Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

9 วิธีการถ่ายภาพบุคคลให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก

9 วิธีการถ่ายภาพบุคคลให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก การถ่ายภาพบุคคล เป็นการถ่ายภาพที่ได้รับความนิยมสูงสุดเสมอมา มีวิธีการที่สร้างสรรค์มา เพื่อการถ่ายบุคคลมากมาย  เเต่การถ่ายรูปให้สื่อได้ถึงอารมณ์ความรู้สึก ณ ขณะนั้น เป็นความท้าทายของคนที่ถ่ายภาพ เพราะการถ่ายภาพออกมา ต้องให้รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ มีชีวิต มีความรู้สึก มากกว่าที่จะเป็นเพียงตัวเเบบชนิดหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่จะพูดถึงต่อไป คือ 9 วิธีการถ่ายภาพบุคคลให้แสดงอารมณ์ความรู้สึกเเละสื่อสารกับผู้ชมได้ มีอะไร เเละทำอย่างไรบ้าง ลองมาดูกัน

9 วิธีการถ่ายภาพบุคคลให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก

1. ใส่ใจกับท่าทางและอารมณ์ที่เเสดงออก

เมื่อถ่ายภาพเพื่อต้องการเก็บอารมณ์ สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ต้องกำหนดว่า ต้องการจะสื่อสารอะไรในเฟรมภาพ นั้น ถ้าตัวเเบบยิ้ม อาจจะนำเสนอเเค่ส่วนบนของร่างกาย ลดส่วนอื่นที่จะมารบกวนภาพ เพื่อให้จุดสนใจ เเละข้อความสำคัญคือ รอยยิ้มที่ ดวงตา เเละสีหน้าเเสดงออกมา  นอกจากนั้นต้องระวังเรื่องพื้นหลังด้วย เพราะบางทีพื้นหลังอาจจะดึงความสนใจออกจากตัวเเบบได้ เเต่ถ่าตัวเเบบมีการเเสดงออกทางท่าทาง (body language) ก็ให้ความสนใจลักษณะท่าท่างด้วย ดังนั้นต้องมีการพิจารณาด้วยว่า จะตัดหรือไม่ตัดส่วนไหน เพื่อให้ภาพสื่ออารมณ์และความหมายได้ชัดเจนที่สุด

2. เลือกใช้แสงแบบง่าย ๆ ก่อน

การจัดเเสงเเบบพื้นฐานจะช่วยจับอารมณ์ได้ชัดขึ้น แบบที่พูดถึงคือบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเพิ่ม ซึ่งการจัดเเสง ก็ช่วยให้สื่ออารมณ์ได้ชัดขึ้น เช่น แสงที่เยอะหน่อย สว่างมากหน่อย จะให้ความรู้สึกสนุกสนาน ส่วนเเสงที่มืด โทนเข้มก็ให้อารมณ์เหงา เศร้า เสียใจ เเละถ้าเพิ่มเงาเข้าไปในการจัดเเสง ก็จะทำให้อารมณ์เศร้าชัดขึ้นด้วย 

3. สื่อสารกับตัวเเบบให้ชัดเจน ว่าเราต้องการอารมณ์ไหน

ก่อนที่จะถ่ายภาพให้คุยกับตัวเเบบก่อนว่า ไอเดียของภาพที่ต้องการเป็นเเบบไหน อยากจะให้สื่อารมณ์อย่างไร เช่น อยากจะได้ความสุขที่เเสดงออกมา ก็ไม่ได้เพียงเเค่บอกว่า “ยิ้ม”  เเต่เป็นการพูดเพื่อกระตุ้นความรู็สึกออกมาเช่น เล่าสถานการณ์สมมติ ว่าอยากจะเห็นเค้ารู้สึกอย่างไร เมื่อเจอสถานการณ์นั้น เช่น ได้รับรางวัลที่หนึ่ง โบนัสออก ประมาณนั้น ซึ่งถ้าบอกเเบบนี้ ช่วยให้ตัวเเบบคิดออกว่า ต้องสื่อสารออกมามากเท่าไหร่ ขนาดไหน 

