Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 3)

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 3) บทความนี้ไม่เพียงเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งซื้อกล้องมาเเต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะเรียนความรู้พื้นฐานเพิ่มเติมด้วย เพราะบทความนี้จะช่วยเติมความรู้พื้นฐานให้เเน่นขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นเลยจริง ๆ วิธีการที่จะพัฒนาฝีมือด้านการถ่ายภาพ ไม่เพียงเเต่อ่านศึกษาหาความรู้เท่านั้น ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และเรียนรู้ความผิดพลาดจากมืออาชีพ รวมทั้งหาเทคนิคถ่ายภาพเพื่อเพิ่มไอเดียในการถ่ายภาพด้วย 

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

อ่านตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ย้อนหลังได้ที่นี่

เทคนิคสำคัญ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ (ตอนที่ 3)

1. ใส่ใจดูรายละเอียดของพื้นหลังก่อนถ่ายภาพ

พูดให้ง่ายก็คือ พื้นหลังต้องเป็นฉาก ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้ตัวเเบบเด่นขึ้น เเละไม่ดึงความสนใจออกจากตัวเเบบ  สีที่ไม่ฉูดฉาด และรูปแบบที่เรียบ จะช่วยให้ตัวเเบบโดดเด่นขึ้นได้ ลองนึกดูว่า ถ้าถ่ายภาพบุคคล เเล้วมีอาคาร หรือ สิ่งของที่มีสีสันสะดุดตา เเน่นอนว่า สายตาจะตรงไปที่พื้นหลังก่อนเเน่นอน เเต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เปิดหน้ากล้องกว้างขึ้น เพื่อให้พื้นหลังละลายไป ทำให้ภาพของตัวเเบบเด่นขึ้นมาอัตโนมัติ

2. หาขาตั้งกล้องซักอันและใช้ให้ชำนาญ

หาขาตั้งกล้องดี ๆ ซักอัน เพื่อการถ่ายภาพในที่เเสงน้อย ภาพน้ำตกฟุ้ง ๆ หรือการถ่ายภาพเเบบ Long Exposure ซึ่งการถ่ายภาพให้นิ่ง เเละคมชัด จำเป็นจะต้องอาศัยความนิ่ง ดังนั้น ขาตั้งกล้องที่จะเลือกมาใช้ ก็ต้องตั้งมั่นคง เเละสามารถรับน้ำหนักของทั้งกล้องเเละเลนส์ได้ดี

3. ถ่ายภาพช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น เเละตก เเสงช่วง Golden hour

เเสงสามารถสร้างความมหัศจรรย์ให้กับภาพถ่ายได้ ตอนเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือตอนเย็น ก่อนที่อาทิตย์จะตกดิน เป็นช่วงที่ถูกเรียกว่า Goldden Hour ซึ่งเป็นช่วงที่เเสงไม่เเรงมาก ถ่ายภาพง่ายเเละให้ความน่าสนใจจากสี แสง เเละเงาได้ดี ช่างภาพส่วนมากจึงนิยมถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ 

4. ลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตกเเต่งภาพ

เมื่อถ่ายภาพมาเเล้ว เเละใช้ไฟล์ RAW เพื่อง่ายต่อการตกเเต่งภาพภายหลัง เเละการตกเเต่งภาพนี่เอง จะเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของสี หรือโทนของภาพ ความชัด เเละคมของภาพ ดังนั้น ลงทุนกับโปรเเกรมเเต่งภาพดี ๆ ซักอัน เพื่อการ ตัด ตกเเต่ง ปรับสี ปรับความเปรียบต่าง หรือลบบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์ออก หรือเเม้กระทั่งเพิ่มบางอย่างเข้าไปเพื่อสื่อความหมายของภาพให้ชัดขึ้นก็ได้ 

5. เลือกภาพที่ดีที่สุดขึ้นเเสดง

ไม่ว่าจะถ่ายภาพมานานเเค่ไหน ประสบการณ์จะมากหรือน้อย เเต่ช่างภาพจะต้องรู้ว่า ภาพไหนควรเลือกมาเพื่อเป็นผลงาน บนสื่อต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพท่องเที่ยวมาเป็นร้อยภาพ เเต่ก็ไม่ต้องลงทั้งหมดก็ได้ ให้เลือกภาพเพื่อเผยเเพร่ที่คิดว่า เเสดงความเป็นตัวเรา เเละสื่อสารกับคนดูมาที่สุด

6. เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง

ถ่ายภาพมืด เบลอ ติดสีเหลือง จัดองค์ประกอบไม่ดี ก็เป็นข้อผิดพลาดที่หลายคนเคยเจอมาเเล้ว ดังนั้นไม่ต้องหงุดหงิด เเละทำให้สิ่งเหล่านี้ฉุด ดึง เเละทำให้คิดว่า ไม่มีความสามารถ ทำไม่ได้ เเต่ให้ใช้เวลาฝึกฝน เรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความผิดพลาดเหล่านั้น นำมาเเก้ไข เเละปรับปรุงให้ดีขึ้น สิ่งไหนที่ยังเป็นปัญหา ก็เรียนรู้ เเละพยายามทำให้จุดอ่อนนั้น กลายเป็นจุดเเข็งให้ได้ 

อ่านบทความสอนถ่ายภาพสำหรับมือใหม่เพิ่มเติม

– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ISO สำหรับมือใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ
– มือใหม่ถ่ายภาพยังไงไม่ให้มี Noise ในภาพ
– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และวิธีการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป


Exit mobile version