Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ และวิธีในการแก้ไข ให้ถ่ายภาพได้สวยยิ่งขึ้น

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ และวิธีในการแก้ไข ให้ถ่ายภาพได้สวยยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ต้องโทษว่าเป็นใคร เป็นผมเองนี่แหละที่เคยพลาดมาทุก ๆ เรื่อง ก็เลยนำมาแชร์ประสบการณ์ให้เห็นกันครับว่าส่วนใหญ่เราจะพลาดกันตรงไหนบ้าง เมื่อเราทราบข้อเหล่านี้แล้วสามารถที่จะนำไปเป็นไอเดียที่จะวางพื้นฐานความคิดของเราใหม่เพื่อให้การถ่ายภาพนั้นพัฒนาได้มากขึ้นครับ

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Federico Bottos available on Unsplash

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ และวิธีในการแก้ไข ให้ถ่ายภาพได้สวยยิ่งขึ้น

1. บ้าทฤษฏี เคร่งเครียดมากเกินไป

จะถ่ายภาพต้องค่าแบบนี้เท่านั้น ต้องเป็นยังงั้น ต้องทำแบบนี้ ภาวะธาตุไฟแตกแบบนี้ผมเคยผ่านมาครับ มันเป็นเพราะความเชื่อมั่นว่าการที่เรารู้ทฤษฏี มีความรู้เยอะ ๆ แล้วทำแบบนั้นเป๊ะ ๆ จะทำให้เราได้ภาพที่ดีที่สุด

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Jakob Owens available on Unsplash

มันก็มีส่วนถูกอยู่บ้างที่การทำทฤษฏี ตามความรู้การถ่ายภาพจะทำให้เราได้ประสบการณ์และมุมมองการถ่ายภาพที่มากขึ้น แต่การที่มองว่าทฤษฏีทุกอย่างเราต้องเป๊ะแบบนั้นทั้งหมด มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องสักเท่าไหร่ เพราะการถ่ายภาพมันเป็นเรื่องของมุมมอง ความสุขในการถ่าย การใช้ไอเดียใหม่ ๆ การเล่าเรื่อง มีรายละเอียดหลายจุดมากที่เราต้องเปิดรับนอกเหนือจากทฤษฏี การตั้งค่าต่าง ๆ นา ๆ ที่เรามีครับ

อ่านบทความพื้นฐานถ่ายภาพเกี่ยวกับมือใหม่
– การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพบุคคล
– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับรูรับแสงสำหรับมือใหม่
– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ISO สำหรับมือใหม่ และการใช้งานที่ถูกต้อง
– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป

2. คิดว่าภาพสวยขึ้นอยู่กับการตั้งค่ากล้องเป็นหลัก

ข้อนี้คล้ายกับอันแรก แต่ว่าจะเจาะลึกลงไปถึงเรื่องของการตั้งค่ากล้องเป็นหลัก เพราะเริ่มแรกที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพเราก็มองไปที่กล้องเป็นหลัก รุ่นอะไร มีฟังก์ชั่นอะไร กี่ล้านพิกเซล เริ่มมาจนถึงถ้าถ่ายภาพแบบนี้ตั้งค่าตรงไหน ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ทำยังไง

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography

แต่พอหนัก ๆ เข้ามันกลายเป็นว่าจะถ่ายภาพแบบนี้ ต้องตั้งค่าแบบนี้เท่านั้น, ห้ามใช้ ISO เยอะนะ ไม่อยากให้ Noise ขึ้น สังเกตคำถามตอนผมเป็นมือใหม่จะชอบถามเพื่อน ๆ ที่เป็นช่างภาพว่า ถ้าจะถ่ายแบบนี้ต้องตั้งค่าเท่าไหร่ครับ? แล้วคำตอบที่ได้มันไม่มีค่าแบบเป๊ะ ๆ หรอก เพราะอะไรล่ะ? เพราะว่าการถ่ายภาพมันเกิดจากความเข้าใจในสภาพแสงตอนนั้น, ภาพที่เราจะได้เป็นยังไง, แล้วเราต้องจัดมุมแบบไหน ค่อยมาจบที่การตั้งค่าเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่เราคิด (มันเกี่ยวกับการตั้งค่าแหละ แต่เป็นกระบวนการหลัง ๆ ไม่ใช่เอาการตั้งค่านำทุกอย่าง)

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Balazs Busznyak available on Unsplash

สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงกับความคิดในตอนนี้คือ การตั้งค่ามันก็สำคัญนะ ไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่ไม่ใช่เอาการตั้งค่านำทุกอย่าง ให้คิดเสมอว่าช่างภาพไม่ได้มีผลงานดี มีฝีมือที่เก่งเพราะตั้งค่ากล้องเก่ง, แต่เขามีมุมมองการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่ายที่ดีนั่นเอง

รวมบทความสอนถ่ายภาพแนว LANDSCAPE สำหรับมือใหม่ ตั้งแต่การจัดองค์ประกอบภาพและเทคนิคการถ่ายภาพครับ

3. ไม่ถ่ายภาพเป็น RAW File

อันนี้สำหรับคนที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องภาพ การถ่ายภาพแบบไฟล์ JPEG แล้วใช้งานเลย ผมไม่รวมในประเด็นนี้นะ แต่คนที่ถ่ายภาพต้องการนำไฟล์ไปทำต่อ หรือต้องการคุณภาพของไฟล์ที่ดีที่สุดที่กล้องจะทำได้ ยังไงก็ต้องถ่ายเป็น RAW และเรียนรู้ที่จะเข้าใจกับการทำงานในไฟล์เหล่านี้ รวมถึงกระบวนการตกแต่งภาพเพื่อให้ได้ไฟล์ที่ตรงตามต้องการ

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Djordje available on https://stock.adobe.com/

สำหรับคนที่ถ่ายมาแล้วสักพัก รู้จัก RAW File อาจจะคิดว่ามีด้วยเหรอ คนที่ถ่ายภาพจริงจังแล้วไม่ถ่าย RAW, มีนะ ผมเจอก็ประมาณนึงเหมือนกัน (เยอะพอจะเอามาเขียนคอนเทนต์ได้) บางคนไม่รู้ว่าไฟล์นี้เอาไว้ทำอะไร รู้แค่ว่าไฟล์ใหญ่แล้วเอาไปใช้เลยทันทีไม่ได้, บางคนบอกว่าไม่ได้แต่งภาพต่ออะไร แต่ก็อยากได้ไฟล์ต้นฉบับดี ๆ เผื่อวันนึงจะแต่งภาพเป็น แต่ดันถ่าย JPEG มา

ที่เจอเยอะ ๆ คือ ถ่ายภาพเสียมา (ถ่ายพลาด) อยากแก้ไข แต่พอจะแนะนำดันถ่าย JPEG มา ก็ช่วยอะไรมากไม่ได้เพราะความยืดหยุ่นของไฟล์น้อย ดังนั้นลองทำความเข้าใจเรื่องไฟล์ JPEG vs RAW อะไรดีกว่ากันก็ได้ครับ แล้วจะพอเข้าใจว่าถ่าย RAW เถอะนะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RAW File

4. บ้าอุปกรณ์

ถ่าย Landscape ต้องเลนส์ Ultra Wide เท่านั้น ถ่ายคนต้อง 85mm F1.4 ดีที่สุดนะ ใช้เลนส์นี้สิภาพคม, ของมันต้องมีกล้อง 42 ล้านพิกเซล คมกริ๊บ เคยได้ยินคำพวกนี้ประจำล่ะสิ

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Jakob Owens available on Unsplash

ผมโดนเพื่อนด่าเรื่องอุปกรณ์บ่อยมากในช่วงปีสองปีแรก คือมันคลั่งจริง ๆ วัน ๆ เอาแต่ดูรีวิวว่าเลนส์นี้คมไหม โบเก้เป็นไง ละลายหลังสวยไหม โน่นนี่นั่นบลา ๆ ซึ่งผิดไหมถ้ารักจะถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์แบบนั้นมันก็ไม่ผิดครับ ใคร ๆ ก็อยากมีอุปกรณ์ดี ๆ ทั้งนั้น

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image available on https://pxhere.com/

แต่ในกรณีนี้คือเราก็ดันมี Mindset ว่าอุปกรณ์ดี = ภาพสวย, ยิ่งดีภาพยิ่งสวย มันถูกครึ่งนึงครับ อุปกรณ์ดี มันให้จังหวะและภาพที่ดีจริง ๆ แต่!! ยังไม่มีอุปกรณ์ที่ดี แต่ก็ยังสามารถที่จะมีมุมมองถ่ายภาพที่ดีได้นะ จะเป็นยังไงถ้าต้องพิจารณาโอกาสการถ่ายภาพของตัวเองว่า ต้องมีเลนส์ก่อน ถึงจะออกไปถ่ายภาพได้!? มันไม่น่าใช่แบบนั้นนะ

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Goh Rhy Yan available on Unsplash

