Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

20 เคล็ดลับและข้อควรรู้สำหรับช่างภาพมือใหม่

20 เคล็ดลับและข้อควรรู้สำหรับช่างภาพมือใหม่ ทริคในการถ่ายภาพดี ๆ ที่เราเคยได้ยินมานักต่อนักจากผู้คนรอบข้างอาจจะสร้างความสับสนให้กับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ มีทั้งข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งฟังแล้วดูซับซ้อนและทำตามยาก บทความที่เกี่ยวกับทริคในการถ่ายภาพมีให้เลือกอ่านมากมาย บางบทความดึงความสนใจจากผู้อ่านได้ดีแต่เมื่อลองอ่านแล้ว กลับไม่ได้อะไรจากตรงนั้นเลยก็มี

สิ่งที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้คือสิ่งที่มักเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดถ่ายภาพในช่วงหนึ่งถึงสองปีแรก เราจะมาศึกษาและหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

20 เคล็ดลับและข้อควรรู้สำหรับช่างภาพมือใหม่

1. ในภาพถ่ายที่ดูโดดเด่นสวยงามจะประกอบด้วย 70: 20: 10

ความหมายก็คือในภาพ 1 ภาพ 70% จะประกอบไปด้วยสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ เช่น วัตถุสิ่งของ ตึกอาคาร ผู้คน ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแบบ , 20% จะเป็นวิธีการและเทคนิคในการถ่ายภาพ และอีก 10% จะเป็นวิธีการตัดต่อแก้ไขภาพในกระบวนการ Post- Production  

แต่ถ้าหารเราเทความสนใจไปกับอุปกรณ์ การตั้งค่าอุปกรณ์ หรือการไปโฟกัสกับทริคที่มันเฉพาะตัวมากๆ เกินไป ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจจะไม่ได้จะยังไม่ใช่สิ่งที่เราควรใส่ใจมองหาในช่วงเริ่มต้น นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ได้เกิดการเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ภาพดีๆออกมา 

2. เคล็ดลับที่ดีในการถ่ายภาพคือการถ่ายทอดจินตนาการของเราออกมาให้ชัดที่สุด

ให้เราถ่ายทอดความคิด ทัศนคติ สไตล์และจินตนาการของเราผ่านทางภาพถ่ายมากกว่าที่จะให้ความสำคัญไปกับ ฟีเจอร์ของกล้อง การตัดแต่งหรือตัวอุปกรณ์ที่ใช้ แต่ให้เราถ่ายทอดความเป็นตัวเราออกมาเล่าเรื่องและแสดงความเป็นตัวตนของเราให้ได้มากที่สุด 

3. พยายามทำความเข้าใจคำว่าอะไรดียอดเยี่ยมให้ได้เร็วที่สุด

ช่างภาพจะต้องมีรสนิยมที่ดีด้วยเหมือนกัน  การพยายามพาตัวเองไปอยู่ในกลุ่มคนที่ชอบงานถ่ายภาพเหมือนกัน หรือในอุตสาหกรรมงานถ่ายภาพ แล้วเราจะเรียนได้รู้เองว่า การถ่ายภาพออกมาได้ดีนั้นเป็นอย่างไร เพราะเมื่อเราได้คลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อยๆ เราจะพบเองว่าผลงานบางชิ้นที่คิดว่าดีแล้ว ยังสามารถทำให้ดีขึ้นได้ พยายามฝึกฝนไปเรื่อยๆ และคอยวัดระดับ ประเมินผลงานการถ่ายภาพของตัวเองอยู่ตลอดว่าเราอยู่ในระดับไหน  ก็จะช่วยให้พัฒนาการถ่ายภาพได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นด้วย

4. เสพย์งานศิลป์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

นอกจากเราจะซึมซับการถ่ายภาพ เราควรจะหาแรงบันดาลใจจากงานศิลป์ในด้านอื่นๆด้วย เช่น งานจิตรกรรม ภาพยนตร์ งานประติมากรรม ตามความสนใจของเราเอง เพื่อหาจุดเด่นจากการผสมผสานระหว่างงานศิลป์กับการถ่ายภาพให้ไม่เหมือนคนอื่น 

