
เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 1)
เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 1) บทความนี้ไม่เพียงเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งซื้อกล้องมาเเต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะเรียนความรู้พื้นฐานเพิ่มเติมด้วย เพราะบทความนี้จะช่วยเติมความรู้พื้นฐานให้เเน่นขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นเลยจริง ๆ วิธีการที่จะพัฒนาฝีมือด้านการถ่ายภาพ ไม่เพียงเเต่อ่านศึกษาหาความรู้เท่านั้น ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และเรียนรู้ความผิดพลาดจากมืออาชีพ รวมทั้งหาเทคนิคถ่ายภาพเพื่อเพิ่มไอเดียในการถ่ายภาพด้วย
สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
– 180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 1)
1. ถือกล้องอย่างถูกต้องมั่นคง
อาจจะฟังดูเเปลกที่บางครั้งพบว่า มืใหม่ยังงจับกล้องผิดวิธี ทำให้เกิดการสั่น เบลอ ภาพไม่คมชัด เเละการใช้ ขาตั้งกล้องไม่ใช้เรื่องน่าอายเลย เเละยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้ภาพไม่สั่นไหว และคมชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายภาพในที่เเสงน้อย ขาตั้งกล้องถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลย

การจับกล้อง เพื่อให้มั่นคงนั้น ควรจับด้วยมือสองข้าง มือข้างหนึ่งจับที่ตัวกล้อง บริเวณกริบ (Grip) มืออีกข้างหนึ่งประคองอยู่ใต้เลนส์ เพื่อช่วยประคองกล้องให้นิ่ง เเละช่วยรับน้ำหนักของกล้องเเละเลนส์ ถือกล้องใ้ใหล้ลำตัว ในระยะที่สามารถประคองได้อย่างมั่นคง ถ้าอยากให้ได้ความมั่นคงมากขึ้น ก็พิงกำเเพง หรือนั่งชันเข่า เพื่อใช้เข่าช่วยประคอง เเละถ้าไม่มีอุปกรณ์ช่วยจริง ๆ ให้ใช้สายคล้องคอช่วย โดยกายืดกล้องออกไปให้สายตึง ก็จะช่วยเป็นการประคองไม่ให้สั่นได้
2. ถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW
RAW เป็นไฟล์ภาพชนิดหนึ่ง เเต่ไม่เหมือน jpeg เเต่เป็นการเก็บรายละเอียดข้อมูลของภาพได้โดยตรงโดยเซนเซอร์ภาพไม่มีการย่อ หรือลดค่าใด ๆ เลย นอกจากจะได้ไฟล์ขนาดใหญ่เเล้ว ยังสามารถจัดการเเละเเก้ไขภาพในกระบวนการ Post – Processing ได้ดีกว่าไฟล์ jpeg รวมทั้งการปรับเเต่อุณหภูมิ สีสัน ค่าสมดุลเเสงขาว เเละค่าความเปรียบต่างได้

3. เข้าใจ exposure triangle
ถึงเเม้ว่าจะรู้สึกยากที่จะทำในตอนเเรก เเต่ exposure triangle เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ISO, รูรับเเสง และ ความเร็วชัตเตอร์ เมื่อทำการถ่ายภาพก็ต้องการ บาลานซ์ค่าทั้งสามค่านี้ เพื่อจะให้ได้ภาพที่เหมาะสมกับสิ่งที่เราอยากจะได้นั่นเอง

ISO
ISO เป็นค่าควบคุมความไวเเสงของกล้อง ค่า ISO ต่ำ หมายถึง ค่าความไวเเสงมีน้อย ไม่ค่อย sensitive กับเเสง ส่วนค่า ISO ที่สูง หมายถึงจะมีความไวต่อเเสงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่มีค่า ISO ที่สูง ก็ทำให้ภาพมีคุณภาพที่ลดลง เพราะเป็นสาเหตุของการเกิด ‘noise’ ตามปกติเเล้ว ISO จะถูกตั้งไว้ที่ 100 ถึง 200เมื่อถ่ายภาพนอกตัวอาคาร หรือวันที่มีเเสงเเดดจัด เเต่ถ้ามีการถ่ายภาพในตัวอาคาร ช่วงเย็น หรือที่เเสงน้อย ก็ปรับ ISO สูงขึ้นได้ เช่นประมาณ 400 ถึง 800 หรือจะมากกว่าก็ได้ ถ้าจำเป็น

รูรับเเสง
รูรับเเสง เป็นม่านรับเเสงที่เปิดขึ้นในเลนส์ เพื่อควบคุมการผ่านเข้าไปของเเสงไปยังเซนเซอร์ เหมือนกันการเกิด ภาพชัดลึก คือเมื่อทำให้เกิดภาพชัดลึก ชัดตื้น เกิดขึ้น ภาพชัดลึกคือ ภาพที่บริเวณรอบตัวเเบบ ยังคงชัดเเละคมทั้งภาพ โดยจะมีค่ารูรับเเสงที่มีค่า F สูง เเสงเข้าน้อย ในขณะที่รูรับเเสง กว้างขึ้น ค่า F น้อย (ปกติจะเขียน F ตามด้วยตัวเลข) อนุญาตให้เเสงเข้าได้มากขึ้น ก็จะเกิดภาพ ชัดตื้น คือจะมีภาพส่วนพื้นหลังที่เบลอ ข้อดีของเลนส์ที่ปรับให้ได้ค่ารูรับเเสงน้อย มีข้อดีคือ เมื่อถ่ายภาพ เเล้วต้องการเเยกตัวเเบบออกจากพื้นหลังอย่างชัดเจน เเต่ถ้าอยากจะถ่ายภาพกลุ่ม ก็จะต้องปรับรูรับเเสงให้เเคบลง ค่า F สูงขึ้นนั่นเอง

