Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

พรีวิว Panasonic LUMIX S1 กล้อง Full-Frame Mirrorless ที่มาพร้อม คุณสมบัติขั้นสูงสำหรับภาพนิ่งและวิดีโอ ทนทาน แข็งแกร่ง ลุยได้ทุกสภาวะการณ์

พรีวิว Panasonic LUMIX S1 กล้อง Full-Frame Mirrorless ที่มาพร้อม คุณสมบัติขั้นสูงสำหรับภาพนิ่งและวิดีโอ ทนทาน แข็งแกร่ง ลุยได้ทุกสภาวะการณ์ กล้องตัวเก่งเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมจาก Panasonic ซึ่งทำได้โดดเด่นทั้งงานภาพนิ่งและวิดีโอ

พรีวิว Panasonic LUMIX S1 กล้อง Full-Frame Mirrorless ที่มาพร้อม คุณสมบัติขั้นสูงสำหรับภาพนิ่งและวิดีโอ ทนทาน แข็งแกร่ง ลุยได้ทุกสภาวะการณ์

ฟีเจอร์ของตัวกล้อง Panasonic Lumix DC-S1

ตัวเครื่อง (Body)


สิ่งที่โดดเด่นอย่างชัดเจนในตัวกล้องตระกูล Panasonic S1 นั่นก็คือความใหญ่และหนัก น้ำหนักของมันอยู่ที่ 1,021 กรัมพร้อมกับแบตเตอรี่ และตัวเมมโมรี่ (2.25 ปอนด์ หรือ 1 กิโลกรัม) แน่นอนว่ามันหนักกว่า Sony’s A7 III ประมาณ 371 กรัม (0.82 ปอนด์) และยังหนักกว่า Nikon’s D850 DSLR ประมาณ 100 กรัม) อย่างไรก็ตามมันเป็นความรู้สึกที่แตกต่างในเรื่องของขนาดระหว่างตัว S1 และคู่แข่งโดยตรงอย่าง Nikon Z6, Canon EOS R และ A7 III

สำหรับตัวบอดี้ของ Panasonic Lumix DC-S1 เน้นที่สีดำทุกด้านพร้อมกับฟังค์ชั่นที่พัฒนาขึ้นทั้งสำหรับการถ่ายภาพ และถ่ายวีดิโอ รวมทั้งโครงสร้างของตัวกล้องที่แข็งแรงยิ่งขึ้น คุณลักษณะพิเศษคือเป็นแบบ Full-Frame 24.2 พร้อมกับเซนเซอร์ MP MOS รองรับการอัพเดทจากหน่วยประมวลผล Venus Engine ขณะที่ S1 จะให้คุณภาพที่ภาพที่น่าประทับใจพร้อมกับความเร็วในการบันทึก 9 fps และมีความไวแสงเพิ่มขึ้นถึง ISO 204800

ในส่วนของตัววีดิโอ รุ่น S1 สามารถบันทึกแบบ UHD 4K30pพร้อมกับอ่านค่าหน่วยพิกเซลแบบเต็มจำนวน และยังบันทึกแบบไม่จำกัดเวลา รวมทั้งสามารถบันทึกวีดิโอระดับ 4K60p ขณะที่การบันทึกวีดิโอแบบ HDR มาพร้อมกับโหมดพิเศษ Hybrid Log Gamma และมีการอัพเดทโปรแกรม Firmware พร้อมกับการบันทึกร่วมกับ V-Log นอกจากนี้ยังมีออปชั่นสำหรับการถ่ายภาพ และถ่ายวีดิโอ

ด้วยการใช้เซนเซอร์ภาพ ที่มีการพัฒนาขึ้นเทคโนโลยี DFD ด้วยระบบ Autofocus รวมทั้งการตรวจจับความแตกต่างจากแสงในภาพ เรียกว่า Contrast Detection ที่มีความเร็ว และระบบโฟกัสที่แม่นยำ ( Accurate Focusing ) รวมทั้งการถ่ายภาพเป้าหมายขณะเคลื่อนไหว ตัว Sensor-Shift ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (Image Stabilization) ที่ช่วยให้กล้องสั่นน้อยที่สุดถึง 5.5 stops


