
Fujifilm X-T3 vs Fujifilm X-T20 รุ่นไหนดีกว่า พร้อม 10 ข้อแตกต่างที่ควรรู้
Fujifilm X-T3 vs Fujifilm X-T20 รุ่นไหนดีกว่า พร้อม 10 ข้อแตกต่างที่ควรรู้ เปรียบเทียบสเปค Fujifilm X-T3 กล้องถ่ายภาพ Mirrorless ตัวใหม่จากค่ายฟูจิ ที่ออกมาสร้างเสียงเรียกร้องอยากได้แก่สาวกขนาดหนักถึงขั้นประกาศขายกล้องตัวเดิมกันรัว ๆ
ด้วยความสามารถที่ทาง Fujifilm ตั้งใจพัฒนาแถมใส่สเปคมาแบบเน้น ๆ แทบไม่มีหมกเม็ดทั้งเซนเซอร์ใหม่ที่เร็วขึ้น ไฮบริดโฟกัสที่เร็วกว่าเดิม และฟีเจอร์ด้านวีดีโอที่ทำออกมาน่าสนใจมาก ๆ จนต้องจับเทียบกับ Fujifilm X-T20 ที่มีอายุมากกว่า รุ่นห่างกันแค่ 2 ขวบปี แม้จะดูว่าเป็นรุ่นรองแต่ด้วยเทคโนโลยีที่ดูใหม่และความนิยมของรุ่นนี้ก็ถือว่าไม่น้อยหน้ารุ่นพี่เลย การนำสองรุ่นทั้ง “mid-range” และ “top-of-the-line” มาชนกันถือว่าเป็นการป้ายยากันเน้นๆว่า รุ่นน้องหรือรุ่นใหญ่อันไหนจะเหมาะกับเพื่อนๆ มากกว่ากัน
อ่านบทความเปรียบเทียบมันส์ ๆ ก่อนหน้านี้
- อ่านบทความเปรียบเทียบก่อนหน้า Nikon Z7 vs Sony A7RIII อะไรดีกว่ากัน ?
- รีวิว Hands On : Nikon Z7 และ Nikon Z6
- Nikon z6 vs Sony A7III รุ่นไหนดีกว่ากัน
Fujifilm X-T3 vs Fujifilm X-T20 รุ่นไหนดีกว่า พร้อม 10 ข้อแตกต่างที่ควรรู้
- 1. X-Trans sensor และ การประมวลผล
เป็นข้อแตกต่างใหญ่ชิ้นนึงเลยก็ว่าได้เพราะ Fuji XT3 ใช้ APS-C X-Trans sensor เซนเซอร์ใหม่แกะกล่อง โดยเซนเซอร์ตัวนี้เป็นรุ่นที่ 4 แล้วแถมให้ระเอียดสูงถึง 26.1MP พร้อมปรับโครงสร้างให้เก็บแสงและรายละเอียดให้มากขึ้นกว่าเซนเซอร์รุ่นก่อนๆ ส่วน Fuji XT20 ใช้ the X-Trans III ที่มีความละเอียดที่ 24.6MP และไม่มี BSI structure อีกด้วย
ข้อดีของเซนเซอร์ตัวใหม่ที่ไม่พูดถึงคงจะได้คือความเร็วในการอ่านข้อมูลและลดอาการ rolling shutter effect หรืออาการภาพย้วยที่เกิดจากการใช้ shutterspeed สูงๆ ในขณะที่วัตถุที่ถ่ายกำลังเคลื่อนที่นั้นเอง ด้านภาพเคลื่อนไหวก็แจ่มไม่แพ้ใครเพราะทางฟูจิจัด Quad Core X Processor 4 ที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่ารุ่นก่อนถึง 3 เท่า ช่วยให้การถ่ายภาพในที่แสงน้อยดีกว่าเก่า

แต่อย่างไรก็ตามเจ้าเซนเซอร์ตัวใหม่ยังแอบมีข้อน่ากังวลเล็กน้อยตรงที่ Fuji XT3 มีช่วง ISO ที่ 200-12800 (ดันไปสูงสุดที่ 51200) ซึ่งน้อยกว่ารุ่นน้อง Fuji XT20 ที่มี ISO 160-12800(ดันไปสูงสุดที่ 51200) แต่ X-T3
ยังสามารถดึง ISO ลงไปตำ่ที่ 80 ได้ สวนทางกับ Fuji XT20 ที่ดึงต่ำสุดแค่ 100 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยสถานะของ Fuji XT3 ที่สูงกว่าก็ควรจะมีช่วงที่กว้างกว่าอีกสักหน่อยคงจะดูดีไม่น้อย แต่ Fuji XT20 เป็นกล้องที่ขึ้นชื่อว่าจัดการกับสถานการณ์แสงน้อยได้ดีจึงต้องมารอดูว่ารุ่นพี่ตัวใหม่จะจัดการได้ดีหรือเปล่า