การที่เรามีอุปกรณ์ที่ไม่ได้ดีมาก คือใช้ได้ตามมาตรฐาน ก็สามารถสร้างภาพได้แล้ว ยิ่งคิดดี ๆ กล้องในปัจจุบันเทคโนโลยีทั้งตัวกล้องและการผลิตเลนส์ ดีกว่ายุคก่อนพอสมควรนะ มันก็ใช้ถ่ายภาพดี ๆ ได้แล้ว ดังนั้นอุปกรณ์เสพย์แต่พอเหมาะครับ แล้วก็เน้นเรื่องมุมมองการพัฒนาทักษะถ่ายภาพให้เยอะขึ้น มีเงินก็ขยับตามสะดวก ไม่เหนื่อยผ่อน ไม่เดือดร้อน ไม่เครียดมาก และเที่ยวถ่ายภาพได้สนุกขึ้นด้วย

5. ไม่ใส่ใจเรื่องพื้นฐานของการถ่ายภาพ

ผมย้ำแทบจะบทความสำหรับมือใหม่เรื่องพื้นบานการถ่ายภาพเป็นสิ่งจำเป็น ถ้ามองถึงทุก ๆ อย่างในโลกใบนี้มันมีพื้นฐานในทักษะนั้น ๆ อยู่ที่ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ การถ่ายภาพก็เหมือนกันครับ มีพื้นฐานที่มันเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะช่วยปูทางและความคิดของเราไปยังจุดหมายที่สูงขึ้นได้

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Ethan Cull available on Unsplash

เทคนิคต่าง ๆ ด้านการถ่ายภาพที่เราพร่ำเรียนรู้กันมา จริง ๆ แล้วมันก็ถูกปรับใช้จากพื้นฐานมาเป็น Shortcut สำหรับการตอบโจทย์เฉพาะสถานการณ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว แต่สุดท้ายการนำเทคนิคมาใช้มันก็อาศัยหลักพื้นฐานอยู่ดี ดังนั้นกลับมาศึกษาพื้นฐานการถ่ายภาพให้เข้าใจกันเถอะนะ

รวมบทความพื้นฐานถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

6. ไม่มีเป้าหมายในการถ่ายภาพ และฝึกถ่ายภาพ

การถ่ายภาพมันต้องมีเป้าหมายด้วยเหรอ เอาจริง ๆ ถ้าสังเกต จะทำอะไรทุกอย่างมันก็ต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่เราอยากจะได้จากภาพถ่าย เพราะมันเป็นตัวกำหนดวิธีการถ่ายภาพของเราเลย เช่น ผมจะไปสิงคโปร์แล้วถ่ายภาพเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดอะไร กับการวางแผนว่าจะไปถ่ายภาพตึก มีไฟเยอะ ๆ ถ่ายช่วงค่ำ ๆ เพื่อจะได้แสงไฟจากมุมเมือง อยากถ่ายด้วยเลนส์ 50mm เพื่อให้ได้มิติอย่างที่ชอบเป็นการส่วนตัว

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ย้ำว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรามองเห็นถึง Workflow ในการทำงานออกมาอย่างชัดเจน นอกจากนี้หลาย ๆ กระบวนการเป็นทักษะที่เรายังไม่คุ้นเคย ไม่ถนัด ทำให้เรามองเห็นว่าจุดบกพร่องที่เรามีคือตรงไหน นั่นแหละครับคือสิ่งสำคัญ แม้จะดูเหมือนเล็กน้อยแต่มันก็กำหนดภาพรวมเราได้เยอะเหมือนกัน

บทความพัฒนาตัวเองเพื่อเสริมทักษะการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ให้สูงขึ้น

7. ไม่ยอมอ่านคู่มือกล้อง หรือทำความรู้จักกับกล้องของตัวเองให้มากขึ้น

ทำไมแฟลชไม่ทำงาน ทำไมหน้าจอมืด ทำไมถ่ายภาพแล้วมีเส้น ๆ หลายอย่างเราจะเห็นคำถามประมาณนี้อยู่ในกลุ่ม และคำตอบก็จะต้องมีสักคอมเมนต์นึงโพสต์เข้ามาว่า “ลองอ่านคู่มือดูนะครับ” นั่นสิ คู่มือมีไว้ทำไมกันน๊า

จริง ๆ ทุกอย่าง การตั้งค่าของกล้อง วิธีการปรับแต่ละค่าเป็นยังไง พวกนี้มีอยู่ในคู่มือกล้องแล้ว ลองคิดดูกว่าจะทำคู่มือออกมาสำหรับขายกล้องแต่ละตัว Brief กันไม่รู้กี่รอบกว่าจะ Approve ได้ แล้วออกมาหลายภาษาด้วยนะ เอาแค่คิดทำเอกสาร Thesis เล่มจบปริญญานั่นนี่ก็แก้กันเงิบเลย คู่มือพวกนี้ก็หนักหนาเหมือนกันกว่าจะออกมาได้

