Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เคล็ดลับสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ

7 เคล็ดลับสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ เป็นเรื่องเริ่มต้นที่มือใหม่จะเจอประจำเพราะบ่อยครั้งเราถ่ายภาพออกมาแล้วจะรู้สึกว่า อ้าวทำไมภาพเบลอ ทำไมไม่ชัดอย่างที่คิดล่ะ ในวันนี้เดี๋ยวเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับพื้นฐานของมือใหม่กันครับ

7 เคล็ดลับสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ

1. โฟกัสให้เข้าก่อนกดชัตเตอร์ และเช็คโฟกัสทุกครั้งหลังถ่ายภาพ

คนที่เพิ่งเริ่มถ่ายภาพอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องการโฟกัสให้เข้ามากนัก ทำให้รู้สึกว่าภาพที่ถ่ายบางครั้งทำไมภาพเบลอ การโฟกัสให้เข้าคือการกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งนึ่งจนกล้องบอกว่าเราโฟกัสเข้าแล้ว (จุดโฟกัสมักเป็นสีเขียว) จากนั้นคือกดชัตเตอร์ให้สุดเพื่อให้กล้องถ่ายภาพ นั่นคือการโฟกัสให้เข้าครับ

อีกกรณีนึง บางครั้งกล้องอาจจะมีการขยับจากมือเราระหว่างกดชัตเตอร์ หรือตัววัตถุเคลื่อนที่จากระยะโฟกัส ทำให้ภาพเกิดการเบลอได้ (หลุดโฟกัส) ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นทุกครั้งที่ถ่ายภาพให้เปิดภาพแล้วเช็คเสมอด้วยว่าจุดที่เราโฟกัสนั้นชัดเจนตามที่คิดไว้หรือเปล่า

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบโฟกัส และการโฟกัสภาพ

2. ใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้มากพอที่จะหยุดภาพได้

ในการที่ภาพเบลอนั้นปัจจัยไม่ได้มีแค่เรื่องของความเร็วชัตเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่ว่ายังมีเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุด้วย ดังนั้นเราควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กันกับวัตถุที่มีความเคลื่อนไหวครับ สำหรับเรื่องความเร็วชัตเตอร์นี้ถ้าอยากจะเข้าใจแบบละเอียดว่าควรใช้เท่าไหร่ ผมแนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ที่ผมเคยเขียนไว้ครับ เพราะละเอียดที่สุดแล้ว

เคล็ดลับสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ, สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

อ่านบทความเรื่องความเร็วชัตเตอร์

3. เลือกจุดโฟกัสให้เหมาะสมกับภาพถ่ายนั้น

การเลือกจุดโฟกัสที่ถูกต้องก็มีผลเหมือนกัน เช่น ถ้าถ่ายภาพบุคคล จัดองค์ประกอบมาแล้วต้องการให้คนมองที่หน้าหรือสายตาของแบบ แต่ไม่ได้โฟกัสที่ตา ไปโฟกัสที่ผม หรือจุดอื่นที่ไม่ใช่สายตา ทำให้ภาพมันดูเบลอแบบแปลก ๆ ได้ เพราะจุดที่ควรจะชัดกลับไม่ชัด ดังนั้นเราควรโฟกัสให้ถูกต้องครับ ส่วนใหญ่ปัญหาจุดโฟกัสตรงนี้จะเกิดกับมือใหม่ที่อาจจะยังไม่เคยลองถ่ายภาพบุคคลมากนักครับ ลองฝึกกันได้ หรือลองอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคลดูก็ได้ครับ

เคล็ดลับสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ, สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

