ้น หรือ ก้มลง โดยขณะเงยขึ้นต้องควบคุมจอยสติ๊กไปด้วยเพื่อให้มุมกล้องมีลักษณะเหมือนเราเงยหน้ามองอะไรสักอย่าง และ ต้องใช้ความเร็วที่พอเหมาะ ด้วยนะอย่าเร็วเกินไป

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 5 : การติดตามสิ่งที่ต้องการถ่าย (Follow & Lead)

เป็นเทคนิคที่จะต้องเดินถือไม้กันสั่น ติดตามสิ่งที่ต้องการถ่าย อาจจะเป็นด้านหลัง

หรือ ด้านหน้าก็ได้ ถ้าเป็นด้านหลังจะให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังมันกำลังมุ่งหน้านำทางไปหาอะไรซักอย่าง แต่ถ้าเป็นการถ่ายที่ตัวคุณเดินอยู่ด้านหน้า จะทำให้รู้สึกเหมือนกำลังถ่าย Vlog แบบ Selfie อยู่

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพ PORTRAIT สำหรับมือใหม่ที่ควรรู้

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 6 : การเดินเข้าไปหาตัวแบบ (Push-in)

เทคนิคนี้จะต้องเคลื่อนตัวเข้าหาสิ่งที่คุณกำลังถ่ายแบบตรงๆ เลย เน้นการ Close up ระยะประชิด แต่ข้อควรระวัง คือ อย่าเข้าไปชิดเกินไปหละ อาจจะทำให้หลุดโฟกัสได้ และ เทคนิคนี้สามารถเอาไปประยุกต์ใช้สำหรับการทำ Transition ในวีดีโอได้ด้วยนะ ควบคู่ไปกับการใช้เทคนิค Pull out เปลี่ยนไปอีกฉากหนึ่งที่ต้องการ

7 เทคนิคควบคุมไม้กันสั่น เทคนิคที่ 7 : การถอยออก (Pull-out)

เป็นเทคนิคที่ตรงข้ามกับ Push-in ที่บอกไปในเทคนิคก่อนหน้านี้ เป็นเทคนิคการถอยออกจากสิ่งที่เรากำลังถ่ายอยู่ จะได้ภาพในมุมกว้าง เพื่อเน้นในเรื่องของการให้รายละเอียด เรื่องราว หรือ ความยิงใหญ่ ใน shot นั้น ๆ

ในที่สุดก็ครบแล้วกับเทคนิคทั้งหมดที่ผมได้แนะนำทุกคนไป ผมหวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนใช้ไม้กันสั่นได้ดียิ่งยึ้นราวกับมืออาชีพ และ ผมหวังว่าคุณจะสนุกไปกับการถ่ายวีดีโอด้วยไม้กันสั่นมือถือมากขึ้น

ขอบคุณภาพประกอบการอธิบาย : DJI Guide

Exit mobile version