Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

Triangle Exposure หัวใจสำคัญในการปรับตั้งค่ากล้องสิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ 3 อย่างคือ Speed – ISO – Aperture (ความเร็วชัตเตอร์,ค่าความไวแสง,ค่ารูรับแสง)

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

การเข้าใจความสัมพันธ์ทั้งสามอย่างนี้มีผลโดยตรงกับการควบคุมกล้องเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่เราต้องการเอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นพื้นฐานของพื้นฐานกันเลยดีกว่า

Triangle Exposure พื้นฐานการถ่ายภาพ เคล็ดลับการตั้งค่า Speed, ISO, Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

Exposure มันคืออะไรกันแน่?

ให้นึกภาพนี้ก่อนเนอะ แสงในแต่ละช่วงเวลาของวันก็เริ่มตั้งแต่มืด สว่าง แล้วก็กลับไปมืดตอนช่วงคำอีกที สังเกตว่าแสงที่เข้ามาในโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งแสงแต่ละช่วง ส่งผลกับภาพ อารมณ์ของภาพ และมีผลกับการตั้งค่ากล้องเพื่อให้ได้แสงตามที่ต้องการด้วย

ดังนั้นกล้องของเรามีหน้าที่ “ที่จะเปิดรับแสง” ซึ่งแสงนั้นจะวิ่งผ่านเลนส์เข้ามาทำให้เซ็นเซอร์สามารถเก็บค่าแสงเป็นข้อมูลดิจิตอลได้

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ถ้าหากว่าแสงที่เข้ากล้องเราน้อย เราก็จะได้ภาพที่แสงค่อนข้างต่ำ (ติด Under) หรือถ้าหากมากเกินไป ภาพก็จะสว่างจ้า (ติด Over)

สรุปให้เป็นภาพเข้าใจง่าย ๆ ว่า Exposure มันก็เป็นการเปิดรับแสงของตัวกล้องนั้นแหละ เพื่อให้ได้แสงดังที่เราต้องการ (ไม่ต้องไปทฤษฏีเยอะนะ มันวุ่น) ดังนั้นภาพที่เราอยากจะได้ เราก็ไม่ต้องการภาพไหนที่แสงมันน้อยเกินไป และมันมากเกินไป ทุกอย่างต้องพอดี และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรจะเข้าใจเรื่องนี้ เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นกันเลย

วิธีที่จะได้ค่าแสงที่เหมาะสมที่สุด

ในโหมด Manual (M) กล้องจะช่วยบอกว่าแสงที่เราได้ ณ ตอนนั้น การตั้งค่าแบบนั้น แสงโดยรวมเป็นยังไง มากเกินไปหรือว่าน้อยเกินไป ทีนี้ปัญหามือใหม่อยู่ตรงที่ แล้วมันดูยังไงถึงจะรู้ว่าภาพมันต่ำไปหรือมากเกินไปล่ะ?

ให้ดูที่สเกลวัดแสงครับ ถ้าเทไปทางด้านลบ (ซ้าย) คือมันมืดไป, ถ้าไปทางบวก (ขวา) คือสว่างไปครับ

เพราะงั้นเราก็ควรจะตั้งค่ากล้องให้ปริมาณแสงได้พอดี เราถึงจะได้ค่าแสงที่ถูกต้องครับ คราวนี้คำถามต่อมาก็คือ ถ้าเกิดมันไปซ้ายหรือขวา เราจะทำยังไงให้ได้ค่าแสงที่มันอยู่ตรงกลางแบบพอดีล่ะ? Exposure Triangle คือคำตอบครับ

Exposure Triangle คืออะไร?

ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ความไวแสง จะส่งผลต่อการเปิดรับภาพ ซึ่งทั้งสามค่านี้มีความสัมพันธ์กัน (ถึงได้เรียกว่าเป็น Triangle ไง) หากเราเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่งในนี้ มันก็จะส่งผลกับภาพทั้งนั้นเลย

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ซึ่งนั่นก็แปลว่า เมื่อเราเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่งไปและมีผลกับแสง เราก็ต้องปรับค่าอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้ค่าแสงเท่าเดิม เช่น เราเพิ่มความเร็วชัตเตอร์เพื่อจับภาพเด็กวิ่ง เมื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ที่มากขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณแสงที่เข้ากล้องน้อยลงภาพก็จะมืดลง, เราก็ต้องเลือกที่จะเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น หรือไม่ก็เพิ่ม ISO เพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่เท่าเดิม เป็นต้น

เราจะวัดค่ารูรับแสงได้ยังไง?

