Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย และวิธีตั้งค่ากล้องที่ถูกต้อง

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย ทำยังไง ถ่ายภาพในที่มืดยังไงให้สว่างได้ เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่คนเพิ่งเริ่มถ่ายรูปจะถามเข้ามาบ่อย ๆ เพราะมักจะเจอเรื่องของภาพมืดบ้าง หรือไม่ก็ถ่ายแล้วภาพมันเบลอ หรือถ่ายภาพแล้วกล้องโฟกัสไม่ได้ ในวันนี้เรามาหาทางออกด้วยเทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อยกันครับ

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย และวิธีการตั้งค่าที่ถูกต้อง

1. ควรมีเลนส์ฟิกซ์ติดตัวเสมอ

ข้อดีของเลนส์ฟิกซ์ก็คือ ถูกออกแบบมาให้มีรูรับแสงได้กว้างมากในราคาที่ไม่ได้แพงเกินไป มีให้เลือกใช้ที่ F1.8 ในระดับเริ่มต้น ไปจนถึงระดับโปรหน่อยที่ F1.2 – F1.4 ซึ่งการที่มีรูรับแสงกว้างก็ส่งผลกับกายภาพโดยตรงคือ ปริมาณแสงเข้ามาที่กล้องมากขึ้น ทำให้เราได้แสงที่เยอะ ไม่ต้องลดความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป หรือดัน ISO สูงเกินไป เป็นพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพกลางคืนอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าจะเริ่มต้นถ่ายภาพ แล้วรู้ว่าจะต้องไปเจอสภาวะแสงน้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่น เที่ยวต่างประเทศ เที่ยวต่างจังหวัด ต้องไปในหลาย ๆ สถานที่ หรือเริ่มรับถ่ายงานอีเวนต์สนุก ๆ ยังไงก็ต้องมีเลนส์ Fix สัก 1 ตัวไว้สำหรับลุยในพื้นที่แสงน้อยครับ

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ Fix ที่มือใหม่ควรจะรู้

2. เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ฝึกใช้ให้ชำนาญ และฝึกใช้การโฟกัสแบบ Manual บ้าง

เมื่อมีเลนส์รูรับแสงกว้างไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ทำให้ปริมาณแสงเข้ามาที่ตัวกล้องเยอะที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ครับ เพียงเท่านี้่แสงเข้ากล้องเยอะแน่นอน แต่ว่าสิ่งที่ควรเข้าใจเพิ่มขึ้นมาคือเรื่องของจุดที่เราต้องฝึกเพิ่มคือ การควบคุมภาพและการถ่ายภาพของเรา

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

เมื่อเราใช้รูรับแสงกว้างขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการที่ระยะชัดมันจะน้อยลง หรือเกิดหน้าชัดหลังเบลอง่ายขึ้น เห็นโบเก้ง่ายขึ้น ซึ่งนั่นก็ดีแต่ก็แปลว่าเวลาที่เราถ่ายภาพคนสองคนในระนาบที่ต่างกัน คนนึงจะชัด อีกคนนึงเบลอแน่นอน ดังนั้นเราควรฝึกเรื่องของการถ่ายภาพบุคคลแล้วควบคุมระยะชัดให้เหมาะสมด้วย เช่น เวลาถ่ายภาพหมู่แล้วอาจจะต้องให้เขายืนในระนาบเดียวกันเพื่อควบคุมระยะชัดของทั้งสองคน เป็นต้น

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

ต่อมาอีกเรื่องนึงคือ บางครั้งถ้าแสงน้อยมากจริง ๆ กล้องอาจจะไม่น่ารักสำหรับเราก็ได้โดยเฉพาะการโฟกัสที่เริ่มวืดวาดมากขึ้น โฟกัสไม่เข้า มันเป็นเรื่องปกติเพราะงั้นฝึกใช้แมนนวลโฟกัสบ้างก็จะดีครับ ทำให้เราแก้ปัญหาได้ถ้าหากมันเจอปัญหาเบอร์นั้นจริง ๆ ก็นะ (แต่ไม่บ่อยหรอก)

รวมพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับการโฟกัสภาพ

3. ใช้โหมด M ในการควบคุมการถ่ายภาพในที่แสงน้อย

ทำไมต้องโหมด M ล่ะครับ? ก็เพราะว่าเราต้องการปรับตั้งค่าได้อย่างอิสระและเหมาะสมที่สุดตามที่เราต้องการ พอชำนาญแล้วเราค่อยใช้พวกโหมดช่วยเหลือ แต่สิ่งที่ต้องรู้คือการควบคุมการตั้งค่าทุกอย่างของกล้องด้วยตัวเราเอง

เราต้องรู้ว่าควรจะปรับอะไรตามลำดับ

โดยเริ่มที่รูรับแสงกว้างสุดก่อน จากนั้นมาปรับความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ให้น้อยลงในระดับที่เราถือได้ ถ่ายแล้วมือไม่สั่นมาก ภาพไม่เบลอ อาจจะสัก 1/30,1/60 ประมาณนี้ (อาจจะต่ำกว่านี้ได้ถ้ากล้องมีกันสั่นในตัว) หลังจากนั้นเราก็เริ่มดัน ISO ขึ้นให้เพียงพอต่อการถ่ายภาพกลางคืน

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

จะเห็นได้ว่า ISO คือตัวเลือกสุดท้ายเพราะการเพิ่มค่า ISO ที่มากขึ้นก็จะทำให้เราต้องเผชิญกับ Noise ในภาพมากขึ้น แต่ถ้ามองย้อนกลับไปการฝึกตั้งค่า รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องฝึกจนรู้ว่าสภาพแสงนี้ Shutter Speed ที่ต่ำที่สุด ที่กล้องเราทำได้และเราถือได้คือเท่าไหร่

รวมทุกบทความที่มือใหม่ต้องรู้เรื่องของโหมด M ตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถถ่ายโหมด M ได้เอง

4. ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำเพียงพอสำหรับการถือได้

มันต่อเนื่องจากข้อที่แล้วแต่เอามาย้ำเพิ่มนิดหน่อยเกี่ยวกับค่าความเร็วชัตเตอร์สำหรับการถือได้คืออะไร ความเร็วชัตเตอร์ที่น้อยลงมันส่งผลให้ปริมาณแสงเข้ามาที่กล้องมากขึ้น แต่มันก็มีข้อจำกัดคือกรณีที่เราไม่ได้ใช้ขาตั้ง ถ้าความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไปภาพมันจะเบลอ เราก็จะยกกล้องถ่ายด้วยมือตามปกติไม่ได้ (พวกถ่ายกลางคืนถึงแบกขาตั้งกันไง)

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือ ข้อจำกัดของอุปกรณ์ การตั้งค่าที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และความสัมพันธ์ของค่านี้ส่งผลกับภาพยังไงบ้าง เดี๋ยวมาไล่กันนะ

ค่าจำกัดของอุปกรณ์คือ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำที่สุดถ้าไม่มีกันสั่นอะไรเลยนะ ความเร็วชัตเตอร์ถ้าสัก 1/30 ภาพก็มีโอกาสเบลอเยอะขึ้นพอสมควรแล้ว ถ้าต่ำกว่านี้เราแทบจะต้องเกร็งตัวถ่ายเหนื่อยเหมือนกัน ดังนั้นเราควรรู้ว่าอุปกรณ์เราไปไกลสุดได้แค่ไหน

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

อย่างที่เคยบอกไปประมาณสองครั้งได้ ต้องรู้เลยว่าสภาพแสงแบบนี้แสงน้อยมันมาแน่ ต้องลดความเร็วชัตเตอร์มาไว้ที่เท่านี้เลย (ผมจะจำได้เลยนะ ว่าแสงแบบนี้ Speed ผมต้องลงมาที่ 1/60 เลย เปิดรูปรับแสง 1.4, ISO ไม่เกิน 1600 อะไรงี้ เพราะกล้องผมรุ่นเก่า แมนนวลเป็นหลักเลย) ดังนั้นเมื่อรู้จักการตั้งค่าที่เหมาะสม มันทำให้เราชำนาญและเหนื่อยน้อยลง

