Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ระบบโฟกัส โหมดโฟกัส วิธีโฟกัส ตั้งแต่ต้นจนจบ

ระบบโฟกัส ที่มาพร้อมกับกล้องดิจิตอลไม่ว่าจะ DSLR หรือ Mirrorless ในยุคนี้มันก็มักจะมีความซับซ้อนที่ค่อนข้างมากเลยแหละสำหรับคนที่เริ่มต้น ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพด้วยกล้องระดับเริ่มต้น หรือว่ากล้องระดับโปรเองก็รู้ดีว่าการใช้ระบบออโต้โฟกัสได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยทำให้ภาพของเรามีความคมชัด ซึ่งการโฟกัสที่พลาดไป หรือหลุดโฟกัสไปก็ทำให้ภาพเสียหายได้ทันที และไม่สามารถที่จะตกแต่งแก้ไขอะไรได้เลย

ดังนั้นถ้าหากเราเข้าใจระบบโฟกัส หรือการโฟกัส ก็จะทำให้ภาพถ่ายของเราหรือลูกค้าเราได้คุณภาพที่ดีได้ในทันที และเรื่องการถ่ายภาพที่ให้คมชัดเป็นเรื่องที่ทุกคนอยากได้อยู่แล้ว ซึ่งในบทความนี้จะพยายามอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการโฟกัสของกล้อง ซึ่งมีทั้งในกล้อง Mirrorless และ DSLR นะครับ อาจจะมีรายละเอียดเรื่องระบบโฟกัสเยอะเหมือนกัน อยากให้ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปเนอะ

บทความอ่านเพิ่มเติม

ระบบโฟกัส แบบอัตโนมัติทำงานอย่างไร?

สิ่งที่กล้องดิจิตอลไม่ว่ากล้อง DSLR หรือ Mirrorless ที่ถูกพัฒนามาอย่างดีในปัจจุบันก็คือ เราไม่ต้องโฟกัสแบบแมนนวลเหมือนยุคก่อนอีกต่อไป (เว้นแต่เราชอบถ่ายภาพด้วยเลนส์มือหมุนอ่ะนะ) กล้อง Mirrorless และ DSLR ในยุคนี้สามารถที่จะแสดงผลให้เห็นได้ทันทีเมื่อถ่ายภาพ ยิ่งเป็น Mirrorless เห็นข้อมูลภาพก่อนถ่ายด้วยซ้ำ งั้นเรามาเริ่มเรื่องระบบโฟกัสทีละจุดกันเลยดีกว่า

ระบบโฟกัสแบบ Active Autofocus vs Passive Auto Focus แต่ละแบบทำงานต่างกันยังไง?

ระบบโฟกัส AF System (Auto focus) จะมีแบบ Active และ Passive ซึ่งขออธิบายแบบนี้ก่อนนะ

Active Auto focus System ทำงานโดยยิงลำแสงสีแดง (Red Beam) ไปที่ตัววัตถุนั้น ๆ หลังจากนั้นเนี่ยแสงจะสะท้อนกลับมาที่ตัวกล้อง เมื่อกล้องรู้ว่าระยะเท่าไหร่ก็จะสั่งให้ปรับเลนส์ตามข้อมูลนี้

ข้อดีของ Active Autofocus System คือสามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อยซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ (Passive Autofocus System เป็นต้น)

ข้อเสียของ Active Autofucs System คือเราสามารถใช้งานได้กับวัตถุที่ไม่เคลือ่นที่ และสามารถใช้งานได้เฉพาะกับวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ภายใน 15-20 ฟุต

Passive Autofocus System จะทำงานแตกต่างกันมาก ไม่เหมือนกับตัวก่อนหน้านี้โดย Passive Autofocus System แทนที่ใช้ลำแสงสีแดงเพื่อหาระยะระหว่างวัตถุกับกล้อง กลับใช้เซ็นเซอร์พิเศษภายในกล้องเพื่อตรวจจับความเปรียบต่างของแสง (Contrast) ระหว่างแสงที่ไป เรียกว่า Phase Detection หรือใช้เซ็นเซอร์กล้องเพื่อตรวจจับความแตกต่างจากแสงในภาพ เรียกว่า (Contrast Detection) เมื่อกล้องมันตรวจพบความเปรียบต่างระหว่างแสง

อธิบายแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ต้องเทคนิคคือ ตัวกล้องมันพยายามมองหาความคมชัดส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ หากภาพเบลอ ระบบโฟกัสอัตโนมัติจะปรับโปกัสของเลนส์จนกว่าจะคมชัด นั่นคือเหตุผลที่ระบบโฟกัสแบบ Passive AF ต้องการที่จะให้มีสภาพแสงจนมองเห็นจุดเปรียบต่างของแสงมากพอ เพื่อที่จะโฟกัสให้ได้ เมื่อที่เลนส์พยายามจะโฟกัสในพื้นที่จุดเดียวซึ่งมีการไล่ระดับสีของพื้นผิว มันจะพยายามหาขอบหรือจุดที่มีความเปรียบต่างตรงนั้นเพื่อจะโฟกัสให้ได้ ถ้ามันหาไม่ได้ก็เลยทำให้โฟกัสวืดบ่อย ๆ ไงล่ะ

ถ้าหากกล้อง DSLR ของเรามี AF Assist อยู่ข้างหน้า มันไม่ใช่ Active AF Beam นะ ไฟตรงนี้จะใช้ฉายไปที่วัตถุ ดังนั้นตอนที่โฟกัสระบบมันยังเป็น Passive Autofocus อยู่เหมือนเดิมนั่นเอง

กล้องดิจิตอลจำนวนมากก็มักจะใช้วิธีโฟกัสแบบ Contrast Detection เพื่อหาโฟกัสในขณะที่กล้อง DSLR ในปัจจุบันสามารถใช้การตรวจทั้ง Phase Detection และ Contrast Detection เพื่อหาโฟกัสให้ได้ เนื่องจากการโฟกัสแบบ Contrast Detection Autofocus ต้องใช้แสงที่มากพอเพื่อจะเข้ามาถึงเซ็นเซอร์

กล้อง DSLR ต้องยกกระจกสะท้อนขึ้นเพื่อที่จะสามารถให้ Contrast Detetion ทำงานได้ หมายความว่าต้องอยู่ในโหมด Live View เท่านั้น ซึ่ง Active Autofocus Detection เหมาะสำหรับการติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหว แต่ Contrast Detection Autofocus เหมาะสำหรับวัตถุที่หยุดนิ่ง การตรวจจับความเปรียบต่างของแสงมักจะแม่นยำกว่าการโฟกัสแบบ Phase Detection เมื่อต้องการถ่ายภาพในสภาพที่แสงน้อย ข้อดีของ Contrast Detection ก็คือจะสามารถใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ไม่ว่าจะกลางภาพหรือขอบภาพก็ตาม เอามาหาจุดโฟกัสได้

เมื่อก่อนพวกการโฟกัสแบบ Contrast Detection เนี่ยมันทำได้ช้า แต่ปัจจุบันก็เร็วขึ้นเยอะมากเลย และทำงานได้ดีด้วย สังเกตได้จากกล้อง Mirrorless จะใช้ทั้ง Phase Detection และ Contrast Detection ในการหาโฟกัสได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็อย่าไปคิดมากครับ ผมต้องการอธิบายให้มีพื้นฐานและความเข้าใจของระบบโฟกัสทั้งสองอย่างนี้เท่านั้นเอง

จุดโฟกัสคืออะไร?

จุดโฟกัสคือสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เห็นในช่องมองภาพ ผู้ผลิตมักจะใช้แยกกล้อง DSLRs ระดับ Entry และ Professional ให้มีจุดพวกนี้แตกต่างกัน ซึ่งในระดับโปรจะมีจุดโฟกัสเยอะกว่า และทำงานได้ซับซ้อน กำหนดค่าได้สูงกว่านั่นเอง เวลาที่จะโฟกัสก็แค่เลื่อนจุดไฟกัสไปตำแหน่งนั้นแล้วกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงเพื่อให้กล้องโฟกัส