รูรับแสงเราวัดค่าโดยใช้ F-Stop ซึ่งที่เราเห็นปัจจุบันก็มีต่ำ ๆ F1.4 – F22 เลย ปริมาณแสงมากน้อยที่สัมพันธ์กับค่า F ก็ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเองครับ ตามที่บอกไปแล้วว่า F น้อย = รูรับแสงกว้าง, ถ้า F มาก = รูรับแสงแคบครับ

ค่ารูรับแสงจะส่งผลต่อระยะชัดของภาพด้วย

ด้านล่างจะเป็นภาพเปรียบเทียบที่เราเห็นกันมานานแล้วแหละ F1.4 รูรับแสงเปิดกว้าง จะทำให้ระยะชัดทั้งภาพนั้นน้อย เกิดการละลายหลังที่เยอะมาก และทำให้เกิดโบเก้ที่สวยงาม แต่ไม่ใช่ว่าการตั้งค่าแบบนี้จะถ่ายภาพได้ทุกแบบนะ ถ้าเราต้องการความคมชัดแบบทั้งภาพ เราก็ต้องปรับรูรับแสงให้เล็กลง เพื่อคุมความชัดทั้งหมดสำหรับภาพ Landscape

ในภาพด้านล่างเราจะเห็นว่าความคมชัดจะมีทั้งภาพเลย เพราะว่าเราต้องการให้เมฆและทั้งภาพเกิดความคมชัด เราจะใช้ที่ F/16 ครับ

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ถ้าหากเราใช้รูรับแสงที่มีขนาดใหญ่อย่าง F2.8 หรือ F4 ก็จะทำให้เกิดชัดตื้นง่ายกว่าเดิม ข้อดีคือทำให้เราสามารถแยกตัววัตถุออกมาจากฉากหลังได้ ยิ่งการถ่ายภาพ Portrait จะใช้ F1.4 และ F1.8 กันบ่อย ๆ เลยทีเดียว

ความเร็วชัตเตอร์คืออะไร?

ความเร็วชัตเตอร์คือเวลาที่กล้องปล่อยให้แสงเข้าไปกระทบเซ็นเซอร์กล้องได้ ลองกระพริบตาเร็ว ๆ ดูก็ได้ครับจะเห็นภาพมากขึ้น ม่านชัตเตอร์ก็เหมือนเปลือกตาเราเองนั่นแหละ

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

เริ่มต้นนั้นชัตเตอร์ก็จะปิดอยู่ การกดชัตเตอร์ก็เหมือนการเปิดให้กล้องรับแสงและปิดลงอีกครั้งนึง ซึ่งระยะเวลาที่เปิดนานหรือเร็วนั้น จะส่งผลกับปริมาณแสงที่วิ่งเข้ามา ถ้าหากว่าต้องการปริมาณแสงที่มาก ความเร็วชัตเตอร์ก็ควรจะนานหน่อย แต่ถ้าต้องการแสงที่เข้านิดเดียว ม่านชัตเตอร์ก็จะเร็ว

ความเร็วชัตเตอร์ถูกวัดอย่างไร?

ความเร็วชัตเตอร์เราจะเรียกเป็นส่วนต่อวินาที เช่น 1/8000, 1/4000, 1/160 เป็นต้น ส่วนการเปิดม่านนาน ๆ เราก็จะเรียกเป็นวินาทีเลยครับ ส่วนใหญ่ค่าเดิม ๆ ในกล้องที่ตั้งได้แบบเปิดนาน ๆ โดยที่ไม่ใช้รีโมทจะเปิดได้ประมาณ 30 วินาที

สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจเอาไว้คือ คือเมื่อความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ปริมาณแสงก็จะเข้าเยอะมากขึ้น แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นก็จะทำให้แสงเข้าน้อยลง

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

นอกจากนี้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจะทำให้วัตถุที่เคลื่อนไหวเกิดการเบลอ ถ้ากล้องขยับมันก็จะเบลอทั้งภาพ แต่ถ้าหากชัตเตอร์ความเร็วเยอะ แสงก็จะเข้ากล้องน้อย และจับวัตถุได้นิ่งเหมาะกับการถ่ายภาพกีฬาทั้งหลาย

จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ในการสร้างสรรค์ภาพได้ยังไงล่ะ?

