Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เรื่องสำคัญของการจัดวางองค์ประกอบภาพ

7 เรื่องสำคัญของการจัดวางองค์ประกอบภาพ การจัดวางองค์ประกอบของการถ่ายภาพในความคิดของคุณคืออะไร มือใหม่หลายๆคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าการวางองค์ประกอบภาพ ต้องใช้วิธีการไหน ต้องเอาคนและวัตถุจัดอยู่ส่วนไหนของภาพ การจัดวางเพื่อสื่อถึงความหมายและความรู้สึกจะทำได้ยังไง ก่อนที่เราจะไปดูว่ามีวิธีการจัดวางองค์ประกอบในการถ่ายภาพ เรามาทำความรู้จักว่าความหมายของมันคืออะไรและสำคญยังไงกันก่อนครับ

การจัดวางองค์ประกอบนั้นเป็นการจัดวางวัตถุเพื่อจะให้ตัววัตถุสื่อถึงเรื่องราวและอารมณ์ส่งไปถึงผู้ชม การจัดวางองค์ประกอบสำคัญพอๆ กับเทคนิคการถ่ายรูปพื้นฐานอย่างพวก ISO, White balance, Shutter speed ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้จะเราก็จะต้องแม่นใระดับหนึ่ง สิ่งที่ท้าทายในการถ่ายภาพคือ การจัดวางรูปแบบในการถ่ายภาพ

การจัดวางองค์ประกอบเป็นสิ่งที่สำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวในรูปภาพ สำหรับช่างภาพเพื่อจะไม่สร้างความสับสนให้ผู้ชมว่าภาพที่เห็นจะสื่อถึงอะไรในวันนี้เรามีทิปส์แนะนำในการจัดว่างองค์ประกอบในการถ่ายภาพที่จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นกันครับ

7 เรื่องสำคัญของการจัดวางองค์ประกอบภาพ

1. กฎสามส่วน (Rule of thirds)

หลายๆคนอาจจะเคยอ่านบทความเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพและคงเคยได้ยินคำว่า กฎสามส่วนกันมาบ้างแล้ว โดยทั่วๆไป แล้วสำหรับมือใหม่นั้น จะเน้นถ่ายให้ตัวแบบนั้นอยู่ตรงกลางของภาพ ซึ่งมันอาจจะทำให้ดูน่าเบื่อและไม่ดึงดูด

แต่ในกฎสามส่วนจะช่วยให้การแบ่งสัดส่วนได้ดีขึ้นโดยจะมีจุดตัดของเส้นแนวและแนวนอนที่ปรากฎบนจอแสดงผลให้เราพยายามให้แบบนั้นอยู่ภายในจุดที่เรากำหนดไว้  เวลาที่มองเห็นรูปแล้วเนี่ยจะเห็นได้ชัดเลยว่าการวางตัวแบบไว้ถูกจุดจะช่วยให้ภาพดูน่าดึงดูดและเต็มไปด้วยพลัง

2. การวางบุคคลหรือวัตถุไว้ที่จุดศูนย์กลางของภาพ (Center composition) 

เมื่อพูดถึงการจัดวางให้แบบอยู่ใจกลางของภาพแล้วนั้นก็อาจจะดูเดิมๆ น่าเบื่อไป ซึ่งการถ่ายภาพนั้นเป็นเหมือนงานศิลปะ ไม่มีอะไรตายตัว บางครั้งเราสามารถทำให้ภาพดูมิติมีระยะชัดมากขึ้น จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ เวลาที่เราใช้ทิปส์นี้ในการถ่ายภาพจะทำให้เราเข้าใจเรื่องของบาลานซ์ของภาพมากขึ้น การจัดวางองค์ประกอบแบบนี้ทำให้ภาพที่ได้นั้นดูสมจริงทางด้านอารมณ์ แม้ว่าการจัดวางจะดูธรรมดาแต่ให้ความหมายมาก  ถ้าเราถ่ายแบบแนวที่ใช้สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกแล้วละก็ อย่าลืมนึกถึงการถ่ายภาพแนวนี้

3. เส้นนำสายตา (Leading lines) 

เส้นน้ำสายหรือ leading lines ทำหน้าที่นำสายตาของผู้ชมไปยังจุดสนใจของภาพ ซึ่งวิธีนี้เป็นอีกวิธีในการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่ดี การถ่ายแบบใช้เส้นนำสายตาถือว่าท้าทายตากล้องมากๆเลยนะครับ การจะหาเส้นนำสายตาโดยใช้สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรานั้นบางครั้งไม่ได้เจอกันง่ายๆ แต่พูดถึงเส้นนำสายตาแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป จะเป็นเส้นโค้งก็ได้  เราสามารถวางตัวแบบหลักไว้ในจุดที่ดึงดูดสายตาของผู้ชมและมองเห็นได้ง่าย ในครั้งต่อไปให้ลองถ่ายโดยใช้เส้นนำสายตา พยายามมองหาเส้นนำสายตาที่น่าสนใจ จะทำให้ได้ภาพที่คมสวย 

