Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

9 ทิปส์ถ่ายภาพ TIME-LAPSE มือใหม่ ให้สวยงาม มีความน่าสนใจ และวิธีเตรียมตัว

9 ทิปส์ถ่ายภาพ TIME-LAPSE มือใหม่ ให้สวยงาม มีความน่าสนใจ และวิธีเตรียมตัว ปัจจุบันการบันทึกเรื่องราวด้วยการใช้กล้องวีดีโอ เป็นที่ได้รับความนิยม ทั้งการถ่ายเก็บเรื่องราวความประทับใจ ในการเดินทางท่องเที่ยว หรือชีวิตประจำวันก็ตาม เเละวิธีการที่ใช้เพื่อเล่าเรื่องที่ยาวในระยะเวลาสั้น คือ  TIME-LAPSE เช่น ช่วงเวลาอาทิตย์กำลังจะตกดินถึงช่วงมืด หรือ การเคลื่อนที่ของดวงดาวในเวลากลางคืน ผู้คนที่เคลื่อนไหวในเมืองช่วงกลางวันจนถึงพลบค่ำ หรือเเม้าเเต่การทำอาหาร หรืองานฝีมือก็ตาม เเต่จะต้องนึกถึงอะไรเเละทำอะไรบ้าง เพื่อจะให้ดูเป็นวีดีโอ  TIME-LAPSE ทั้งสวย เเละเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจ 

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

9 ทิปส์ถ่ายภาพ TIME-LAPSE มือใหม่ ให้สวยงาม มีความน่าสนใจ และวิธีเตรียมตัว

1. วางเเผน วางมุม วางระบบการทำงานของเราเอง รวมถึงการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เสริม 

การถ่ายภาพ TIME-LAPSE เป็นการทำงานเเข่งกับเวลาอย่างนึงนะ ถ้าสมมติว่าต้องการจะเก็บภาพดวงอาทิตย์ตกซึ่งมีเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่จะได้จังหวะนั้นมา เเต่ยังเตรียมกล้อง เตรียมของไม่เสร็จทันเวลา ก็จะพลาดโอกาสนั้นไป ดังนั้นการซ้อมก่อนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดเวลาในการเตรียมตัว ไปถึงต้องรู้เลยว่าเราจะต้องทำอะไรก่อนหลัง ลำดับอย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องรู้เวลาดวงอาทิตย์ตกด้วย เพื่อจะได้วางเเผนที่จะไปถึงทันเวลา ทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในการควบคุมของเราทั้งหมดให้ได้

อย่าลืมดูพยากรณ์อากาศด้วยเเหละ เพราะถ้าไปเเล้วมีฝน ฟ้าปิด ก็คงจะไม่ได้ภาพที่ต้องการเหมือนกัน อาหารหรือของว่าง น้ำ ก็ต้องเตรียมเผื่อ ติดตัวไปด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องหิว หรือขาดน้ำ ดังนั้นใช้เวลาวางเเผนซักนิด เพื่อจะได้ไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญ 

2. ขาตั้งกล้องต้องมั่นคง (เหมือนเรียบง่าย แต่ซีเรียส คงไม่มีใครอยากได้วิดีโอ TIME LAPSE กระตุกแน่ ๆ อ่ะ)

ขาตั้งกล้องมีให้เลือกมากมายตามท้องตลาด เลือกที่ให้ความมั่นคง ไม่เบาจนเกินไป รับน้ำหนักได้ เเละไม่สั่นไหวตามเเรงกระเเทก หรือแม้แต่แรงลม เพราะการถ่าย TIME-LAPSE  กล้องต้องอยู่สภาพนิ่ง เป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจจะเป็นหนึ่ง หรือสองชั่วโมง การสั่นไหว หรือขยับเพียงเล็กน้อย ที่เกิดจากลม หรือ จังหวะการ ก้าวเดิน ก็ทำให้กล้องสั่นไหวได้ หรือถ้าไม่มี ก็ให้หาอะไรที่กล้องวางได้ เเล้วไม่ขยับ

3. การจัดเฟรมภาพคือกุญเเจสำคัญ 

เพราะกล้องต้องอยุ่จุดเดิม ไม่เคลื่อนที่เปลี่ยนมุมไปมา (เว้นแต่เราจะถ่าย Motion Lapse อันนั้นอีกเรื่องนึง) และภาพที่ออกมาต้องดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากพอสมควร ดังนั้นเมื่อได้สถานที่ที่ต้องการ จึงต้องวางกล้องวางมุม การจัดเฟรมภาพ เพื่อดูองค์ประกอบ อะไรอยู่จุดไหน ตัวเเบบอะไรที่น่าสนใจ อยู่ในจุดที่ดีเเล้วใช่หรือไม่ ภาพมีเลเยอร์อย่างไรบ้าง เเล้วให้จินตนาการว่า ภาพสุดท้ายที่ได้ จะออกมาในลักษณะเเบบไหน ลองถ่ายภาพนิ่งออกมาดูก่อนก็ได้ เเล้วลองดูว่า ต้องจัดหรือปรับเพิ่มส่วนใดอีกบ้าง ดังนั้น การจัดเฟรมภาพ เพื่อดึงความสนใจเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งเลยล่ะ 

4. ตั้งค่ากล้องเเบบ Manual Exposure และถ่ายภาพเป็นเเบบ RAW (เว้นการถ่าย Timelapse แบบ อื่น ๆ เดี๋ยวเราค่อยว่ากัน)