ความเร็วชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์เป็นการควบคุมการเปิดปิดม่านชัตเตอร์ เมื่อถ่ายภาพ ถ้าปรับค่าความเร็วชัตเตอร์นาน ชัตเตอร์ ก็จะเปิดค้างไว้นาน อนณุญาตให้เเสงเข้ามาใน เซนเซอร์นานมากขึ้น การใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เร็ว เหมาะสำหรับการหยุดภาพ ขนะที่การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ยาว ๆ จะทำให้เกิด blur motion ซึ่งเป็นเทคนิคที่น่าสนใจ เเละได้รับความนิยม เเต่อุปกรณ์เสริมที่สำคัญ คือ ขาตั้งกล้อง

4. รูรับเเสงกว้างเหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล
เมื่อถ่ายภาพบุคคล หรืออาจะเป็นสัตว์เลี้ยงก็ตาม ตัวเเบบควรจะโดดเด่น เเตกต่างจากพื้นหลัง ดังนั้น จึกต้องรับให้มีค่า F ต่ำ รูรับเเสงกว้าง เพื่อให้ตัวเเบบชัด เเต่ส่วนอื่นเบลอไป

พยายามจด หรือจำไว้ก็ได้ว่า ค่าน้อย f/ ตัวเลข หมายถึงความกว้างของรูรับเเสง การทำให้รูรับเเสงกว่าขึ้น ทไใ้หภาพที่ถ่ายออกมาดูมีอารมณ์มากขึ้น กล้องบางตัว มีค่ารู f/1.2 เเต่เลนส์บางตัวให้ค่า F ต่ำสุด คือ f/5.6 ถึงเป็นเเบบนี้ ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดภาพหน้าชัดหลังเบลอได้ ด้วยการปรับถ่ายภาพให้โหมด A โดยจะประเพียงเเค่รูรับเเสง ส่วนค่าอื่นกล้องจะปรับให้อัตโนมัติ
5. รูรับเเสงเเคบเหมาะสำหรับการถ่ายวิว
การถ่ายวิวจะเเตกต่างกันกับการถ่ายภาพบุคคล คือการถ่ายวิว ต้องการให้ก้อนหินด้านหน้า น้ำตกตรงกลางภาพ หรือ ก้อนเมฆท้องฟ้า ชัดทั้งหมด ดังนั้น เมื่อถ่ายวิว ก็ต้องการให้ทุกจุดคมชัดทั้งภาพ ด้งนั้น การ ถ่ายภาพวิว จึงนิยมใช้รูรับเเสงที่เเคบ ค่า F สูง ดังนั้นเลนส์บางตัวที่ใช้ถ่ายภาพวิวให้ค่า F ที่สูงได้มากกว่า f/22 ซะอีก

6. เรียนรู้การใช้โหมด Aperture Priority และ โหมด Shutter Priority
มือใหม่บางคนอยากจะลองฝึกไม่ใช้ โหมดออโต้ อยากลองศึกษาเเละทำความเข้าใจการตั้งค่าเเต่ละอย่าง ก็เริ่มจากการตั้งค่าเพียงค่าเดียวก่อนก็ได้เช่น ลองหัดใช้โหมด A โดยหัดปรับเเค่ค่ารูรับเเสงเท่านั้น หรือโหมด S หรือ Tv นอกนั้นกล้องถ่ายภาพจะทำการปรับค่าต่าง ๆให้อัตโนมัติ เช่น ลองถ่ายภาพบุคคลโดยใช้โหมด A หรือลองปรับโหมด S เพื่อลองถ่ายภาพตอนกำลังเล่นกับสุนัข เเล้วสุนัขวิ่งไล่ ปรับค่าเพื่อถ่ายภาพเเบบหยุด หรือเเบบ blur motion ก็ได้ เเล้วเเต่ว่าอยากจะสื่อเรื่องราวอะไรออกมา

7. อย่ากลัวที่จะใช้ ISO สูง
ช่างภาพหลายคน เลือกที่จะไม่ถ่าย ISO สูงเลย เพราะไม่ต้องการให้เกิด ‘noise’ ในภาพ เเต่ความจริงก็คื ปัจจุบัน เทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปดีมาก ISO สามารถปรับได้สูงโดยไม่เกิด noise ถึงเเม้จะตั้ง ISO 1600, 3200, 6400 หรือสูงกว่าก็ตาม รวมทั้งกระบวนการ Post- processing ก็ช่วยกำจัด noise ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านบทความสอนถ่ายภาพสำหรับมือใหม่เพิ่มเติม
– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ISO สำหรับมือใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ
– มือใหม่ถ่ายภาพยังไงไม่ให้มี Noise ในภาพ
– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และวิธีการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป