Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse วันนี้ PHOTOSCHOOLTHAILAND จะมาชวนเพื่อน ๆ มาถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาในช่วงสิ้นเดือนกรกฏาคมกันครับ โดยจะนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นภาพเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจนะครับ จะมีทั้งข้อมูลของปรากฏการณ์จันทรุปราคาและการเซ็ตค่าตั้งกล้องที่แนะนำครับ ถ้าพร้อมกันแล้วเรามาเตรียมตัวล่าพระจันทร์สีเลือดไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

วัน เวลา สถานที่

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้จะเกิดขึ้นในคืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2561 ถึง เช้าวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลาสำหรับปรากฏการณ์จะเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ช่วง 00.14 น. ถึง 05.19 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 โดยเราสามารถเห็นพระจันทร์สีเลือดนี้ได้ทั่วพื้นที่ประเทศไทย และสามารถเห็นได้ทางทิศตะวันตกครับ

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

– อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องรู้

เวลาและลำดับเหตุการณ์

เริ่มต้นตั้งแต่เวลา 00.14 น. การเกิดจันทรุปราคาจะเริ่มต้นจากจันทรุปราคาเงามัวโดยที่เราจะเห็นพระจันทร์สีขาวนวลปกติ แต่ที่ต่างไปนั้นก็คือความสว่างของพระจัทนร์จะเริ่มลดลงเนื่องจากเริ่มโดยเงาของโลกบังบางส่วนนั้นเอง
ต่อมาในเวลา 01.24 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน เป็นลำดับเหตุการณ์ที่เริ่มมีเงาดำเกิดขึ้นบนพระจันทร์อย่างชัดเจนและจะกินพื้นที่มาขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเงาดำกินพื้นที่ทั้งดวงจันทร์จะเกิดเหตุการณ์ลำดับต่อมา นั้นก็คือจันทรุปราคาเต็มดวงซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 02.30 น. เป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพพระจันทร์สีเลือดครับ ส่วนสาเหตุที่พระจันทร์เป็นสีแดงนั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลกแล้วตกกระทบสู่ผิวของดวงจันทร์จึงทำให้เป็นสีแดงครับ
และจันทรุปราคาจะสิ้นสุดในเวลา 04.21 น. กลับมาเป็นจันทรุปราคาบางส่วนไล่ไปจนถึงเวลา 05.19 น.
ระยะเวลาของปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 43 นาที ถือเป็นจันทรุปราคาที่นานที่สุดในศตวรรษที่ 21 ครับ

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

– อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องรู้

กล้องและอุปกรณ์

สามารถใช้ได้ทั้งกล้อง DSLR และกล้อง Mirrorless ครับ ส่วนเลนส์แนะนำเป็นเลนส์ระยะไกลยิ่งระยะไกลเท่าไหร่ยิ่งดีครับ จะได้เห็นดวงจันทร์ชัดเจนยิ่งขึ้น และที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือขาตั้งกล้องครับ ถือเป็นสิ่งจำเป็นมากๆสำหรับการถ่ายภาพพระจันทร์สีเลือดครับ ส่วนไฟฉายแนะนำสำหรับเพื่อนๆที่อยากเห็นท้องฟ้าได้ชัดเจนไม่มีแสงในตัวเมืองมารบกวน การออกไปถ่ายในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อยถือเป็นตัวเลือกที่ดีครับ ไฟฉายจะช่วยในการเดินทางและเซ็ตอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

– อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องรู้

การตั้งค่ากล้อง (1)

ต้องบอกไว้ก่อนว่าสำหรับการถ่ายพระจันทร์สีเลือดนั้นต้องใช้การปรับค่าเฉพาะหน้าค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นค่าที่แนะนำต่อไปนี้อาจจะไม่ใช่ค่าตายตัวมากนักนะครับ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างทั้งตัวอุปกรณ์ของเพื่อนๆเองเช่นกล้องและเลนส์ รวมถึงสภาพแสงของปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนั้น ๆ ด้วย เริ่มจาก ISO แนะนำให้ตั้งไว้ที่ 800 ก่อน หากปรับค่า speed shutter และรูรับแสงแล้วยังสว่างไม่พอ ให้กลับมาเพิ่ม ISO อีกครั้งจนกว่าจะพอดี เพื่อคุณภาพภาพที่ดีครับ

