Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย ใครก็ทำได้

การตั้งค่ากล้อง มือใหม่หลายคนอาจจะสงสัย มันมีบทความนี้ด้วยเรอะ!! มันมีสิคร้าบ ลองเอามานั่งคิดดูนะ มือใหม่เนี่ย ไม่ได้รู้ลำดับก่อนหลังเลยว่าควรตั้งค่าอะไรยังไงก่อนหลัง ไม่รู้เลยว่าควรโฟกัสตรงไหนก่อน ISO เท่าไหร่ โฟกัสโหมดอะไร ต้องดูอะไร เมนูของกล้องตัวแรกสำหรับบางคนเหมือนแผงบังคับเครื่องบินก็มี 555 ในวันนี้เรามาเริ่มกันเล้ยยย

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่ ต้องเริ่มที่ตรงไหนดี?

ขั้นแรกในการตั้งค่ากล้องสำหรับแต่ละรุ่นนะ เพราะเมนูไม่เหมือนกันเลยอยากจะให้พกคู่มือไว้ด้วย เผื่อว่าหาค่าที่ผมตั้งกล้องไม่เจอยังไงก็ติดตรงไหนถามอีกทีเนอะไปเริ่มกัน ภาพรวมมันจะเป็นยังงี้

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

Image Quality (ความละเอียดของภาพ) : RAW หรือ JPEG + RAW
RAW Recording (ความละเอียดของไฟล์ RAW) : Lossless Compress พวก RAW ที่มันบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง
Picture Control หรือ Picture Style : Standard (เริ่มต้นลองเลือกแบบนี้ก่อน)
Color Space : sRGB (อันนี้สำหรับเทพที่เข้ามาอ่าน ให้มือใหม่เริ่มจาก sRGB ก่อนเนอะ Color Space มือใหม่ยังไม่ต้องใช้กว้างขนาด Adobe RGB)
Long Exposure Noise Reduction : On (เป็นการลด Noise เวลาที่เปิด Long Exposure)
High ISO Noise Reduction : Off
Active D-Lighting / HDR / Lens Corrections : Off (ถ่าย RAW มาเดี๋ยวไปแก้อีกทีได้ เน้นการเรียนรู้เนอะ)

อธิบายเรื่อง Image Quality ทำไมต้องถ่ายภาพเป็น RAW File หรือ JPEG + RAW

การตั้งค่ากล้องที่จะพลาดไม่ได้ พลาดไม่ได้เลยนะ ต้องตั้งค่าความละเอียดเป็น RAW ไว้ก่อน เพราะอะไร เพราะว่าเราต้องการได้ไฟล์คุณภาพที่สูงที่สุด แบบเอามาปรับแต่งแก้ไขได้ เพราะจุดเด่นของกล้องเราหลัก ๆ เลยคือไฟล์ RAW นอกจากนี้ไฟล์ RAW ยุคนี้หลาย ๆ ตัวตั้งให้กล้องสามารถที่จะบีบอัดไฟล์ RAW ได้ด้วย เลยทำให้ขนาดไฟล์นั้นเล็กลงมาก ดังนั้นการตั้งค่ากล้องพื้นฐานแรกสุดเลยให้เลือก RAW นะครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส, source : dps

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RAW File

ต่อมาคือเรื่องของ Picture Control ทำไมผมให้เลือกที่ Standard เพราะว่าไฟล์ RAW เวลาโหลดเข้าคอมมันก็ถูกรีเซ็ตค่าสีอยู่ดี แม้ว่าใน Adobe Lightroom จะมี Picture Profile ให้เลือกแต่เราก็รู้สึกว่าสีอาจจะไม่ตรงเป๊ะเหมือนมาจากกล้องอยู่ดี (ยกเว้นกรณีที่โหลด Software ของกล้องมาใช้ แต่ก็ไม่ค่อยสะดวกเท่า Adobe Lightroom หรอกเนอะ)

นอกจากนี้การตั้งค่า Long Exposure Noise Reduction ที่เปิดไว้เพราะว่าเวลาถ่ายภาพด้วย Long Exposure มันจะมี Noise ด้วยนะแม้ว่าถ่ายด้วย ISO 100 ก็ตาม การที่กล้องใช้ Long Exposure Noise Reduction เขาก็จะช่วยลดการเกิด Noise ให้เราครับ