- 2. Hybrid autofocus system
ของมันต้องมี! Hybrid autofocus เป็นเรื่องที่ทางฟูจิต้องมีมานานสมควรตั้งแต่เริ่มทำ Fujifilm X-Series ครั้งแรก แต่จนแล้วจนรอดพึ่งจะออกมาใน Fujifilm X-T3 จึงทำให้กูรูหลายคนมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่สุดเพียงทำเทคโนโลยีให้ทันคู่แข่ง ซึ่งจุดโฟกัสในตัวใหม่ที่มานั้นมีเยอะถึง 117 จุด ขนาด 13×9 grid และสามารถแบ่งย่อยได้มากถึง 425 จุด ขนาด17×25

ส่วน Fujifilm X-T20 ใช้ระบบโฟกัสเหมือน Fujifilm X-T2 ทำให้มีจุดโฟกัสที่ 91 จุด แบ่งย่อยออกมา ได้มากขึ้นถึง 325 จุดและ phase detection มีในทั้งรุ่นสบายใจได้
- 3.Continuous Shooting Speeds และ Buffer Depth
เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นการเอาใจช่างภาพสายกีฬามากทีเดียว กับการพัฒนาให้ Fuji XT3 ถ่ายภาพต่อเนื่องได้สูงถึง 11 ภาพต่อวินาทีในการกดชัตเตอร์แบบ mechanical shutter และยังถ่ายได้สูงสุดถึง 20-30 fps ในแบบ electronic shutter แต่ต้องใช้ในโหมด Sports Finder ส่วนเรื่อง AF และ AE นั้นถูกพัฒนาให้ติดตามวัตถุได้ดีขึ้น
แต่การถ่ายภาพต่อเนื่องของ Fuji XT3 นั้นจะมีการคลอปภาพ 1.25x พร้อมไฟล์ขนาด 16.6MP ซึ่งในการแสดงผลผ่านจอภาพขณะถ่ายภาพผ่าน EVF
จะไม่มีการคลอปภาพให้ทันทีแต่จะมีกรอบติดไว้ให้เพื่อผู้ใช้จะได้ทราบว่ากรอบของภาพอยู่ประมาณไหนช่วยให้การจัดองค์ประกอบภาพดีขึ้น

ส่วนอีกเรื่องที่เป็นข้อดีของรุ่นนี้คือการที่ฟูจิสามารถจัดการปัญหาอาการ blackout ที่มักจะเกิดขึ้นเวลาถ่ายภาพรัวๆ ติดกัน ซึ่งก่อนหน้านี้มีแค่ A9 ที่ทำได้แต่ครั้งนี้ฟูจิ Fujifilm X-T3 ทำได้แล้ว
ส่วน Fujifilm X-T2 นั้นสามารถถ่ายภาพติดต่อกันได้ 8fps และสามารถถ่ายได้สูงขึ้นในการกดชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิค 14fps ซึ่งนับว่าก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจสำหรับถ่ายภาพกีฬา
ส่วนเรื่อง Buffer นั้นทาง Fujifilm X-T3 สามารถจัดการได้ดีว่าที่ 49 RAW frames หรือ 200 JPGs ที่ 8fps ส่วน Fujifilm X-T20 ทำได้ที่ 25 RAW / 62 JPG ที่ 8fps
-
4. Video specifications ความสามารถในการถ่ายวีดีโอ
แม้กล้องทั้งสองรุ่นจะถ่ายวีดีโอ 4K ได้เหมือนกันแต่ทว่าในรายละเอียดแล้ว Fuji XT3 สามารถถ่ายวีดีโอระดับ 4K 60p ซึ่งสูงกว่า Fuji XT20 ที่เป็น 4K 30p เท่านั้น และยังวีดีโอระดับ 10 bit (4:2:0 10-bit) แต่การถ่ายวีดีโอ 4K ของ Fuji XT3 นั้นจะมีการคลอปภาพที่ 1.8 แต่ของรุ่นน้องจะไม่มีการคลอปและวีดีโอที่ออกมาจะไม่ค่อยคมอีกด้วย

