Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

9 วิธีพัฒนาการถ่ายภาพให้สวยขึ้น เเละเพิ่มความมั่นใจในการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่

9 วิธีพัฒนาการถ่ายภาพให้สวยขึ้น เเละเพิ่มความมั่นใจในการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ กล้องดิจิตอลในปัจจุบัน ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้เรื่องยากในการถ่ายภาพในสมัยก่อน เป็นเรื่องที่ง่ายในปัจจุบัน ด้วยฟีเจอร์การถ่ายภาพที่หลากหลาย เเละโหมดการทำงานที่รองรับการทำงานที่ไม่ซับซ้อน เเถมยังปรับค่า ชดเชยค่าต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น  เช่นเดียวกันกับการถ่ายวิดีโอมีโหมดเพื่อช่วยการถ่ายวิดีโอให้ง่าย สวย เเละดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น ทั้งยังปรับเเต่งเพื่ออัพโหลดเข้าสู่โซเชียลมีเดียได้อีก ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่ 

เเต่การจะถ่ายภาพให้สวย กล้องและเลนส์ราคาเเพง อาจจะยังไม่ช่วยให้ถ่ายภาพสวยขึ้นได้ อยู่ที่การศึกษาเเละเรียนรู้พื้นฐานการทำงานของกล้อง การใช้เเสง หรือพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ และการใช้อุปกรณ์เสริมด้วย 

9 วิธีพัฒนาการถ่ายภาพให้สวยขึ้นเเละเพิ่มความมั่นใจในการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ 

1. เข้าใจเรื่องกล้อง 

กล้องถ่ายรูปในปัจจุบันมีหลายเเบบ กล้องเล็กคอมแพค  กล้องมือถือ กล้องมิลเลอร์เลส กล้อง DSLR มีเซ็นเซอร์ขนาดเเตกต่างกัน เเละทำงานได้เเตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องเข้าใจว่า กล้องที่มีอยู่ มีคุณสมบัติ หรือข้อจำกัดอะไรบ้าง เช่นกล้องคอมแพค ขนาดเล็ก พกพาง่าย  คล่องตัว ให้ภาพสวย เเต่ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้และอาจะมีข้อจำกัดบางอย่างในการตั้งค่าเเบบ manual 

ส่วนกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ กล้องมิลเลอร์เลส หรือกล้อง DSLR สามารถเปลี่ยนระยะเลนส์ตามที่ต้องการ ถ่ายภาพได้หลากหลาย  เเละได้ภาพอย่างที่ต้องการด้วยเช่นกัน  ด้วยเซ็นเซอร์กล้องขนาดที่ใหญ่ ให้ภาพที่มีคุณภาพสูง ควบคุมเเสงได้ดี เเต่ขนาดอาจจะใหญ่ขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับกล้องคอมเเพค เเละขนาดจะใหญ่มากขึ้น ถ้าใช้เลนส์ หรือมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเพิ่ม เพื่อรองรับการทำงานระดับมืออาชีพ ทั้งภาพนิ่ง งานวิดีโอ หรือการถ่ายภาพยนตร์

2. ถ่ายจบหลังกล้องให้ได้มากที่สุด (อันนี้ให้ฝึกนะ แต่ก็แต่งภาพได้แหละ แต่ฝึกหลังกล้องให้ได้มากสุดก่อน)

การพยายามถ่ายภาพเพื่อให้จบหลังกล้องให้มากที่สุดเป็นการลดภาระการทำงานในกระบวนการ Post-processing ลง เพราะเราจะนั่งเเก้ไข หรือปรับเเต่งทุกภาพก็อาจจะต้องใช้เวลานาน การที่จะให้ได้ภาพสวย ก็คือการถ่ายภาพให้ดีที่สุดตั้งเเต่เริ่มต้น จริงอยู่ที่ซอฟต์เเวร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ภาพสวย ตัดสิ่งที่ไม่ต้องการ ปรับภาพไม่ให้เอียง เเต่งสีสัน ปรับเเสง เเละทำให้ภาพสวยได้ในพริบตา

เเต่ก็ไม่ควรที่จะใช้ซอฟต์เเวร์เหล่านั้นช่วยในทุกภาพ นอกจากจะใช้เวลาเเต่งภาพเเล้ว ยังพึ่งพาซอฟต์เเวร์จนลืมกฏ เเละพื้นฐานการถ่ายภาพไป มุมมอง การออกเเบบภาพ การเข้าใจเเสง เข้าใจสีสัน จึงต้องมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ 

3. กล้องต้องนิ่ง ภาพจะได้ไม่สั่น ไม่เบลอ 

ความผิดพลาดพื้นฐานสำหรับมือใหม่เลย ก็คือการจับกล้องไม่นิ่ง ทำให้ภาพสั่นไหว เบลอเวลาที่จะต้องขยับตัว หรือตอนกดชัตเตอร์ ต้องไม่ให้กล้องขยับ พยายามจับเเละประคองให้มั่น ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อช่วยให้ได้ภาพที่คมชัด ไม่เบลอเพราะการสั่นของมือที่ไม่มั่นคงนั่นเอง

