Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 เทคนิคการใช้ ISO ในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับมือใหม่

14 การตั้งค่ากล้องพื้นฐานสำหรับมือใหม่

5 เทคนิคการใช้ ISO ในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับมือใหม่ การปรับแสงนอกจากจะตั้งค่ารูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์แล้ว การปรับด้วย ISO ก็มีผลโดยตรงเหมือนกันที่จะทำให้ภาพของเราดูสว่างขึ้นได้ ในคอนเทนต์ตอนนี้จะเป็นไกด์ไลน์ที่ช่วยให้มือใหม่ได้ลองใช้ ISO ที่หลากหลายมากขึ้นในสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป และได้ฝึกฝนทักษะในการถ่ายภาพด้วย

เพิ่มเติมก่อนเริ่มเนื้อหานิดนึงนะครับ การปรับ ISO เพิ่มแสงสว่างของภาพโดยรวมได้ก็จริง แต่ก็มีข้อระวังในการใช้นั่นก็คือ การปรับ ISO ให้เหมาะสม ไม่ปรับให้สูงเกินไป ไม่งั้น Noise ในภาพก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วยครับ

5 เทคนิคการใช้ ISO ในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับมือใหม่

1. เริ่มต้นด้วย ISO 100-200 ถ่ายภาพในตอนกลางวันแสงสว่างปกติ – แสงจ้า

การใช้ ISO 100-200 สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ทั่วไป ทั้งการถ่ายภาพกลางแจ้ง แสงสว่างจ้า หรือตัวอาคารที่มีแสงสว่าง เพื่อช่วยให้กล้องได้เก็บรายละเอียดสีสันและแสงได้ครบ ซึ่ง ISO 100-200 เป็นค่า ISO ที่กล้องถ่ายภาพส่วนมากปรับได้อยู่แล้ว และข้อดีของการปรับ ISO ให้ต่ำก็คือเราสามารถปรับรูรับแสงให้กว้างได้ เพื่อให้ภาพเกิดมิติลึกตื้นที่สวยงาม

2. ใช้ ISO 400-1600 เพื่อถ่ายภาพในตัวอาคารที่มีแสงน้อยถ่ายภาพในช่วง Blue Hour (แล้วแต่สภาพแสงและภาพที่ต้องการจะได้)

ห้องที่แสงไม่พอ แสงน้อยเวลาถ่ายภาพมักจะเกิดอาการสั่นเบลอ ภาพไม่ชัด นอกจากจะเพิ่มรูรับแสง ลดความเร็วชัตเตอร์แล้ว เรายังสามารถปรับ ISO สูงขึ้นได้ด้วยเพื่อช่วยให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น ภาพชัดขึ้น แต่ถ้าไม่อยากเพิ่ม ISO เพราะกล้วว่าจะเกิดน็อยซ์ แนะนำให้ใช้ไฟเสริมเพิ่มความสว่างให้ตัวแบบ อาจจะให้แฟลช หรือไฟสตูดิโอก็ได้ครับ

3. ในตัวอาคารแบบโรงละคร ห้องประชุม งานพิธีการที่จัดในโรงแรมใช้ ISO 1600 หรือ ISO 3200

ห้องหรือตัวอาคารที่มืด อาจจะต้องอาศัยความนิ่งของช่างภาพ หรือต้องมีขาตั้งกล้องเพื่อช่วยให้ภาพไม่สั่นเบลอ เนื่องจากแสงไม่พอ ปรับรูรับแสงกว้าง หรือปรับความเร็วชัตเตอร์แล้ว ก็ยังคงเกิดปัญหา การเพิ่ม ISO ให้สูงขึ้นจึงเป็นอีกทางหนึ่งในการแก้ปัญหา และในบางงานไม่สามารถใช้งานขาตั้งกล้องได้ก็ปรับให้เป็น ISO 3600 ได้ ภาพอาจจะเกิดน็อยซ์ขึ้นบ้าง สามารถลดน็อยซ์ได้จากการแต่งภาพ ซึ่งก็ดีกว่าไม่ได้ภาพเหตุการณ์สำคัญครับ

4. ที่แสงน้อย โรงละคร หอประชุมและตัวแบบเคลื่อนไหว ใช้ ISO 6400

การถ่ายภาพในที่แสงน้อยก็นับว่ายากสำหรับมือใหม่แล้ว แต่การถ่ายภาพในที่แสงน้อยและต้องเก็บภาพการเคลื่อนไหวของตัวแบบ จึงเป็นการตั้งค่าที่ต้องใช้ทักษะพอสมควร ปกติแล้วการถ่ายภาพในที่แสงน้อยถ้ารูรับแสงถูกปรับให้กว้างขึ้น แสงจะได้เข้ามาเยอะขึ้น แต่ก็เสี่ยงที่จะได้ภาพไม่ชัด ดังนั้นปรับรูรับแสงให้แคบลง ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงประมาณ 1/250, 1/125 วินาทีเพื่อให้แสงเข้ามาเยอะขึ้น และปรับ ISO 6400 เพื่อปรับค่าแสงสว่างให้สูงขึ้น ถ้ายังไม่ได้ภาพคมชัดและสว่างอย่างที่ต้องการก็ลองปรับและหาความสัมพันธ์ของ รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ที่สูงขึ้น 

5. ถ่ายภาพตอนกลางคืน ที่มืดและอยู่ข้างนอก ISO 6400 หรือ 12800 (แล้วแต่ว่าอยากได้ภาพแบบไหน เพราะถ่ายกลางคืนอาจจะใช้ ISO ต่ำ ๆ แล้วทดแทนด้วย Shutter Speed ที่นานขึ้นได้)

การปรับ ISO ขึ้นสูงก็ช่วยในการถ่ายภาพในหลายสถานกาารณ์ ทั้งยังช่วยให้ได้ภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะกล้องจะอนุญาตให้เราใช้รูรับแสงที่แคบลง ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้น ภาพที่ได้จะชัดขึ้น อาจจะมีน็อยซ์เกิดขึ้นบ้าง ซึ่งเราสามารถแก้ไขน็อยช์ที่เกิดได้ใน Lightroom แต่เราไม่สามารถแก้ไขได้ ก็คือภาพที่เบลอครับ

ดังนั้นไม่ต้องกลัวที่จะเกิดน็อยซ์กลัวไม่ได้ภาพดีกว่าครับ ซึ่งกล้องและเลนส์ถ่ายภาพในปัจจุบันมีความสามารถในการถ่ายในที่แสงน้อยได้ดี เรื่องน็อยซ์จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ดังนั้นถ้าหากต้องถ่ายภาพตัวแบบในที่แสงน้อยมาก ถึงแสงมืดอยากจะให้ลองปรับ ISO ให้สูงขึ้นอาจจะลองปรับจาก 800 1600 3200 6400 และ 12,800 (หรือมากกว่านั้น) เพื่อหาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมของรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ที่เหมาะสม และให้ได้ภาพที่คมชัด สวยงามและมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version