Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 พื้นฐานการจัดวางองค์ประกอบในการถ่าย Landscape

การจัดวางองค์ประกอบสำหรับภาพถ่ายทิวทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการจัดวางวัตถุในฉากของเรานั้นเป็นเหมือนงานศิลปะชิ้นเอกที่จะให้ตัวแบบสื่อความหมายขององค์ประกอบของภาพทั้งหมด ซึ่งถึงแม้ว่าการทำตามกฎในการถ่ายภาพจะช่วยให้งานเราออกมาดีก็จริง ในขณะเดียวกันการแหวกกฎก็ทำให้ภาพถ่ายของเราดูน่าสนใจและสร้างความแปลกตาให้กับผู้ชม เราจะมาดูทิปส์ที่น่าสนใจที่จะช่วยให้การจัดวางองค์ประกอบของภาพถ่ายแนวธรรมชาติของเราพัฒนามากขึ้นกับ 10 พื้นฐานการจัดวางองค์ประกอบในการถ่าย LANDSCAPE

10 พื้นฐานการจัดวางองค์ประกอบในการถ่าย LANDSCAPE

1. การออกไปสำรวจพื้นที่

ก่อนที่เราจะลงพื้นที่ถ่ายทำจริงๆ ให้เราลองออกไปสำรวจพื้นที่แบบไม่พกพากล้องไปก่อน ให้เราเก็บรายละเอียดของสถานที่ด้วยการใช้กล้องโทรศัพท์ของเรา หรือการร่างภาพในหัวก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนและจะช่วยให้เราคุ้นชินกับสถานที่ การหามุมกล้อง แสง หรือวัตถุที่จะเข้ามาอยู่ในฉาก ว่าเราจะจัดวางองค์ประกอบได้อย่างไรเมื่ออยู่ในสถานการณ์จริง

2. การใช้เส้นนำสายตาช่วยดึงความสนใจไปยังวัตถุหลัก   

เส้นนำสายตาที่เราเรียกกันนั้น จะเป็นตัวช่วยในการนำทางของภาพว่าจะสื่อสารออกมาอย่างไร เส้นนำสายตายังนำไปสู่วัตถุหลักในภาพหรือจุดโฟกัส ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง เจ้าสิ่งนี้ยังช่วยให้ผู้ชมไม่หลุดโฟกัสในการชื่นชมภาพถ่ายของเราอีกด้วย

3. การแบ่งสัดส่วนฉากหน้า ฉากกลาง และฉากหลังให้กับภาพถ่าย

การแบ่งสัดสวนของ ฉากหน้า ฉากกลาง และฉากหลัง จะเห็นตัวอย่างได้บ่อยในการถ่ายภาพภูเขาที่จะแบ่งสัดส่วนได้อย่างชัดเจนระหว่างฉากหน้าจนถึงฉากหลัง ซึ่งเราก็สามารถปรับใช้ได้ในทุกสภาพแวดล้อมที่มีวัตถุในลักษณะคล้ายคลึงกันจะช่วยสร้างมิติให้กับภาพ การแบ่งเลเยอร์ในภาพยังช่วยในการวางแผนถ่ายภาพเพื่อการซ้อนภาพในกระบวนการ Post-processing ด้วย

4. การเคลื่อนไหวของวัตถุโดยใช้วิธีการถ่าย Long exposure

เทคนิคการถ่ายภาพลากความเร็วชัตเตอร์ให้นานขึ้น (Long exposure)  จะสร้างภาพที่ถ้าหากมีวัตถุรือสิ่งใดกำลังเคลื่อนที่ สิ่งนั้นจะเบลอ ดูฟุ้งไม่คมชัด ซึ่งเรามักจะใช้เทคนิค Long exposure ควบคู่กับการใช้ Landscape filter กับการถ่ายภาพน้ำตก ทำให้น้ำตกดูนุ่ม ฟุ้ง สวยงามมากขึ้น