4. สร้างความเป็นกันเองกับตัวเเบบก่อน

การที่จะสื่อสาร หรือสื่อความต้องการของเราให้ตัวเเบบเข้าใจ ต้องลดความเกร็ง หรือละลายพฤติกรรม ด้วยการชวนคุย ถามไถ่ เพื่อเพิ่มความเป็นกันเองก่อนเริ่มงาน 

5. ทำให้ตัวเเบบรู้สึกว่าเป็นนักเเสดง

การที่จะบอกให้ตัวเเบบทำท่าทางที่ต้องการ ไม่ควรที่จะเเค่สั่งให้ทำ เเต่ทางที่ดี ควรจะทำให้ดูเลย ว่าต้องการประมาณไหน โดยกำกับสีหน้า ท่าทาง รวมทั้งสร้างบบรยากาศให้ตัวเเบบคิดเเละจินตนาการตามไปด้วย ก็จะยิ่งเเสดงอารมณ์ได้ตรงกับที่ช่างภาพต้องการมากขึ้น   

6. ไม่ต้องมองกล้อง

วิธีที่ง่ายที่สุด ในการถ่ายภาพอารมณ์ คือการไม่มองกล้อง หรือการถ่ายภาพเเบบเเอบถ่าย ยิ่งการสื่ออารมณ์ เศร้า รอคอย ใช้ความคิด กังวล ให้ตัวเเบบไม่มองกล้อง ก็ให้ผลงานที่น่าประทับใจนะ เพราะตัวเเบบ บางทีการที่จะให้สื่ออารมณ์กับหน้าเลนส์เลย อาจจะเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับตัวเเบบบางคน 

7. อนุญาตให้ทำท่าทางตลกได้ 

บอกตัวเเบบให้ทำหน้าตลก ทำท่าทางขำ ๆ เมื่อตัวเเบบหัวเราะ จะช่วยให้ตัวเเบบไม่เกร็ง ผ่อนคลาย เเละสื่ออารมณ์เป็นธรรมชาติมากขึ้นหลังจากนั้น 

8. ใช้เรื่องใกล้ตัว ในการบอกให้ตัวเเบบสื่ออารมณ์ 

อยากให้ตัวเเบบรู้สึกดีใจ อาจจะบอกได้ง่าย เเต่ในบางเรื่องเช่น อยากจะได้อารมณ์เศร้า ก็ต้องมองจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ลองจินตนาการว่า สัตว์เลี้ยงที่รักหายไป ไม่ได้เจอเพื่อนที่สนิทกันมากอีกเเล้ว ไม่ได้ทานอาการจานโปรดอีกเเล้ว เเต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่เคารพตัวเเบบเเละความรู้สึกของตัวเเบบด้วยเช่นกัน ถ้าสิ่งไหนที่คิดว่าจะเกินเลย ก็ไม่ควรที่จะเอ่ยถึงเลย อย่างเพียงเเต่คิดว่าอยากจะได้อารมณ์เต็มที่ จนลืมใส่ใจความรู้สึกของตัวเเบบ

9. ภาพมุมเผลอ หรือภาพเบื้องหลัง 

ภาพเบื้องหลัง หรือภาพทีเผลอ เป็นภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด เเละสื่ออารมณ์ได้จริงที่สุด หาโอกาสในช่วงพัก ที่ตัวเเบบอาจจะกำลังคุยกันเพื่อน หรือกำลังนั่งพักสบาย ๆ เเล้วถ่ายมุมเผลอ ก็จะได้ภาพที่ดูมีความรู้สึก เเละชีวิตชีวาด้วย 

source : https://contrastly.com/10-tips-for-putting-real-emotions-into-your-photos/

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

Exit mobile version