ในการถ่ายภาพ Landscape นิยมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า เพื่อให้เกิด Movement ของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น น้ำ เมฆ หรือรถวิ่ง ผมเคยเขียนเรื่องการใช้การเปิดชัตเตอร์รับแสงนาน ๆ ไว้ในบทความถ่ายยังไงให้แสงเป็นเส้น และ ถ่ายภาพด้วยการใช้ Long Exposure ครับ ลองอ่านดูกันได้

แต่ถ้าหากว่าความเร็วชัตเตอร์ที่เร็ว ๆ เนี่ยจะทำให้สามารถหยุดวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงได้ ซึ่งผมก็เคยเขียนไว้เหมือนกันในบทความ High Speed Photography ครับ

ถ่ายภาพควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ดี?

ในกราฟนี้ผมได้ใส่รายละเอียดเอาไว้แล้วว่าถ่ายอะไรควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่บ้าง แต่เป็นคร่าว ๆ นะครับ เพราะว่าหน้างานเราก็ต้องปรับตั้งค่าให้เหมาะสมเองด้วยเหมือนกัน

ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ลักษณะของภาพที่นำไปใช้
30 วินาที   / โหมด Blub สร้างภาพถ่าย Long Exposure รับแสงที่ยาวนาน ทำให้น้ำดูฟุ้ง ๆ เมฆดูนุ่มนวล และมองเห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุเป็นเส้น ๆ เลย ซึ่งถ้าถ่ายด้วยโหมด Blub จะลากได้ตามใจเลยว่าอยากได้นานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ 2-4 นาทีเลยแหละ
20-30 sec.ถ่ายภาพทางช้างเผือกก็ถ่ายได้นะ หรือถ่ายภาพดาวหมุนก็ได้ แต่มักจะเอาภาพมาต่อ ๆ กันด้วย
1 sec.ถ่ายภาพช่วง Twilight ทำให้เก็บแสงได้นานขึ้น
1/8-1/10 sec.ความเร็วชัตเตอร์แบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพเพื่อเก็บความเคลื่อนไหวของคลื่นที่เคลื่อนตัวออกจากหาด จะเห็นมูฟเมนต์หน่อย ๆ
1/30 – 1/60 sec.มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพ Panning เพื่อจับภาพคน หรืออะไรที่เคลื่อนไหว แล้วใช้การ Panning เพื่อเบลอฉากหลัง
1/125 sec.ถ่ายภาพได้หลากหลายลักษณะ ส่วนใหญ่ถ่ายทั่วไปก็ประมาณนี้ครับ
1/250 sec.ถ่ายภาพทั่วไปเหมือนกัน แต่ก็จะจับภาพการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นมาหน่อยเมื่อเทียบกับ 1/125 ส่วนใหญ่ก็ต้องดูปริมาณแสงที่ใช้ด้วยครับ
1/500 sec.ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ พวกรถก็ได้
Above 1/1000 sec.ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ พวกรถก็ได้
Above 1/2000 sec.ถ่ายภาพนก หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ

ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ถึงจะถือด้วยมือได้แบบไม่ต้องใช้ขาตั้ง?

เรื่องง่าย ๆ คือควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัส เช่นใช้ทางยาวโฟกัสที่ 200mm เราก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/200 แต่ถ้ามีกันสั่นในกล้องหรือเลนส์ก็สามารถที่จะใช้ต่ำกว่านี้ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ความสามารถของกันสั่นในตัวกล้องครับ

ISO คืออะไร?

การตั้งค่า ISO จะบอกให้เราทราบว่ากล้องเรามีความไวต่อการรับแสงมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากว่าเราใช้ความไวต่ำที่ ISO 100 เราก็ต้องมีปริมาณแสงที่เพียงพอกับภาพ ซึ่งก็ต้องไปดูที่ค่าความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงนั่นองครับ แต่ถ้าหากว่าเราไม่สามารถปรับตั้งค่ารูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ได้แล้ว การใช้ ISO ที่มากขึ้น ก็ทำให้ปริมาณแสงในภาพสูงขึ้นครับ

ในระดับ ISO ที่อยู่ระหว่าง 100 – 400 เราอาจจะไม่สังเกตเห็น Noise ในภาพ (เรามักจะได้ยินว่า ISO เยอะ Noise มันจะมาเยอะด้วย) ซึ่งกล้องในปัจจุบัน ISO 1600-3200 มันก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้อยู่

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ในการถ่ายภาพส่วนใหญ่เราจะพยายามใช้ ISO ให้น้อยที่สุด เพราะเลี่ยงการเกิด Noise ในภาพครับ เห็นไหมครับว่าค่าแต่ละอย่างที่บอกผ่าน ๆ มามันมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน

แล้วควรเพิ่ม ISO เมื่อไหร่บ้าง?

เมื่อต้องการหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุ เนื่องจากว่าชัตเตอร์ต่ำเกินไปทำให้เราต้องเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ และปริมาณแสงอาจจะน้อยเกินไป เราอาจจะต้องเพิ่ม ISO แล้วล่ะ

หรือแม้แต่การถ่ายภาพในที่แสงน้อยอย่างอีเวนต์ หรือพวกงานปาร์ตี้ ซึ่งหากว่าเราไม่มีแฟลชภายนอก และแสงไม่พอ ยังไงก็ต้องดัน ISO ขึ้นเป็นเรื่องปกติครับ

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

สรุปง่าย ๆ ว่าถ้าเราไม่สามารถที่จะเพิ่มปริมาณแสงได้จากการปรับรูรับแสง และการลดความเร็วชัตเตอร์แล้ว แสงยังไม่โอเค สุดท้ายก็ต้องพึ่งการใช้ ISO แล้วครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าภาพที่เราถ่ายต้องการแบบไหนนั่นแหละครับ

โหมดถ่ายภาพ และวิธีการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์, รูรับแสง, ความไวแสง

ส่วนใหญ่แล้วเราจะสามารถเซ็ตค่าได้ประมาณ 3 โหมดซึ่งจะมีความแตกต่างกัน

– โหมด Aperture Priority โหมดนี้จะให้เราปรับค่ารูรับแสงตามที่เราต้องการ โดยปล่อยให้ความเร็วชัตเตอร์ทำงานตามที่กล้องคำนวณแล้วว่าเหมาะสมกับสภาพแสงนั้น

– โหมด Shutter Priority สามารถทำให้เราปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ตามกล้องการได้ โดยปล่อยให้กล้องคำนวณรูรับแสงเอง

– โหมด Manual เราสามารถปรับตั้งค่าทุกค่าได้ตามต้องการ ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง ความไวแสง

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ส่วน ISO เราสามารถเลือกได้ว่าจะตั้งค่าแบบตายตัว หรือว่าจะตั้งค่าให้กล้องปรับให้ตามความเหมาะสม โดยสามารถกำหนด ISO ที่ยอมรับได้เอาไว้ เช่น ISO ไม่เกิน 3200 เมื่อแสงไม่พอ และกล้องจำเป็นต้องเพิ่ม ISO ค่าสูงสุดที่กล้องจะเพิ่มได้คือ 3200 ไม่เกินนี้ เป็นต้นคับ

สุดท้ายคือการนำทุกอย่างมาใช้งานร่วมกัน โดยมีคีย์หลักตามนี้

1. การใช้รูรับแสงกว้าง แสงจะเข้ากล้องเยอะ และจะเกิดความชัดตื้นมากขึ้น ช่วยให้แยกวัตถุออกจากฉากหลังได้ และโบเก้สวย
2. เมื่อถ่ายภาพควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ = ทางยาวโฟกัส เพื่อไม่ให้ภาพเบลอ (ถ้ากล้องที่มีกันสั่นในตัวจะลดความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำกว่าปกติอยู่หน่อยฉ
3. Shutter Speed ที่แตกต่างกัน ช่วยให้เกิดลักษณะของภาพที่ต่างกัน ความเร็วชัตเตอร์สูงจะหยุดภาพได้นิ่งแต่แสงเข้ากล้องน้อย ถ้าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แสงเข้ากล้องเยอะ แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นเป็นต้น
4. ถ่ายภาพให้ใช้ ISO ต่ำที่สุดเพื่อเลี่ยง Noise แต่ถ้าจำเป็นต้องเพิ่ม ก็เพิ่มเถอะครับ

เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้
Exit mobile version