แบบ Manual Mode และการถ่ายภาพด้วย .RAW ควบคุมค่าของกล้องได้ดีกว่า เเละการถ่ายแบบ .RAW ช่วยการทำงาน Post -processing ให้ง่ายขึ้น การถ่าย TIME-LAPSE กล้องจะอยู่ที่เดิม เเต่สภาพเเสงจะเปลี่ยนไป การตั้งเป็นโหมด Auto กล้องจะพยายามปรับค่าต่าง ๆเอง อาจจะได้สีและ white balance ที่ปรับไปมา ทำให้อารมณ์ของภาพที่เกิดขึ้น ไม่ต่อเนื่องนั่นเอง

5. พยายามดูการเปลี่ยนแปลงของภาพที่ได้อยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ไม่คาดคิด

ถ้าเราชำนาญแล้วกรณีนี้ไม่ต้องก็ได้ เราสามารถที่จะปล่อยกล้องไว้ได้เลย แต่ถ้าในช่วงมือใหม่แรก ๆ แนะนำว่าให้คอยดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาพเราอยู่เป็นระยะ บางครั้งอาจจะเจอสิ่งที่ไม่คาดคิด ทำให้เราแก้ไขในช่วงเวลาที่ถ่ายได้ (เช่นมันเกิด แต่ท้องฟ้ายังโอเค ยังถ่าย Lapse ได้อยู่เป็นต้น) ยกตัวอย่าง ละอองน้ำหยดมาโดน ถ้าเวลาเหลือจะได้เปลี่ยนจุดถ่ายเป็นต้น

6. โฟกัสให้ถูกจุด และควรใช้ Manual Focus เปิด Peaking Focus ด้วยนะ ถ้าซีเรียสเอาเทปแปะตรงเลนส์ไว้ไม่ให้โฟกัสเลื่อนก็ได้

ปรับโฟกัสด้วยการหมุนเองด้วยโหมด manual เพื่อให้เเน่ใจว่า โฟกัสอยู่ในตำเเหน่งที่ต้องการจริง ๆ และเปิด Peaking Focus ไว้จะได้รู้ว่าระยะที่ต้องการโฟกัสเข้าแล้วแน่นอน ถ้าซีเรียสมาก ๆ กลัวเลนส์เคลื่อนหรือต้องการคุมปัจจัยให้ได้ทั้งหมดก็เอาเทปแปะไว้นะนะ (ควรเป็น Magic Tape ที่ลอกออกแล้วไม่ทิ้งคราบกาวอ่ะ)

7. ระวังการเกิด flicker

“flicker” เป็นการเกิดการกระพริบในระหว่างการถ่ายเเบบ time-lapse เกิดจากการเปลี่ยนเเปลงของเเสงที่เข้าไปใน diaphragm ที่ไม่สัมพันธ์กับการเปิดปิดชัตเตอร์ เมื่อใช้งานในโหมดออโต้ การเเก้ไขคือใช้เลนส์ที่ปรับเเบบ manual เพื่อให้เเน่ใจว่ารูที่เปิดรับเเสงจะอยู่ ณ ตำเเหน่งเดิม 

8. รู้ว่าต้องตั้งเวลาการถ่ายภาพระหว่าง shot เท่าไหร่

เป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการถ่าย  time-lapse ว่า จะต้องตั้งเวลาต่อ shot เท่าไหร่ หรือ ตั้งให้แต่ละภาพห่างกันเท่าไหร่ เพราะจะส่งผลไปถึงความเร็วของวีดีโอในตอนท้าย เช่น ปรับตั้งเวลา 10 วินาที ถ้าก้อนเมฆเคลื่อนที่ช้า ถ้าตั้งเวลา 5 วินาที ก้อนเมฆเคลื่อนที่ปกติ ถ้าก้อนเมฆเคลื่อนที่เร็ว ปรับที่ 3 วินาที การปรับตั้งค่าระหว่าง shot  ที่นิยมใช้ เช่น คนเดินบนถนน หรือ รถที่ขับอยู่ 2 วินาที การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในวันที่ฟ้าเเจ่มใส 30 วินาที ส่วน ถ่ายตอนกลางคืน ดวงดาว ดวงจันทร์ ปรับเวลาที่ 20 ถึง 30 วินาที 

9. รู้ว่าจะตั้งเวลาถ่าย time-lapse เท่าไหร่ 

เพื่อจะให้รู้ว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าไหร่ ก็ต้องมีการคำนวณเวลา สูตรการคำนวณง่าย ๆ เช่น ความเร็วในการถ่าย 25 เฟรม ต่อเวลา 1 วินาที  ดังนั้นถ้าความยาวของวีดีโอเท่ากับ 10 วินาที ก็จะต้องได้ทั้งหมด 250 เฟรม เพราะฉะนั้น ก็นำ 250 มาคูณกับจำนวนวินาทีที่ตั้งให้แต่ละภาพห่างกันเท่าไหร่ ก็จะได้เวลาที่ต้องใช้ทั้งหมด ถ้าตั้งให้แต่ละภาพห่างกัน 30 วินาที ก็จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการเก็บภาพวีดีโอนั่นเอง (อาจจะคิดไม่เหมือนกันเเล้วเเต่สูตรของเเต่ละคนเนาะ)


source : http://www.enriquepacheco.com/10-tips-for-shooting-time-lapse/

อ่านพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่อีกได้ที่นี่เลย

Exit mobile version