Speed shutter ต้องเป็น Speed shutter ที่ช้าเพื่อที่เก็บแสงตอนกลางคืนให้ได้มากที่สุด แต่จะช้าเกินไปไม่ได้เนื่องจากพระจันทร์มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา การใช้ speed shutter ที่นานเกินไปอาจจะทำให้ภาพเบลอได้
รูรับแสง ( f stop ) ใช้รูรับแสงอยู่ที่ประมาณ f2.8-f5.6 เนื่องจากเราต้องการแสงที่มากสำหรับการถ่ายกลางคืนครับ

เทคนิคถ่ายจันทรุปราคาเต็มดวง Micro Lunar Eclipse

การตั้งค่ากล้อง (2)

ระบบ Focus สามารถใช้ได้ทั้ง Auto และ Manaul ครับ เนื่องจากสภาพแสงที่น้อยทำให้ระบบโฟกัสของกล้องบางรุ่นอาจจะทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร การใช้ Manual Focus จึงถือเป็นอีกตัวเลือกนึงที่ใช้งานได้ดีครับ
White Balance แนะนำตั้งที่ Auto หรือ Daylight เพื่อให้ได้สีของพระจันทร์สีเลือดที่ถูกต้อง
Format File อยากแนะนำให้ถ่ายทั้ง RAW และ JPEG ไปเลยครับ เพราะโอกาสที่จะได้ถ่ายปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ได้มีมาให้เราถ่ายบ่อยนัก เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องเสียดายพื้นที่การเก็บข้อมูลครับ

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

1. ใช้ขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์รวมถึงความมั่นใจเรื่องภาพที่เราได้จะไม่สั่นเบลอจากการสั่นไหวไม่ว่าจะจากพื้นหรือลมพัดก็ตาม
2. อย่าลืมปิดระบบกันสั่นเมื่อใช้งานขาตั้งกล้อง เพราะอาจจะมีโอกาสที่ระบบกันสั่นทำงานผิดพลาดทำให้ภาพของเราสั่นไหวได้
3. ไม่ควรใช้ Speed Shutter นานเกินไปเพราะพระจันทร์มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเราจะถ่ายด้วยขาตั้งกล้องแล้ว แต่ถ้าวัตถุเกิดการเคลื่อนไหว ภาพก็อาจเกิดการสั่นไหวได้
4. ดูสถานที่และซ้อมถ่ายก่อนวันจริง ช่วยให้เรารู้มุมและทิศทางก่อนที่จะถ่ายจริง รวมถึงคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์มากขึ้น ช่วยให้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าในวันจริงได้ดียิ่งขึ้น
5. อย่าหวง ISO มากเกินไป สำหรับเพื่อนๆหลายๆท่านอาจจะมีเลข ISO ในใจที่ไม่อยากใช้เกินตัวเลขนั้นๆ แต่ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่แสงค่อนข้างน้อย การเซ็ตค่าต่างๆอาจจะช่วยเก็บแสงได้ไม่พอ ทำให้เราต้องใช้ ISO ที่สูงขึ้น
ก็อยากให้ใช้เกิดขีดที่ตัวเองตั้งไว้ได้ครับ เพราะไฟล์ RAW และโปรแกรมแต่งภาพสามารถช่วยในการกำจัด Noise ได้มาก น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า การดึง speed shutter ที่ช้าลงแล้วเสี่ยงต่อการได้ภาพที่สั่นไหวครับ

– อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องรู้

ความพิเศษของจันทรุปราคาในครั้งนี้

1. เป็นจันทรุปราคาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (จะเห็นพระจันทร์สีเลือดได้เล็กกว่าปกติ)
2. เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นนานที่สุดในรอบ 100 ปี
3. เป็นจันทรุปราคาที่เกิดขึ้นในทิศตะวันตก ซึ่งโดยส่วนมากในครั้งก่อนๆนั้นจะเกิดขึ้นในทิศตะวันออก
4. มีโอกาสได้ภาพทางช้างเผือกพร้อมจันทรุปราคาเนื่องจากทิศที่เกิดเป็นทิศตะวันตกและประกฏการณ์นี้ทำให้แสงสว่างของพระจันทร์ลดลงค่อนข้างมาก

สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนได้ลองถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้นะครับ
หวังว่าจะได้ความรู้จากเรา PHOTOSCHOOLTHAILAND ไม่มากก็น้อย
“ถ่ายภาพให้สนุกนะครับ ^^”

– อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่มือใหม่ต้องรู้

Exit mobile version