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Thom Holmes available on Unsplash

เพราะงั้นทุกอย่างอยู่ในนั้นแล้วครับ อยากให้ลองเปิดว่ามีอะไรให้เราใช้บ้าง เราต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง แล้วเขาใส่รายละเอียดอะไรในคู่มือ ยิ่งรู้จักอุปกรณ์ตัวเองมากขึ้น เรายิ่งใช้งานได้รวดเร็วขึ้น และคล่องตัวมากขึ้น

8. ไม่ยอมฝึกใช้โหมด Manual

โหมด Manual ไม่ใช่โหมดพระเจ้าที่จะตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ แต่โหมด Manual เหมาะสำหรับมือใหม่มากในการที่จะเริ่มทำความเข้าใจวิธีคิดของกล้อง เพราะโหมดนี้จะทำให้เราต้องเซ็ตค่าทุกอย่างเอง แปลว่าเราต้องรู้ก่อนปรับ ว่าปรับค่าไหน ส่งผลอะไรกับแสงที่ได้ และภาพจะออกมาเป็นอย่างไร

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography

Triangle Exposure คือสิ่งที่ผมได้จากการฝึกใช้โหมดนี้ และทำให้ผมสามารถใช้โหมด M ได้กับทุกกล้อง ดังนั้นถ้าอยากเข้าใจเรื่องนี้ลองใช้โหมด M ดูนะครับ

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยโหมด Manual สำหรับมือใหม่

9. แต่งภาพหนักมือมากเกินไป

ผมว่าหลายคนก็เคย แต่งภาพเสร็จส่งให้เพื่อนดูบ้าง โพสต์บ้าง แรก ๆ หนักเลยเพราะผมไม่รู้ว่าแต่งแล้วมันส่งผลต่ออารมณ์หรือภาพรวมของภาพยังไง มันก็เลยแต่งให้ดูแตกต่างจากที่เราถ่ายมาได้ เชื่อว่าภาพจะสวย (ก็แต่งมาเยอะนี่หว่า)

จริง ๆ แล้วการแต่งภาพเนี่ย วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ได้ภาพถ่ายอย่างที่เราต้องการในหัว ว่าเราจะนำเสนออะไร ต้องการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดตรงไหน หรือต้องการแต่งเพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่เราได้วางเอาไว้แล้ว ว่าโทนนี้นะ อารมณ์นี้นะ แต่ไม่ได้แปลว่าแต่ง ๆ ไปยิ่งเยอะ ยิ่งหนัก ภาพจะยิ่งดี

ภาพก่อนทำการตกแต่ง , Source : DPS
แต่งภาพหนักไป ขอบดำมาตรึม , Source : DPS

แล้วควรแก้ไขยังไงกับเรื่องนี้ ก็ให้ดูภาพถ่ายของเราเทียบกับภาพที่เราชอบก็ได้ หรือง่ายสุด ให้เพื่อนที่เก่ง ๆ มันไกด์ให้ ให้มันสอน ให้มันด่าเราตรง ๆ เราจะรู้ครับว่าเราพลาดตรงไหน

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพตอนไปเที่ยว

10. อีโก้เยอะ ไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

เป็นบทความที่ยาวมาก สุดท้ายแล้วมันมีจริง ๆ นะกับการถ่ายภาพ ก็ไม่เข้าใจว่าจะมีอีโก้ไปทำไม คือการยึดกับความคิดของตัวเอง ภาพเราดีแล้ว แน่ใจแล้ว สวยแล้ว คือมันดีที่สุด ต้องทำตามเรานะ อะไรแบบนั้น

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ , พื้นฐานการถ่ายภาพ , กล้องถ่ายรูป , basic photography Image by Brandan Keller available on Unsplash

จริง ๆ การมั่นใจในมุมมองตัวเองก็เป็นเรื่องที่ดีแหละ แต่การที่มีอีโก้มันต่างออกไป ถ้ามีคนคอมเมนต์ว่า ภาพนายเราว่ามืดไปหน่อยนะ, เราว่ามันยังไม่สวย, หนัก ๆ เข้าเพื่อผมถามตรง ๆ เลย ภาพนายสื่ออะไร ดูงงไปหมด เราก็ต้องคิดย้อนกลับนะ ว่าเราถ่ายภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในภาพใช่ไหม แล้วทำไมคนที่ดูภาพเขาไม่ได้รู้สึกแบบที่เรารู้สึกล่ะ!?