ส่วนค่าที่เหลือไม่ได้ให้ตั้งเพราะว่าอะไร มันมีผลกับ JPEG ครับ คร่าว ๆ ว่า JPEG คือไฟล์ที่มันบีบอัด มีขนาดเล็ก ถูกตกแต่งมาแล้วจากค่าต่าง ๆ ในกล้อง แต่สำหรับบทความนี้จะเน้นให้เราได้ไฟล์ต้นฉบับที่ดีที่สุดเพื่อไปทำการแต่งภาพต่อ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเนอะ

เลือกโหมดถ่ายภาพที่ดีง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่

แม้ว่าช่างภาพหลายคนมีเหตุผลว่าการถ่ายภาพด้วยโหมด Manual เพราะผมก็เคยแนะนำไปว่าทำไมมือใหม่ควรเรียนรู้ในการเริ่มต้นใช้โหมด M ตาม แต่ว่ามันก็ไม่ใช่ทุกอย่างนะ เพราะโหมดอื่น ๆ มันก็มีประโยชน์มากไม่น้อยเหืมอนกัน เดี๋ยวเรามาดูว่าควรใช้โหมดอะไรบ้าง

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

ตัวอย่างเช่น ถ้าผมต้องการควบคุมรูรับแสงเป็นหลัก (Aperture) เพื่อใช้ในการถ่ายภาพและดีไซน์ภาพเองก็ตาม ผมจะต้องให้ความสำคัญกับรูรับแสงที่ต้องการแม้ว่าสภาพแสงจะเปลี่ยนไปยังไง นั่นแหละถึงเป็นเหตุว่าโหมด M อาจจะไม่ใช่โหมดที่ดีที่สุด แต่จะเป็นโหมด A (Aperture Priority) แทน

และด้วยโหมด A นี้เป็นโหมดที่ผมแนะนำให้ลองตั้งค่าสำหรับถ่ายสนุก ๆ ทั่วไป เพราะส่วนใหญ่เราต้องการรูรับแสงกว้างสุดอยู่แล้ว ส่วนความเร็วชัตเตอร์กับ ISO เราให้กล้องคิดให้ดีกว่า แบบนี้ผมรู้สึกมันถ่ายภาพง่าย และสนุกครับ พอเราเจอสถานการณ์ที่มันต้องตั้งค่าเฉพาะเราค่อยย้ายไปโหมด M ก็ได้ครับ, หรือถ้าช่วงไหนใส่ใจ Shutter Speed จริง ๆ ค่อยไปโหมด S ครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

สรุปนะครับ แนะนำให้ใช้โหมด A เพราะคุณจะได้โฟกัสที่การใช้รูรับแสงเป็นหลัก และมันเริ่มต้นง่าย ๆ ครับ แต่แน่นอนว่าคุณต้องหัดใช้โหมดอื่น ๆ ด้วยนะ เพราะโหมด A ไม่ใช่ทุกอย่างเหมือนกันฮ่า ๆ

โหมดโฟกัสอัตโนมัติที่ง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่

ก่อนอื่นต้องบอกว่าถ้าจะให้ดีก็อยากให้เข้าไปอ่านเรื่องของระบบโฟกัสก่อนเพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมครับ เพราะจุดโฟกัสที่แนะนำให้ใช้สำหรับมือใหม่เลยคือ Single Area Auto Focus หรือการโฟกัสแบบจุดเดียว เพราะมันเป็นธรรมชาติของความเข้าใจเราว่า เราอยากให้กล้องชัดตรงส่วนไหน พอจะถ่ายใหม่ก็ค่อยโฟกัสใหม่ อะไรแบบนั้น ทำให้มือใหม่ที่ยังไม่รู้เรื่องระบบกล้องมากมายนักได้ใช้งานกล้องแบบง่าย ๆ และควบคุมด้วยตัวเองเป็นหลัก, หลังจากเข้าใจระบบกล้องมากขึ้นค่อยไปใช้โหมดอื่น ๆ ที่กล้องมันเริ่มคิดแทนเราครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

ส่วนการถ่ายภาพแบบติดตาม พวกนกบิน เด็กวิ่งอะไรแบบนั้นให้เลือกโหมดโฟกัสแบบต่อเนื่อง หรือพวก AI Servo ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้เริ่มงงก็อยากให้ไปอ่านบทความเรื่องของระบบโฟกัสนะครับ จะได้ไม่งง ^^

