Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป

วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ ซึ่งมือใหม่หลายคนยังไม่รู้นะครับว่าการตั้งค่า Auto ISO ในกล้องยุคนี้มีกันเกือบทุกรุ่นแล้ว และก็ใช้ได้ดีด้วย ซึ่งเมื่อก่อนเราจะกลัวกันว่ากล้องจะเพิ่ม ISO ให้เราเยอะเกินไปหรือเปล่า บางคนไม่อยากเพิ่ม ISO กันเลยก็มี ในวันนี้เรามาเริ่มเกี่ยวกับเรื่อง Auto ISO ให้เคลียร์ทั้งหมดกันเลยดีกว่าครับ

การตั้งค่า Auto ISO คืออะไร? และ มีข้อดีข้อเสียยังไง?

การตั้งค่า ISO Auto ข้อดีคือ เราสามารถที่จะบอกกล้องให้ “เพิ่ม” ค่า ISO ได้ตามความเหมาะสม โดยเราเป็นคนบอกกับกล้องเองนะว่า เมื่อแสงน้อยกว่าระดับที่กำหนดแล้ว ไม่สามารถที่จะเพิ่มรูรับแสงได้แล้ว หรือลดความเร็วชัตเตอร์ได้แล้วนะ มันก็จะทำการเพิ่ม ISO ให้เองครับโดยการที่เรากำหนดค่าที่เหมาะสมอย่างถูกต้องทำให้เราไม่ต้องกังวลเลยนั้นเอง

ส่วนข้อเสีย ของการตั้งค่า Auto ISO นั่นคือ บางครั้งเราอาจจะกำหนดพลาดไป หรือบางครั้งเราอาจจะแย่จริงเจอสถานการณ์ที่มันเกินขอบเขตของการตั้งค่า Auto ISO ตรงนั้นไป ทำให้เราต้องกลับมาแก้ภาพในส่วนนั้น หรือดีหน่อยถ้าเราปรับ ISO แบบ Manual เองได้ทัน ตรงนี้ก็รอดไปครับ ส่วนใหญ่คนที่จะเจอก็พวกงาน Event ที่มีการถ่ายภาพทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร แบบที่เราไม่ค่อยได้มีเวลาเตรียมตัวเท่าไหร่ อะไรแบบนั้นครับ

เมื่อทราบข้อดีข้อเสียแล้วเราไปเข้าเรื่องหลักกันดีกว่า การตั้งค่า Auto ISO ไม่ให้เกิด Noise มากเกินไป และสามารถที่จะใช้งานได้จริง ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งความเข้าใจแล้วก็วิธีการทำงานร่วมกับความสามารถของ Auto ISO นั่นเองครับ

1. วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นควรเข้าใจ Triangle Exposure (Aperture,Shutter Speed ISO) ค่าความสัมพันธ์แสงทั้ง 3 แบบ มีผลโดยตรงกับเรื่องนี้

ก่อนที่จะพูดเรื่อง Auto ISO เราต้องมาคุยกันเรื่องนี้ก่อน เหตุผลเพราะว่าการที่เราจะเลือกตั้งค่าให้คำนวณ ISO แบบอัตโนมัติ (Auto ISO Sensitivity) นั่นแปลว่าเราต้องเข้าใจขั้นตอนการคำนวณการรับแสงของกล้องก่อนให้เรียบร้อยครับ

ยกตัวอย่าง กรณีที่เราตั้ง Auto ISO ไว้ เราจะรู้ตัวเองเลยว่าเมื่อเราเพิ่มรูรับแสงให้มากขึ้น เพื่อให้รูรับแสงแคบลง แสงจะเข้าน้อยลง Speed Shutter คงที่ เราต้องรู้ตัวแล้วว่า ISO กำลังเพิ่มขึ้นตามที่เราตั้งไว้

หรือบางครั้งเราพยายามลด Shutter Speed ลง เพื่อช่วยให้กล้องไม่ไปแตะกับ ISO ที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น นั่นแหละครับ ถ้าหากเราเข้าใจเรื่อง Triangle Exposure แล้ว มันช่วยเราได้หลายอย่างมาก ๆ เลยนะ

บทความเกี่ยวข้องที่แนะนำให้อ่าน

2. เข้าใจ Shooting Modes (โหมดถ่ายภาพ)