อันนี้ยกตัวอย่างระบบโฟกัสของกล้องค่ายนึง ด้านนึงจะเป็นกล้อง Entry มีจุดโฟกัส 11 จุด อีกอันนึงจะเป็นกล้องโปรมีจุดโฟกัส 51 จุด ความแตกต่างระหว่างจุดโฟกัสที่มากแบบนี้มันจะทำให้เรามีโอกาสที่จะโฟกัสภาพได้มากขึ้น โอกาสที่เราจะพลาดเพราะจุดโฟกัสไม่พอต่อจังหวะนั้น ๆ ก็น้อยลง ดังนั้นกล้องโปรมันออกแบบมาให้เหมาะกับการถ่ายภาพในงานต่าง ๆ

บทความอ่านเพิ่มเติม
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่ต้องรู้สำหรับมือใหม่
– รูรับแสงคืออะไร รวมพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้
– เคล็ดลับการตั้งค่า รูรับแสง – ความเร็วชัตเตอร์ – ISO
– Basic Photography รวมพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

ชนิดของจุดโฟกัส อะไรนะ มีจุดโฟกัสแบบ Cross-Type ด้วย มันคืออะไรกันเหรอ? เราจะได้ได้ยินเรื่องความแตกต่างระหว่างจุดโฟกัสแบบปกติ และพวกจุดโฟกัสแบบ Cross-Type มันคืออะไรกันแน่?

ในตอนนี้เราจะผ่านเรื่องระบบโฟกัส มาที่เรื่องจุดโฟกัสแบบต่าง ๆ กันบ้างแล้ว ดังที่ได้กล่าวมาว่าจำนวนจุดโฟกัสเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีเรื่องอื่นอีกที่สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อที่จะให้ระบบโฟกัสมีประสิทธิภาพ ถูกต้องที่สุด ในตอนนี้เราจะพูดเรื่องของชนิดของจุดโฟกัส ซึ่งจะมีสองแบบ นั่นคือแบบ Vertical (แนวตั้ง) และแบบ Cross-Type

Vertical Sensors หรือเซ็นเซอร์โฟกัสแบบแนวตั้ง เป็นแบบมิติเดียว คือตรวจจับความแตกต่างของเส้นแนวตั้งเท่านั้น

Cross-Type Sensors ตัวนี้เป็นแบบสองมิติ สามารถตรวจจับความเปรียบต่างได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งทำให้เซ็นเซอร์แบบ Cross-Type ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และมีความสามารถมากกว่าแบบแนวตั้ง ทำให้กล้องที่มีระบบโฟกัสแบบอัตโนมัติ(Auto Focus) มีความสามารถในการโฟกัสที่แม่นยำมากขึ้น ดีขึ้น

นั่นก็เลยเป็นเหตุผลว่ากล้องหลายแบรนด์บอกว่าจุดโฟกัสทั้งหมด 51 จุด แล้วมีแบบ Cross-Type อีก 15 จุดเป็นต้น อันนี้ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ นะครับ ส่วนรุ่นไหนที่เราจะซื้อมีจุดโฟกัสทั้งหมดกี่จุด แบบ Cross-Type กี่จุด ตำแหน่งไหนบ้าง อันนี้เราต้องหาเอาเองนะ ถ้าเรารู้ข้อมูลพวกนี้เราจะรู้เลยว่ากล้องตัวนี้เหมาะกับงานไหนสำหรับเราบ้างนั่นเองครับ

ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบโฟกัสอัตโนมัติ

จากที่ผ่านมาเราสามารถรับรู้ได้เลยว่าจำนวนจุดโฟกัสและประเภทของจุดโฟกัสทั้งแบบ Vertical และแบบ Cross-Type มีความสำคัญมาก ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดของระบบโฟกัสมีความแม่นยำมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและส่งผลกับประสิทธิภาพของการโฟกัสเหมือนกัน

