Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคการถ่ายภาพบุคคลแบบ Long exposure

ส่วนมากแล้วเราจะเห็นเทคนิคการถ่ายภาพแบบ Long exposure กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ในตัวเมือง การถ่ายภาพธรรมชาติ น้ำตก สายน้ำ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราสามารถใช้เทคนิคนี้ในการถ่ายภาพบุคคลได้ด้วย ทั้งยังให้ภาพที่ดูตื่นเต้น แปลกตาและน่าสนใจมากขึ้นด้วยครับ

7 เทคนิคการถ่ายภาพบุคคลแบบ Long exposure

1. เลือกสถานที่เพื่อสร้างสรรค์ภาพและถ่ายทอดเรื่องราว

สถานที่และเรื่องราวในภาพเป็นจุดที่ช่วยให้ภาพที่ถ่ายมีความน่าสนใจ เพราะเรื่องราวที่สื่อจะช่วยให้ภาพบุคคลนั้นดูน่าติดตาม มีเรื่องราวให้คิดและสื่อได้ว่าเรื่องราวในภาพกำลังดำเนินไปในทิศทางใดเกิดอะไรขึ้นก่อนหน้าและน่าจะเกิดอะไรต่อไป

2. ใช้เอกลักษณ์ขนาด รูปแบบร่องรอยของเส้นแสงสร้างความโดดเด่นให้ตัวแบบ

การเลือกใช้แสงสำหรับการทำเอฟเฟกต์จึงต้องรู้ด้วยว่าแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้จะให้เส้นแสงที่หนา บางหรือร่องรอยขนาดเล็กหรือกว้าง และรูปร่างของแสงที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปร่างลักษณะแบบใด ลักษณะของแสงที่ใช้ ทั้งแสงที่อยู่ด้านหลังของตัวแบบหรือแสงที่สร้างเอฟเฟกต์บนตัวแบบเพื่อสร้างร่องรอยของเส้นแสงบนตัวแบบ การเคลื่อนไหวของแสงช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับตัวแบบทั้งยังช่วยให้ภาพโดยรวมดูดึงดูดความสนใจได้อีกด้วย

3. สร้างคอนเซ็ปต์ภาพโดยให้ตัวแบบ ไฟ หรือองค์ประกอบโดยรอบเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในภาพ สามารถออกแบบได้โดยจะเลือกให้ตัวแบบเคลื่อนที่ องค์ประกอบโดยรอบเคลื่อนที่ หรือจะเป็นการลากเส้นสายของไฟ ซึ่งขึ้นอยู่กับคอนเซ็ปต์ของภาพว่าต้องการสื่อสารเรื่องราวออกมาอย่างไรเพราะการเคลื่อนไหวจะบอกถึงการดำเนินไปของสิ่งนั้น

4. เรียนรู้การใช้งานแสงธรรมชาติและแสงไฟสตูดิโอเพื่อสร้างผลงานให้ได้อย่างที่ต้องการ

นอกจากการสร้างภาพแบบ Long exposure โดยถ่ายภาพไฟให้เป็นเส้นสายแล้ว การเรียนรู้เพื่อจะใช้แสงและเงาในธรรมชาติก็ช่วยสร้างภาพให้ดูมีมิติภาพที่สวยงามได้ ทั้งการถ่ายภาพในตัวอาคารโดยอาศัยแสงจากหน้าต่าง หรือการถ่ายภาพนอกตัวอาคารเพื่อให้แสงในธรรมชาติในช่วงเวลาที่ต่างกันและให้สัสันที่แตกต่างกัน และการถ่ายภาพในที่แสงน้อย พร้อมกันนั้นเรียนรู้การใช้ไฟสตูดิโอเพื่อให้ได้แสงอย่างที่ต้องการ

5. การจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขาตั้ง ไฟสตูดิโอให้ความสว่างตัวแบบ ไฟ LED ไฟเย็น

อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตภาพก็สำคัญต่อการถ่ายภาพแบบ Long exposure ด้วยเช่นกัน กล้องและเลนส์ที่ใช้ ทั้งขาตั้งกล้องที่ช่วยให้กล้องตั้งได้อย่างมั่นคง การเตรียมชุดไฟเพื่อเพิ่มความสว่างในบางจุดให้กับตัวแบบ ไฟที่ใช้ในการทำเอฟเฟกต์ทั้งแบบ LED หรือไฟเย็นเพื่อวาดลวดลายในภาพ การจัดการและการเตรียมการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญด้วยเช่นกัน

6. ตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแบบ Long exposure และการใช้ฟิลเตอร์เพื่อลดแสง

การตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายภาพแบบ Long exposure ขึ้นอยู่กับระยะเลนส์ แสงในขณะนั้น ซึ่งการตั้งค่าโดยคร่าว ๆ คือการตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ช้า ซึ่งในระหว่างการเปิดหน้ากล้องนานอาจจะมีการรบกวนของแสงที่เกินขึ้นมา ดังนั้นจึงต้องอาศัยฟิลเตอร์ ND เพื่อช่วยลดแสงและสามารถเปิดหน้ากล้องได้นานขึ้น แสงฟุ้งสวย ชัดเจนหรือใช้รูรับแสงกว้างเพื่อให้ภาพดูมีมิติชัดลึกชัดตื้นด้วยก็ได้เช่นกัน

7. ปรับสีแต่งแสง ด้วยการใช้แสงที่มีสีสันแตกต่างกัน

สีสันต่างกันสร้างความโดดเด่นสะดุดตาให้กับภาพ การใช้แสงที่มีสีสันที่แตกต่างกันก็เช่นกันช่วยดึงดูดสายตาให้กับภาพ การใช้เส้นแสงที่มีสีต่างกัน สามารถเลือกใช้ไฟที่เปลี่ยนสีสันได้ หรือใช้ไฟสายที่มีหลายสีในเส้นเดียว เพื่อทำเส้นแสงก็ได้เช่นกัน

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version