ผมเชื่อว่าเราคุยกันเรื่องโหมดถ่ายภาพมาหลายบทความแล้ว ทั้งเรื่องโหมด A P S M ในโหมดถ่ายภาพต่างกันยังไง และในโหมด 10 โหมดที่มือใหม่ควรรู้มีอะไรบ้าง แต่ผมจะขอพูดในหัวข้อนี้มุมของ A (Aperture Priority) หรือโหมด S (Shutter Priority) ซึ่งสองโหมดนี้เราจะต้องกำหนดตัวแปรหลักสำหรับการรับแสงที่ต่างกัน ถ้าเราเข้าใจเรื่องโหมดถ่ายภาพมากขึ้น จะทำให้เราสามารถที่จะมองภาพรวมออกว่า เมื่อไหร่ที่กล้องกำลังจะเพิ่มค่า ISO นั่นเองครับ

3.การเปิดโหมด Auto ISO Sensitivity และการตั้งค่า Auto ISO ในกล้อง

มาเริ่มถึงการเปิดใช้โหมด Auto ISO Sensitivity กันครับ เนื่องด้วยแต่ละแบรนด์มีการทำเมนูที่แตกต่างกันทั้ง Canon, Nikon, Fujifilm, Olympus, Sony, Panasonic หรือกล้องอื่น ๆ เรื่องโหมดนี้ส่วนใหญ่จะมีนะครับ แต่ว่าการเข้าไปเปิดจะไม่เหมือนกัน อันนี้ต้องลองหากันดูนะครับ

ในการกำหนดค่า Auto ISO เราต้องกำหนดค่า 3 อย่างที่สำคัญคือ
1. ค่า ISO สูงสุดที่เรารับได้
2. ค่า ISO ขั้นต่ำที่เราจะใช้
3. ค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่เราต้องการ

บทความเกี่ยวข้องที่แนะนำให้อ่าน

3.1 การตั้งค่า ISO สูงสุดที่เรารับได้ Maximum ISO Setting

ตรงนี้คือส่วนสำคัญครับ เราต้องรู้ลักษณะไฟล์ภาพกล้องตัวเองละว่าอาการที่ ISO เท่าไหร่เรารับไม่ได้ อย่างผมรับได้ที่ ISO6400 หรือ ISO3200 ก็ตั้งค่าตามนั้นครับ มันจะเป็นเพดานของ Auto ISO Setting ว่าคุณไปได้ไม่เกินนี้แล้วนะ เพราะงั้นเวลาเราเจอสภาพแสงเปลี่ยนไปมา เราก็ไม่ต้องห่วงเลยว่ากล้องจะใช้ ISO สูงเกินไป

3.2 การตั้งค่า ISO ต่ำสุด (Minimum ISO Setting)

ค่านี้จะเป็นการตั้งค่า ISO เริ่มต้น ซึ่งอันนี้ผมไม่ต้องแนะนำมาก ทุกคนคงจะเลือกใช้ ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ

3.3 ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด (Minimum Shutter Speed)

ค่านี้สำคัญมากพอ ๆ กับเรื่องของค่า ISO ค่านี้จะเป็นค่า Shutter Speed ต่ำสุดที่เราจะเลือกใช้ เราต้องรู้ตัวเองนะครับว่าสถานการณ์ที่เราจะไปลุยนั้นใช้ความเร็วชัตเตอร์ขั้นต่ำเท่าไหร่ เช่น ถ้าผมถ่ายทั่วไปก็คงตั้งที่ 1/125 เพราะผมชินแล้วก็ชอบกับ Shutter Speed เท่านี้ แต่ถ้าใครถ่ายภาพกีฬา ค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดต้องเยอะกว่านี้พอสมควรแน่นอน อันนี้ต้องเลือกตั้งเองด้วยนะครับ

4. อย่าลืม เปิดระบบกันสั่นทั้งกล้องและเลนส์ ช่วยได้เรื่อง Shutter Speed (ซึ่งปกติเราก็เปิดกันอยู่แล้วแหละ)