นอกจากนี้ในรุ่น S1 มีความแตกต่างในเรื่องของการดีไซน์ตัวเครื่อง ซึ่งได้รวมเอาช่องมองภาพอิเล็คทรอนิกแบบ 5.76 m-dot OLED ร่วมกับตัวทัชสกรีน LCD ขนาด 3.2-inch 2.1-m ขณะที่ตัว Housing เป็นแบบแม็กนีเซียม อัลลอย ที่สามารถสามารถปกป้องสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้เป็นอย่างดี และจอภาพ LCD ด้านบนที่ตั้งค่าการบันทึกที่รวดเร็ว ส่วนการ์ด XQD และ SD ที่มีออปชั่นที่ยืดหยุ่น และยังมีการเชื่อมต่อ Bluetooth รวมทั้ง Wi-Fi เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถควบคุมกล้องด้วยรีโมท พร้อมกับการโยกย้ายภาพด้วยระบบไร้สาย (Wireless) ไปยังแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน

เซ็นเซอร์ /เมาท์ (Sensor / Mount)

ระบบป้องกันภาพสั่น ( Stabilization)

ระบบกันสั่นไหวเป็น Feature ที่ขาดไปไม่ได้สำหรับกล้องรุ่นนี้ เพราะระบบกันสั่นไหวภายในตัวกล้องนั้น จะช่วยให้เราสามารถใช้งานเลนส์ที่ไม่มีกันสั่นได้อย่างสบายใจ โดยขีดความสามารถนั้นเคลมไว้สูงสุดที่ 5 Stop กันเลยทีเดียวครับ แต่ทั้งนี้ Panasonic Lumix S1 / S1R ยังมี Feature Dual IS2 โดยความสามารถนี้จะช่วยให้ระบบกันสั่นภายในตัวกล้องนั้น ทำงานร่วมกันกับระบบกันสั่นในเลนส์ไปพร้อมๆกัน และจะขยายขีดจำกัดสูงสุดถึง 6 Stop กันเลยทีเดียวครับ ซึ่งแม้จะช่วยลดการสั่นไหวได้มากในระดับหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ


ในส่วนของตัวบอดี้ในระบบกันสั่นเป็นสิ่งที่ Panasonic ทำขึ้นมาสำหรับกล้อง Mirrorless ระบบไมโคร 4/3 (Micro Four Thirds) ดังนั้นนี่เป็นเทคโนโลยีที่ดียอดเยี่ยม ขณะที่ Canon ไม่มีโปรดักซ์เกี่ยวกับระบบกันสั่นในตัวกล้อง ฉะนั้นในเวลานี้ Lumix S1 เป็นกล้องที่ควรเลือกใช้มากที่สุด

ช่องมองภาพ (Viewfinder)


ช่องมองภาพของตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในทีเด็ดเช่นกัน จะเป็นช่องมองภาพแบบไลฟ์ วิว ฟินเดอร์ LVF หรือ Live View Finder โดยจะมีความละเอียดสูงถึง 5.76 ล้านจุด!! ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเท่าที่ Panasonic เคยทำกล้องออกมา ทำให้ ชัด เหมือนตาเห็นกันเลย และมีกำลังขยายอยู่ที่ 0.78 เท่า สามารถสลับไปเป็น 0.7 หรือ 0.74 เท่าได้ตามสถานการณ์ที่ถ่ายภาพตอนนั้นครับ

Image by dpreview.com


ขณะที่ด้านขวาของช่องมองภาพ ยังมีปุ่ม V.Mode มาให้ด้วย ซึ่งเราสามารถเลือก Refresh rate ได้ตามต้องการครับ มีให้เลือกแสดงระหว่าง 60 fps และ 120 fps สำหรับใครที่ต้องการดูเฟรมเรทเยอะๆ ในฟุตเทชที่ต้องถ่าย Slo-mo ก็เลือกเป็น 120 fps เพื่อการแสดงผลที่สมูธที่สุด แต่ถ้าถ่ายฟุตเทชธรรมดาทั่วไป ตั้งเป็น 60 fps ก็เพียงพอแล้ว

จอด้านหลังกล้องเป็นจอ LCD ขนาด 3.2 นิ้ว ทัชสกรีนได้ ความละเอียดของจอจะอยู่ที่ 2.1 ล้านจุด!! ซึ่งชัดมาก และสามารถ Tilt ได้ 3 ทิศทางเลยครับ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพมุมสูง มุมต่ำ หรือที่กำลังเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจอยู่ในปัจจุบันก็คือการถ่ายภาพแนวตั้งครับ Lumix S1 ตัวนี้สามารถทำได้สบายมาก