คุณภาพและปริมาณแสง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเหมือนกันที่ส่งผลต่อระบบโฟกัสมากสุด ๆ เหมือนกัน สังเกตได้เลยว่าเวลาที่เราอยู่ในสภาพแสงที่มากพอ ระบบโฟกัสทำงานได้เรวดเร็ว กล้องไม่คิดนาน แต่พอแสงน้อยเมื่อไหร่ อาการวืดวาดเริ่มมา โฟกัสไม่ค่อยเข้า ทำไมเป็นแบบนั้นล่ะ เนื่องจากในสภาพแสงน้อยทำให้กล้องที่จะตรวจหาความเปรียบต่างของแสง (Contrast) ยากมากขึ้นเมื่อแสงน้อยนั่นแหละ

เพราะฉะนั้นให้เราจำไว้เลยว่า Passive Autofocus ต้องใช้แสงที่ผ่านมาจากเลนส์เป็นหลักเลย เพราะถ้าคุณภาพของแสงไม่ดี มันก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนกัน

เลนส์ที่ดี ย่อมมีผลต่อระบบโฟกัสด้วย หรือจริงเปล่า?

จากที่เกริ่นไปข้างต้นทำให้เราเริ่มเห็นภาพลาง ๆ ว่าเลนส์จึงมีผลกับระบบโฟกัสด้วย เมื่อพูดถึงเลนส์ที่มีคุณภาพ นอกจากจะให้ความคมแล้ว การที่มีรูรับแสงกว้างย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบโฟกัส

อันนี้พูดเรื่องกายภาพก่อน ถ้าหากเลนส์มีฝุ่นมากไป หรือมีราเกาะที่เลนส์ มันก็จะทำให้ระบบโฟกัสมีปัจจัยพวกนี้เข้ามาเกี่ยว (แต่อาจจะเล็กน้อยอ่ะนะ) แล้วปัจจัยหลักล่ะ? มันคือเรื่องแสงเลย สังเกตว่าในภาพแสงที่ไม่ได้เยอะมาก อย่างภายในอาคาร สังเกตเลยว่าเลนส์เกรดโปรที่ F2.8 มันจะโฟกัสเร็วมาก เมื่อเทียบกับเลนส์เกรดธรรมดาที่ F ไหลอย่าง F3.5-5.6 เวลาโฟกัสในพื้นที่แสงน้อย ไม่ช้าก็วืดวาดบ่อยกว่า

นอกจากนี้เลนส์ที่มีความไวแสงสูงอย่ง F1.4 ซึ่งให้รูรับแสงกว้างมาก ก็มักจะโฟกัสได้ช้ากว่างเลนส์ Normal ที่ F2.8 เพราะอะไรล่ะ เพราะว่าการออกแบบเลนส์รูรับแสงกว้างมันก็ต้องการหมุนชิ้นเลนส์ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้การโฟกัสที่แม่นยำเหมือนกัน

ความแม่นยำเป็นเรื่องซีเรียสและสำคัญมากสำหรับเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เพราะมันเกิดการชัดตื้นง่ายมาก คือมันละลายหลังง่าย หลุดโฟกัสก็ง่ายเหมือนกัน เพราะงั้นถ้าพูดถึงต้องการการโฟกัสที่แม่นยำและรวดเร็วด้วย รูรับแสงประมาณ F2.0 – F2.8 ก็จะให้การโฟกัสที่ค่อนข้างดีมาก เร็ว แม่นยำ และได้ปริมาณแสงที่เพียงพอ ถ้าค่ารูรับแสงแคบกว่านี้หรือกว้างกว่านี้ มันก็จะมีอุปสรรค์แต่ละอย่างที่ต้องเจอ ซึ่งมันทำให้การโฟกัสอาจจะยากขึ้นหน่อย (อันนี้พูดถึงกรณีการโฟกัสที่เร็ว แม่นยำ ไม่เกี่ยวกับเอฟเฟคภาพที่ได้นะ ที่ยกตัวอย่างนี้เพราะอยากให้เห็นภาพว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้อกับการโฟกัสมีเรื่องพวกนี้ด้วย)

