Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคถ่ายภาพ Cityscape ให้สวยและน่าสนใจ

10 เทคนิคถ่ายภาพ Cityscape มีหลายอย่างในการถ่ายภาพที่ทำให้เราได้ตื่นตาตื่นใจตลอดเวลา ในเรื่องของการถ่ายภาพ Cityscape ก็เหมือนกัน คือการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีโจทย์เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของเมือง แสงไฟ และบรรยากาศของสถานที่นั้น โดยเฉพาะในแต่ละประเทศที่ต่างกัน ก็เป็นเรื่องราวที่แตกต่างอารมณ์กัน ในวันนี้เรามาดู 10 เคล็ดลับในการพิชิตภาพ Cityscape ซึ่งจะช่วยเติมแรงบันดาลใจ และเป็นวิธีในการที่จะช่วยให้เราถ่ายภาพ Cityscape ได้สวยขึ้นครับ

10 เทคนิคถ่ายภาพ Cityscape ให้สวยและน่าสนใจ

1. ช่วงทไวไลท์ คือช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพ Cityscape

เริ่มที่เรื่องใกล้ตัวก่อน เคยสังเกตตากล้องแบกขาตั้งวิ่งตาล่าแสงในเมืองหรือเปล่า ช่วงนั้นจะเป็นช่วงสักห้าโมงครึ่ง ถึงหกโมง หลังจากนั้นเขาจะเริ่มจับจองสถานที่ซึ่งจะถ่ายภาพแบบเน้น ๆ เพื่อภาพที่ดีที่สุดเพียงภาพเดียว

การถ่ายภาพ Cityscape ถ้าเราเลือกถ่ายภาพช่วงทไวไลท์จะทำให้ได้สีของท้องฟ้าที่สวยงาม Image available on https://www.peakpx.com/

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกนั้นท้องฟ้าจะมืดลง ในขณะที่ในเมืองจะเริ่มเปิดไฟและมีแสงสว่างด้านล่าง ดังนั้นช่วงเวลา Twilight จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพเมือง ไฟอาคารสว่างขึ้นก่อนท้องฟ้าจะมืดลง และความสมดุลนี้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เราต้องพร้อมและเป็นช่วงเวลาถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมที่สุด คุ้มค่ามากที่เราจะถ่ายภาพ

2. พยายามถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ของท้องฟ้า มุมเมือง และควรมีเลนส์มุมกว้างไว้กับตัวด้วย

การถ่ายภาพ Cityscape ในยุคนี้จะให้แนะนำว่าเลนส์กว้างอย่างเดียวก็คงไม่ถูกทั้งหมด เพราะยุคนี้ถ่ายภาพ Landscape ได้ทั้งเลนส์ Wide และ Telephoto แต่ที่แนะนำให้สำหรับคนเริ่มต้นก่อนคือ เลนส์มุมกว้าง ระยะสัก 12-35mm (เมื่อเทียบกับกล้อง Full Frame) ระยะนี้กำลังดี และเริ่มต้นได้ง่าย อย่างน้อยมุมกว้างก่อนก็เก็บรายละเอียดได้เยอะครับ

การใช้เลนส์มุมกว้างทำให้เก็บรายละเอียดได้ยิ่งใหญ่ Image by Carlos Arribas available on https://www.pexels.com/

และสิ่งสำคัญของการถ่ายภาพเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ก็มักจะใช้เลนส์ Wide ในการเก็บเนื้อหากว้าง ๆ เก็บไว้ในภาพใบเดียว พยายามฝึกจัดมุมมองให้ถ่ายทอดได้ว่า ท้องฟ้ายิ่งใหญ่ กว้าง จะทำให้รู้สึกถึงภาพ Cityscape ที่ดูมีพลังมาก

3. ใช้ขาตั้งกล้อง, สายลั่นชัตเตอร์

Image by Burst available on https://www.pexels.com/

เคยพูดในเรื่องการถ่ายภาพ Night Photography ไปแล้วในเรื่องของการถ่ายภาพในที่แสงน้อย หลักการเดียวกันคือการถ่ายภาพในช่วงเวลา Golden Hours หรือช่วง Twilight นั้นต้องจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะเราต้องการความนิ่งของกล้อง เพื่อให้ภาพคมชัดที่สุด และต้องการเปิดม่านชัตเตอร์นาน ๆ ขาดไม่ได้แน่นอนคือขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ครับ

4. มองหาเส้นนำสายตาที่น่าสนใจอยู่เสมอ

พื้นฐานเรื่องการถ่ายภาพยังไงก็ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้เส้นนำสายตา เพราะมันทำให้ภาพ Cityscape ดูมีมิติมากขึ้น ทำให้เห็นมุมมอง ความลึกของภาพ และทำให้ภาพดูน่าสนใจ ดึงดูดสายตาของผู้ชม จากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดสุดท้ายของเส้นนำสายตา