Image by bhphotovideo.com

ส่วนด้านบน Top Plate ได้มีการปรับตำแหน่งปุ่มต่างๆพอสมควรเลย โดยเฉพาะปุ่ม Power ที่เสมือนเป็นก้านสวิตซ์ที่ดูแปลกใหม่สำหรับเจ้า Panasonic Lumix S1 และ Panasonic Lumix S1R ในขณะที่ตัว Grip จับที่มีการออกแบบให้มีเซาะร่องที่ลึกพอสมควร ซึ่งน่าจะลึกที่สุดในกลุ่มกล้อง Mirrorless Fullframe

จอภาพ (Monitor)

ในส่วนของจอ LCD มีขนาดใหญ่ เป็นระบบทัชสกรีนเต็มระบบ สามารถปรับหมุนได้แบบ 3 ทิศทาง (Triaxial tilt rear monitor) โดยมีปุ่ม Joystick ช่วยในเรื่องของการเลือจุดโฟกัสได้ 8 ทิศทางทำให้เลือกตำแหน่งที่จะโฟกัสได้รวดเร็ว และ มีปุ่มเลือกระบบโฟกัสโดยเฉพาะ จะเลือกเป็น Single Focus/Continue Focus/Manual Focus ก็สามารถทำได้ในปุ่มนี้เลยสะดวกดี

นอกจากนี้ยังมีมีการดีไซน์ปุ่ม Record Video อยู่ด้านหลังของตัวกล้องใกล้กับช่องมองภาพ แต่ส่วนตัวผมมองว่า แอบกดยากไปนิดนึง อาจเป็นว่ามือผมใหญ่ก็ได้นะ แต่การวางตำแหน่งในจุดนี้ก็ทำให้เราสามารถใช้นิ้วโป้งเพียงนิ้วเดียวในการควบคุมกล้องตอนถ่ายวีดีโอได้ดีเลย และ มีปุ่มพิเศษเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือ ก้าน Lock ปุ่ม สามารถทำให้เราตั้งค่าการใช้งานรูปต่าง ๆ และ ล็อคปุ่มบางปุ่มให้เหมาะกับการใช้งานแบบรวดเร็วได้

ส่วนของช่องมองภาพกันบ้าง ตัวนี้ใช้ช่องมองภาพ แบบ OLED LIVE VIEW FINDER มีความละเอียดถึง 5.7 ล้านจุดซึ่งเป็นความละเอียดที่สูงที่สุด ในตลาดกล้องปี 2019 นี้ ข้อดีของเจ้าช่องมองภาพตัวนี้ คือ มันจะทำให้เรามองเห็นภาพเหมือนที่ตาเราเห็นเลย ปรับค่าต่าง ๆ ในการถ่ายภาพก็จะแสดงผลงออกมาแบบ Real time และ สมจริงมาก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถปรับค่า Fps ได้เลย โดยกดสลับในเมนูตั้งค่าช่องมองภาพได้เลย ทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้สมจริงมากขึ้น

บันทึกวีดิโอ (Movie recording)

สำหรับส่วนอื่นๆ ที่สร้างมุมมองที่น่าสนใจสำหรับผู้ซื้อก็คือในส่วนฟังค์ชั่นวีดิโอของรุ่น S1 ด้วยการที่มีระบบ Uncrop เป็นแบบ Full Pixels สำหรับแก้ปัญหา 4Kไปจนถึง 30fps นั่นหมายความว่า Focal Length ไม่ต้องมีการปรับปรุงสำหรับตัวเลนส์ในฟังก์ชั่นสำหรับถ่ายภาพ และถ่ายวีดิโอ ดังนั้นคุณอาจจะถ่ายแบบ 50/60fps จากนั้นก็ใช้ฟังก์ชั่น 1.5x (สำหรับ S1 เท่านั้น, ส่วน S1R จะเป็น Pixels 1.09x แต่เป็นเรื่องยากสำหรับการทำวีดิโอกราฟฟิกของกล่องจากคอมพิวเตอร์)


ด้วยการบันทึกวีดิโอฟุตเทจ 4K 4:2:0 8-bit ผ่านการ์ด SD/XQD ถ้าคุณต้องการภาพที่ชัดเจนแบบ HDMI ด้วย 4K 4:2:2 10-bit ก็สามารถอัพเดทได้ แต่สำหรับ Panasonic มีออปชั่นที่เรียกว่า Gamma Curve พร้อมกับ Cinelike D/V, Like709 และ Flat mode สำหรับใครที่อยากให้สีของวีดิโอมีความคมชัดยิ่งขึ้น