5. ในระยะแรกเริ่ม “สไตล์ของตัวเอง” ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล

รูปแบบหรือวิธีการถ่ายภาพในช่วงระยะแรกนั้นคือการลองผิดลองถูก ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ว่าเราถนัดหรือมีความชอบแบบไหน ก็ไม่แปลกที่ช่างภาพมือใหม่จะถามคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่า สไตล์ของเราคือสไตล์ไหนและพยายามที่จะค้นหาสไตล์ ความถนัด และความเป็นตัวเอง

6. 3 องค์ประกอบที่มีผลต่อแสง (ความเร็วชัตเตอร์,  รูรับแสง , ความไวแสง) 

คนส่วนมากมักจะมองข้ามในส่วนที่สำคัญส่วนนี้ไป ซึ่งใความเร็วชัตเตอร์,  รูรับแสง , ความไวแสงจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งผลต่อภาพถ่ายโดยตรง ซึ่งวิธีการฝึกก็คือให้ฝึกที่จะปรับการตั้งค่าเอง เริ่มจากการฝึกปรับทีละค่า จากนั้นเราก็จะเริ่มเห็นความสัมพันธ์ของทั้งสามค่า ลองฝึกปรับการถ่ายภาพให้ชัด การถ่ายภาพให้เบลอ หรือการถ่ายภาพให้ดูมีมิติ ต้องปรับค่าแต่ละอีกอย่างไรบ้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของภาพที่เราจะถ่ายด้วยว่าเราอยากจะให้ภาพสุดท้ายออกมาในลักษณะใด 

7. อย่าเพิ่งโฟกัสกฏในการถ่ายรูป

สำหรับมือใหม่นั้นอย่าเพิ่งคำนึงถึงกฏในการถ่ายภาพมากไป เช่น กฏสามส่วน, เส้นนำสายตา, การวางเฟรม สิ่งเหล่านี้อยากให้เราได้ศึกษาในเชิงลึกไปอีกว่าทำไมกฏพวกนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไรและส่งผลต่อภาพถ่ายของเรายังไง เมื่อเวลาที่เราออกไปถ่ายภาพนั้น เราจึงจะสามารถดึงกฏเหล่านี้มาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามตามที่ต้องการได้

Composition Proportions guidelines set, attention spot of rule of thirds template in any aspect ratio monitors display

8. เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและออกไปฝึกถ่ายภาพให้ได้เยอะที่สุด

ถ้ามองดูผิวเผินการถ่ายภาพมันเหมือนจะดูง่าย แค่กดชัตเตอร์แล้วถ่าย แต่การที่จะเป็นระดับมือโปรนั้นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนอย่างมากพร้อม กับหาค้นหาสไตล์ในการถ่ายรูปของตัวเอง เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเวลาที่เราออกไปถ่ายภาพ ดังนั้นเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและออกไปฝึกถ่ายภาพให้ได้เยอะที่สุดครับ

9. วางแบบแผนในการฝึกฝนทักษะในการถ่ายภาพ

งานถ่ายภาพมีทักษะย่อยๆ มากมายที่ต้องเรียนรู้ สำหรับมือใหม่นั้น อยากให้ลองหาสิ่งที่เราอยากเรียนรู้ไปทีละหัวข้อแล้วศึกษา ฝึกฝนมันอย่างให้เต็มที่ในทุกวัน จนเราเชี่ยวชาญ

10. มองหาความสำคัญของแสง

ศึกษาและฝึกทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงธรรมชาติ ลักษณะของแสงที่ดีจะเป็นในช่วง Golden Hour คือช่วงเวลาเช้าที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือช่วงบ่ายก่อนพระอาทิตย์ตกดิน แสงจะเป็นลักษณะสีเหลือทอง แสงไม่แข็ง เมื่อเวลาเราออกไปเก็บภาพในช่วงนี้ ให้เราฝึกสังเกตลักษณะของแสงและปรับใช้กับรูปแบบในการถ่ายภาพ

