Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

9 กฎหลักของการถ่ายภาพฉบับมือใหม่ต้องรู้

9 กฎหลักของการถ่ายภาพฉบับมือใหม่ต้องรู้ เป็นเรื่องระดับเริ่มต้นที่มือใหม่ควรจะรู้ ซึ่งมือใหม่ในเพจและเว็บไซต์ของ PhotoschoolThailand เอง ก็มีคนระดับเริ่มต้นเข้ามาใหม่ตลอด ก็เลยอยากจะนำเรื่องนี้มากระตุ้นเพื่อเป็นพื้นฐานให้กับมือใหม่เรื่อย ๆ ครับ สำหรับคนที่เป็นมือเก๋าขึ้นมาแล้วก็ถือว่าทบทวนสำหรับคนเริ่มต้นนะครับผม

การเป็นคนนึงที่เพิ่งจะหัดถายภาพ ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ต้องคิดว่า เค้าทำกันยังไง เเต่ที่ได้ยินหลัก ๆ อย่างหนึ่งคือ Photo Composition หรือการจัดองค์ประกอบนั้นมีกฏอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบให้ภาพออกมาดูดี ต้องทำยังไง เดี๋ยววันนี้มาเรียนรู้จากการนับหนึ่งกันครับ

9 กฎหลักของการถ่ายภาพฉบับมือใหม่ต้องรู้ 

1. กฎสามส่วน และ จุดตัด 9 ช่อง (Rule of thirds)

กฎสามส่วน เป็นวิธีพื้นฐานที่ง่ายมากในการจัดองค์ประกอบ โดยการวางตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ในภาพของเราไม่ให้อยู่ในกลางภาพ และทำให้มันดูสมดุล ลงตัว เหมาะสม น่ามอง โดยจุดตัดเก้าช่องและกฎสามส่วนนี้จะประกอบด้วยเส้นสมมุติขึ้นมา 4 เส้น คือแนวตั้งสองเส้นและแนวนอนสองเส้น

ทำไมเรื่องนี้ถึงจำเป็นสำหรับมือใหม่

เหตุผลเพราะว่าตอนที่เป็นมือใหม่ระดับเริ่มต้นนั้นจะยังมองไม่ค่อยออก ว่าควรจัดองค์ประกอบภาพยังไง ควรวางอะไรไว้ตรงไหน การที่เรียนรู้วิธีการจัดองค์ประกอบด้วยกฎสามส่วน และการวางจุดสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่อง ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ที่จะทำให้มือใหม่ถ่ายภาพได้เก่งมากขึ้น เข้าใจการจัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ ได้มากขึ้นนั่นเอง

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กฎสามส่วน และ จุดตัด 9 ช่อง

2. การวางภาพกึ่งกลาง (Center composition)

ถ้าหากอ่านเรื่องกฎสามส่วนด้านบนไปแล้ว มาอ่านข้อนี้อาจจะเกิดความขัดแย้งในใจหน่อย ๆ เพราะการจัดองค์ประกอบแบบนี้จะเน้นการวางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพ ซึ่งเราจะเน้นจุดสนใจไว้กลางภาพเลย ซึ่งในภาพบางสถานการณ์ หรือการบอกเล่าเรื่องราวบางสถานที่ ก็เหมาะกับการที่จะจัดภาพไว้ตรงกลางครับ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคาร สถานที่ ซึ่งมีความสมมาตรอยู่ในตัว

Image by Guillaume Bolduc available on Unsplash

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่

เรื่องการถ่ายภาพโดยวางจุดสนใจไว้ตรงกลางนั้น ถ้าหากว่ายึดติดกับกฎถ่ายภาพแบบเป๊ะ ๆ ต้องอิงตามกฎสามส่วนเพียงอย่างเดียว แบบนั้นก็ไม่ถูกซะทีเดียวครับ ดังนั้นการวางจุดสนใจไว้ตรงกลางภาพก็ทำได้เหมือนกัน และสามารถที่จะดึงดูดสายตาของผู้ชมได้ด้วยนะ เพียงแต่ต้องเปิดใจ เปิดมุมมองให้กับตัวเอง แล้วทดลองถ่ายภาพโดยวางองค์ประกอบแบบนี้ออกมาบ้างครับ

3. การวางจุดสมดุลของภาพ (Balance element and symmetry)