Image by Burst available on https://www.pexels.com/

นอกจากนี้เส้นนำสายตาอาจจะไม่ต้องเกิดจากมุมเมืองตรง ๆ ก็ได้ อาจจะเป็นการเคลื่อนไหวของรถบนถนน ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอย่างเลยแหละ บางครั้งภาพ Cityscape ก็ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นภาพเมืองใหญ่ ๆ ยัดในภาพ ๆ เดียวก็ได้ อาจจะเป็นภาพส่วนนึงของเมืองที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในภาพก็ได้ ดังนั้นการถ่ายภาพ Cityscape จะสมบูรณ์แบบมากถ้าเราใช้ทั้งเส้นนำสายตา การเล่าเรื่องราว อารมณ์ของสีภาพเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ภาพถ่ายของเราดูมีชีวิตขึ้นมาเลยล่ะ

5. ในตอนกลางคืน มองหาจุดในเมืองที่ดูวุ่นวาย พลุกพล่าน รถติด สร้างความสวยงามด้วยเทคนิค Long Exposure

การที่มีรถแออัด สามารถถ่ายให้เป็นเส้นด้วยการใช้เทคนิค Long Exposure Image by Peng LIU available on https://www.pexels.com/

แค่ชื่อหัวข้อก็ยาวแล้ว ฮ่า ๆ ที่จริงแล้วในการถ่ายภาพ Cityscape ช่วงเย็น ๆ ค่ำ ๆ ลองสังเกตพฤติกรรมคนนะ ถนนรถจะติด คนจะกลับบ้าน เร่งรีบวุ่นวาย ไฟตามตึก ถนน รถ ก็จะเปิดสว่าง เราสามารถใช้ความแออัด วุ่นวาย เคลื่อนที่ไปมา สร้างความโดดเด่นด้วย Long Exposure ทำให้มีเส้นนำสายตาที่สวย บวกกับไฟของตึกที่ดูน่าหลงใหล บวกเลนส์มุมกว้างที่ถ่ายทอดภาพที่ยิ่งใหญ่ ภาพไม่สวยก็ให้มันรู้ไปสิ ^^ ไม่เชื่อลองทำดูได้นะครับ

6. ใช้น้ำพุของเมืองหรือแม้น้ำเป็นหนึ่งในองค์ประกอบภาพเพื่อสร้างจุดสนใจ

เราอาจจะสังเกตเห็นภาพ Cityscape มักจะมีพวกแม่น้ำ หรือว่าน้ำพุ อยู่ในภาพเสมอ เพราะมันแสดงถึงความเงียบสงบ ความสลาย เมืองที่น่าอยู่ ยิ่งการใช้ Long Exposure จะทำให้น้ำดูนิ่ง สงบ แสงไฟในเมืองทอดยาวลงมาสะท้อนน้ำด้านล่าง

การใช้น้ำพุสร้างจุดสนใจให้กับภาพ Cityscape ได้นะ Image available on https://www.pexels.com/

7. มองหา Pattern ในภาพ Cityscape

มันมีแพทเทิร์นในภาพแบบนี้ด้วยเหรอ มีสิครับ 🙂 เพียงแต่ว่าอาจจะต้องสังเกตเยอะหน่อย มันอาจจะป็นแพทเทิรน์ของตัวตึกเอง หรือว่าเส้นสี หรือว่ารายละเอียดอื่น ๆ ที่อาจจะโผล่มา ถ้าโจทย์นี้เราอาจจะยังไม่ชิน ฝึกถ่ายแบบอื่นก่อนก็ได้ครับ แล้วพยายามดูภาพตัวอย่างของการถ่ายภาพแนว Citysacpe ที่เล่นจุดเด่นด้วย Pattern ดูก็ได้ครับ

ภาพถ่ายมุมเมืองสามารถสร้างความแปลกตาได้ โดยการเลือกใช้ Pattern ในการนำเสนอเรื่องราว Iamge avaialble on https://pxhere.com/