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

มีหลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่าอ้าว ทำไมไม่ใช้โหมดโฟกัสอัตโนมัติทั้งหลายที่มันมีประสิทธิภาพสูง ๆ มาในตัวกล้องไปเลยล่ะ เพราะกล้องก็ซื้อมาแพง เหตุผลเพราะว่าโหมดอัตโนมัติทั้งหลายมันดีครับ แต่เราก็ต้องเข้าใจมันก่อนและฝึกที่จะควบคุมกล้องให้ได้ดั่งใจก่อน รู้การทำงานของกล้องทั้งหมด แล้วก็เข้าใจจังหวะ นิสัย ธรรมชาติของกล้องเราว่ามันเป็นแบบไหน พอเราเริ่มเข้าใจมันแล้วเราก็ค่อยเพิ่มรูปแบบการทำงานอัตโนมัติต่าง ๆ ตามที่เราถนัด ตรงนั้นจะทำให้เราควบคุมกล้องตามใจได้สุด ๆ ส่วนไหนที่เราไว้ใจว่ากล้องมันคำนวณแทนเราได้แบบเป๊ะ ๆ เราก็ใช้เพิ่มตรงนั้น ไม่เสียหายครับ ยังดีกว่าปล่อยมือใหม่ให้อยู่กับระบบอัตโนมัติโดยไม่เข้าใจการทำงานหรือวีธีคิดของกล้องเลย อันนั้นผมว่ามันก็ทำได้แต่อาจจะไม่ดีสำหรับคนใช้ในตอนเริ่มต้นครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

ไม่เข้าใจเรื่องระบบโฟกัสต่าง ๆ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมที่อธิบายเจาะลึกเรื่องระบบโฟกัสได้ที่นี่

โหมดวัดแสงที่เหมาะสำหรับมือใหม่

แม้ว่าโหมดวัดแสงมันจะมีหลายแบบให้เลือก แล้วก็ทำงานได้เทพมาก ๆ สำหรับกล้องในปัจจุบัน แต่เริ่มต้นง่ายสุดคือใช้โหมดวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพน่าจะเป็นโหมดที่เหมาะที่สุดก่อน เพราะมันดูธรรมชาติที่สุด เราใช้ปริมาณแสงทั้งภาพในการวัดค่าเฉลี่ยออกมา ทำให้เราเข้าใจเรื่องสภาพแสงได้ง่ายครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส, source : photographylife

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบวัดแสงทั้งหมดแบบเจาะลึก สามารถเข้าใจได้ทุกโหมด

รูรับแสงที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่

หลายคนอาจจะเข้าใจว่ารูรับแสงกว้างสุดเนี่ยคือดีสุด ซึ่งตามหลักแล้วมันก็จริงนะเพราะรับแสงได้เยอะ (แต่มีเงื่อนไขอยู่) การมีเลนส์รูรับแสงกว้างมาก ๆ ก็หน้าชัดหลังเบลอง่าย แต่ว่าเพราะการที่เลนส์เปิดรูรับแสงกว้างมาก ๆ เกินไปมันทำให้การละลายเยอะเกิน ภาพถ่ายมีส่วนเบลอเยอะมาก ๆ มันเล่าเรื่องราวไม่ได้ อันนี้ก็ส่งผลเสียเหมือนกันครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส , Source : Photography Life

เพราะงั้นรูรับแสงที่เราจะเลือกใช้ ถ้าเปิดกว้างสุดแบบเดิม ๆ ก็ควรเปิดกว้างสุดตามที่บอกไว้แต่แรกนั่นแหละครับ แต่ควรเปรียบเทียบด้วยว่าเลนส์เรามันละลายมากเกินจนทำให้ภาพเล่าเรื่องราวไม่ได้หรือเปล่า อันนี้ต้องตัดสินใจเอาเองว่าควรใช้ค่าไหนถึงจะเหมาะสมกับภาพที่เราจะถ่ายครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมแบบละเอียดเรื่องรูรับแสงสำหรับมือใหม่

ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่

ในการตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อทั้งปริมาณแสงที่เข้ามาในกล้อง และส่งผลต่อภาพที่เราถ่ายออกมาด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีผลกับภาพนั่นแหละ ดังนั้นโดยหลักถ้าสรุปง่าย ๆ คือ ชัตเตอร์ที่เร็วมากขึ้น จะจับภาพที่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น และสูญเสียปริมาณแสงที่เข้ามามากตามไปด้วย ชัตเตอร์ที่เร็วมากมักใช้กับการถ่ายภาพกีฬา หรือวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ แล้วเราต้องการให้ภาพนิ่งกริ๊บ จะเลือกใช้ชัตเตอร์เร็วกัน เท่าไหร่คิดว่าเร็ว? ตั้งแต่ 1/250 – 1/400 ก็เร็วแล้วแหละ แต่ถ้ายังจับวัตถุที่เคลื่อนไหวยังไม่ค่อยได้ ก็เพิ่มให้เยอะขึ้นกว่านี้ครับ แต่แสงก็จะลดตามไปด้วยนะ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็จะทำให้การจับภาพที่รวดเร็วลดลง การจับวัตภุที่เร็ว ๆ ก็จะทำไม่ค่อยได้ละ แต่ก็มีข้อดีตามมาอย่างชัดเจนเลยคือปริมาณแสงเพิ่มขึ้น เหมาะกับการถ่ายภาพภายในอาคารที่แสงน้อย โดยไม่ใช้แฟลช ทำให้เราถ่ายภาพได้แสงที่ดีขึ้น นอกจากนี้การที่เลือกใช้ชัตเตอร์ช้า ๆ มาก ๆ เราใช้เพราะต้องการเอฟเฟกต์ของภาพที่มีน้ำตกไหลเป็นเส้น ๆ หรือแม้แต้การลากไฟบนถนนให้เกิดเอฟเฟกต์นั่นเองครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์สำหรับมือใหม่

การตั้งค่า ISO ที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่

โดยพื้นฐานแล้ว ISO ที่ต่ำที่สุดจะให้คุณภาพของไฟล์ที่ดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน แต่ว่าเมื่อ ISO ต่ำสุด แสงในภาพจะค่อนข้างน้อยมาก ๆ ภาพจะมืดเลยแหละเมื่อถ่ายภาพในอาคาร ในห้องเองก็ตาม เพราะงั้นการเลือก ISO ก็ควรไม่สูงเกินไปและก็ไม่ต่ำเกินจนถ่ายภาพไม่ได้ครับ ซึ่งนั่นเราก็ต้องวัดแสง และต้องตั้งค่าโดยรวมเป็น ซึ่งผมเคยเขียนไว้ในเรื่องของ Triangle Exposure แล้วครับ

การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่, พื้นฐานการตั้งค่ากล้อง, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, มิลเรอร์เลส

แต่ถ้าหากว่าเราต้องการตั้งค่าแบบอัตโนมัติแบบไม่คิดอะไรมากเพื่อให้มือใหม่ถ่ายภาพได้สนุก ผมก็มีวิธีเหมือนกันคือการใช้ Auto ISO Sensitivity นั่นเองครับ เป็นการกำหนด ISO ไว้ว่า ISO สูงสุดที่เรารับได้คืออะไร หลังจากนั้นกล้องจะคำนวณค่า ISO ที่ต้องใช้จากรูรับแสงที่ตั้ง และ Speed Shutter ที่เราตั้งไว้นั่นเองครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ ISO สำหรับมือใหม่ที่ต้องเข้าใจ

การใช้ระบบกันสั่นสำหรับมือใหม่ที่ควรเข้าใจ

ระบบกันสั่นจะทำงานได้ดีเมื่อตอนที่เราถ่ายภาพเมื่อถือด้วยมือ เพราะมือเราสั่นครับ ไม่ว่าจะเป็นกันสั่นที่เลนส์หรือกล้องเองก็ดีทั้งคู่แหละ แต่ว่าสิ่งที่ควรใส่ใจคือ เมื่อเราต้องถ่ายภาพบนขาตั้งและจะเปิดความเร็วชัตเตอร์ช้า ๆ นาน ๆ เมื่อลากไฟเป็นเส้น ผมแนะนำให้ปิดกันสั่น เพราะว่าขาตั้งมันนิ่งอยู่แล้วครับ ถ้าเราถ่ายภาพ Long Shutter Speed แล้วกันสั่นมันทำงานตลอด ภาพมันจะกลายเป็นไม่นิ่งแทน เพราะว่าเซ็นเซอร์มันขยับเพราะกันสั่นนั่นเองครับ

นี่ก็เป็นการตั้งค่าพื้นฐาน สั่งเกตว่าค่า ISO,Aperture,Speed Shutter มันขึ้นอยู่กับคนถ่ายเป็นหลัก ผมจะกำหนดแทนไม่ได้เลยว่าอะไรดีที่สุด ผมแนะนำให้อ่านเพิ่มเรื่อง Triangle Exposure จะเข้าใจการถ่ายภาพมากยิ่งขึ้นครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับมือใหม่และ Exposure Triangle

source : https://photographylife.com/dslr-autofocus-modes-explained

Exit mobile version