Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การละลายฉากหลัง และ Depth of field คืออะไร มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง เรื่องพื้นฐานที่มือใหม่ควรรู้

การละลายฉากหลัง และ Depth of field คืออะไร มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง Depth of field (DoF) เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นกับการถ่ายภาพเป็นการสร้างมิติลึกตื้นให้กับภาพแสดงให้เห็นระยะที่ใกล้และไกลของวัตถุโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะของเลนส์ รูรับแสงและระยะชัดของภาพโดยทั่วเรามักจะได้ยินระยะชัดลึก ชัดตื้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้ภาพชัดด้านหน้าส่วนของพื้นหลังเบลอ หรือชัดส่วนด้านหลัง เพื่อใ่ห้ส่วนที่อยู่ฉากหน้าเบลอ ซึ่งการถ่ายภาพโดยใช้ DoF จะสร้างความน่าสนใจให้ภาพและให้เป็นถึงมิติลึกตื้นของภาพที่น่าสนใจ 

การละลายฉากหลัง และ Depth of field คืออะไร มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง เรื่องพื้นฐานที่มือใหม่ควรรู้

รูรับแสง

คือการเปิดรับแสงให้เข้ามาในเซ็นเซอร์มากยิ่งขึ้น ยิ่งเปิดรูรับแสงกว้างแสงเข้ามา รูรับแสงแคบแสงเข้าน้อย (F ตัวเลขยิ่งน้อย รูรับแสงยิ่งกว้าง แสงเข้ามาก, F ตัวเลขยิ่งมาก รูรับแสงยิ่งแคบ แสงเข้าน้อย)

การถ่ายภาพเพื่อให้หน้าชัดหลังเบลอ

การเปิดรูรับแสงกว้าง (f/1.2 ถึงประมาณ f/5.6) ระยะชัดตื้น เบลอภาพในจุดที่ไม่โฟกัสได้ฟุ้ง เช่นพื้นหลังหรือฉากหน้า ถ้าอยากถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอ ยิ่งรูรับแสงกว้าง ก็จะยิ่งทำให้พื้นหลังเบลอมากขึ้น

การถ่ายภาพเพื่อให้ชัดทั้งภาพ

การเปิดรูรับแสงแคบ (f/7 ถึง f/22) ระยะชัดลึก ยิ่งรูรับแสงแคบมากเท่าไหร่ ภาพก็จะยิ่งชัดทั้งภาพ

ระยะชัดของภาพ

ระยะของวัตถุที่อยู่หน้าเลนส์มีผลต่อการเกิดระยะชัดลึกและตื้นของภาพด้วย เช่นการวางตัวแบบหรือวัตถุที่อยู่ใกล้หน้าเลนส์ (ขึ้นอยู่กับระยะเลนส์ที่ใช้ด้วยนะ) จะทำให้เกิด ระยะชัดตื้น แต่การขยับวัตถุใกล้เกินไป ก็อาจจะทำให้วัตถุนั้นหลุดระยะและภาพไม่คมชัด และถ้าอยู่ห่างออกไป อยู่ในระยะชัด ภาพก็จะชัดทั้งภาพ 

การถ่ายภาพเพื่อให้หน้าชัดหลังเบลอ

ถ้าอยากถ่ายภาพหน้าชัด ฉากหลังเบลอ ให้เข้าใกล้ตัวแบบ (แต่ไม่เกินระยะโฟกัส) ตัวแบบจะชัด พื้นหลังจะเบลอ

การถ่ายภาพเพื่อให้มีฉากหน้า

ถ้าอยากได้ฉากหน้าเบลอ ตัวแบบชัด ให้มีภาพฟุ้งๆ หน้าตัวแบบให้เอาวัตถุที่ต้องการ เข้าให้เลนส์ให้มาก และให้ตัวแบบอยู่ไกลออกไป ภาพที่อยู่ด้านหน้าจะเบลอ และด้านหลังจะชัด

การถ่ายภาพหมู่ให้เห็นทุกคนชัดเจน

ถ้าถ่ายภาพหมู่และต้องการให้ได้ภาพที่ทุกคนชัดทั้งหมด ให้ยืนห่างตัวแบบไกลออกไป เพื่อให้ทุกคนอยู่ระยะที่เรียกว่า Hyperfocal distance
 

ระยะของเลนส์

เลนส์ที่ใช้จะมีระยะของเลนส์กำกับ ซึ่งจะบอกให้เรารู้ว่า เลนส์จะให้ภาพออกมาในลักษณะของมุมมองที่กว้าง หรือมุมมองที่เฉพาะ ให้รายละเอียดเฉพาะจุด เช่น เลนส์ที่มีระยะสั้น 18 mm จะให้มุมมองของภาพที่กว้างถึง 100 องศา และเลนส์ที่มีระยะ 200 mm จะให้มุมมองที่แคบลงที่ประมาณ 20 องศา

อ่านเพิ่มเติมเรื่องระยะเลนส์ ได้ที่นี่
4 ระยะเลนส์ที่มือใหม่ควรรู้จัก
เรื่องพื้นฐานที่ต้องรู้เกี่ยวกับระยะของเลนส์ มือใหม่ควรรู้ไว้จะได้ถ่ายภาพชัด เลือกซื้อเลนส์ได้ถูกใจ

ระยะของเลนส์ยิ่งมีระยะเลนส์ไกล ระยะเทเลโฟโต้ เช่น 85 mm , 100 mm, 200 mm, 300 mm หรือ 600 mm ยิ่งระยะยิ่งมาก มุมยิ่งแคบ แต่จะได้พื้นหลังที่ฟุ้งเบลอมากขึ้น คือละลายฉากหลังได้ฟุ้งมากขึ้นนั่นเอง 

แต่ถ้าเป็นเลนส์มุมกว้าง 24 mm , 35 mm  , 50 mm ก็สร้างภาพหน้าชัดหลังเบลอได้ดีแต่รายละเอียดพื้นหลังจะชัดมากกว่าและพื้นหลังละลายได้ไม่นุ่มนวลเท่ากับเลนส์ระยะไกล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของช่างภาพในการเล่าเรื่องหรือคอนเซ็ปต์ของภาพที่ต้องการด้วยเช่นกัน

ซึ่งข้อจำกัดในการใช้เลนส์ระยะไกลคือ ไม่สามารถใช้งานเลนส์ได้ถ้าหากอยู่ในพื้นที่จำกัด เล่นการถ่ายภาพ Portrait ในสตูดิโอหรือห้องขนาดเล็ก เพราะจะต้องใช้ระยะห่างจากตัวแบบให้พอดีกับระยะโฟกัสของเลนส์ด้วย 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพและวิดีโอในรูปแบบต่าง ๆ

Exit mobile version