Image by dpreview.com

นอกจากนี้ยังมีแจ็คเสียบเฮดโฟนขนาด 3.5 mm และแจ็คเสียบไมโครโฟน 3.5 mm ขณะเดียวกับยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับอะแด็ปเตอร์ของ XLR ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้กล้องวีดิโอมีความคมชัดมากยิ่งขึ้นอีกหลายเท่า HLG Photo หรือ Hybrid Log Gamma จะช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพได้ในช่วงสีที่กว้างขึ้น โดยการจัดการกับแสงที่สว่างหรือมืดเกินไป ทำให้การถ่ายภาพด้วยกล้อง Lumix S ให้ภาพที่สวยงาม และมีสีที่ถูกต้องเหมือนที่ตาเรามองเห็นมากที่สุด

โหมด HLG Photo จะได้ไฟล์ HSP ที่สามารถเปิดดูบน 4K TV ของ Panasonic ที่รองรับมาตรฐาน HLG ผ่านสาย HDMI หรือจะใช้อุปกรณ์ อื่นๆ ที่รองรับมาตรฐาน HLG ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการนำเสนอภาพถ่าย

โฟกัส/การถ่ายภาพต่อเนื่อง (Focusing / Continuous shooting)


การถ่ายภาพต่อเนื่องกล้องตัวนี้สามารถถ่ายภาพได้ถึง 9 ภาพต่อวินาที ในรูปแบบการถ่ายแบบ AF-S และ 6 ภาพต่อวินาทีแบบ AF-C นอกจากนี้การถ่ายต่อเนื่องแบบไฟล์ Raw สามารถถ่ายได้สูงสุดถึง 90 ภาพ และ ถ่ายแบบ Jpeg+Raw สามารถถ่ายได้สูงถึง 70 ภาพเลย ซึ่งต้องบอกเลยว่ากล้องตัวนี้มีขนาดบัฟเฟอร์ให้มาใหญ่จริง ๆ

ฟังค์ชั่นหลากหลาย

มาดูในส่วนของฟังก์ชั่นของกล้องกันบ้างครับ ประเดิมกันด้วยชิปประมวลผลกันก่อนเลย เจ้า Lumix S1 ตัวนี้ใช้ชิปประมวลผลตัวใหม่ชื่อว่า Venus Engine ที่เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นสุดปังของกล้องตัวนี้ ซึ่งชิปตัวนี้จะยกระดับการถ่ายภาพขึ้นไปอีกระดับนึงเลย เพราะเป็นตัวทำให้ฟังก์ชั่นต่างๆในตัวกล้องถูกพัฒนาไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโฟกัส ไว คมชัดมากๆ ไม่พลาดช็อตสำคัญๆแน่นอน ทั้งในส่วนของวิดีโอและภาพนิ่งเลยครับ หรือเรื่องของสีสัน การเก็บรายละเอียดของเงา ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

กล้องรุ่นใช้แบตเตอรี่ DMW-BLJ31 โดยแบต 23Wh (มีคุณภาพสูกว่าแบตเตอรี่รุ่น Sony Z-type ถึง 40 เปอร์เซนต์) สำหรับรุ่น S1 สามารถถ่ายภาพได้ถึง 400 ช็อตต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เมื่อมีการถ่ายภาพโดยใช้จอ LCD ด้านหลัง และมีช่องมองภาพ EVF 380 นอกจากนี้กล้องจะใช้พลังงานน้อยถ้าหากถ่ายด้วย XQD มากกว่า SD

Image by dpreview.com

นอกจากนี้รุ่น S1 ยังสามารถชาร์จที่ช่อง USB ถ้าหากมีแหล่งพลังงานที่เหมาะสมสำหรับ USB ในส่วนของการชาร์จถือเป็นออปชั่นที่น่าสนใจ เพราะสามารถใช้ได้ถึง 4 แบบทั้ง Figure 8 / IEC C7 Cable1, ตัวอะแด็ปเตอร์ Power Supply Unit (PSU) เข้ากับ USB-C, สาย USB C Cable และชาร์จกับปลั๊กไฟทั่วไป

แน่นอนว่าออปชั่นนี้ทำให้เกิดความง่ายในการนำไปใช้ยังสถานที่ต่างๆ หรือต่างประเทศ แถมยังมีอีกทางเลือกในกรณีที่มีแลปท็อป ก็สามารถใช้สาย USB-C เสียบชาร์จได้ทันที ดังนั้นแค่พกแบตเตอรี่ไปก้อนเดียวก็สามารถเดินทางไปได้สบายๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องการชาร์จไฟ

Panasonic Lumix S1 Body ราคา 85,990 บาท ประกันศูนย์

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

Exit mobile version