Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 มุมมองแบบ Cinematic ที่ช่วยให้ภาพสวยดูลงตัว สื่ออารมณ์

7 มุมมองแบบ Cinematic ที่ช่วยให้ภาพสวยดูลงตัว สื่ออารมณ์ เวลาเราดูละครหรือภาพยนตร์เราจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับบทบาทและเรื่องราวของที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอ บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่อง และกำลังทำกิจกรรมหรือเผชิญเหตุการณ์เหล่านั้นไปพร้อม ๆ กันกับตัวละครในเรื่อง 

การเล่าเรื่องในภาพยนตร์และการวางองค์ประกอบเพื่อเล่าเรื่องและสื่อสาร ได้ชัดเจนประกอบกันทั้งภาพและเสียงเพื่อให้เรารู้สึกและเชื่อมโยงกับตัวละครและเรื่องราวที่ดำเนินไป และทำให้รู้สึกอยากจะรู้และดูต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อจะไปยังตอนจบของเรื่อง ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันว่า 7 การจัดองค์ประกอบและมุมมองแบบ Cinematic ที่ช่วยให้ภาพสวยดูลงตัว สื่ออารมณ์มีแบบไหนและอะไรที่จะทำให้เรานำเอาไปประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพเพื่อสื่อสารเรื่องราวแบบนั้นได้บ้าง 

7 มุมมองแบบ Cinematic ที่ช่วยให้ภาพสวยดูลงตัว สื่ออารมณ์

1. ใช้มุมมองระดับสายตาเพื่อการดำเนินไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรหรือเหตุการณ์ธรรมดา

เรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ หรือการดำเนินไปของเรื่องโดยทั่วไปจะใช้มุมมองที่อยู่ในระดับสายตาเหมือนกับเรายืนมองเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

2. มุมมองผ่านไหล่เพื่อให้รู้สึกว่าได้ว่ากำลังมองและทำสิ่งเดียวกันกับตัวละคร 

การถ่ายภาพหรือวิดีโอโดยให้เห็นไลห่ของตัวละคร หรือมุมผ่านไหล่ มักจะเป็นมุมที่ใช้ถ่ายทำเพื่ออธิบายถึงการสนทนาระหว่างบุคคล การสัมภาษณ์ หรือกำลังมองหรือทำในสิ่งที่ตัวละครกำลังกระทำ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังทำกิจกรรมเดียวกันกับตัวละครในขณะนั้น โดยจะให้หัวไหล่ของตัวละครที่กำลังมองเป็นฉากหน้าและโฟกัสไปที่ตัวละครที่กำลังดำเนินเรื่องหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าตัวละครนั้นครับ

3. มุมตรงเพื่อสื่ออารมณ์ขณะนั้นได้อย่างเจาะจง

มุมตรงแบบให้ตัวแบบอยู่กลางภาพจึงเป็นการเน้นถึงตัวละครและอารมณ์ในขณะนั้นได้อย่างชัดเจน ในภาพยนตร์การสื่อสารด้วยสายตาจึงจำเป็นเพื่อให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวแบบ ในการถ่ายภาพก็เช่นกันถ้าหากต้องการจะให้ภาพสื่อสารอารมณ์ได้เต็มที่อารมณ์ทางสายตาจึงต้องให้ความสำคัญมากเห็นพิเศษ

4. มุมเอียงแบบ Dutch Angle เพื่อให้รู้สึกถึงความสับสน งุนงง ไม่มั่นใจ

มุมเอียงแบบ Dutch Angle เป็นมุมที่ถ่ายโดยให้เส้นขอบฟ้าเอียงออกไปทางทะแยงมุม ซึ่งปกติแล้วการถ่ายภาพเรามักจะถ่ายภาพโดยให้เส้นขอบฟ้าตรงเพื่อรักษาสมดุลภาพ แต่ในการถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์ที่จะสื่อถึงตวามลังเล ไม่มั่นใจ สับสน มักจะถูกนำเสนอในมุมภาพแบบเอียง บางครั้งก็หมุนเคว้งนั่นเองครับ

5. มุมมองแบบ Close- up สิ่งของเพื่อเติมรายละเอียด

มุมมองแบบ Close- up เพื่อเน้นประเด็นสำคัญของเรื่องราว เพื่อเป็นรายละเอียดของเรื่องราวที่ผู้สร้างต้องการให้เห็นความสำคัญของสิ่งของหรือเติมเต็มเรื่องราวโดยรวม หลายครั้งเราจะเห็นว่ารายละเอียดสิ่งของ เช่น นาฬิกา รูปภาพในภาพยนตร์มักจะเป็นประเด็นสำคัญในภายหลังและจะถูกวางไว้กลางภาพ เพื่อให้รู้ว่าสิ่งของนั้นสำคัญที่เราอาจจะพบเห็นได้ทั้งเรื่องครับ

6. มุมมองแบบกว้างเห็นภาพโดยรอบ เล่าเรื่องราวและบรรยากาศโดยรวม

ภาพมุมกว้างเพื่อให้เห็นตัวละครแต่ละตัว ว่ากำลังทำอะไร หรือมีการกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะนำเสนอเป็นการมุมบนหรือการถ่ายจากระยะไกลเพื่อให้เห็นภาพรวมเล่าเรื่องราวและให้เห็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

7. มุมมองแบบเงยขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจ มีอำนาจหรือความกว้างโอ่โถงของสถานที่หรือสิ่งปลูกสร้าง 

มุมเงยขึ้นเพียงเล็กน้อย มักจะใช้เพื่อเสนอถึงความยิ่งใหญ่ ความใหญ่โตหรือความกว้างขวางของสถานที่ แต่ถ้ามีตัวละครอยู่ในฉาก มักจะนำเสนอถึงความมั่นใจ อำนาจ พละกำลัง ของตัวละครที่กำลังดำเนินเรื่อง

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version