4. ฝึกควบคุมระยะชัดด้วยการใช้รูรับแสงให้แคบลง

เรื่องระยะชัดมีส่วนสำคัญที่ทำให้ขอบเขตของความชัดมันมากหรือน้อยนั่นเองครับ ทำไมเราต้องควบคุมระยะชัดด้วยล่ะ ง่าย ๆ ครับ แรกเริ่มเราอยากจะถ่ายภาพให้หน้าชัดหลังเบลอตลอด (ส่วนใหญ่ที่ผมเจอเป็นแบบนั้นนะ) แต่ว่าไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะทำแบบนั้นแล้วใช้ได้กับทุกภาพ โดยเฉพาะภาพวิวที่มีการถ่ายให้ชัดทั้งภาพ ดังนั้นการถ่ายภาพเราควรจะฝึกคุมระยะชัดด้วย ไม่งั้นภาพถ่ายวิวเราอาจจะไม่ได้ชัดทั้งภาพอย่างที่เราต้องการครับ

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

โดยหลักง่าย ๆ แล้วเมื่อใช้รูรับแสงเล็กลง หรือแคบลง (ตัวเลข F เยอะขึ้น) จะทำให้ภาพของเรามีขอบเขตในระยะชัดที่มากขึ้นครับ แต่ถ้าอยากเข้าใจเรื่องนี้อีกแบบละเอียด แน่นอนผมมีบทความเตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้วครับ อ่านต่อได้เลย หรือจะไปข้อต่อไปแล้วค่อยกลับมาอ่านก็ได้นะครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องรูรับแสงในการถ่ายภาพ

5. ใช้ระบบกันสั่นในตัวกล้องและเลนส์

กันสั่นในตัวกล้องและเลนส์ปัจจุบันทำได้ดีมากครับ เรื่องง่าย ๆ ที่จะทำให้กล้องเรานิ่งระหว่างที่เรากดชัตเตอร์คือ ใช้ระบบกันสั่นในตัวกล้อง และเลนส์ครับ ถ้าใครมีทั้งสองระบบก็เปิดทั้งสองเลย แต่ถ้าใครมีแค่ระบบกันสั่นแค่ที่กล้องหรือเลนส์ ก็ให้เปิดเท่าที่เรามีครับ จะช่วยให้เราชดเชยการสั่นไหวของกล้องได้ดีมากขึ้น

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

6. ฝึกประยุกต์ใช้หลายวิธีเพื่อถือกล้องให้นิ่งในยามจำเป็น

การฝึกท่าทางในการถ่ายภาพก็เป็นเรื่องจำเป็นเหมือนกัน บางครั้งเราอาจจะต้องพิงกำแพงเพื่อประคองกล้องให้นิ่งขึ้น หรือว่าต้องฝึกถือกล้องให้นิ่งครับ อันนี้อยู่ที่แต่ละคนถนัดแหละนะ นอกจากนี้การฝึกใช้ของอื่น ๆ เช่นกระเป๋า หรือเสื้อผ้ามาใช้วางกล้องให้นิ่งก็ได้เหมือนกัน ลองดูนะครับ มีโอกาสได้ใช้แน่นอน

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

7. ใช้ขาตั้งกล้องเมื่อต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ๆ และใช้รีโมทชัตเตอร์ด้วย

สุดท้ายแล้วคือการใช้ขาตั้งกล้องเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ๆ ต่ำจนเกินกว่าที่เราจะถือแล้วนิ่งได้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่าย Long Exposure ครับ ซึ่งขาตั้งเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ เลยนะ เป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ ควรจะมีขาตั้งดี ๆ ไว้สักตัวครับ นอกจากนี้การถ่ายภาพแนว Long Exposure ควรจะใช้รีโมทชัตเตอร์ร่วมด้วย เพื่อไม่ให้เราไปสัมผัสตัวกล้องระหว่างถ่ายภาพ มันทำให้ภาพเบลอนั่นเองครับ แต่ถ้าใครลืมรีโมทชัตเตอร์จริง ๆ ก็ใช้การจับเวลาถอยหลังแล้วถ่ายก็ได้แต่อาจจะไม่สะดวกเท่ารีโมทชัตเตอร์ครับ

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ, สอนพื้นฐานถ่ายภาพ, Basic Photography, กล้องถ่ายรูป, mirrorless

อ่านบทความสอนถ่ายภาพอื่น ๆ ที่มือใหม่ควรรู้

Exit mobile version