สำหรับ Full HD กล้องใหญ่สามารถอัด frame rate ได้ไปสูงถึง 120fps at 200Mbps เหมาะกับการทำภาพสโลโมชั่นมากที่สุด แต่จะมีการคลอปภาพลงไป 1.29 เพื่อให้คุณภาพนั้นออกมาดีที่สุด ส่วน Fuji XT20 นั้นถ่ายได้เพียง 60fps
ทั้งสองกล้องสามารถ output วีดีโอ 4K ผ่านพอร์ท HDMI โดย Fujifilm X-T20 จะอยู่ในระดับ 4:2:2 8-bit 30fps และ Fujifilm X-T3 จะเป็น 4:2:2 10-bit 60fps ด้านเวลาในการอัดก็มีความแตกต่างเช่นกัน เพราะ Fujifilm X-T20 สามารถอัดวีดีโอ 4K ได้ 10 นาทีและ 15 นาทีสำหรับ Full HD สวนทางกับ Fujifilm X-T3 ที่อัดได้สูงถึง 20 นาที ใน 4K/60fps และ 30 นาทีสำหรับ 4K/30fps รวมถึง 30 นาที กับวีดีโอ Full HD.
- 5. ฟีเจอร์อื่น ๆ ของวีดีโอ
ด้วยสเปครวมๆของ Fuji XT3 นั้นสนับสนุนการถ่ายวีดีโอมาอยู่ โดยรุ่นนี้จะมี F-log และ Eterna film ทั้งสามารถบันทึกลง SD Card โดยทางฟูจิมีแผนจะอัพเดตเฟิร์มแวร์ เพื่อให้สามารถรองรับ hybrid log gamma (HLG) ได้ซึ่งจะมีมาในอนาคต
อีกสิ่งที่ทางฟูจิทำฟีเจอร์ออกมาสนับสนุนวีดีโอมากขึ้นคือการใส่ zebra pattern และจัดการกับ rolling shutter รวมถึง DR setting ที่เข้ามาช่วยให้การภาพวีดีโอมีคุณภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดตัวกวนต่างๆในวีดีโอรวมถึง noise เช่นกัน
-
6. ออกแบบและดีไซน์
หากมองไปที่ Fujifilm X-T20 จะรู้สึกว่าเจ้ารุ่นนี้คือร่างขนาดย่อมของ Fujifilm X-T3 พูดง่ายๆก็คือการออกแบบยังคงคอนเซ็ปรูปทรง กล้อง SLR ไว้เช่นเดิมแต่ในเรื่องของขนาด นำ้หนักที่จะแตกต่างกัน

Fujifilm X-T3: 539g | 132.5 x 92.8 x 58.8mm
Fujifilm X-T20: 383g | 118.4 x 82.8 x 41.4mm
ไม่ใช่แค่เรื่องของขนาดเท่านั้น ด้านปุ่มควบคุมนั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน โดย Fuji XT3 นั้นจะมีปุ่ม Dial ทั้ง ISO Shutterspeed, ชดเชยแสง รวมถึง AF joystick ที่เป็นจุดน่าสนใจมากทีเดียว รวมถึงปุ่มสั่งงานการวัดภาพ โหมดถ่ายภาพ ด้วย โดย Fuji XT3 จะมี weather-sealed เพื่อป้องกัน ฝุ่น ละอองน้ำ และมี grip ที่มีขนาดใหญ่จับได้เหมาะมือมากขึ้น
- 7.Electronic Viewfinder และจอ Monitor
จอ LCD ของทั้งสองรุ่นนั้นมีขนาด 3 นิ้วเท่ากัน สามารถใช้ระบบ Touch screen ได้เหมือนกันแต่สำหรับ Fujifilm X-T3 นั้นมีการพัฒนาให้ดีมากขึ้น ทั้ง configurable 4-way pad และสามารถหมุนขึ้นลงได้เช่นกัน ซึ่ง Fujifilm X-T20 นั้นจะสู้ระบบ Touch Screen ของรุ่นใหญ่ไม่ได้