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

ต่อมาคือรู้ว่าการตั้งค่าแบบนี้มันส่งผลยังไงกับภาพ เช่น ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/60 เราอาจจะลดได้ต่ำกว่านี้ถ้ากล้องมีกันสั่น อาจจะตั้งความเร็วที่แบบ 1 วินาทีภาพนิ่งก็ทำได้นะกล้องสมัยนี้ แต่ต้องเข้าใจนะว่าภาพเบลอมันไม่ได้เกิดขึ้นกับมือเราสั่นอย่างเดียว มันจะมีคนที่เดินในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำแบบนั้นแม้กล้องไม่สั่น แต่คนก็เคลื่อนไหวเร็วจนภาพเบลอได้ ดังนั้นควรจะรู้ว่าถ้าเราตั้งค่าแบบนี้ ภาพจะออกมาแบบไหน ต้องรู้ให้ได้นะ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจถึงข้อจำกัดและประยุกต์การใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับนั้นให้ถ่ายภาพออกมาได้สวยเป็นอีกแบบนึง

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ Shutter Speed สำหรับมือใหม่ และพื้นฐานที่ต้องรู้ทั้งหมด

5. เลือกใช้กล้องที่มีระบบกันสั่นในตัว

กล้องที่มีระบบกันสั่นในตัวทำให้เราถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้สนุกขึ้นมากเลย เพราะมันไม่ต้องไปแตะที่ ISO เยอะเกินไป ในยุคนี้ถ้าสังเกตกล้องรุ่นใหม่ ๆ เขาจะใส่ระบบกันสั่นที่ดีมากมาด้วย ทำให้เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำมาก แต่ว่าภาพไม่สั่นเลยแหละ ดังนั้นก่อนเลือกซื้อกล้องศึกษาเรื่องการทำงานของกันสั่นของกล้องให้เข้าใจด้วยจะดีมากเลย

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

6. เลี่ยงการใช้งานแฟลชหัวกล้อง

ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้เลยนะพวกแฟลชหัวกล้องทั้งหลาย มันช่วยให้เราได้ภาพจริงทำให้เราได้ภาพเลย แต่ถ้าไม่จำเป็นควรฝึกใช้แสงธรรมชาติและการปรับตั้งค่ากล้องแบบแมนนวลเลยจะดีกว่า (มันเหมาะกว่า และได้ภาพสวยกว่าแน่นอน) เพราะงั้นฝึกการถ่ายภาพในที่แสงน้อยเยอะ ๆ นะ

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

7. เปิดใจในการใช้ ISO ที่สูงขึ้น เพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้

บางครั้งเราก็เปิดรูรับแสงกว้างแล้ว, ความเร็วชัตเตอร์ก็ต่ำแล้ว มันยังมืออยู่ทำยังไง ก็ใช้ ISO สิครับ บางคนบอกอ้างก็ Noise มันขึ้นนะ ใช่ครับ ขึ้นก็ขึ้นไงเพราะมันเป็นทางเดียวที่จะทำให้เราได้ภาพ ดังนั้นเปิดใจการใช้ ISO ที่สูงขึ้นเถอะนะ นอกจากนี้แล้วกล้องยุคนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ ISO ได้ชิล ๆ ที่ 3200,6400 ไปแล้ว ไหนจะเรื่องของการนำภาพไปใช้ ในระดับ ISO 6400-12800 เนี่ย งานพิมพ์ภาพขนาด A4 ภาพก็ไม่ได้ยับอะไรนะ (ผมลองแล้ว) มันใช้ได้เลย แถมอัพเฟซบุ๊คก็ยังสวย