ยุคปัจจุบันโดยเฉพาะ Mirrorless อย่าง Sony,Olympus,Panasonic และ Fujifilm พวกนี้มีระบบกันสั่นในตัวกล้องกันแล้ว ทำให้เราสามารถที่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำและภาพยังนิ่งอยู่นั่นเองครับ และส่งผลต่อมาอีกคือทำให้กล้องเราไม่ต้องดัน ISO เพิ่มขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็อยู่กับ Subject ที่เราจะถ่ายด้วยนะว่า เป็นวัตถุนิ่ง ๆ หรือว่าคน ถ้าเป็นอะไรเคลื่อนไหวล่ะก็ยังไงก็ต้องใช้ชัตเตอร์ที่เร็วหน่อยเพื่อจับภาพครับ

อ่านบทความเสริมเพิ่มเติม
– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Shutter Speed และการตั้งค่า

5. การใช้ Auto ISO Sensitivity กับโหมด Aperture Priority และโหมด Shutter Priority

เมื่อเราเปิดใช้งาน Auto ISO และพร้อมที่จะถ่ายภาพแล้ว ผมขออ้างอิงการทดสอบที่ละเอียดจาก Photographylife ในเรื่องการทดสอบครับ ซึ่งเขาจะใช้โหมด A ละ S กับการทดสอบ Auto ISO Sensitivity ครับ

โดยเงื่อนไขมีดังนี้

– ไล่รูรับแสงในช่วง F2.8 จนไปถีง F22
– ISO Auto กำหนดว่าที่ 200 และสูงสุด 6400
– ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่ 1/125
– ความเร็วชัตเตอร์เร็วสุด 1/8000

การใช้ Auto ISO กับ Aperture Priority (A)

ในโหมด Aperture Priority หรือโหมด A จะใช้ค่ารูรับแสงเป็นแกนหลักในการกำหนดค่า กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ถูกต้องสำหรับรูรับแสงดังกล่าว แล้วถ้าความเร็วชัตเตอร์ช้ากว่าที่กล้องกำหนดไว้ ตัวกล้องจะเริ่มเติม ISO ให้เองครับ

ในตัวอย่างแรกสมมุติว่ารูรับแสงของ F8 ให้ค่าแสงที่เหมาะสมที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด 1/125 และค่า ISO ต่ำสุดที่ 200 ค่านี้เป็นค่าเริ่มต้น และสมมุติว่าแสงยังไม่เปลี่ยน

แต่ถ้าหากเราตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น กล้องจะเริ่มเพิ่มความเร็วชัตเตอร์และรักษาระดับต่ำสุดไว้

แต่อย่างไรก็ตามหากเลือกรูรับแสงขนาดเล็ก ๆ เช่น F11,F16,F22 กล้องจะต้องเพิ่ม ISO เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์เพื่อไม่ให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ครับ

ค่ารูรับแสง
(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์
(Shutter Speed)
ค่าความไวแสง
(ISO)
คำอธิบายเพิ่มเติม
2.81/1000200ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น , ค่า ISO ยังเท่าเดิมจากค่าตั้งต้น
41/500200ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น , ค่า ISO ยังเท่าเดิมจากค่าตั้งต้น
5.61/250200ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น , ค่า ISO ยังเท่าเดิมจากค่าตั้งต้น
81/125200ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เป็นค่าตั้งต้น
111/125400ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
161/125800ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
221/1251600ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
1โหมด Aperture Priority (โหมด A) – ผู้ใช้เป็นคนกำหนดค่ารูรับแสง (F) เอง

ผลการทดสอบโดย : Photographylife

ให้เราใส่ใจค่าที่แสดงอยู่ในช่องมองภาพด้วยนะครับ เพราะในกล้องปัจจุบันถ้าหากว่ากล้องเพิ่มไปที่ ISO สูงสุดที่เราตั้งไว้ แต่ว่าแสงยังไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ กล้องจะเริ่มมาปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ลดลงเพื่อให้รับแสงได้มากขึ้น เพราะโหมด A กล้องจะไม่ยุ่งกับค่ารูรับแสงใด ๆ และเมื่อใช้ ISO สูงสุดแล้วแสงยังต่ำอยู่ กล้องจะเลือกไปปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้น้อยลงนั่นเอง เพื่อให้ได้ค่าแสงเพียงพอ

ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้นะครับ ในการทดสอบนี้อยู่ในสถานการณ์ที่แสงน้อยลง ค่าของกล้องจะเป็นยังไงถ้าหากว่ารูรับแสงแคบลง และ Auto ISO Sensitivity ถึงระดับที่กำหนดแล้ว รูรับแสงอยู่ที่ F4 และความเร็วชัตเตอร์ 1/125 ค่า ISO คือ 200 คือค่าเริ่มต้น และแสงยังพอดีอยู่ เมื่อปรับค่า F ให้เพิ่มมากขึ้น แสงเข้าน้อยลง และกล้องปรับค่า ISO ถึงจุดสูงสุดแล้ว เขาก็จะมาเลือกปรับที่ความเร็วชัตเตอร์แทนตามนี้ครับ

ค่ารูรับแสง
(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์
(Shutter Speed)
ค่าความไวแสง
(ISO)
คำอธิบายเพิ่มเติม
2.81/250200ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น , ค่า ISO ยังเท่าเดิมจากค่าตั้งต้น
41/125200ค่าตั้งต้นในสภาพแสงปัจจุบัน
5.61/125400ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
81/125800ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
111/1251600ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้น
161/1253200ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าตั้งต้น , ค่า ISO เพิ่มขึ้นสูงสุด
221/603200ค่าความเร็วชัตเตอร์ถูกปรับให้อยู่ที่ค่าต่ำสุด , ค่า ISO สูงสุด
1โหมด Aperture Priority (โหมด A) – ผู้ใช้เป็นคนกำหนดค่ารูรับแสง (F) เอง

ผลการทดสอบโดย : Photographylife

จะเห็นได้ว่าเมื่อ ISO ถูกใช้ถึงจุดที่มากที่สุดแล้ว กล้องจะเริ่มมาจัดการกับความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้แสงที่เหมาะสมแทนครับ

บทความเกี่ยวข้องที่แนะนำให้อ่าน

การใช้ Auto ISO กับโหมด Shutter Priority (โหมด S)

ในโหมด Shutter Priority ผู้ใช้จะเป็นคนกำหนดความเร็วชัตเตอร์เป็นหลักเอง จะใช้ปริมาณเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากหยุดภาพแบบไหนไว้ เมื่อใช้ในโหมดนี้ กล้องจะทำการควบคุมรูรับแสงที่เหมาะสมให้เราเอง โดยใช้ ISO ที่ต่ำที่สุดก่อน ถ้าเมื่อไหร่ที่การเปิดรูรับแสงกว้างสุดแล้วกล้องยังไม่ได้แสงที่ต้องการก็จะใช้ ISO เข้าไปเติมในส่วนนี้ครับ

ค่ารูรับแสง
(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์
(Shutter Speed)
ค่าความไวแสง
(ISO)
คำอธิบายเพิ่มเติม
2.81/4000400รูรับแสงเปิดกว้างสุด , ค่า ISO เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น
2.81/2000200รูรับแสงเปิดกว้างสุด , ค่า ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
41/1000200รูรับแสงเปิดกว้างขึ้นจากค่าเริ่มต้น, ค่า ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
5.61/500200รูรับแสงเปิดกว้างขึ้นจากค่าเริ่มต้น, ค่า ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
81/250200รูรับแสงเปิดกว้างขึ้นจากค่าเริ่มต้น, ค่า ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
111/125200การตั้งค่ากล้องเริ่มต้น สภาพแสงปัจจุบัน
161/60200รูรับแสงปรับให้แคบลงจากค่าตั้งต้น , ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
221/30200รูรับแสงปรับให้แคบลงจากค่าตั้งต้น , ISO เท่ากับค่าตั้งต้น
221/15200แสงจะเริ่มล้นถ้าหากยังใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่านี้ ในสภาพแสงเดิมนะ และค่า ISO ยังเท่ากับค่าตั้งต้น
1โหมด Shutter Priority – ผู้ใช้เป็นคนกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) เอง

ผลการทดสอบโดย : Photographylife

มาลองดูอีกสถานการณ์นึงครับ ถ้าหากเราใช้ Shutter Priority และ Auto ISO ในสภาพแสงที่ค่า F2.8 และ Shutter Speed 1/125 เป็นค่าที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน แล้วการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ส่งผลต่อแสงที่เข้ามาทำให้กล้องต้องเพิ่ม ISO ก็จะเป็นตามตารางนี้ครับ