4. ใข้ฉากหน้าเข้าช่วย ทำให้ภาพดูมิติมากขึ้น (Foreground interest) 

เวลาที่เราออกไปถ่ายภาพและเราพบว่าการถ่ายภาพที่เห็นแต่จุดตรงกลางจนไปถึงฉากหลังเนี่ย ภาพที่ได้จะดูทื่อๆไป ถ้าเรามองข้ามฉากหน้าไปนั้นองค์ประกอบของภาพก็ดูเหมือนจะขาดอะไรไป ทุกครั้งที่ถ่ายภาพอย่างลืมองค์ประกอบ อย่างเช่น ฉากหน้าที่จะช่วยทำให้ผู้ชมใช้สายมองเห็นตั้งแต่จุดเริ่มตนของภาพจนถึงสุดปลายของภาพ วิธีการนี้เป็นการให้ภาพได้เล่าเรื่องและสื่อสารถึงผู้ชม และยังเป็นการดึงความสนใจไปที่ตัวแบบที่ง่ายขึ้นอีกด้วย

5. ระยะเลนส์หรือทางยาวโฟกัส (Focal length)

วิธีการนี้จะสร้างความแปลกตาให้กับรูปถ่ายของคุณ แม้ว่าจะวางองค์ประกอบที่แสนธรรมดา แต่ระยะของเลนส์จะช่วยเพิ่มมุมมองที่ต่างออกไปในการใช้เลนส์ระยะเลนส์ที่ต่างกันก็จะได้องค์ประกอบของภาพที่ต่างกัน เช่น การถ่ายภาพแนวกีฬา จะต้องใช้ระยะเลนส์อยู่ที่ 200 – 300 มม. หรือการถ่ายภาพบุคคลใช้ระยะเลนส์อยู่ที่ 35- 85 มม. จนไปถึงการถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ที่จะต้องใช้เลนส์มุมที่กว้างขึ้น เพื่อเก็บภาพทั้งหมดภายในช็อตเดียว

6. รูรับแสง (Aperture) 

รูรับแสงเกี่ยวข้องยังไงกับการจัดวางองค์ประกอบ เนื่องจากว่ารูรับแสงนั้นมีผลต่อพื้นทีในฉากหลัง เมื่อเราถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่กว้างมากขึ้นจะทำให้ฉากหลังละลายและไม่อยู่ในโฟกัส ซึ่งจะทำให้วัตถุหลักโดดเด่นขึ้นมาต่อมาถ้าหากว่าเราต้องการที่จะถ่ายให้ฉากหลังให้อยู่ร่วมกับแบบหลัก เราก็จะเลือกค่ารูรับแสงที่ต่ำลงมา เช่น f/8 – f/14 เป็นต้น 

ทั้งสองวิธีจะให้องค์ประกอบของภาพที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง และขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่ารูรับแสงตามความเหมาะสมของประเภทงานที่ถ่ายด้วย

7. การจัดวางบุคคลลงในภาพเพื่อใช้เป็นขนาดอ้างอิง

เวลาที่เราถ่ายภาพวิว มันก็ยากที่จะทำให้ผู้ชมนั้นโฟกัสกับสิ่งที่ตากล้องอยากให้เห็น การมองหาระยะชัดลึกตื้นของภาพ ถ้าหากเราลองวางตัวบุคคลไว้ในองค์ประกอบของภาพ ผู้ชมก็จะพอมองออกว่าขนาดของวัตถุหรือสิ่งรอบๆนั้นมีขนาดกว้างหรือแคบแค่ไหน ระยะใกล้ไกล โดยวัดจากขนาดตัวของบุคคลอีกทีหนึ่ง ที่จะไม่ใช่มีแค่ภาพวิวเปล่าๆ ไว้ให้มองแค่พื้นที่ว่างๆ จะทำให้ภาพได้องค์ประกอบที่มีระยะ ขนาด ของภาพอยู่ในตัวมันเอง

จากข้อแนะนำทั้งหมด ในการจัดวางองค์ประกอบการถ่ายภาพนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นฐานการถ่ายภาพที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แค่นำมาปรับใช้กับการจัดวางองค์ประกอบของภาพ เพื่อให้ได้มุมมองที่แปลกตาและน่าค้นหา ที่ไม่จำเป็นจะต้องวางแบบให้ยุ่งยาก แค่จัดวางองค์ประกอบให้ง่ายเข้าไว้ ปรับใช้กับความรู้ที่เรามี เราก็จะได้วิธีการถ่ายภาพแนวใหม่ๆ ที่เพิ่มความสนุกกับการถ่ายภาพที่มากขึ้นครับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพได้ที่นี่

Exit mobile version