Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 วิธีฝึกเล่าเรื่องจากภาพถ่าย สำหรับคนเริ่มต้น

5 วิธีฝึกเล่าเรื่องจากภาพถ่าย สำหรับคนเริ่มต้น การถ่ายภาพไม่เพียงเเต่ถ่ายทอดความสวยงามเท่านั้น เเต่เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก เเละเรื่องราวที่เกิดขึ้น ให้คนที่มองได้เข้าใจในเรื่องราว เเละ สารที่ช่างภาพต้องการจะสื่อ การเล่าเรื่องในการถ่ายภาพคือความสามารถในการดึงผู้ชมไปยังฉากและบรรยากาศในขณะนั้น ภาพนั้นถ่ายทอดข้อความในแบบที่ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วม จุดสนใจและทำให้พวกเขาต้องการมากขึ้น หรือชี้นำให้ผู้ชมได้คิดไตร่ตรองก็ได้

การถ่ายภาพเเต่ละเเนว ก็จะมีคอนเซ็ปต์ที่ต่างกัน เช่น การถ่ายเเนวสตรีท และเเนววัฒนธรรม ที่ต้องใช้การเล่าเรื่องที่เข้มข้น สะท้อนความเป็นวิถีชีวิต ความมีเอกลักษณ์ของเเต่ละพื้นที่ ผู้คนที่มีการดำเนินชีวิตที่เเตกต่างออกไป เพราะเมื่อมองภาพเเล้ว ภาพได้สะท้อนให้เห็นเเละเข้าใจ โดยไม่ต้องมีคำบรรยาย

5 วิธีฝึกเล่าเรื่องจากภาพถ่าย สำหรับคนเริ่มต้น

1. หาข้อมูล รูปแบบการนำเสนอของการถ่ายภาพเเต่ละเเนว

หาข้อมูลของการถ่ายภาพเเต่ละเเนว เพราะเเต่ละชนิดเเต่ละประเภท มีการสื่อความหมายออกมาเเตกต่างกัน เเละเรื่องราวที่ต้องสื่อ ก็มากน้อยต่างกัน เช่น หากต้องไปถ่ายรูปอาหาร ก็ต้องถ่ายภาพอาหารอย่างไร เพื่อให้ดูน่าทาน เเละให้ผู้ชมรู้สึกถึงความอร่อย รสชาติของอาหาร ดึงดูดให้ลิ้มลอง เเต่ถ้าถ่ายเเนวท่องเที่ยว ก็ต้องคิดว่าจะดึงความสวยงามออกมาให้ผู้ชมได้เห็นอย่างไร ความยิ่งใหญ่เเละสวยงามของธรรมชาติ 

ดังนั้นหาข้อมูลเเละเเนวทางการนำเสนอ ก่อนที่จะลงมือถ่ายภาพ วางแผน เเละจัดเฟรม เพื่อได้ผลลัพท์อย่างที่ต้องการ

2. เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพ

พอพูดถึงเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ อาจจะทำให้หลายคนหนักใจ เเต่การตั้งค่ากล้อง การวางองค์ประกอบ การเข้าใจเรื่องสีสัน เเละเเสง จะช่วยให้ภาพที่ถ่ายออกมานั้น ดูโดดเด่น เเละสะดุดตา เเละถ้าภาพชัด องค์ประกอบดี เเสงสวยเเล้วจะช่วยให้การเล่าเรื่องชัดเจนขึ้น เช่นการจัดระยะชัดก็มีผลต่อการเล่าเรื่องโดยตรงเลยล่ะ

หากต้องการสื่อให้เห็นความสวยงามของธรรมชาติ ด้วยการถ่ายเเบบ Landscape ภาพจะต้องชัดทั้งภาพเพื่อเก็บรายละเอียดของสถานที่นั้น ๆ รูรับเเสงต้องเเคบ เเต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพบุคคล โฟกัสหลักต้องคมชัด ก็อาจจะไม่ต้องเก็บภาพพื้นหลังให้ชัดมาก ก็จะต้องปรับรูรับเเสงให้กว้างขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ช่างภาพต้องการจะให้เห็นอะไร เเละต้องการจะสื่ออะไรนั่นเอง 

ส่วนการเข้าใจเเสง ก็เป็นเทคนิคอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การตั้งค่าสมดุลเเสง ช่วงเวลาต่าง ๆ ของเเสงในเเต่ละวัน เพราะเเสงจะปรับอารมณ์ของภาพ ด้วยสีของเเสงในเเต่ละช่วงเวลานั่นเอง ดังนั้นนอกจากเทคนิคต่าง ๆ จะช่วยให้ภาพออกมาคมชัด เเต่ยังช่วยให้การสื่อสารออกมาชัดขึ้นด้วย

3. เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ถามขอความคิดเห็น และคำเเนะนำ 

ฉวยโอกาสจากเพจต่าง ๆที่สอนการถ่ายภาพ เพื่อช่วยในการพัฒนาด้านภาพถ่าย เข้ากลุ่มถ่ายภาพ เพื่อดูว่าภาพที่ถ่ายออกมา ยังต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ขอคำเเนะนำจากผู้ที่ถ่ายภาพมาก่อน ผู้มีประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพเเนวนั้น อ่านจากหนังสือถ่ายภาพ หรือ ง่ายที่สุดคือการอ่านจากภาพ วิเคราะห์ภาพโดยการเปิดดูภาพของช่างภาพที่ชอบ ภาพเเนวที่ชอบ ( follow ช่างภาพทั่วโลกได้จาก instagram) เเล้วดูรายละเอียดว่ามีการจัดองค์ประกอบอย่างไร แสงเเละสี ทิศทางของเเสง เส้นนำสายตา การจัดเลเยอร์ จุดโฟกัสของภาพ 

4. ความหลงไหล

ความหลงไหลในการถ่ายภาพเป็นเรื่องที่ดี ในช่วงเเรกของการเริ่มถ่ายภาพ จะมีความหลงไหล เเละใฝ่รู้ เเต่ถ้าระยะเวลาผ่านไป ความหลงไหลนั้นอาจจะหมดลง ดังนั้นพยายามนึกถึงตอนเริ่มต้นที่อยากจะถ่ายภาพ อย่าท้อใจเมื่อภาพที่ออกมาไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ พยายามพัฒนา เเละเรียนรู้ไป อย่าหยุดที่จะพัฒนา อาจจะลองเปลี่ยนเเนวการถ่ายภาพ เพื่อหาความหลงไหลที่มีในการถ่ายภาพอีกครั้ง 

5. ฝึกฝนจนชำนาญ

ถ่ายภาพอยู่เสมอมองหาจุดสนใจของภาพถ่าย เพื่อจะนำเสนอ ฝึกมองเเละสังเกต โพสภาพลง Instagram เพื่อดู feed back จากเพื่อน ๆ พกกล้องไปด้วยทุกที่ หาโอกาสออกเดินทางท่องเที่ยว เพื่อหามุมมองใหม่ เรื่องราวใหม่ ไม่เป็นไรที่ภาพจะออกมาไม่สวย ถ่ายไม่ดี ตราบใดที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ก็จะได้ภาพที่สวย เเละเล่าเรื่องราวได้ในซักวันหนึ่ง เเน่นอน 

รวมบทความถ่ายภาพ LANDSCAPE เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

source: https://digital-photography-school.com

Exit mobile version