4. ดูเรื่องความสว่างโดยรวมของภาพ

ความสว่างของภาพหรือที่จะทำให้รู้ว่า ภาพมืดไปหรือสว่างเกินไป ต้องเข้าใจว่าเเสงที่เข้ามามีผลต่อคุณภาพของภาพ อยากถ่ายภาพ Portrait ให้ดูตัวเเบบขาว เเต่เข้าใจผิดโดยการปล่อยเเสงให้เข้ามาในภาพมากเกินไป จนไม่เห็นรายละเอียดอย่างอื่น หรือการใช้โหมดอัตโนมัติถ่ายภาพ กล้องจะมีการชดเชยเเสงให้ ซึ่งในบางครั้งภาพก็จะสว่างเกินไป หรือมืดเกินไปได้ ดังนั้นมือใหม่ต้องเข้าใจเรื่องความสว่างโดยรวมของภาพด้วยว่า ระดับไหนถึงจะพอดี ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการตั้งค่าอื่น ๆ อีกเช่น รูรับเเสง ความเร็วชัตเตอร์ เเละ ISO

เช่นการคอยดูที่เเถบความสว่าง Exposure Value (EV) ว่าอยู่ที่ EV – คือภาพโดยรวมจะต่ำกว่าระดับปกติ ลบมากเเสดงว่าภาพมืดมาก หรือ EV + ก็จะสว่างกว่าปกติ ถ้าบวกมากก็สว่างมากนั่นเอง ลองถ่ายภาพออกมาเเล้วดูว่าเเสงมากหรือน้อย ลองถ่ายเเล้วเปรียบเทียบความสว่างมาหลาย ๆ ระดับ เเล้วเลือกความสว่างที่ดีที่สุด แล้วค่อยลบภาพที่ชอบน้อยที่สุดออกก็ได้นะ

5. เข้าใจการจัดวางองค์ประกอบภาพ 

เรื่องนี้เป็นกฏพื้นฐานในการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องได้เคยได้ยิน เรื่องการจัดองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฏสามส่วน สัดส่วนทองคำ การจัดเเบบสมมาตร ไม่สมมาตร ซึ่งการจัดองค์ประกอบมีอยู่หลายเเบบ หลายเทคนิค ซึ่งจะช่วยให้ภาพออกมาโดดเด่นเเละสะดุดตา ดังนั้นเรื่ององค์ประกอบ ต้องฝึกฝนจนชำนาญ ทั้งยังต้องคอยดูเทรนด์การถ่ายภาพด้วย ว่าในเเต่เเนวการถ่ายภาพ ช่างภาพจะนิยมจัดวางองค์ประกอบภาพออกมาเเบบใด 

6. การซูมภาพ

กล้องถ่ายรูปหรือเเม้เเต่กล้องมือถือ มีระบบซูมที่น่าทึ่ง เเละน่าประทับใจ ซูมได้ไกล เเถมยังซูมได้ชัดด้วย เเต่การถ่ายภาพโดยใช้การซูมเข้าเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้ไฟล์ภาพมีคุณภาพที่ลดลง ดังนั้นถ้าหากไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ หรือระยะทาง การซูมเเบบเดินเข้าไปใกล้ จะได้ภาพที่คมชัดมากกว่า เเละได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีกว่าด้วย 

7. การสร้างมุมมองภาพ หามุมมองภาพ

สิ่งที่ต้องดูอีกอย่าง คือมุมมองภาพ ปกติเเล้วเวลาถ่ายภาพ เรามักจะถ่ายจะมุมมองของเราที่ระดับสายตา เเต่ภาพจะดูตื่นเต้น เเละดูน่าสนใจขึ้น ถ้าปรับมุมมองให้ดูไม่ปกติ อาจจะใช้มุมมองที่เปลี่ยนไป เเละอาจจะต้องหัดนอนราบกับพื้น หรือเสื้อผ้าเปื้อนเพราะนั่งลง หรือคุกเข่า  หรือบางมุมอาจจะต้องปีนป่าย เพื่อให้ได้ภาพมุมสูง 

8. การใช้ไฟล์ในการถ่ายภาพ เเละการจัดการไฟล์

ชนิดของไฟล์ที่จะนำมาใช้งานก็มีผลกับคุณภาพของภาพได้ ถ้าอยากจะได้ภาพที่ถ่ายเเล้วเเชร์เลย ง่าย ๆ ไม่ต้องมีกระบวนการก็อาจะเลือกใช้ไฟล์ .JPEG เเต่ถ้าต้องการภาพที่สามารถนำมาเเต่งเพิ่ม ปรับให้สวยงามขึ้นได้ คุณภาพไฟล์สูงเเต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วยก็คือเลือกใช้ .RAW ก็เเล้วเเต่ลักษณะการใช้งานของแต่ละคน

เเละการถ่ายโอนไฟล์ การจัดการไฟล์ก็มีผลต่อการทำงานด้วย เพราะการจัดไฟล์ให้เป็นระบบ การเข้าไปเลือกเเก้ไข หรือการเรียกมาใช้งานภาพหลังจะเป็นเรื่องง่าย 

9. เรียนรู้การใช้โปรแกรมในการเเต่งภาพ 

มือใหม่หลายคนกังวลเเละไม่มั่นใจในการใช้โปรแกรมเเต่งภาพ ซึ่งจริง ๆเเล้วไม่ได้ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ เพียงเเต่ให้เวลาในการศึกาเพิ่ม ฝึกฝน และทำตาม ก็สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆได้อย่างคล่องเเคล่ว เเละยังได้ภาพสวยอย่างที่ต้องการอีกด้วย 

อ่านบทความ ADOBE LIGHTROOM MOBILE ได้ที่นี่

source : nationalgeographic.com

Exit mobile version