สอนมือใหม่ถ่ายภาพ , พื้นฐานการถ่ายภาพ , กล้องถ่ายรูป , basic photography Image by Toby Christopher available on Unsplash

สรุปก็คือลดอีโก้ลง เปิดใจรับฟังมุมมองคนอื่นเพิ่ม บางคนถ่ายภาพไม่เป็น ไม่ได้เล่นกล้อง แต่เขาดูรูปมาเยอะ เขาแนะนำเราได้ ก็มีนะครับ 🙂 ดังนั้นแล้วเปิดใจที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ แล้วถ่ายภาพให้สนุกกันดีกว่า

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

11. ไม่สังเกตว่าถ่ายภาพออกมาเอียง

มือใหม่อย่างเรา อาจจะไม่เห็นความผิดพลาดนี้ตั้งเเต่ตอนเเรก เเต่เมื่อกลับไปดูภาพอีกทีเเล้ว ก็พบว่าภาพที่ถ่ายมาเอียง ไม่สมดุล จะเเก้ไขก็ทำได้ ใน photoshop หรือ lightroom เพื่อปรับสมดุลของภาพ ดังนั้น ตอนถ่ายภาพ พยายามหาเส้นขอบฟ้าในภาพ หรือ เส้นขนานกับพื้น ใช้สองมือในการถือกล้องถ่ายรูป หรือ เปิด setting ของ monitor บนหน้าจอให้มีเส้นขวาง ขึ้นมา หรือใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อป้องกันการเกิดการถ่ายภาพออกมาแล้วเอียงนั่นเอง

Image by Zane Lee available on Unsplash

12. ถ่ายภาพสีเพี้ยน, White Balance เพี้ยน

บางคนไม่เข้าใจเรื่อง white balance ทำให้ภาพออกมาเหลืองบ้าง ฟ้าบ้าง จริง ๆ เเล้วเราสามารถจัดการกับ white balance ง่าย ๆโดย ตั้งให้เป็นไปตามเเหล่งกำเนิดของเเสง เช่น เเสงแดด เเสงไฟฟลูออเรสเซนต์ เพื่อให้ภาพที่ออกมา ดูมีอุณหภูมิเข้าไปกับบรรยากาศเเสง ในที่นั้นๆ กล้องถ่ายรูปของเราก็สามารถปรับให้เป็น auto white balance หรือ อาาจะใช้ gray card (คืออะไร)ในการเปรียบเทียบสีที่ได้

สำหรับใครที่ถ่ายภาพออกมาแล้วสีเพี้ยน อยากจะแก้ปัญหาสีที่เกิดขึ้นไปแล้วสามารถติดตามได้ที่บทความนี้นะครับ

วิธีแก้ภาพถ่ายสีเพี้ยนสำหรับมือใหม่

13. ถ่ายภาพออกมาแล้วไม่คมชัด

สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดหลักๆที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย นั่นก็คือ การถ่ายภาพให้คมชัด การเเก้ไขคือ อาจจะเพิ่ม shutterspeed ใช้ รูรับเเสงที่เเคบลง ใช้ขาตั้งกล้อง อาจจะใช้เฟลชช่วย หรือที่ง่ายกว่านั้นคือการดึง ISO ให้สูงขึ้นในกรณีที่ต้องถ่ายภาพในที่เเสงน้อย

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Jonathan Chng available on Unsplash

รวมเทคนิคการถ่ายภาพให้คม และเรื่องของการฝึกโฟกัสภาพ ระบบโฟกัสภาพ

14. ไม่สนใจเรื่ององค์ประกอบภาพ

ในการถ่ายภาพสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ คือ การจัดองค์ประกอบภาพ บางครั้งการถ่ายภาพถนน เเละตึกในเมืองหลวง โดยภาพที่เห็นยอดตึก พร้อมกับถนนที่คับคั้งนั้น เป็นการนำเสนอภาพได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการถ่ายภาพถนนที่มีการตัดบางส่วนของยอดตึกออกไป หรือการถ่ายภาพสิ่งของวัตถุที่มีความสมมาตร เเต่ถ่ายวัตถุนั้นไม่ได้อยู่ตรงกลางภาพ ก็จะทำให้การมองภาพนั้นสร้างความอึดอัดให้คนมองภาพอย่างไม่รู้ตัว

14 เรื่องถ่ายรูปที่มือใหม่มักพลาดบ่อย ๆ, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography Image by Fabrizio Verrecchia available on Unsplash

รวมบทความพื้นฐานถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

Exit mobile version