สุดท้ายคือตัวกล้อง เพราะการโฟกัสมันทำงานระหว่างเลนส์และกล้อง กล้องก็มีส่วนสำคัญ และมีเรื่องของการตลาดเข้ามาเกี่ยว ดังนั้นกล้องระดับโปรถูกออกแบบและวาง Position ไว้แล้วว่าต้องดีที่สุด และราคาก็ค่อนข้างสูง ดังนั้นก่อนเลือกกล้องก็ให้ดู Position ของแบรนด์นั้นด้วยว่า กล้องที่โฟกัสเร็ว แม่นยำ มีตัวไหนบ้าง กล้องบางตัวเป็นเรือธง แพง ตัวท็อป แต่เน้นความละเอียเป็นหลัก การโฟกัสอาจจะไม่สู้กล้องที่เน้นความเร็วเป็นหลักก็ได้ (อย่างที่บอกกล้องมันก็ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ทางการตลาดด้วย)

โหมดโฟกัสของกล้อง (อันนี้เอาแบบกลาง ๆ ที่เคยใช้มานะ)

ปัจจุบันกล้องส่วนใหญ่มันมีโหมดโฟกัสหลายแบบที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบรนด์มันก็ออกแบบมาไม่เหมือนกันด้วย แต่ก็จะอธิบายตามที่ผมคิดว่าผมทำให้ได้ดีที่สุดแหละ

โหมดโฟกัสเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพบุคคล ถ่ายภาพนกที่กำลังบิน หรือถ่ายวัตถุที่มันเคลื่อนไหว ซึ่งโหมดโฟกัสแต่ละแบบมันจะเก่งคนละด้านเหมือนคนที่มีความถนัดต่างกันและเก่งในการจัดการแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เดี๋ยวเราไปดูว่ามีโหมดไหน แล้วมันทำงานยังไง แต่ละโหมดเหมาะกับการถ่ายอะไรบ้าง

1. โหมดโฟกัส Single Area Focus Mode (Single-Area AF, AF-S)

Single-Area AF หรือ AF-S หรือเรียก One Shot AF ก็ได้นะ เป็นวิธีที่ง่ายในการในการโฟกัสและใช้งาน คือเราเลือกจุดโฟกัสหนึ่งจุด เมื่อเรากดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงกล้องจะโฟกัสให้ได้ตามที่เราต้องการอย่างถูกต้อง และจะค้างนิ่งอยู่ที่การโฟกัสนั้น จนกว่าเราจะกดโฟกัสใหม่ เหมาะกับการถ่ายภาพที่เราต้องการให้โฟกัสของเราคงที่ เราอยากจะรีโฟกัสเองก็กดโฟกัสใหม่ ไม่ต้องให้กล้องมันคิดเอง ทุกอย่างอยู่ที่เรา

การถ่ายภาพที่เหมาะกับการใช้โหมด Single Area Focus Mode
โหมดนี้มักใช้กับคนที่อยากจะถ่ายภาพนิ่ง ไม่ได้โฟกัสที่วัตถุที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา แล้วมักจะเหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมจุดโฟกัสด้วยตัวเองเป็นหลัก บางคนอาจจะเอาโหมดนี้ไปถ่ายวัตถุเคลื่อนไหวก็ได้ แต่ตัวเองมั่นใจในการโฟกัสของตัวเองมากกว่า ก็เลยเลือกใช้โหมดนี้ก็มีครับ

2. โหมดโฟกัสแบบ Continuous / AI Servo

โหมดโฟกัสบางกล้องก็จะมีโหมดที่เรียกว่า Continuous หรือ AF-C ไม่ก็ AI Servo อยู่ โหมดนี้ใช้สำหรับการติดตามวัตถุเคลื่อนที่และต้องใช้สำหรับการถ่ายภาพกีฬาหรือว่าสัตว์ป่า วัตถุที่ไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ วิธีการทำงานของโหมดนี้จะเป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของวัตถุและคาดคะเนว่าวัตถุนี้จะไปอยู่ที่ไหน โดยให้วางโฟกัสไว้ที่จุดที่คาดการณ์ไว้