ค่ารูรับแสง
(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์
(Shutter Speed)
ค่าความไวแสง
(ISO)
คำอธิบายเพิ่มเติม
2.81/40003200ภาพเริ่มมืดเพราะแสงไม่เพียงพอ รูรับแสงกว้างที่สุดที่จะทำได้แล้ว และ ISO สูงมากที่สุดที่กำหนดไว้แล้ว แต่แสงก็ยังไม่เพียงพอ
2.81/20003200รูรับแสงเปิดกว้างสุด และ ISO ถูกเพิ่มในจุดสูงสุด
2.81/10001600รูรับแสงเปิดกว้างสุด และ ISO เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้นตอนแรก
2.81/500800 รูรับแสงเปิดกว้างสุด และ ISO เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้นตอนแรก
2.81/250400 รูรับแสงเปิดกว้างสุด และ ISO เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้นตอนแรก
2.81/125200ค่าตั้งต้น สภาพแสงปัจจุบัน
41/60200รูรับแสงเปิดให้แคบลง ค่า ISO ยังเท่าเดิมกับค่าตั้งต้นตอนแรก
1โหมด Shutter Priority – ผู้ใช้เป็นคนกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) เอง

ผลการทดสอบโดย : Photographylife

การใช้ Manual Mode (โหมด M) ร่วมกับการใช้ Auto ISO Sensitivity

ในโหมด Manual หรือโหมด M เราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ตามต้องการ เมื่อเราเลือกค่ารูรับแสงแล้ว และความเลือกความเร็วชัตเตอร์แล้ว กล้องจะกำหนดค่า ISO สำหรับสภาพแสงที่เหมาะสมในตอนนั้นให้ โหมดนี้จะช่วยให้เราสามารถที่จะเลือกกำหนดค่าตามต้องการได้อย่างอิสระ โดยให้กล้องจัดการ ISO เพียงอย่างเดียว

โหมด Manual นี้อย่างที่ทราบกันดีกว่าจะทำงานได้ยอดเยี่ยมเมื่อเจอสภาพแสงที่แตกต่างกันบ่อย ๆ ซึ่งการใช้ Auto ISO Sensitivity ก็จะทำให้คนใช้โหมด M นี้สามารถโฟกัสไปที่สถานการณ์ และการตั้งค่าที่ตัวเองต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องใส่ใจค่า ISO เลย เพราะกล้องทำงานเองให้ทั้งหมดครับ เดี๋ยวลองดูตัวอย่างในตารางกันนะครับ

ค่ารูรับแสง
(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์
(Shutter Speed)
ค่าความไวแสง
(ISO)
คำอธิบายเพิ่มเติม
41/250200แสงล้น ภาพโอเวอร์
5.61/250200กล้องลดค่า ISO ให้น้อยลงกว่าค่าตั้งต้น
81/10001600ค่าตั้งต้นในสภาพแสงปัจจุบัน
81/20003200กล้องเพิ่มค่า ISO มากขึ้นกว่าค่าตั้งต้น
81/40003200ภาพมืด เกิดอันเดอร์ เพราะว่า ISO ไม่มากพอสำหรับสภาพแสงปัจจุบัน
1โหมด Manual (โหมด M)  – ผู้ใช้กำหนดค่า รูรับแสง และ ความเร็วชัตเตอร์เอง ส่วนค่า ISO กล้องจัดการให้

ผลการทดสอบโดย : Photographylife

การใช้ Auto ISO Sensitivity กับกล้องแต่ละโหมดที่เหมาะสม ทำให้ช่างภาพสามารถที่จะโฟกัสสมาธิกับการถ่ายภาพได้อย่างเต็มที่ครับ ที่แน่ ๆ คือต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ สิ่งสำคัญเลยคือต้องเข้าใจเรื่อง Triangle Exposure และเข้าใจว่าโหมดไหน มีการทำงานกับอะไรเป็นหลัก และกล้องจะเริ่มใช้ ISO Auto Sensitivity เมื่อไหร่ ถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็สามารถลุยได้แบบสบาย ๆ เลยจ้า

ก้อจบกันไปแล้วกับวิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป ใครสงสัยส่วนไหนถามมาได้นะครับ แล้วเดี๋ยวยังไงฝากติดตามเพจด้วยนะครับที่

บทความเกี่ยวข้องที่แนะนำให้อ่าน

Exit mobile version