Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การใช้พื้นฐาน ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) ในการถ่ายภาพ

การใช้พื้นฐาน ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) ในการถ่ายภาพ ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) คืออะไร คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt) เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปล เกสตัลท์ว่า เป็นส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness) เป็นแนวคิดที่บอกว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  โดยความคิดของมนุษย์ จะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย เช่น การนำในลักษณะของภาพรวมก่อนการเสนอส่วนที่แยกย่อยตามหัวข้อ ซึ่งทฤษฎีนี้ใช้อธิบายการรับรู้ภาพของมนุษย์ (Visual Perception) ด้วย

One green paperclip among pink ones on black background. Black sheep of a family, uniqueness, think different, independence, leadership concept, above view

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

Abstract Background Texture Of Contemporarty Design Glass Wall Feature

กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และผู้ร่วมกลุ่มอีก 3 คน คือ เคอร์ท เลอวิน (Kurt Lewin) , เคอร์ท คอฟพ์กา (Kurt Koffka) และวอล์ฟแกง โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน

การใช้พื้นฐาน ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) ในการถ่ายภาพ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory)

ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) มีอยู่ 6 หัวข้อหลัก ได้แก่

Modern office building facade in the downtown

ใช้ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt Theory) ในการถ่ายภาพได้อย่างไร

ทฤษฎีเกสตอลท์ จะช่วยด้านการถ่ายภาพให้โดดเด่นขึ้น เมื่อเราเข้าใจการทำงานของสมองของมนุษย์ ความคิด เราสามารถถ่ายภาพ เพื่อสื่อให้ผู้ที่ดูภาพ เข้าใจ เเละคิดในสิ่งที่เราอยากจะให้คิดได้ โดยทฤษฎีนี้ ถูกใช้กันในศิลปะหลายแขนงอย่างเเพร่หลาย

helical stairway, simple modern semicircle staircase, view from the top down


เเล้วในการถ่ายภาพหล่ะ ทฤษฎีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ เพื่อการชักนำให้มองเห็น และการจัดเรียงองค์ประกอบในการถ่ายภาพได้ดีขึ้น  

1. กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน The Law of Prägnanz (or Simplicity)

ตาของมนุษย์มักจะมองหาความเรียบง่าย บนโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นข้อดีในการที่จะลดการประมวลข้อมูลของสมอง โดยเมื่อมนุษย์มองเห็นลักษณะที่เป็นโครงสร้าง ตาของมนุษย์จะมองหาความเป็นโครงร่างเดี่ยว เเละลดทอนความเป็นข้อมูลที่ซับซ้อนออก บางครั้งทฤษฎีนี้ ถูกใช้ในลักษณะของการเป็น (Figure)และ ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้ (Background or Ground) ภาพที่ถ่าย ออกมา บางครั้งอาจมองว่าเป็นภาพ หรือบางครั้งก็ถูกมองว่าเป็น พื้นหลัง

source : expertphotography

2. กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)

วัตถุที่อยู่จุดเดียวกัน มีความคล้ายคลึงของสี ขนาด รูปร่าง จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู๋ในกลุ่มเดียวกันทั้งหมด เป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด กฏนี้ใช้กับการถ่ายภาพเเบบ Pattern โดยการมองหา รูปร่าง ขนาด ลักษณะการเคลื่อนไหว หรือสี ซึ่งวัตถุในภาพ เมื่อเห็นความเหมือนอย่างใดอย่างหนึ่งเเล้ว ภาพทั้งภาพ จะถูกมองว่าเป็นสิ่งเดียวกันอย่างกลมกลืน