ข้อดีของโหมด Continuous นี้ก็คือการปรับโฟกัสโดยอัตโนมัติ (ในจุดนั้นจุดเดิมนะ) แม้ว่าวัตถุจะเคลื่อนที่อยู่ก็ตาม สิ่งที่เราทำก็คือกดโฟกัสไว้ และกล้องจะรีโฟกัสในจุดนั้น ตรงวัตถุนั้น ๆ เมื่อมีอะไรวิ่งผ่านหรือขยับในจุดนั้น กล้องมันก็จะโฟกัสให้ใหม่ทันที ทำให้ช่างภาพใช้สมาธิกับการจัดคอมโพสต์ให้ได้ก็พอ แน่นอนว่าเลนส์ก็ต้องเคลื่อนที่ได้เร็วเพื่อที่จะให้ได้จุดโฟกัสที่แม่นยำด้วย การถ่ายภาพที่เหมาะกับการใช้โหมดโฟกัส Continuous Auto Focus
โหมดนี้เหมาะกับการถ่ายภาพกีฬา หรือภาพรถแข่ง หรืออะไรก็ตามที่เคลื่อนที่ตลอดเวลา แล้วเราต้องการโฟกัส ณ จุดนั้น ๆ ให้แม่นยำ

3. Single Continuous Hybrid Mode

กล้องบางตัวยังมีโหมดอื่นอีกเรียกว่า AF-A หรือ AI Focus AF ซึ่งเป็นโหมดผสม (Hybrid) เป็นโหมด Auto Focus ที่ทำงานสลับระหว่างโหมด Single / One-Shot และ Continuous / AI Servo วิธีการทำงานนี้คือกล้องจะตรวจจับว่าวัตถุอยู่นิ่งหรือไม่ซึ่งในกรณีนี้จะเปลี่ยนเป็นโฟกัสเดี่ยวอัตโนมัติ ซึ่งในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไป โฟกัสจะเข้าสู่โหมด Continuous เอง

4. Full Time Servo Focus Mode (โหมดโฟกัสแบบ Servo ตลอดเวลา)

โหมด AF Servo เต็มรูปแบบคืออะไร โหมดนี้จะติดตามการเคลื่อนไหววัตถุอัตโนมัติตลอดเวลา ซึ่งมักจะอยู่ในโหมดวีดีโอในสมัยก่อน สมัยนี้ภาพนิ่งก็ใช้แหละ ระบบจะพยายามโฟกัสให้เข้าตลอดครับ มันก็เหมาะกับงานวีดีโอดีนะ

5. Manual Focus (การโฟกัสด้วยตัวเอง)

การโฟกัสด้วยตัวเอง แบบหมุนหาโฟกัสเอง สำหรับคนที่อยากจะหมุนโฟกัสด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานวีดีโอกับกล้อง DSLR มากกว่า ถ้า Mirrorless ยุคนี้ก็ระบบออโต้โฟกัสที่ Tracking มันทำงานดีมากสำหรับงานพวกนี้แล้ว

โหมดโฟกัสแบบ Area (Auto Focus Area Mode, AF Area)

อันนี้จะเริ่มทำเรามึนขึ้นไปอีกได้ ถ้าเริ่มงงแนะนำให้พักก่อนแล้วค่อยอ่านต่อ ฮ่า ๆ แต่ถ้าคุณยังไหวมาอ่านตรงนี้ต่อเลย มันยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า AF-Area Mode เป็นโหมดของตัวจุดโฟกัสเอง เพื่อใช้งานร่วมกับโหมดโฟกัส แล้วจะมีทำไมให้มันซับซ้อนล่ะ? ก็เพื่อให้การทำงานของโหมดโฟกัสมีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น แม่นยำขึ้นนั่นเอง เดี๋ยวมันจะมีอะไรให้เราใช้บ้างอ่านต่อได้เลยครับ

3. Single Continuous Hybrid Mode

กล้องบางตัวยังมีโหมดอื่นอีกเรียกว่า AF-A หรือ AI Focus AF ซึ่งเป็นโหมดผสม (Hybrid) เป็นโหมด Auto Focus ที่ทำงานสลับระหว่างโหมด Single / One-Shot และ Continuous / AI Servo วิธีการทำงานนี้คือกล้องจะตรวจจับว่าวัตถุอยู่นิ่งหรือไม่ซึ่งในกรณีนี้จะเปลี่ยนเป็นโฟกัสเดี่ยวอัตโนมัติ ซึ่งในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไป โฟกัสจะเข้าสู่โหมด Continuous เอง