5. ใช้การแบ่งสัดส่วนทองคำ     

การแบ่งสัดส่วนทองคำ คือ ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ใช้คำนวณหาสัดส่วนที่งามที่สุดในโลก ส่วนที่ของเส้นที่ถูกแบ่งตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิด อัตราส่วนทองและนี้เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด 1 : 1.618 ในแง่ของงานถ่ายภาพหลักการณ์นี้จะช่วยให้ผู้ชมนั้นเพ่งไปยังจุดโฟกัสของภาพ ซึ่งวิธีเป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อนนิดนึงแต่ให้เราฝึกฝนได้นะครับ

6. หาจุดสมดุลของภาพ

การวางจุดสมดุลให้กับภาพถ่ายนั้นเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ โดยพยายามจัดวางภาพให้ดูไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งทำให้น้ำหนักของภาพดูไม่สมดุลกัน ซึ่งจะส่งผลให้ภาพดูไม่น่าดึงดูด การสร้างสมดุลให้กับภาพถ่าย จะใช้วัตถุ แสง หรือ สีที่ปรากฏบนฉากนั้น เป็นตัวช่วยในการสร้างสมดุลของภาพได้

7. หาความสมมาตร

ให้หาจุดสมมาตรจากธรรมชาติ เช่น ภาพสะท้อนน้ำ หรือสะท้อนกระจก เทคนิคนี้มีลักษณะโดดเด่นและช่วยให้ภาพของเราดูสวยงามมากขึ้น การถ่ายภาพแนวธรรมชาติจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดสมมาตรในภาพถ่าย การหาสมมาตรให้กับภาพถ่ายจะใช้วิธีจากการสะท้อนของภาพในน้ำที่อยู่นิ่ง ทำให้เรามองเห็นภาพสะท้อนของท้องฟ้า ภูเขา หรือต้นไม้

8. ให้ความสนใจไปที่ฉากหน้า

ให้ความสำคัญกับฉากหน้าโดยวัตถุที่อยู่บริเวณส่วนฉากหน้าจะช่วยสร้างกรอบภาพและสามารถจัดวางองค์ประกอบของฉากให้ดูกว้างขึ้น เราต้องสร้างความน่าสนใจให้กับวัตถุที่อยู่ในฉากหน้าและขณะเดียวกันดึงส่วนนั้นที่จะนำสายตาให้มองลึกไปยังวัตถุที่อยู่ในฉากหลังด้วย

9.   ใช้คนเป็นวัตถุอ้างอิงเพื่อใช้เปรียบเทียบขนาด

เราใช้คนเข้าไปประกอบในฉากเพื่อทำให้เห็นว่าขนาดของภูเขาหรือทะเลนั้นมีความยิ่งใหญ่มากขึ้นเมื่อเทียบกับขนาดตัวคน วิธีการนี้จะช่วยเสริมให้องค์ประกอบของภาพดูน่าตื่นตาตื่นใจมาก เพราะจะได้สเกลภาพที่ดูใหญ่ขึ้นจากตัววัตถุทั้งสองแบบ ทั้งยังดูเป็นภาพสไตล์มินิมอลอีกด้วย

10. ปรับเปลี่ยนมุมมองของเราเพื่อสร้างกรอบภาพให้น่าดึงดูด

เราสามารปรับมุมมองบรรยากาศและสิ่งรอบตัวเราได้ ทั้งการมองผ่านเลนส์ระยะต่างกัน องศาการถ่ายภาพแตกต่างไป เช่น การถ่ายภาพมุมต่ำ มุมเสย มุมก้ม ซึ่งการปรับมุมมองจะช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์ให้กับกรอบภาพของเราและช่วยดึงความสนใจได้มากกว่าถ่ายจากมุมมองเดิมครับ

และสุดท้ายนี้หวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้เหล่ามือใหม่และมือโปรไม่มากก็น้อย ที่สำคัญคือฝึกฝนให้มาก อย่ากลัวที่จะลองผิดถูก ทุกอย่างคือการเรียนรู้และการปรับใช้เสมอ ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพในครั้งนี้นะครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความสำหรับมือใหม่

Exit mobile version