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

แต่ถามว่าต้องไปถึงเบอร์นั้นไหมพวก ISO 6400-12800 น้อยนะ เพราะสภาพแสงแบบนั้นโคตรจะมืดมาก ๆ เลย ดังนั้นการใช้ ISO ที่ตั้งแต่ 1600-3200 ที่เรามักเจอบ่อย ๆ เปิดใจเถอะครับ มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นเลย

8. ขาตั้งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการถ่ายภาพกลางคืน โดยเฉพาะ Landscape

การถ่ายภาพกลางคืนหรือการถ่ายภาพ Landscape จะเห็นว่าเขาแบกขาตั้งกล้องกันเยอะเลย เพราะเขาต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำมาก ๆ โดยที่ ISO ยัง 100 อยู่ เพราะงั้นสิ่งสำคัญคือขาตั้งกล้อง ถ้าคุณเป็นสาย Landscape จ๋า ๆ หรือตั้งใจจะมาทางนี้ เลือกขาตั้งกล้องดี ๆ สักตัวไว้ได้เลย คุณจะได้อยู่กับมันอีกยาวทีเดียว

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

9. ควรมีแฟลชแยก และฝึกใช้แฟลชแยกถ้าต้องการถ่ายภาพบุคคล

อันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องมีนะ แต่ว่าถ้าใครอยากจะลงลึกเรื่องแฟลชจริง อยากถ่ายยิงขึ้นเพดานเหมือนช่างภาพที่รับงานอีเวนต์ทั้งหลาย (นิยมหันแฟลชขึ้นเพดาน) ก็ซื้อแฟลชแยกมากใช้ครับ แล้วก็ฝึกใช้ เอาจริง ๆ ถ่ายภาพบุคคลอยู่ในตึกปกติก็ใช้อยู่นะ มันไม่ต้องทำให้เราลด Speed ต่ำเกิน หรือเพิ่ม ISO เยอะเกินไป แต่ต้องฝึกใช้ให้คล่องแค่นั้นเอง

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

10. ฝึกการแต่งภาพขาวดำ หรือโทนฟิล์มบ้าง

อันนี้แนะนำเลย ถ้าต้องดัน ISO ไประดับ 6400-12800 หรือมากกว่านั้น การแต่งภาพขาวดำมันให้อารมณ์ภาพฟิล์มครับ ต่อให้ Noise เยอะ แต่เมื่อแต่งภาพขาวดำปุ๊บ มันดูดีนะ ลองดูได้ครับพวกภาพงานแต่ง งานคอนเสิร์ต งานพิธีทั้งหลาย ถ้าเจอแสงน้อย ๆ แสงกวนในภาพแปลก ๆ ปุ๊บ เขาจะแต่งภาพเป็นขาวดำเลย เวิร์คแน่นอน

11 เทคนิคถ่ายภาพในที่แสงน้อย – มีเลนส์ฟิกซ์ไว้ สบายใจมากเลยแหละ, กล้องถ่ายรูป, เลนส์ Fix, Mirrorless, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Basic Photography

11. ฝึกพื้นฐานการถ่ายภาพให้มากขึ้น และควรคุ้นเคยกับขีดจำกัดของอุปกรณ์ที่เรามี หลีกเลี่ยงการใช้โหมด Auto ทั้งหลายก่อน

สุดท้ายแล้ว หากไกลพวกโหมด Auto ทั้งหลายกันเถอะ ถ้าเรายังไม่เข้าใจการทำงานพื้นฐานของกล้อง โดยเฉพาะโหมด M แล้วล่ะก็ แนะนำให้ฝึกนะ เพราะมันทำให้เราควบคุมกล้องและการทำงานของกล้องได้อย่าง 100% มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญฝึกพื้นฐานการถ่ายภาพให้ได้เยอะ ๆ นะครับ

> รวมพื้นฐานการถ่ายภาพที่ควรรู้ <<

รวมบทความการถ่ายภาพพื้นฐานสำหรับมือใหม่

– การตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย
– ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เรื่อง ISO
– คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ
– 7 ไอเดียการฝึกถ่ายรูปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นกล้อง
– 10 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version