4. Full Time Servo Focus Mode (โหมดโฟกัสแบบ Servo ตลอดเวลา)

โหมด AF Servo เต็มรูปแบบคืออะไร โหมดนี้จะติดตามการเคลื่อนไหววัตถุอัตโนมัติตลอดเวลา ซึ่งมักจะอยู่ในโหมดวีดีโอ ระบบจะพยายามโฟกัสให้เข้าตลอดครับ มันก็เหมาะกับงานวีดีโอดีนะ

5. Manual Focus (การโฟกัสด้วยตัวเอง)

การโฟกัสด้วยตัวเอง แบบหมุนหาโฟกัสเอง สำหรับคนที่อยากจะหมุนโฟกัสด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานวีดีโอกับกล้อง DSLR มากกว่า ถ้า Mirrorless ยุคนี้ก็ระบบออโต้โฟกัสที่ Tracking มันทำงานดีมากสำหรับงานพวกนี้แล้ว

โหมดโฟกัสแบบ Area (Auto Focus Area Mode,AF Area)

อันนี้จะเริ่มทำเรามึนขึ้นไปอีกได้ ถ้าเริ่มงงแนะนำให้พักก่อนแล้วค่อยอ่านต่อ ฮ่า ๆ แต่ถ้าคุณยังไหวมาอ่านตรงนี้ต่อเลย มันยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า AF-Area Mode เป็นโหมดของตัวจุดโฟกัสเอง เพื่อใช้งานร่วมกับโหมดโฟกัส แล้วจะมีทำไมให้มันซับซ้อนล่ะ? ก็เพื่อให้การทำงานของโหมดโฟกัสมีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น แม่นยำขึ้นนั่นเอง เดี๋ยวมันจะมีอะไรให้เราใช้บ้างอ่านต่อได้เลยครับ

1. Single-Point AF-Area (โหมด AF-Area แบบจุดเดียว)

เมื่อเลือกโหมดนี้กล้องจะใช้โฟกัสเดียวที่เลือกในช่องมองภาพเพื่อหาโฟกัส ถ้าหาเราย้ายจุดโฟกัสไม่ว่าจะ ขึ้น/ลง/ซ้าย/ขวา กล้องจะตรวจจับความคมชัดเฉพาะตรงจุดโฟกัสตรงนั้นเท่านั้น ส่วนใหญ่การใช้จุดแบบนี้จะใช้กับการถ่ายทิวทัศน์ สถาปัตยกรรม หรือถ่ายภาพบุคคลที่เราจะเน้นให้ชัดโดยเฉพาะตรงตาเลย อะไรแบบนั้น

2. Dynamic AF-Area

ในโหมดโฟกัสแบบไดนามิค หรือ Dynamic AF-Area Mode เรายังคงเลือกจุดโฟกัสหนึ่งจุดเหมือนเดิม และกล้องจะเริ่มทำการโฟกัสเฉพาะ และตัวกล้องเองก็ยังจะใช้จุดโฟกัสรอบ ๆ ติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุด้วย ถ้าเมื่อไหร่ที่วัตถุนั้นเคลื่อนไหว กล้องจะใช้จุดโฟกัสรอบ ๆ ติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุและให้ความสำคัญกับตัววัตถุเป็นหลัก

ระหว่างนั้นเราอาจจะติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นด้วยการแพนกล้อง ให้พยายามเคลื่อนไหวตามวัตถุนั้นโดยพยายามให้วัตถุนั้นใกล้จุดโฟกัสจุดแรกที่เราได้เลือก เพื่อไม่ให้โฟกัสที่ Tracking รอบ ๆ นั้นหลุดออกจากตัววัตถุเกินไป (มันมีระยะในการคำนวณรอบจุดโฟกัสแรกอยู่ พยายามไม่ให้หลุดละกัน)

โหมด AF-Area แบบ Dynamic จะทำงานได้ดีสำหรับวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็ว เช่น นก เพราะการถ่ายภาพนกระหว่างบันมันโฟกัสไม่ง่ายนะ ถ้าเราจะเลื่อนทีละจุด เพราะงั้นจุดโฟกัสแบบ Dymanic จะถูกออกแบบมาให้ทำงานได้รวดเร็วกับสิ่งที่เคลื่อนไหว