ช่องภาพของ Fuji XT3 นั้นพัฒนาความระเอียดให้สูงจากเดิม 2.36 million dots ใน Fuji XT20 มาเป็น 3.69 million dots และมีกำลังขยายที่ 0.75x และมี refresh rate ที่สูงถึง 100fps เลยทีเดียว
- 8. ฟีเจอร์เสริมเด็ด ๆ
ถ้าพูดถึงฟูจิจะไม่พูดถึง film simulation ก็ดูจะแปลกยังไงชอบกลเพราะฟีเจอร์นี้ถือว่าเป็นลายเซ็นของฟูจิเลยทีเดียวที่จะมากับกล้องทุกรุ่น ซึ่งทั้งใน Fujifilm X-T3 และ Fujifilm X-T20 นั้นต่างก็มีเช่นกันแต่ Fuji XT3 ได้รับสิทธิ์พิเศษได้รับไอเทมเพิ่มมาอีกสองชิ้นนั้นก็คือ Monochrome Adjustment และ Colour Chrome Effect ที่จะมีทั้งโทนเย็น โทนอบอุ่น ของทั้ง Monochrome และ Acros film simulation แถมยังมีในส่วนของโทนคอนทราสต์จัด หรือแบบ Vivid Flower เรียกได้ว่าใส่โทนมาให้เลือกชนิดถล่มทลายทุกโทนจริงๆ
อีกสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือฟีเจอร์ Pre-Capture ที่ทำง่ายๆเพียงแค่กดชัตเตอร์ครึ่งนึงก่อนกล้องก็จะจัดเก็บรูปไว้ใน buffer และเมื่อเรากดเต็มแรงรูปที่กดครึ่งไว้ตอนแรกจะถูกนำไปไว้ใน SD-card ทันที
และสุดท้าย Digital Microprism และ Dark Ambient Lighting display ตัวช่วยตัวใหม่ในโหมดแมนนวลที่ใช้ในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยโดยหน้าจอจะแสดงเป็นสีเทาและแดง(จะคล้ายๆกับ Night mode ในกล้องพานาโซนิคบางรุ่น)
- 9. VG-XT3 battery grip
ด้วยความที่เจ้า X-T3 เป็นกล้องระดับโปรทำให้ทางฟูจิต้องออก battery grip เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของกล้องรุ่นนีี้สามารถทำงานได้นานกว่าเดิม โดยอุปกรณ์ตัวนี้ผ่าน dust-resistant, weather-resistant และ freeze proof สามารถทนอากาศหนาวได้ถึง -10 องศา ทั้งทำให้สามารถถ่ายภาพได้เยอะถึง 1,100 รูป และในตัว grip เองก็ยังใส่ focus joystick, AE-L button, AF-L button, front และ rear command dials, ปุ่ม Q and ปุ่ม Fn มาให้อีกด้วย

- 10. ราคาจำหน่าย Fujifilm X-T3
เป็นอีกข้อสำคัญที่อาจจะทำให้สาวกหลายๆคนตัดสินใจที่จะเปลี่ยนหรือยังใช้ของเดิมต่อไปนั้นคือเรื่องของราคาค่าตัว สำหรับ Fuji XT3 ราคา จะอยู่ที่ $1500 / £1350 / €1530 (body only) ส่วน Fuji XT20 ราคา ค่าสินสอดที่ $899 / £750 / €800 ซึ่งแน่นอนรุ่นมาก่อนจะมีราคาถูกกว่าแต่เทคโนโลยีบางอย่างก็อาจจะล้าสมัยไปนิดหน่อย
อ่านมาจนครบ 10 ข้อแล้วเพื่อนคิดว่าอย่างไรกับกล้องตัวใหม่และกล้องรุ่นที่มาก่อนกันบ้าง ใครโดนป้ายยาแล้วก็อย่าลืมไปจับจองกันนะ
อ่านบทความเปรียบเทียบมันส์ ๆ ก่อนหน้านี้
- อ่านบทความเปรียบเทียบก่อนหน้า Nikon Z7 vs Sony A7RIII อะไรดีกว่ากัน ?
- รีวิว Hands On : Nikon Z7 และ Nikon Z6
- Nikon z6 vs Sony A7III รุ่นไหนดีกว่ากัน