11. ทุกองค์ประกอบของภาพมีนัยยะสำคัญ

หน้าที่ของช่างภาพคือการทำให้ทุกสิ่งที่ปรากฏอยู่ภาพมีเรื่องราวและนำเสนอเรื่องราวในตัวของมันเองออกมา องค์ประกอบบางอย่างที่ปรากฎอยู่ในภาพที่ไม่มีเรื่องราว อาจจะส่งผลให้ภาพของเราไม่น่าดึงดูด ดูแล้วขาดความรู้สึกหรือไม่มีความเชื่อมโยงในภาพ

12. ให้ความสนใจอยู่ที่ตัวแบบหลัก

ภาพถ่ายทุกรูปต้องมีตัวแบบหลัก ที่จะเล่าเรื่องราวว่าช่างภาพต้องการสื่ออะไรออกมา และตัวแบบโดดเด่นในภาพยังไง ถ้ามีตัวแบบปรากฎมากกว่าหนึ่งช่างภาพจะต้องหาจุดเชื่อมโยงของแบบในภาพให้เจอด้วยเช่นกัน ในรูปถ่ายนั้นตัวแบบจะต้องชัดเจนมากด้วย ถือว่าท้าทายมือใหม่เลยทีเดียวในการถ่ายภาพที่จะต้องดึงตัวแบบให้โดดเด่นให้ได้

13. เรียนรู้ที่จะลองผิดลองถูก

บทบาทของช่างภาพนั้น  อย่าหยุดที่จะเรียนรู้การลองผิดลองถูก รู้จักการวางองค์ประกอบของภาพ หัดถ่ายภาพเยอะ ๆ เพื่อจะได้รู้ว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไร รูปแบบไหนที่ทำแล้วดี ถ่ายแบบไหนแล้วทำงานออกมามีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นแก่นแท้ของการเป็นช่างภาพที่มีประสิทธิภาพและเป็นสไตล์การถ่ายภาพด้วย 

14. ภาพถ่ายจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผ่านการปรับแต่ง

ช่างภาพส่วนมากจะนิยมใช้ไฟล์ RAW หรือเรียกตรงตัวก็คือไฟล์ดิบ ที่ยังไม่ผ่านการปรับแต่งอะไรเลย เพื่อว่าจะสามารถแก้ไขตกแต่งภาพได้อย่างเต็มที่และทำงานง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ปรับแต่งภาพที่เป็นไฟล์ดิบนั้นให้อารมณ์เหมือนเวลาที่เรากินสลัดแล้วไม่มีน้ำสลัด จะไม่มีชีวิตชีวา ไม่มีสีสันในตัวเอง การแต่งภาพก็เหมือนการเพิ่มรสชาติ ความมีชีวิตชีวาให้กับภาพนั่นเองครับ

15. ออกไปใช้เวลาร่วมกันช่างภาพคนอื่นเพื่อศึกษาแนวทางการถ่ายภาพ

ทริคข้อนี้คือการออกไปถ่ายภาพสถานที่เดียวกันกับช่างภาพคนอื่นๆ แล้วให้เปรียบเทียบแนวทางการถ่ายภาพแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเรากับช่างภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาแนวทางการถ่ายภาพของเรารวมถึงข้อควรระวังในการถ่ายภาพด้วยครับ

16. การให้กล้องปรับค่าอัตโนมัติให้ในกลุ่มโหมดออโต้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้

