Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ออกเเบบภาพให้ได้มุมมองใหม่ ๆ สไตล์ไม่ซ้ำเดิม

7 เทคนิคถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ออกเเบบภาพให้ได้มุมมองใหม่ ๆ สไตล์ไม่ซ้ำเดิม สำหรับมือใหม่เพิ่งเริ่มถ่ายภาพ อยากจะถ่ายภาพให้ดูสวย มุมดี เเต่บ่อยครั้งจบลงที่มุมมาตรฐาน เพราะไม่กล้าที่จะคิดออกนอกกรอบ หรือทำตามกฏอย่างเคร่งครัด กลัวถ่ายภาพเอียง กลัวภาพเบลอ กลัวจัดองค์ประกอบไม่พอดี

บทความนี้จะเเนะนำ 7 เทคนิคสำหรับมือใหม่ ออกเเบบภาพให้ดูเเปลก สไตล์ไม่ซ้ำเดิม  

7 เทคนิคถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ออกเเบบภาพให้ได้มุมมองใหม่ ๆ สไตล์ไม่ซ้ำเดิม

1. เข้าใกล้วัตถุ ซูมให้ลึก 

เมื่อตอนเริ่มต้นถ่ายภาพ อยากจะจัดวางองค์ประกอบให้ดูพอดี จึงกังวล เเละไม่กล้าที่จะทำเกินเลยไปจากกฏ โดยอยากจะทำให้ทุกอย่างพอดี สัดส่วนเเละขนาดพอเหมาะ ทีนี้ลองซูมเข้าไปเพื่อให้เห็นรายละเอียดระยะใกล้ ยังไม่ต้องสนใจว่าภาพจะถูกตัดหรือครอปภาพตรงจุดไหน

เพียงจดจ่ออยู่กับตัวเเบบ เเละดูรายละเอียด เเละถ่ายทอดรายละเอียดเล่านั้นออกมาก็พอ  ก็จะได้ภาพอีกเเบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นสไตล์ที่ชอบ หรืออาจจะหาตัวเองเจอในการถ่ายภาพเเนวนี้ก็ได้นะ 

2. นั่งลง นอนลง หรือ ก้มลง เพื่อถ่ายภาพ 

การเปลี่ยนองศาการถ่ายภาพ ก็ทำให้ภาพดูมีมุมมองที่เปลี่ยนไปได้ จากปกติที่ชอบยืนถ่ายภาพ โดยถ่ายภาพในระดับสายตา ลองถ่ายภาพโดยใช้มุมที่เปลี่ยนไป โดยการอยู่สูงกว่าตัวเเบบ นั่งลง คุกเข่า หรือเเม้เเต่นอนราบ เพื่อให้ได้มุมมองที่เเปลกใหม่ ซึ่งจากสถานที่เดียวกัน เพียงเปลี่ยนมุมมอง ก็จะสร้างความน่าสนใจให้กับภาพเเตกต่างกัน 

3. นอกจากเเสงธรรมชาติจะสร้างภาพให้สวยเเล้ว เเสงสังเคราะห์ก็สร้างภาพให้สวยได้เหมือนกัน

เเสงธรรมชาติเป็นเเสงที่ให้เเละสีสันที่สวยงาม เเละให้ความรู้สึกสมสมจริง เเต่การสร้างสรรค์ภาพ ไม่จำกัดเฉพาะการใช้เเสงธรรมชาติเท่านั้น เเต่การใช้เเสงสังเคราะห์ สีสันสังเคราะห์ ก็ทำให้ภาพสวยงามได้ ทั้งยังดูเเปลกตา เเละดูสวยงามน่าสนใจได้อีกด้วย 

4. สร้างภาพที่ดูเคลื่อนไหว ถึงจะเบลอ เเต่สื่อเรื่องราวได้ 

ทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ เพื่อการออกเเบบภาพได้ ไม่ว่าจะลากยาวเเบบ long exposure หรือจะหยุดการเคลื่อนไหวก็ปรับได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ด้วยเช่นกัน  การถ่ายภาพเพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหวหรือทิศทางการเคลื่อนไหว จะสร้างภาพเบลออยู่เเล้ว เเต่ประเด็นหลักก็คือการสื่อสารความหมาย หรือเรื่องราวภาพได้ดีหรือไม่เเค่นั้นเอง 

 

5. หา Pattern ที่น่าสนใจ 

ในธรรมชาติ หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่รอบตัว มีการจัดเรียงตัวรูปเเบบซ้ำ ๆอยู่อย่างมากมาย การถ่ายภาพตัวอาคาร ภาพวิว ธรรมชาติก็จะมีรูปเเบบ หรือ Pattern ให้ลองหาเเละถ่ายภาพ เช่นโครงสร้างตึก ราวสะพาน การจัดเรียงตัวของกลีบดอกไม้ ใบไม้เป็นต้น 

ดังนั้นมือใหม่สามารถหามุมมองที่คิดว่าน่าสนใจ เเละออกเเบบ นำเสนอออกมา ก็เป็นเเนวทางที่จำได้เรียนรู้ เเละเป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับภาพได้อีกด้วย 

6. ใช้ Foreground สร้างความโดดเด่นโดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาดที่เเท้จริง

การถ่ายภาพโดยเน้นที่ Foreground เป็นการถ่ายภาพโดยให้เห็น Foreground กินพื้นที่ในภาพกว่า  ครึ่งหนึ่งหรือ 2 ใน 3 ของภาพ เลยทีเดียว ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถบอกถึงขนาดที่เเท้จริงได้ เเต่จะได้ภาพที่สวยงามเเละโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ด้วย 

7. เปลี่ยนใช้เลนส์ระยะอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้ได้มุมมองภาพที่เปลี่ยนไป

จากเดิมใช้เลนส์ซูม ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาใช้เลนส์ไพร์ม หรือเลนส์ที่จำกัดเพียงระยะเดียว การเปลี่ยนเลนส์ เป็นการเปลี่ยนลักษณะการใช้งาน ทั้งยังมีลักษณะของภาพที่เเตกต่างกันไปอีกด้วย จึงสร้างความเเปลกใหม่ให้กับรูปภาพ

ส่วนเลนส์ที่ใช้ ไม่จำกัดว่า การถ่ายภาพ Portrait ต้องเป็นเลนส์ไพร์มเท่านั้น เเต่จริง ๆ เเล้ว ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ซูม เลนส์มุมกว้าง ก็สามารถถ่ายภาพ Portrait ออกมาได้สวยทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับการนำเสนอ เเละการออกเเบบภาพนั่นเอง  

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่าโหมดสำหรับมือใหม่ที่ควรรู้

source : photoschoolthailand.com

Exit mobile version