Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 2)

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 2) บทความนี้ไม่เพียงเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งซื้อกล้องมาเเต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะเรียนความรู้พื้นฐานเพิ่มเติมด้วย เพราะบทความนี้จะช่วยเติมความรู้พื้นฐานให้เเน่นขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นเลยจริง ๆ วิธีการที่จะพัฒนาฝีมือด้านการถ่ายภาพ ไม่เพียงเเต่อ่านศึกษาหาความรู้เท่านั้น ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และเรียนรู้ความผิดพลาดจากมืออาชีพ รวมทั้งหาเทคนิคถ่ายภาพเพื่อเพิ่มไอเดียในการถ่ายภาพด้วย 

อ่านย้อนหลัง สามารถอ่านบทความในตอนที่ 1 ได้ที่นี่ : เทคนิคสำคัญสำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 1)

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

1. ตรวจสอบค่า ISO ก่อนทำการถ่ายภาพ

มือใหม่จะเจอปัญหานี้บ่อยคือ ถ่ายภาพเเล้ว ภาพสว่างจ้าเกินไป เเล้วมาเจอว่า ตั้งค่า ISO สูง เช่นในวันที่เเสงเเดดจ้า เเต่ปรับ ISO ไว้ที่ 800 ก็ทำให้หงุดหงิดได้ ถ้าภาพนั้น เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ไมสามารถย้อนสถานการณ์นั้นกลับมาได้อีก เช่น จังหวะเป่าเค้กงานวันเกิด สวมเเหวนงานเเต่งงาน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเเบบนี้ ก่อนที่จะถ่ายภาพ ให้มองดูว่า ตั้งค่า  ISO ไว้ที่เท่าไหร่ เเล้วพยายามสร้างนิสัยให้ตัวเองว่า ถ้ามีการปรับ ISO สูงเเล้ว ให้ปรับคืนที่ 100 หรือ 200 ไว้ก่อน หรือก่อนที่จะเก็บกล้องใส่กระเป๋า ให้ปรับค่าต่าง ๆ ให้เป็นค่าเริ่มต้นการใช้งานไว้เลย

2. ระมัดระวังเรื่องการใช้เเฟลช

การถ่ายภาพในที่เเสงน้อยบางครั้ง การใช้เเฟลช ก็อาจจะไม่ใช้ตัวเลือกที่ดีเสมอไป บางทีก็เกิดปัญหาตาเเดง หรือแสงในภาพดูเเข็งกระด้าง ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องใช้เเฟลชจริง ๆ อาจจะลองใช้เเฟลชเเยก เเล้วตั้งค่าลดความเข้มเเสงลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือหาที่ซับเเสง เพื่อจะทำให้เเสงที่ออกมาจากเเฟลช นุ่มนวลขึ้น เช่น กระดาษ หรือ พลาสติกสีขาวขุ่น หรือ การให้เเฟลชสะท้อนเข้าที่ตัวเเบบ เเทนการส่องเข้าตัวเเบบโดยตรง 

3. เรียนรู้ที่จะปรับสมดุลเเสงสีขาว

สมดุลเเสงสีขาวเป็นคุณลักษณะของเเสง ในโทนที่เเตกต่างกัน ถ้าไม่ปรับสมดุลเเสงสีขาว ภาพก็อาจจะออกมาเป็นโทนฟ้า โทนส้ม หรือโทนเขียว เเต่ก็สามารถปรับได้จากกระบวนการ post-processing เเต่ถ้าต้องคิดว่า ต้องเเต่งภาพหลายร้อยใบ การที่จะทำให้ภาพถ่าย ได้โทนสีที่สมบูรณ์ตั้งเเต่เเรก ก็จะช่วยละภาระงานให้น้อยลงด้วย 

ปกติเเล้ว ตัวเลือกที่มี สำหรับการปรับสมดุลเเสงสีขาว เช่น Automatic White Balance, Daylight, Cloudy, Flash, Shade, Fluorescent และ Tungsten จะเลือกตั้งสมดุลเเสงสีขาวเเบบออโต้เลยก็ได้ เเต่ทางที่ดี ลองสำรวจเเสง เเละขึ้นอยู่กับช่างภาพว่า อยากได้ภาพโทนไหน อารมณ์ไหนด้วย