Beautiful ice pattern on winter glass

ถึงเเม้ว่าตัวเเบบนั้นจะกระจัดกระจายกันก็ตาม เเนวภาพที่สามารถใช้ทฤษฎีนี้ได้ ก็เช่นการถ่าย แนว street และอีกเเนวหนึ่งที่ใช้ทฤษฎีนี้ได้ เช่นการถ่ายภาพสิ่งมีชีวิต จากธรรมชาติ เช่นรูปแบบของใบไม้ ดอกไม้ สัตว์ เปลือกหอย เเต่ถ้าอยากให้โดดเด่นขึ้นมาก ก็โดยการสร้างความเเตกต่างทางรูปร่าง การเรียงตัว หรือเเตกต่างกันด้วยสีสัน นั่นเอง

One green paperclip among pink ones on black background. Black sheep of a family, uniqueness, think different, independence, leadership concept, above view

3. กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)

วัตถุที่อยู่ใกล้กัน จะถูกมองว่ามีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น ถ้าหากเดินเข้าไปในห้องที่มีวัตถุสองอันวางอยู่ จะรู้สึกว่าสิ่งชองนั้นมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน หรือเมื่อเกิดสถานการณ์เเบบนี้กับพฤติกรรมมนุษย์เช่น เมื่อเดินเข้าไปในห้องที่มีคนสองคนอยู่ด้วยกัน เราจะมองว่า สองคนนั้นรู้จักกัน ถึงเเม้ว่าสองคนนั้นจะไม่รู้จักกันเลยก็ตาม เราใช้ทฤษฎีนี้ในการถ่ายภาพบุคคล เมื่อถ่ายภาพบุคคลที่อยู่ด้วยกัน เราสร้างความรู็สึกให้ดูอบอุ่น เเละดูมัความสัมพันธ์กันได้ โดยการให้จับมือ หรือสัมผัสกัน พิงกัน หรือเอาหัวเเตะเข้าหากัน

Family time

4. กฏแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure)

เมื่อมีวัตถุที่ยังสร้างไม่สมบูรณ์ ยังไม่เสร็จ หรือมีบางส่วนขาดหายไป สมองของมนุษย์จะเติมส่วนที่ขาดนั้น เข่นการมองภาพ เส้นเเสงของเงา หรือ ทางเดินที่ถูกวางด้วยก่อนที่ห่างกัน สมองจะเติมส่วนที่หายไป เเละสร้างเรื่องราวให้สมบูรณ์ อาจจะใช้การเปลี่ยนมุมมองของภาพ เพื่อให้ภาพดูน่าในใจขึ้นได้

Abstract Architecture Detail Of A Factory Roof Corner Against An Overcast Sky With Copy Space

5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)

เมื่อเห็นเส้นที่ไปทางเดียวกัน สมองก็จะคิดต่อไปว่า จะไปทิศทางในแนวเดียวกัน ถึงเเม้ว้า ท้ายสุดเเล้ว สองเส้นนั้นจะเเยกออกไปก็ตาม ทฤษฎีนี้ ก็คือการใช้เส้นนำสายตานั่นเอง

House of the Bulgarian Communist Party on Hadji Dimitar peak

6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)

ถึงเเม้ว่าเรื่องราวยังไม่สมบูรณ์ เเต่สมองจะชี้นำให้สามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม กรณีนี้  ใช้กับการถ่ายภาพ เพื่อเน้น อารมณ์ ความรู้สึก หรือเรื่องราวที่สื่อออกมาในภาพ เเละต้องการให้ผู้ที่มองภาพ ได้คิดจินตนาการภาพต่อไป

Girl Guitar Earphones Digital Device Lie Down Concept

การถ่ายภาพ ไม่จำเป็นว่าต้องศึกษาเรื่องราวที่เป็นงานด้านศิลปะเท่านั้น เเต่เราสามารถที่จะหาความรู้เพื่อเติมด้านอื่น เพื่อพัฒนาด้านการถ่ายภาพได้ ด้านจิตวิทยาก็น่าสนใจไม่น้อยเลย จริงมั๊ย

source : https://expertphotography.com/gestalt-theory-photography/

บทความสอนถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ที่ควรรู้

Exit mobile version