8. อย่ากลัวที่จะมีคนติดอยู่ในภาพ ไม่เป็นไรหรอก

บางคนคิดว่าการถ่ายภาพ Cityscape ห้ามมีสิ่งมีชีวิตอยู่ในภาพเลย พวกคน หรืออะไรก็ตาม จริง ๆ แล้วไม่ใช่หรอก การถ่ายภาพ Cityscape เราก็มักจะถ่ายทอดความเป็นเมืองนั้นลงไป บางครั้งสิ่งที่เรารู้สึกว่าดูแย้งกันอย่างคนที่อยู่ในภาพ กลับเติมรายละเอียดให้กับภาพในเมืองนะ เพราะมันดูมีชีวิตขึ้น เมืองก็ต้องมีคนอยู่สิ คนในเมืองนั้น เวลานั้น แต่งตัวยังไง เขากำลังไปไหน หรือกำลังบอกอะไรในภาพ จะเห็นได้เลยว่าภาพถ่ายมันมีเรื่องราวเข้ามาเยอะขึ้น

Image by Helena Lopes available on https://www.pexels.com/

9. ถ้าสถานที่นั้นไม่ให้ใช้ขาตั้งกล้อง – ให้ใช้สติ, เคารพสถานที่, ใจเย็น แล้ววางแผนการถ่ายภาพ

มันมีหลายสถานที่ซึ่งเขาไม่ได้ให้ใช้ขาตั้งกล้องในการถ่าย บางคนถึงกับโวยวาย หัวร้อน หรือหนัก ๆ เข้าขี้เกียจถ่าย ไม่มีอารมณ์ถ่าย จริง ๆ แล้วเราจะแหกกฎไปแบบไม่สนโลกก็ได้ แต่ถ้าเราลองคิดดี ๆ ช่างภาพหลายคนต้องเจอสถานการณ์แบบนี้ เราควรจะจัดการกับเงื่อนไขในการถ่ายที่ต่างออกไปได้ยังไง

ตึกที่ไปถ่ายภาพ Tokyo Station ไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องได้ ก็พยายามวางไว้กับราวเหล็กแทน ก็ยังพอได้ภาพสวย ๆ มาบ้าง Image by Keisuke Higashio available on Unsplash

เราอาจจะเริ่มที่การใช้ความสามารถของกล้อง เช่น กันสั่นของกล้องและเลนส์เพื่อประคอง Shutter Speed ให้ต่ำที่สุด แล้วค่อย ๆ เพิ่ม ISO ตามที่เราถือไหว ให้ถ่ายภาพได้, หรือว่าเราจะวางกล้องไปกับขอบราวเหล็กก็ได้ (ผมเคยนะ) หรือว่าเราอาจจะถ่ายทอดภาพไปในมุมมองอื่นเลยก็ได้

มันมีหลายโจทย์ให้เราได้ทดลอง ขบคิด และแก้ปัญหาออกมาเป็น Workflow สำหรับการถ่ายภาพภายใต้ข้อจำกัด แล้วก็อย่าลืมว่าสิ่งที่เราทำได้ก่อนไปถ่ายภาพในสถานที่นั้น ๆ ก็คือการวางแผน ถ้าเราวางแผนล่วงหน้าได้ดี ปัญหาน้อยลง ใช้เวลาได้ดีขึ้น และได้ภาพถ่ายที่มากขึ้น ปัญหาที่น่าหงุดหงิดส่งผลกระทบต่ออารมณ์เราน้อยลงด้วย

10. ถ้าเจอสภาพอากาศไม่ได้ดั่งใจ ให้มองเป็นโอกาส (แต่ควรระมัดระวังตัวเองด้วย)

บางครั้งเราอาจจะเจอสภาพอากาศที่มันเลวร้าย ไม่อำนวย อย่างฝนตก พายุอะไรก็ว่ากันไป แต่ว่าหากมองเป็นโอกาสมันก็มีจุดที่น่าสนใจ เพราะเราไม่ได้เจอแบบนี้บ่อย ๆ หน้าที่ของเราคือการสร้างภาพออกมาจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ได้ (ถ้ามันไม่ได้เลวร้ายจนถ่ายภาพไม่ได้เลยอ่ะนะ)

บางครั้งท้องฟ้าอาจจะไม่เป็นใจ ให้เปิดใจและพร้อมแก้โจทย์ตามสิ่งที่อยู่ตรงหน้า Image available on https://www.pxfuel.com/

สิ่งสำคัญคือการถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ในภาพ และ.. ความปลอดภัยของอุปกรณ์ ความปลอดภัยของเราเองด้วย ฝนตกอาจจะมีความชื้น พื้นลื่น ระมัดระวังด้วยครับ สิ่งสำคัญคือการเปิดใจรับทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น เพราะธรรมชาติถือครองสิทธิ 99% ในการถ่ายภาพ ดังนั้นเราทำได้แค่ 1% คือ ทักษะ อุปกรณ์ การเตรียมตัว ที่ขาดไม่ได้เลยคือการฝึกฝนครับ

source :https://digital-photography-school.com/10-tips-better-cityscape-photography/

รวมบทความพื้นฐานสำหรับมือใหม่

Exit mobile version