4.เรียนรู้การอ่าน histogram

ในปัจจุบัน การตรวจสอบภาพถ่ายว่าเเสงมากเเสงน้อย ดูได้จากหน้าจออยู่เเล้ว เเต่บนหน้าจอ ก็มีค่าหนึ่ง ที่บอกได้ว่า ภาพที่ถ่าย เเสงเข้ามากหรือน้อยเกินไป ที่เราได้ยินส่วนใหญ่ก็ก็คือ histogram เป็นกราฟเส้นโค้งระฆังคว่ำ ถ้าภาพสว่างปกติ พอดี กราฟจะอยู่ตรงกลาง เป็นกราฟที่สมมาตร ถ้าเป็นกราฟระฆังที่เบ้ไปทางซ้าย เเสดงถึง มีสีดำ หรือเงามืด เเละถ้าเบ้ขวา จะเเสดงถึงเเสงสีขาว หรือ ไฮไลท์ ดังนั้นถ้าเป็นกราฟไปทางซ้าย ก็หมายถึงว่า ภาพมืดเกินไป เเละถ้ากราฟเอียงขวา ก็หมายถึงภาพสว่างเกินไปนั่นเอง 

แต่กรณีที่กล่าวไปข้างต้นอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ดังนั้นการฝึกที่จะใช้ Histogram ให้เข้าใจก็ยังเป็นเรื่องที่ช่วยเราได้ในหลาย ๆ กรณีนะ สามารถที่จะฝึกพื้นฐานให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นก็จะดีกับเรามาก

5. ทำการบ้านเรื่องมุมมองเยอะหน่อย

การที่จะให้ได้ภาพที่ดูสร้างสรรค์ วิธีที่ดีที่สุดคือการหามุมมองใหม่ เเละทดลองการถ่ายภาพในมุมที่ต่างไปเสมอ จากภาพซีนเดิม หรือวัตถุอันเดิม ลองหมุนหามุมมองใหม่ เดิน นั่งยืน เพื่อเปลี่ยนทั้งมุมมอง เเละอารมณ์ของภาพ

6. เข้าใจเรื่องจุดตัดเก้าช่อง หรือ กฏสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นพื้นฐานที่คนที่ชอบถ่ายรูปต้องเข้าใจซะก่อน เพื่อจะศึกษาการวางองค์ประกอบ จัดภาพ หาความสมดุลให้ภาพ โดยสัดส่วนที่เกิดขึ้น เกิดจากเส้นสองเส้น เเนวนอน เเละเเนวตั้ง เเล้วเกิดช่อง ว่าง 9 ช่อง มีจุดตัด 4 จุด โดยจัดวางภาพ ให้อยู่บนจุดตัด หรืออยู่ช่องบนเส้นสี่เส้นนั้นกล้องบางตัว สามารถเปิด Grid ขึ้นมาได้ จะช่วยให้มือใหม่ ใช้งานได้ง่ายขึ้น 

เเต่ว่า การถ่ายภาพเป็นการสร้างสรรค์ ดังนั้น ก็ไม่เเปลกที่จะมีภาพที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎสามส่วนเลย เเต่ก่อนที่จะไม่ทำตามกฏ ต้องเข้าใจก่อนว่า กฏที่มี ใช้งานอย่างไร เเละเพื่ออะไร 

7. ต้องโฟกัสที่ดวงตาเสมอ

เมื่อถ่ายภาพบุคคล สิ่งจำเป็นคือต้องถ่ายภาพให้คม  โดยเฉพาะที่ดวงตา ถือว่าเแ็นจุดเด่นขิงใบหน้าเลย โดยเฉพาะตอนที่ต้องถ่ายภาพระยะใกล้ สิ่งที่ต้องคำนึงไว้เสมอคือ ตาต้องอยู่ในโฟกัสเสมอ เมื่อมีวัตถุเเล้ว กดชัตเตอร์กึ่งหนึ่งค้างไว้ เพื่อให้กล้องวางจุดโฟกัส เเละทำการวางจุดโฟกัสไว้ที่ดวงตา

อ่านบทความสอนถ่ายภาพสำหรับมือใหม่เพิ่มเติม

– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ISO สำหรับมือใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ
– มือใหม่ถ่ายภาพยังไงไม่ให้มี Noise ในภาพ
– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และวิธีการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป

Exit mobile version