เรียกได้ว่าความสมดุลเป็นหนึ่งในหลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบภาพ แต่เรื่องของการจัดความสมดุลเรียกได้ว่าแทบจะมีความสำคัญสุด ๆ เหมือนกัน เพราะภาพถ่ายเรามักจะรู้สึกและพูดถึงความสมดุลในภาพถ่ายของเราเสมอ การมีสมดุลในภาพเนี่ยมีความมหัศจรรย์มาก เช่น แม้ว่าวัตถุในภาพขนาดจะไม่ได้เท่ากัน แต่ก็ยังให้ความรู้สึกน้ำหนักได้เท่ากัน เป็นต้น

Image by Matthew Hamilton available on Unsplash

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่

การจัดภาพให้เกิดความสมดุลนั้นสามารถที่จะสร้างความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายได้เยอะเลยนะ โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่มีความสมมาตรในตัว อาคาร สถานที่ต่าง ๆ อยากให้ลองศึกษาเรื่องนี้เพิ่มดูนะครับ

Image by Valentin Gautier available on Unsplash

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางจุดสมดุลของภาพ

4. เส้นนำสายตา (LEADING LINES )

ในยุคนี้ที่กล้องกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกคนแทบจะมีประจำตัวกันหมดแล้ว เรื่องเส้นนำสายตาก็จะเริ่มไม่ใช่เรื่องยากละ แต่สำหรับคนที่เริ่มต้นอาจจะอยากได้คำอธิบายบ้างเหมือนกัน เส้นนำสายตาคือ อะไรก็ตามที่อยู่ตรงหน้าเรา แล้วมีลักษณะเป็นเส้นไม่ว่าจะเป็น ทั้งเเบบตรง เเบบโค้ง แล้วสามารถนำสายตาคนดูไปยังจุดสนใจของภาพเรา เราสามารถนำเส้นนำสายตาเหล่านั้นมาจัดองค์ประกอบได้

Image available on https://pxhere.com/

สิ่งสำคัญเลยก็คือต้องดูอะไรเพื่อที่จะบ่งบอกว่า เป็นเส้นนำสายตาที่อะไรบ้างที่ช่วยเป็นเส้นนำสายตาไปยังจุดที่เราต้องการนั่นเอง

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่

เพราะเรื่องของเส้นนำสายตาคือคีย์หลักเลยนะ ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้เข้าไปที่จุดสนใจในภาพได้ นอกจากนี้ถ้าหากว่าเส้นนำสายตามีเรื่องราวเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมทั้งภาพของเรา ก็ยิ่งสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องราวของภาพถ่ายเราด้วยครับ

Image available on https://pxhere.com/

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของเส้นนำสายตา

5. View point

ก่อนจะถ่ายภาพสำหรับมือใหม่นะ อยากให้สังเกตดูก่อนว่าภาพที่เราอยากจะนำเสนอนั้นควรถ่ายภาพออกมาในมุมไหน ควรวางมุมกล้องระดับไหนเพื่อให้ภาพถ่ายของเราเล่าเรื่องได้ตรงโจทย์ที่สุด เช่น ระดับสายตา ถ่ายจากพื้น หรือถ่ามมุมสูง ใกล้ตัวเเบบ หรือไกลตัวเเบบ มุมไหนที่จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ ดูมี imact ภาพเเบบไหนที่น่าจะถ่ายมุมสูง เเบบไหนถ่ายใกล้ เเบบไหนต้องเป็นภาพไกล ๆ เค้าต้องคิดยังไง เป็นต้น

ยกตัวอย่างการถ่าย Portrait เริ่มต้นเราจะถ่ายในระดับสายตา แต่บางเรื่องราว เราก็ควรจะถ่ายจากมุมสูง เพราะงั้นการเลือกมุมกล้องสำหรับการถ่ายภาพเป็นเรื่องสำคัญมากครับ ซึ่งไม่มีกฎนะ เพียงแต่เราควรจะสังเกตให้ได้ว่าเรื่องราวที่เราอยากจะนำเสนอนั้น ควรใช้มุมกล้องแบบไหนครับ

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่

เรื่องของมุมมองในการถ่ายภาพ หรือการเลือกมุมกล้องสำหรับการถ่ายภาพ สามารถนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับภาพถ่ายเราได้มากขึ้นครับ ถ้าหากมีเวลาก็อยากจะให้ลองใช้เวลากับเรื่องเหล่านี้ดูนะ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองในการถ่ายภาพ