การใช้โหมดออโต้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด ทั้งโหมด P A T หรือจะโหมดอัตโนมัติเต็มฟังก์ชันก็ไม่ใช้เรื่องที่ผิดครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่างภาพมืออาชีพแล้วก็ตาม หลายครั้งการให้กล้องตั้งค่าบางค่าให้ เช่น ISO หรือค่าสมดุลแสงสีขาวให้ก็ทำให้งานง่ายขึ้นได้ เพราะการใช้งานกล้องและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จึงสามารถเลือกใช้โหมดกล้องที่แตกต่างกันได้ จะอัตโนมัติหรือควบคุมด้วยมือทั้งหมดก็ได้ครับ แต่ที่มักจะแนะนำให้ฝึกการใช้โหมดบังคับมือ ก็เพราะเราสามารถประยุกต์เข้ากับการถ่ายภาพได้หลายแบบ ทั้งยังสามารถปรับใช้กับอุปกรณ์เสริมในการถ่ายภาพด้วยครับ

17. พลังของการวางแผนและค้นหาสถานที่

เราสามารถใช้ Google Earth ในการค้นหาสถานที่ที่เราจะไป ศึกษาที่ตั้งและทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของแสงอาทิตย์อยู่ตรงจุดไหนของสถานที่นั้นๆ ช่วยให้เราเข้าใจภาพของสถานที่จริงก่อนที่เราจะไปถึงอีกด้วย 

18. ลงทุนกับเลนส์มากกว่าตัวกล้อง

สิ่งที่ควรรู้ว่าทำไมควรลงทุนกับตัวเลนส์มากกว่า นั่นก็เพราะเลนส์แต่ละตัว แต่ละระยะนั้นนั้นมีคุณสมบัติมากกว่าตัวกล้อง และเมื่อลงทุนกับแบรนด์กล้องสักหนึ่งแบรนด์ เราก็จะใช้ใช้แบรนด์นั้นไปในระยะยาว ดังนั้นลองสะสมคอลเลคชั่นของเลนส์ที่เป็นแบรนด์ตัวเดียวกันกับตัวกล้อง ก็จะช่วยให้เรามีตัวเลือกเลนส์ที่หลากหลายมากขึ้นและเหมาะสมกับการถ่ายภาพในแต่ละประเภทครับ

19. เรียนรู้ทักษะการใช้อุปกรณ์ เทคนิค และข้อควรระวังในการถ่ายภาพ

อุปกรณ์แต่ละตัวนั้นมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไปเช่น ในการถ่ายภาพบุคคล จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้แฟลช การใช้ไฟเสริม เพื่อช่วยให้ตัวแบบเด่นขึ้น ดูมีมิติ หรือเพื่อเห็นตัวแบบได้ชัดเจนมากขึ้น  ถ้าเวลาถ่ายภาพแนวสตรีท ก็จะต้องรู้เทคนิคในการถ่ายภาพแนวสตรีท ว่าต้องระมัดระวังเรื่องอะไร และมีเทคนิคอย่างไร ดังนั้นไม่ว่าจะถ่ายภาพประเภทใดก็ตาม จะต้องศึกษาเทคนิค การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ รายละเอียดของภาพถ่ายประเภทนั้น ๆ จะเห็นได้ว่านอกจากที่จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์แล้ว เราก็ต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิคควบคู่กันไปอีกด้วย

20.  ทำความรู้จัก ความยาวโฟกัส (Focal lengths) 

-ความยาวโฟกัสหรือ Focal Lengths คือระยะห่างระหว่างเลนส์จนถึงเซ็นเซอร์  ทักษะในการใช้เลนส์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่เราจะถ่ายด้วย ฝึกปรับใช้ระยะความยาวโฟกัสในค่าที่ต่างกัน จะทำให้เรารู้ว่าค่าเลนส์ระยะไหนมีจุดอ่อนหรือจุดแข็งยังไง สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับค่าเลนส์ทุกครั้งที่เราถ่ายรูป 

จบกันไปแล้ว สำหรับทริคดีๆ 20 ข้อ ในการสร้างพื้นฐานการถ่ายภาพที่เราจะนำไปปรับใช้ เรียนรู้ ทดลองให้ได้มากที่สุด การออกไปเผชิญสถานการณ์จริงสำคัญต่อการเรียนรู้ อย่าหยุดที่ลองจะผิดลองถูก อย่าหยุดที่จะฝึกฝน ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version