Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีการถ่ายภาพกระโดดตอนไปเที่ยว ให้ดูเเล้วสนุก สร้างภาพถ่ายใหม่ ๆ ให้กับการถ่ายภาพ

7 วิธีการถ่ายภาพกระโดดตอนไปเที่ยว ให้ดูเเล้วสนุก การกระโดดเป็นท่าที่เเสดงถึงความสนุกสนาน และความสุข เเละเวลาไปเที่ยวก็มักจะเห็นหลายคนนิยมกระโดดกัน ทั้งกระโดดน้ำ กระโดดสูง เเต่ถ้าเราอยากจะมีภาพกระโดดเเบบนั้นบ้าง เราจะต้องทำยังไง มาดู 7 วิธีการถ่ายภาพกระโดดตอนไปเที่ยว ให้ดูเเล้วสนุก ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

7 วิธีการถ่ายภาพกระโดดตอนไปเที่ยว ให้ดูเเล้วสนุก สร้างภาพถ่ายใหม่ ๆ ให้กับการถ่ายภาพ

1. วางภาพสุดท้ายไว้ก่อน ว่าอยากให้ภาพออกมาเเบบไหน กระโดดตรงไหน เห็นอะไรหรือไม่เห็นอะไรบ้าง

สำหรับช่างภาพจะต้องวางเเผนเเละนึกถึงภาพสุดท้ายว่าภาพจะออกมาอย่างไร องค์ประกอบ พื้นหลัง เเละตำเเหน่งของการกระโดด โดยตอนเเรกอาจจะลองให้ตัวเเบบกระโดดเเละลองจับจังหวะ เเละความสูง เพื่อให้วางภาพคร่าว ๆได้ว่า จะได้ภาพสุดท้ายออกมาอย่างไร 

2. กล้องอยู่ระดับที่ต่ำกว่าตัวแบบ ถ่ายมุมเงยเล็กน้อย 

ช่างภาพหรือกล้อง (ในกรณีที่ใช้ระบบสั่งงานเเบบไร้สาย) จะอยู่ตำเเหน่งที่ต่ำว่าตัวเเบบเล็กน้อย เพื่อให้มุมกล้องดูสูง เเละจะช่วยให้การกระโดดดูสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง เพื่อเพิ่มพื้นที่ภาพด้านบนและเผื่อตำแหน่งการกระโดดด้วย

3. ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของภาพ

การหยุดความเคลื่อนไหวในวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ โดยการจะหยุดวินาทีที่กระโดดค้างกลางอากาศต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็ว เช่น  1/400 , 1/500 หรือ 1/800 วินาที เพราะถ้าตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไม่เร็วพอภาพก็จะเบลอขึ้นมาได้ 

4. ตั้งค่ารูรับเเสง เเละ ISO ให้เหมาะสมกับสภาพแสงนั้น

นอกจะสังเกตเรื่องทิศทางเเสง การตั้งค่ารูรับเเสง และ ISO ให้เหมาะสม ถ้ามีปริมาณแสงที่มากพออยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้ ISO ที่สูง แต่ถ้าหากความสว่างไม่พอก็แนะนำให้เพิ่ม ISO ก็ได้ครับ (มักจะเป็นช่วงที่แสงเริ่มน้อยแล้ว) เพราะงั้นถ้าหากเเสงสว่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้เราใช้ Shutter Speed สูงได้ ภาพก็จะคมชัด ไม่หลุดเบลอด้วย เนื่องการการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว จึงยากที่จะถ่ายภาพให้คมชัด ดังนั้นการตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เเละการปรับรูรับเเสงให้เหมาะสม เช่น เเคบลงกว่าการถ่ายภาพ Portrait ตามปกติ เพราะการเปิดรูรับเเสงกว้าง จะโฟกัสยาก เเละภาพจะเบลอได้ง่าย 

5. ถ้าเเสงธรรมชาติไม่พอ ใช้ไฟเสริมเพิ่มได้

ถ้าเเสงธรรมชาติสว่างไม่พอ อาจจะต้องใช้เเสงเพิ่ม เช่นการใช้เเฟลช หรือไฟเเยกเพื่อให้เเสงเข้าไปที่ตัวแบบอย่างเพียงพอ เพื่อให้รายละเอียดของตัวเเบบคมชัด ภาพคมสวย และถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น ไม่เบลอ 

6. เลือกมุมที่พื้นหลังไม่ซับซ้อน หรือดึงความสนใจออกจากตัวเเบบ

พื้นหลังของภาพ หรือวิวที่เราจะไปกระโดดนั้น อาจจะต้องเลือกพื้นหลังที่ไม่ซับซ้อน หรือมีรายละเอียดมากเกิดไป เพื่อให้ภาพกระโดดของเรานั้น เห็นรายละเอียด หรือการจัดระเบียบร่างกายได้ชัดเจน อาจจะเลือกพื้นหลังที่เป็นท้องฟ้าโล่ง ๆ หรือพื้นหลังที่มีสีพื้น ก็จะช่วยให้ภาพกระโดดเราสวยขึ้นได้

7. นับจังหวะ กระโดดพับขาขึ้น ช่วยให้ดูเหมือนว่ากระโดดได้สูง

กล้องบางตัวอาจจะมีดีเลย์เล็กน้อยหลังจากกดชัตเตอร์ ดังนั้นเข้าใจจังหวะของกล้อง นับจังหวะการกระโดด ให้พอดีกัน ดังนั้นอาจจะต้องลองกระโดดก่อน เพื่อจับจังหวะให้เข้ากันทั้งคนกระโดดเเละช่างภาพที่ หรือในกรณีที่ต้องกล้องเเละใช้รีโมตในการตวบคุม ก็จะต้องหาจังหวะด้วยเช่นกัน ส่วนวิธีการกระโดด ควรพับขาขึ้นสูง (ถ้ากระโดดสูงไม่ไหว) เพื่อให้ดูเหมือนว่ากระโดดได้สูงซึ่งจริง ๆ เเล้วอาจจะออกเเรงกระโดดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพที่ต้องรู้

Exit mobile version