6. Foreground, Midground and Background

มือใหม่หลายคนอยากถ่ายภาพให้มีมิติและเรื่องราวที่น่าสนใจ เรื่องของฉากหน้า ฉากหลัง หรือแม้แต่จะเป็น midground ก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการ design ว่าจะถ่ายอะไร ไล่ไปตั้งเเต่หน้า ไปจนพื้นหลังของภาพ หากเรามีการวางแผนว่าควรใส่รายละเอียดที่ส่งเสริมให้ภาพถ่ายเราเป็นเนื้อเรื่องเดียวกันและเติมเต็มมิติให้กับภาพถ่ายเราจะดีมาก ๆ เลย

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่

ก็ต้องยอมรับนะว่าตอนที่ผมถ่ายภาพแรก ๆ ผมมองเรื่องพวกนี้ไม่ออกเลยจริง ๆ ว่าจะช่วยให้ภาพถ่ายน่าสนใจได้ยังไง แต่พอเริ่มเข้าใจเรื่องฉากหน้า ฉากหลังแล้ว เราเลยรู้ว่าเรื่องราวทั้งภาพถ่ายของเรา มิติของภาพถ่ายของเรา ฉากหน้า ฉากหลัง มันเป็นส่วนเสริมให้ภาพถ่ายเราทั้งหมดเติมเต็มมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของมิติหรือเนื้อหาในภาพเองก็ตาม

Image by Thomas Q available on Unsplash

7. Framing

การถ่ายภาพเเล้วใช้องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นกรอบ โดยมากจะเป็นการถ่ายภาพวิว ท่องเที่ยว ซึ่งการจัดภาพโดยใช้กรอบตามธรรมชาตินั้นจะช่วยทำให้สายตาของคนดูเพ่งไปที่จุดสนใจในกรอบภาพโดยอัตโนมัติครับ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งภาพ Portrait หรือว่า Landscape ครับ

Image available on www.pexels.com

ทำไมเรื่องนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่ 

เรื่องการจัดภาพด้วย Framing หรือว่ากรอบภาพนั้นจะช่วยให้มือใหม่มีมุมมองในการนำเสนอภาพที่หลากหลายมากขึ้น สวยงามมากขึ้นครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบด้วยการใช้กรอบภาพ

8. Cropping

ถ่ายภาพจำเป็นต้อง Crop ด้วยเหรอ แล้วต้องจัดเฟรมให้พอดีไปเลยไม่ได้เหรอ จริง ๆ แล้วจะว่าอย่างนั้นก็ถูกนะ แต่การ Crop มีประโยชน์หลาย ๆ อย่างครับ ลองดูข้อมูลตามที่ผมนำเสนอนะ

Image by Alex Blăjan available on Unsplash

การถ่ายภาพบางครั้งเราใช้วัตถุประสงค์นั้นแตกต่างกัน เช่น เราถ่ายภาพมาพอดี แต่เกิดความไม่สมบูรณ์ในภาพขึ้น เราก็ทำการ ​Crop เลือกเฉพาะส่วน เพื่อตัดส่วนที่เราไม่ต้องการทิ้งไป หรือบางครั้งผมใช้เลนส์ระยะเดียวเป็นระยะกว้าง แต่ต้องการถ่ายเน้นจุดสนใจแค่จุดเดียว การ Crop ก็จะทำให้คนดูเห็นแค่ในส่วนที่ผมต้องการเป็นต้นครับ 

Image by Katya Austin available on Unsplash

ทำไมเรื่องนี้ถึงจำเป็นสำหรับมือใหม่

ดังนั้นการถ่ายให้พอดีตามต้องการก็เป็นเรื่องที่โอเคแหละ แต่บางครั้งระยะเลนส์หรือภาพถ่ายที่เราถ่ายมาอาจจะไม่ได้ตามที่เราคิดจริง ๆ การ Crop ก็จะช่วยจัดการเรื่องที่ว่ามานี้ได้มากขึ้นครับ

9. Experimentation

สรุปแล้วเมื่อมีกฏเเต่ก็ต้องออกจากฏบ้าง หาความเป็นตัวเอง หามุมมองเฉพาะของตัวเอง ลองผิดลองถูกเป็นกฏที่ใช้ได้ในทุกกรณี เพื่อจะเรียนรู้จากความผิดพลาด – you never know whether an idea will work until you try it.

รวมบทความเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องแสงในการถ่ายภาพ

Exit mobile version