ทีนี้การติดตามวัตถุกล้องบางตัวมันยังเลือกได้ด้วยว่าจะใช้จุดโฟกัสในการติดตามกี่จุด เช่น 9,21,51 จุด เป็นต้น ยุคนี้กล้อง Mirrorless บางตัวจุดโฟกัสแบบ Tracking แทบจะเต็มเฟรมกันเลย

3. โหมดโฟกัสแบบ Auto-Area AF Mode

Auto-Area AF หรือ Automatic AF Point Selection Mode คืออารมณ์เหมือนกล้อง Point-and-Shoot เลย คือยกปุ๊บ กดโฟกัสเลย เดี๋ยวกล้องมันเลือกโฟกัสให้เองว่าควรโฟกัสตรงไหน ประมาณว่ากล้องมันจะประเมินเองว่าภาพที่เราจะถ่าย เราควรโฟกัสตรงไหน เช่น กล้องรับรู้ถึงโทนผิวของคน ลักษณะของภาพที่จะถ่ายเป็นยังไง กล้องมันจะเลือกเอง (เอาจริง ๆ ส่วนตัวผมไม่ค่อยใช้โหมดนี้นะ ผมมั่นใจการเลือกของผมเองมากกว่ากล้อง)

4. โหมด Group-Area Auto Focus Mode

โหมดนี้เป็นอีกโหมดที่น่าใช้ ตือเป็นการโฟกัสแบบกลุ่ม โดยทั่วไปเราจะเห็นจุดโฟกัสอยู่จุดเดียว แต่นี่เราจะเห็นจุดโฟกัสขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตามชื่อของมัน เราสามารถย้ายโฟกัสแบบกลุ่มนี้ไปที่เฉพาะพื้นที่ ที่เราต้องการได้ ซึ่งการโฟกัสแบบทั้งกลุ่มนี้ จุดโฟกัสที่แสดงผลให้เรารับรู้ว่ามันจะใช้จุดโฟกัสทั้งกลุ่มนี้นะในการโฟกัสกับตัววัตถุ โหมดนี้เหมาะกับการใช้ถ่ายภาพสัตว์ป่า และการถ่ายภาพกีฬาที่เราต้องการเจาะเฉพาะคนหนึ่งคนที่เคลื่อนไหว

5. Tracking Focus Area (กล้องโฟกัสติดตามวัตถุเอง)

เป็นโหมดที่กล้องเลือกจุดโฟกัสให้และทำการติดตามวัตถุให้เราเอง เหมือนกับการทำงานของมันจะจำคอนทราสต์ที่เราโฟกัสครั้งแรกไว้ เมื่อวัตถุเคลื่อนไหวมันก็จะตามวัตถุนั้นไปโดยอัตโนมัติเอง

6. โหมดโฟกัสอื่น ๆ ที่แล้วแต่ค่ายกล้องจะทำมาให้

อย่าง Sony มี Eye-Tracking Focus ที่จะเน้นวิเคราะห์ภาพใบหน้าและโฟกัสที่ตาให้เลยประมาณนั้น อันนี้แล้วแต่ว่าเราชอบโฟกัสแบบไหน และอะไรสะดวกกับเรา ไม่มีโฟกัสไหนดีที่สุดในโลก หรือโฟกัสนี้เก่งกว่าอีกแบบนึง อยากให้เข้าใจว่ามันอยู่ที่คนใช้ และคนใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับตัวเราเองครับ

อันนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการโหมดโฟกัสและการเลือกใช้งาน เพราะงั้นเราควรจะใช้โหมดแบบไหน จุดโฟกัสแบบไหนก็ให้เราเลือกใช้ให้เหมาะสมนะครับ 🙂

บทความอ่านเพิ่มเติม
– 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่ต้องรู้สำหรับมือใหม่
– รูรับแสงคืออะไร รวมพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้
– เคล็ดลับการตั้งค่า รูรับแสง – ความเร็วชัตเตอร์ – ISO
– Basic Photography รวมพื้นฐานการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

Exit mobile version